ภาคีเครือข่ายผู้ตรวจการก่อสร้าง และ ต่อต้านการทุจริตเชิงป้องกัน (ภตป.)
Independent Inspector Alliance for Construction & Anti - Corruption Preventive Approach (IACONPA)
The only thing necessary for the triumph of evil is for good men to do nothing.

 

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

www.shutterfly.com

 

  โครงสร้างมาตรฐานของสัญญาก่อสร้าง  
  สัญญาการก่อสร้างโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยเอกสารที่สำคัญๆหลายๆส่วน เช่น

หนังสือเชิญประกวดราคา (INVITATION TO BID) 
เป็นหนังสือเชิญบริษัทต่างๆให้เข้าร่วมประกวดราคา ในหนังสือนี้จะมีรายละเอียดถึงกระบวนการในการเข้าประกวดราคา
และคำแนะนำที่เกี่ยวข้องให้ผู้เข้าประกวดราคาทราบ เป็นต้น


แบบฟอร์มการประกวดราคา (BID FORM)
เพื่อให้ผู้ยื่นซองประกวดราคากรอกรายละเอียด โดยจะมี  ข้อความ  บางอย่างที่จำเป็นที่ผู้เข้ายื่นซองต้องดำเนินการก่อนยื่นซอง เช่น
ผู้ประกวดราคา.......
.....ได้ตรวจสอบแบบรายละเอียดการควบคุมการก่อสร้างและสถานที่ก่อสร้างแล้ว 
.....ทราบจำนวนเงินที่ยื่นซองประกวดราคา จำนวนเงินค่าปรับถ้าทำงานไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนด
.....ตกลงที่จะทำตามสัญญาหากชนะการประมูลภายในเวลาที่กำหนดมิฉะนั้นจะถูกยกเลิกสัญญาและริบเงินประกันซอง
.....ตกลงที่จะยื่นเงินประกันการทำสัญญาและประกันการก่อสร้าง  จำนวนเงินเพิ่มหรือลดถ้าปริมาณงานเปลี่ยนแปลงไปจากสัญญาเดิม   
.....ทราบเวลาที่ต้องทำงานให้แล้วเสร็จ เงื่อนไขเพิ่มเติมพิเศษ
(ถ้ามี)
.....ทราบรายละเอียดจำนวนงานและเงินการประกวดราคาแต่ละรายการที่จะต้องดำเนินการก่อสร้าง
(BID BREAKDOWN) 
.....ฯลฯ

สัญญาการก่อสร้าง (CONSTRUCTION CONTRACT
ตัวอย่างสัญญาเปล่าที่เจ้าของงานจะนำมาใช้บังคับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน เพื่อแจ้งให้ทุกๆท่านเข้าใจตรงกัน
ว่าเป็นสัญญาประเภทใด มีรายละเอียดอย่างไร ถ้าสงสัยสามารถสอบถามได้ก่อนลงนาม

เงื่อนไขทั่วไป (GENERAL CONDITIONS)  
โดยปกติจะเป็นส่วนหนึ่งของรายละเอียดของข้อกำหนดในการก่อสร้าง 
(SPECIFICATIONS) ซึ่งส่วนมากมักจะระบุถึงเงื่อนไขทั่วๆไป
ที่สามารถใช้ได้กับทุกสัญญาที่จะทำการจ้างเหมางานที่มีลักษณะงานประเภทเดียวกัน เช่น งานอาคารงานสร้างถนน งานสร้างเขื่อน อาคาร เป็นต้น
ซึ่งงานแต่ละชนิดแต่ละประเภทมักจะมีเงื่อนไขหรือข้อกำหนดคล้ายกันหรือบางส่วนจะเหมือนกันก็มี

เงื่อนไขพิเศษ (SPECIAL CONDITIONS)   
โดยปกติข้อกำหนดนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการก่อสร้าง หรือ
SPECIFICATION เช่นเดียวกัน
แต่จะเป็นการระบุเงื่อนไขเพิ่มเติมเพื่อใช้เฉพาะกับงานใดงานหนึ่งเป็นการเฉพาะหนึ่งเท่านั้น เช่น
งานสร้างเขื่อนมักจะมีเงื่อนไขพิเศษเกี่ยวกับการก่อสร้างร่องแกนเขื่อนเป็นการเฉพาะแยกออกมาจากเงื่อนไขทั่วไปอีกส่วนหนึ่ง 
แต่งานที่เกี่ยวข้องกับการเทคอนกรีตมักจะเหมือนกับเงื่อนไขทั่วไปในหมวดที่เกี่ยวข้องกับงานคอนกรีต

งานที่รวมอยู่ในสัญญา (WORK INCLUDED IN CONTRACT) 
จะเป็นส่วนที่กำหนดเพิ่มเติมเพื่อให้เห็นชัดเจนถึงงานต่าง ๆ ที่มีอยู่ในแต่ละสัญญา (อาจะมีหรือไม่มีก็ได้)  เช่น
การเจรจาเช่าที่จากชาวบ้านเพื่อสร้างสำนักงานสนาม หรือ
ค่าใช้จ่ายในการไล่ชาวบ้านออกจากบริเวณที่จะทำการก่อสร้างใครว่าใครจะเป็นคนจ่าย และจะนับเวลาเริ่มการก่อสร้างเมื่อใด เป็นต้น

งานที่ไม่รวมอยู่ในสัญญา (WORK NOT INCLUDED IN CONTRACT) 
ส่วนใหญ่จะเป็นงานพิเศษเฉพาะอย่างที่ไม่เกิดขึ้นบ่อยนักในงานก่อสร้าง เช่น
ค่าใช้จ่ายในการไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ก่อสร้างให้เป็นภาระของผู้รับเหมา
และ ไม่สามารถนำระยะเวลาที่ใช้ในการเจรจาต่อรองกับชาวบ้านมารวมเป็นระยะเวลาการก่อสร้าง
เพื่อยืดระยะเวลาในสัญญาก่อสร้างออกไป เป็นต้น

รายละเอียดข้อกำหนดการก่อสร้างและแบบ (SPECIFICATIONS AND DRAWINGS)
ส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมมากที่สุดเพราะจะแจ้งถึงข้อกำหนดความต้องการทางเทคนิคของสัญญา
โดยระบุถึงขอบเขตขีดความต้องการและคุณภาพของงาน
วิธีการก่อสร้าง วิธีประกอบและติดตั้ง วิธีตรวจสอบและตรวจรับงานเพื่อเบิกเงินงวด เป็นต้น


รายการชี้แจงเพิ่มเติม (ADDENDA) 
มักจะเป็นส่วนที่พบในภายหลังว่ามีความสำคัญต่อโครงการแต่ลืม หรือ ตกหล่น ไมได้กล่าวไว้ในส่วนอื่นๆจึงต้องมาเพิ่มเอาไว้ในส่วนนี้
ส่วนมากมักจะเกี่ยวข้องกับเรื่องเงินหรือค่าใช้จ่ายของโครงการที่มีการเปลี่ยนแปลงว่าใครต้องรับผิดชอบแค่ไหน อย่างไร เท่าใด เป็นต้น

รายการที่เจ้าของงานจะจัดหาให้ (OWNER-FURNISHED ITEMS) 
จะเป็นส่วนที่แจ้งให้ทราบว่ามีงานใดบ้างที่เจ้าของโครงการจัดหาให้เอง  ผู้รับเหมาไม่ต้องเกี่ยวข้อง เช่น
การสั่งวัสดุบางอย่างซึ่งจะมีส่วนลดถ้าเจ้าของโครงการจัดหาให้เองจะประหยัดไปได้มากสำหรับโครงการที่มีงบประมาณสูง
แต่จะมีข้อเสียคือบางครั้งของจะมาไม่ตรงเวลาที่ต้องการใช้ซึ่งเจ้าของโครงการจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นเองเป็นต้น


แผนการก่อสร้าง (CONSTRUCTION SCHEDULE) 
จะเป็นส่วนที่กำหนดให้ผู้รับเหมาต้องดำเนินการก่อสร้างตามขั้นตอนที่กำหนดคร่าว ๆ 
แผนนี้สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลาได้ แต่จะต้องไม่เกินระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา
นอกจากนี้ในแผนการก่อสร้างจะระบุด้วยว่าเมื่อใดจะส่งมอบงานส่วนใดบ้าง และ เมื่อใดจะเบิกเงินเท่าใด เป็นต้น

ฯลฯ แล้วแต่ความต้องการของเจ้าของงาน

example of structure of contract chart of AOT/AAT


รองศาสตราจารย์รังสรรค์ วงษ์บุญ

วันที่ 7 มิถุนายน 2556
 



Use examples to explain your points, always backup a comment with a fact.



rangsonw@gmail.com www.facebook.com/rangsonw  ; www.twitter.com/rangsonw

All materials on this website is copyright and may not be republished in any form without written permission.

ปรับปรุงแก้ไข ศุกร์, 07 มิถุนายน 2556 08:18:33