ภาคีเครือข่ายผู้ตรวจการก่อสร้าง และ ต่อต้านการทุจริตเชิงป้องกัน (ภตป.) |
|
HOME |
การตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น Pre-qualification & Pre-qualification Statements |
||
เมื่อทางราชการได้ออกประกาศเชิญชวนบริษัท ห้างร้าน
ต่างๆให้เข้าร่วมการยื่นซองประกวดราคางานก่อสร้าง จัดซื้อ จัดหา ฯลฯ
ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ทุกๆบริษัทจะต้องส่ง เล่ม หรือ ประวัติบริษัทฯให้กับทางราชการได้ตรวจสอบก่อนว่า บริษัทฯนั้นๆมีความสามารถเหมาะสมกับงานที่จะเข้ายื่นซองประกวดราคาหรือไม่ ซึ่งอาจจะทำก่อน หรือ หลัง ขั้นตอนการซื้อแบบ ก็ได้ ขั้นตอนนี้ เรียกว่า ขั้นตอนการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้เข้ายื่นซองประกวดราคา หรือ เรียกโดยทั่วไปว่า ขั้นตอนการทำ PQ หรือ Pre-qualification ซึ่งจะอ่านจากเอกสาร หรือ เล่ม ที่แต่ละบริษัทส่งให้ตรวจสอบ ซึ่งเอกสารนี้ เรียกกว่า Pre-qualification Statements รายละเอียดใน Pre-qualification Statements จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับ |
||
ประวัติการจัดตั้งบริษัท |
คณะกรรมการบริหาร หรือ หุ้นส่วนบริษัท |
|
เงินทุนจดทะเบียน |
ผู้มีอำนาจลงนามตามกฎหมายแทนบริษัทฯ |
|
ประวัติการผ่านงาน |
แหล่งเงินทุนสนับสนุนบริษัท |
|
ที่ตั้งสำนักงาน |
เครื่องจักรเครื่องมือที่มีอยู่ |
|
ฯลฯ |
ฯลฯ |
|
ในเล่มนี้ แต่ละบริษัทฯจะไม่ยอมระบุว่า บริษัทฯของตน
เคยมีปัญหาการทิ้งงาน กับ ทางราชการ หรือไม่ อย่างไร ซึ่งในปัญหานี้ ทางราชการจะจัดตั้ง คณะกรรมการ ขึ้นมาชุดหนึ่งมาทำหน้าที่ตรวจสอบเรื่องนี้โดยเฉพาะ เพื่อทำการตรวจสอบดูว่าบริษัทฯที่เข้ายื่นซองประกวดราคานี้ มีประวัติการทิ้งงาน หรือ ถูกขึ้นบัญชีดำห้ามเข้าประมูลงานของทางราชการหรือไม่ และ ฯลฯ อีกครั้งหนึ่ง บริษัทที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นนี้จะถูกขึ้นบัญชีไว้เรียกว่า Short List ซึ่งทุกบริษัทที่อยู่ในบัญชีนี้จะเข้าไปดำเนินการยื่นซองประกวดราคาในขั้นตอนอื่นๆต่อไป แต่ถ้ามีการออกคำสั่งยกเลิกการใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ จะทำให้การตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นถูกยกเลิกตามไปด้วย ทำให้นิติบุคคลใดๆสามารถเข้าร่วมการประมูลงานใดๆของทางราชการได้โดยไม่ต้องผ่านงานนั้นๆมาก่อน เพียงแต่รับเงื่อนไขที่เปิดเผยต่อสาธารณะไม่ได้ของเจ้าของโครงการได้ ก็ถือว่า ผ่านเกณฑ์เบื้องต้น เข้าสู่กระบวนการยื่นซองประกวดราคาได้ ระเบียบของทางราชการมีข้อบกพร่องในเรื่องการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นอีกบางประการ เช่น ถ้าวิศวกร หรือ ผู้บริหารบริษัทเดิม ที่ทำงานบริษัทเดิมที่มีปัญหากับทางราชการแต่ย้ายไปอยู่อีกบริษัทหนึ่งได้ โดยไม่ถือว่าบริษัทนั้นเคยมีปัญหากับทางราชการมาก่อน เป็นต้น ซึ่งน่าจะต้องมีการแก้ไขให้ทันเหตุการณ์ต่อไป รองศาสตราจารย์ รังสรรค์ วงษ์บุญ วันจันทร์ 10 มิถุนายน 2556 |
||
Use examples to explain your points, always backup a comment with a fact.
rangsonw@gmail.com ;
www.facebook.com/rangsonw
;
www.twitter.com/rangsonw
All materials on this website is copyright and may not be republished in any form without written permission.
ปรับปรุงแก้ไข จันทร์, 10 มิถุนายน 2556 19:27:12