ภาคีเครือข่ายผู้ตรวจการก่อสร้าง และ ต่อต้านการทุจริตเชิงป้องกัน (ภตป.)
Independent Inspector Alliance for Construction & Anti - Corruption Preventive Approach (IACONPA)
The only thing necessary for the triumph of evil is for good men to do nothing.

 

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

www.shutterfly.com

 

Specification ความหมาย ประเภท และ โครงสร้าง
  Specification หรือ รายการก่อสร้าง
หมายถึง เอกสารที่แสดงความต้องการทางด้านคุณภาพของงานก่อสร้างที่เจ้าของโครงการต้องการภายใต้ระยะเวลา
และ ราคาค่าก่อสร้างที่ได้ตกลงกันกับผู้รับจ้างก่อนเริ่มงาน

เป็นเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพขั้นต่ำของเจ้าของงานที่คาดหวังว่าผู้รับจ้างจะต้องทำให้ผ่าน
แต่ผู้รับจ้างถือว่าเป็นมาตรฐานขั้นสูงที่จะต้องทำให้ถึงพอดีก็พอ

คุณภาพงานก่อสร้าง จะเน้นที่ วัสดุก่อสร้างที่นำมาใช้ต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก.
และ วิธีการก่อสร้างเป็นไปตามหลักวิชาทางด้านวิศวกรรม

วัสดุบางอย่างไม่มี มอก. ที่แน่นอน เช่น อิฐมอญ เพราะกระบวนการผลิตแต่ละแหล่งผลิตไม่เหมือนกันเพียงแต่มีขนาดเท่ากัน
หรือ ใกล้เคียงกันแต่ถือว่าใช้ได้โดยทั่วไป

รายการก่อสร้าง ถือเป็นส่วนหนึ่งของ สัญญาก่อสร้าง

ประเภทของ
Specification
มื่ออ่าน Specification งานก่อสร้างในประเทศไทย พบว่าอย่างน้อยจะแบ่งออกได้ 5 แบบ

1.
PROPRIETARY SPECIFICATION
เป็นข้อกำหนดที่มีการระบุยี่ห้อ รุ่น หมายเลขแคตตาล็อก สี หรือ รายละเอียดต่างๆให้ชัดเจน
ผู้ที่เกี่ยวข้องรู้ได้ทันทีว่าเป็นสิ่งใด เช่น กระเบื้องมุงหลังคาใช้
CPAC MONIER
สีแดง เป็นต้น

ข้อดี เช่น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าใจตรงกันว่าต้องการอะไร คิดราคาง่าย ทำให้รายละเอียดข้อกำหนดสั้น กะทัดรัด
ได้คุณภาพงานตรงตามความต้องการของผู้ออกแบบ
ฯลฯ


ข้อเสีย เช่น ใช้กำหนดรายละเอียดได้เฉพาะวัสดุเท่านั้น  จะทำให้ไม่มีการแข่งขันในการเสนอราคาทำให้งานมีราคาแพง
และถ้าตอนลงมือก่อสร้างจะมีปัญหาถ้าหายี่ห้อนั้นไม่ได้ หรือ หาได้แต่เจ้าของผู้ผลิตโก่งราคาขึ้นไปอย่างไม่เป็นธรรม
นอกจากนี้วัสดุบางชนิดที่ใช้กันบ่อยๆแต่ไม่มียี่ห้อ เช่น อิฐบล็อก อิฐ  ทราย หิน  จะไม่สามารถนำมาใช้ในรายการก่อสร้างประเภทนี้ได้
ฯลฯ

2.  REFERENCE SPECIFICATION
เป็นข้อกำหนดที่อ้างอิงมาตรฐานที่มีอยู่ ที่ใช้อยู่ ที่ทุกคนยอมรับ เช่น ให้ใช้ปูนซีเมนต์ประเภท 1 ตาม มอก.ที่ 15 ,
ASTM etc.
เป็นต้น

ข้อดี เช่น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยอมรับเพราะเป็นที่คุ้นเคยและใช้ทั่วไปไม่จำกัดการแข่งขัน
รายละเอียดข้อกำหนดสั้น กระชับ กะทัดรัด มีน้ำหนักมากถ้าต้องมีการขึ้นศาลกรณีมีปัญหาในการทำงาน
ฯลฯ

ข้อเสีย เช่น วัสดุหรือวิธีการหลายอย่างไม่มีมาตรฐานให้อ้างอิง
วัสดุบางชนิดที่ใช้กันบ่อยๆแต่ไม่มียี่ห้อ เช่น อิฐบล็อก อิฐ  ทราย หิน  จะไม่สามารถนำมาใช้ในรายการก่อสร้างประเภทนี้ได้
มาตรฐานบางอย่างอาจล้าสมัยเพราะผู้ออกข้อกำหนดบกพร่อง หรือ
มาตรฐานบางอย่างเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำอาจปกป้องผลประโยชนของคนบางกลุ่มเท่านั้น
หรือ การออกข้อกำหนดให้ผู้รับ
เหมาต้องขวนขวายหามาตรฐานอ้างอิงเอาเองซึ่งกว่าจะได้รับการยอมรับจากเจ้าของงานจะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก
ฯลฯ

3.  DESCRIPTIVE SPECIFICATION: MATERIALS , METHODS & WORKMANSHIP
เป็นข้อกำหนดที่ระบุวิธีการนำวัสดุไปใช้งานจริง วิธีการก่อสร้าง และระดับฝีมือช่างที่ต้องการ เช่น ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
หรือ ต้องมีใบผ่านงานจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือ ต้องมีใบรับรองประสบการณ์ เป็นต้น

ข้อดี เช่น มีการระบุความต้องการได้ชัดเจน ใช้ได้กับทุกงานเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันโดยเสรี
ฯลฯ

ข้อเสีย เช่น อาจไม่ได้ผลเพราะฝีมือช่างไม่ถึงระดับที่ต้องการ หรือ ตรวจสอบระดับฝีมือช่างได้ยาก
หรือ ถ้าทำได้ก็จะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก  จะทำให้การเขียนข้อกำหนดยาว เสียเวลาเขียนนานมาก
เสียเวลาอ่านทำความเข้าใจมาก อาจจะต้องเพิ่มข้อความบางอย่างเพื่อให้ได้ผลตามต้องการ อาจทำให้ราคางานสูงขึ้น
ฯลฯ

4.  PERFORMANCE SPECIFICATION 
เป็นข้อกำหนดที่ระบุผลสุดท้ายที่ต้องการเท่านั้น
ส่วนวัสดุ และ แรงงาน วิธีการจัดซื้อ - จัดหา ตลอดจนวิธีการก่อสร้าง ผู้รับเหมาจะต้องเป็นผู้ดำเนินการจัดหา จัดซื้อ ด้วยตัวเองทั้งหมด

ข้อดี เช่น ได้ผลตรงตามความต้องการของผู้ออกแบบ ผู้รับเหมามีอิสระเต็มที่ในการทำงาน จะมีการแข่งขันสูง
ข้อกำหนดจะสั้น และกะทัดรัด ใช้ได้กับงานทุกประเภท
ฯลฯ


ข้อเสีย เช่น การกำหนดราคาที่แน่นอนทำได้ยาก ผู้รับเหมาจะใช้วิธีทำงานแตกต่างกันออกไป
ควบคุมงานลำบากต้องทำตามผู้รับเหมาบอกตลอด
ยิ่งถ้าไม่จำกัดค่าใช้จ่ายเอาไว้เจ้าของโครงการจะเสียค่าใช้จ่ายมาก
ฯลฯ

5.
    COMBINATION SPECIFICATION
เป็นข้อกำหนดแบบผสมตามความต้องการเฉพาะงาน มีข้อดีและข้อเสียตามแต่ละแบบที่นำมาใช้
ฯลฯ
 
  โครงสร้างของ Specification
มีหลายโครงสร้าง แต่ในประเทศไทยใช้โครงสร้างของรายการก่อสร้างหรือข้อกำหนดตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
และ ตาม Construction Specification Institute หรือเรียกโดยทั่วไปว่า CSI Format ซึ่งเดิมแบบเป็น16 หมวด
แต่ปัจจุบันได้แบ่งย่อยๆเพิ่มออกไปอีกหลายหมวด

โครงสร้างหลักของ Specification ของไทยจะแบ่งออกได้เป็น 2 หมวดใหญ่ๆ คือ

1.    หมวดเงื่อนไขของสัญญา (CONDITION OF CONTRACT)
ในหมวดนี้จะพูดถึง อำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ ความผูกพันทางกฎหมายระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งในเงื่อนไขของสัญญาการก่อสร้างจะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ


1.1 เงื่อนไขทั่วไป (GENERAL CONDITION)
                   
มักจะเหมือนๆกันในหลายๆโครงการก่อสร้าง  ซึ่งจะประกอบด้วย
บทนิยาม และการตีความ  ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการเสนอราคา  เกณฑ์การตัดสินให้ชนะการประมูลและการทำสัญญา 
ขอบเขตของงาน การควบคุมงาน  การควบคุมวัสดุ  ความสัมพันธ์กันตามกฎหมายและความรับผิดชอบต่อสาธารณะ 
การดำเนินงานและความก้าวหน้า  การวัดผลงานและการจ่ายเงิน  ค่าจ้างแรงงานและเงื่อนไขการจ้างแรงงาน  เป็นต้น
ฯลฯ

1.2 ความต้องการพิเศษเฉพาะงาน
(SPECIAL REQUIREMENT)

ในแต่ละโครงการมักจะไม่เหมือนกัน  เช่น สถานที่และลักษณะของงาน  รายละเอียดและความต้องการของงาน  
เวลาเริ่มและแล้วเสร็จของงาน ขั้นตอนที่งานส่วนต่าง ๆ จะต้องแล้วเสร็จ  ระยะเวลาและวิธีการจ่ายเงิน การวัดและการประเมินผลงาน 
การปรับปรุงราคาในกรณีปริมาณงานเปลี่ยนแปลง  การจ่ายเงินล่วงหน้าและการจ่ายเงินคืน เงินประกันการเสียหายในการก่อสร้าง 
เงินประกันการเสียหายในการก่อสร้าง เงินค่าปรับเมื่อทำงานช้ากว่าแผน ข้อมูลต่างๆ ที่เจ้าของงานจะต้องจัดหา 
แบบรายละเอียด  รายการเครื่องจักรเครื่องมือที่เจ้าของงานจะต้องจัดหา
รายการสิ่งของของเจ้าของงานที่ผู้รับเหมาสามารถนำมาใช้ได้  ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม 
ผู้รับเหมาะจะต้องจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานด้วย  ผู้รับเหมาจะต้องป้องกันสิ่งที่จะก่อให้เกิดอันตรายหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ
ฯลฯ


2.
    หมวดข้อกำหนดทางด้านเทคนิค (TECHNICAL CONDITION)  
ในหมวดนี้จะพูดถึง วัสดุที่จะใช้ในการก่อสร้าง วิธีการวัด วิธีการตรวจสอบ  มาตรฐานที่จะใช้สำหรับอ้างอิง  ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมล้วนๆ  เป็นต้น
 
 
โครงสร้างหลักของ Specification ตาม Construction Specification Institute หรือเรียกโดยทั่วไปว่า CSI Format
ซึ่งเดิมแบบเป็น 16 หมวด แต่ปัจจุบันได้แบ่งย่อยๆเพิ่มออกไปอีกหลายหมวด รายละเอียดศึกษาได้จาก  ce005006
 
     
  รองศาสตราจารย์ รังสรรค์ วงษ์บุญ
วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน 2556
 



Use examples to explain your points, always backup a comment with a fact.



rangsonw@gmail.com www.facebook.com/rangsonw  ; www.twitter.com/rangsonw

All materials on this website is copyright and may not be republished in any form without written permission.

ปรับปรุงแก้ไข เสาร์, 08 มิถุนายน 2556 10:26:43