ภาคีเครือข่ายผู้ตรวจการก่อสร้าง และ ต่อต้านการทุจริตเชิงป้องกัน (ภตป.)
Independent Inspector Alliance for Construction & Anti - Corruption Preventive Approach (IACONPA)
The only thing necessary for the triumph of evil is for good men to do nothing.

 

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

www.shutterfly.com

 

  การยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และ แก้ไขเพิ่มเติม
มีผลกระทบต่อการประมูล จัดซื้อ จัดจ้าง จัดหา ด้วยเงินงบประมาณแผ่นดินอย่างไร
 
  ระเบียบสำนักนายกฯว่าด้วยการพัสดุ ประกาศใช้ในปี 2535 สมัยนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี
โดยปรับปรุงจากระเบียบเดิมของกระทรวงการคลังฯ
มีจุดประสงค์เพื่อให้การใช้งบประมาณแผ่นดินเป็นไปอย่างเสมอภาค ประหยัด มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน
และ เป็นประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง

แต่นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งไม่ค่อยชอบระเบียบฯนี้มากนัก เพราะทำให้การทุจริตเงินงบประมาณแผ่นดินทำได้ด้วยความยากลำบาก
และมักจะหาช่องทางยกเลิกอยู่เสมอเมื่อมีโอกาส และ ก็ทำได้สำเร็จในสมัยที่นักการเมืองพรรคนั้นเข้ามาบริหารประเทศ
โดยยกเลิกระเบียบบางข้อ แต่ผลที่ตามมาก็คือ หลังหมดอำนาจจะมีการฟ้องร้องดำเนินคดีเกี่ยวกับการทุจริตตามมาอย่างมากมาย
อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

การยกเลิกระเบียบพัสดุฯ ทั้งหมด หรือ บางส่วน หรือ จะใช้ข้อใด ไม่ใช้ข้อใดก็ได้
มีผลกระทบต่อการทุจริตฯประมูลงานภาครัฐฯ หลายๆประการ ดังต่อไปนี้ เช่น

ยกเลิกหมวด 1 ข้อความทั่วไป ส่วนที่ 1 นิยาม
ข้อ 5.
ฯลฯ
- พัสดุที่ใช้จะใช้จากที่ใดก็ได้ แม้ว่าในประเทศไทยจะผลิตได้ก็ตาม
- ที่ปรึกษา จะเป็นใครก็ได้ไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ
- ผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน เช่น เป็นหุ้นส่วนกัน กับผู้มีหน้าที่ออกแบบ ที่ปรึกษา และ ควบคุมงาน สามารถเข้ายื่นซองประกวดราคาได้
- การสมยอมราคาในการประมูลงาน หรือ การฮั้ว หรือ มีผู้ประมูลน้อยกว่า 3 ราย หรือ ประมูลใกล้ราคากลาง ถือว่าไม่ผิด
  และ การเป็นนายหน้าเพื่อประมูลงานให้ได้แล้วขายงานในภายหลังให้กับบริษัทฯอื่นๆ ไม่ผิด และ การไม่มีการแข่งขันประกวดราคาอย่างไม่เป็นธรรม ไม่ผิด
- ยกเลิกการตรวจสอบคุณสมบัติ ความเหมาะสม การผ่านงาน การทิ้งงาน ฯ ของทุกบริษัทฯที่เข้ายื่นซองประกวดราคาฯ
  บริษัทฯใดรับเงื่อนไขฝ่ายการเมืองได้ก็เข้าร่วมยื่นซองประกวดราคาได้
ฯลฯ

ยกเลิกหมวด 1 ข้อความทั่วไป ส่วนที่ 2 การใช้บังคับและการมอบอำนาจ
ข้อ 6. ...เงินงบประมาณ เงินกู้ และ เงินช่วยเหลือ ไม่ต้องอยู่ภายใต้ระเบียบพัสดุฯ
ข้อ 7 - 8 - 9 ...มอบอำนาจให้ใครเป็นผู้รับผิดชอบโครงการก็ได้ ไม่จำเป็นต้องตามสายงาน และ ไม่ต้องสำเนาแจ้ง สตง. เพื่อทราบ
ฯลฯ

ยกเลิกหมวด 1 ข้อความทั่วไป ส่วนที่ 3 บทกำหนดโทษ
ข้อ 10. การกระทำต่อไปนี้ถือว่า ไม่ผิด - การทุจริต การฮั้ว การกระทำโดยไม่มีอำนาจกระทำ การทำนอกเหนือหน้าที่ การกระทำให้ราชการเสียหาย ฯลฯ

ยกเลิกหมวด 1 ข้อความทั่วไป ส่วนที่ 4 คณะกรรมการว่าด้วยพัสดุ หรือ กวพ.
ข้อ 11. ยกเลิก กวพ. ตามตำแหน่งหน้าที่ราชการหลายๆหน่วยงาน เช่น กลาโหม คลัง อัยการ ปปช. สตง. กฤษฎีกา ฯลฯ
เป็นใครก็ได้แล้วแต่ฝ่ายการเมืองจะแต่งตั้ง
ข้อ 12. ให้ กวพ. ที่ฝ่ายการเมืองตั้ง เป็นผู้พิจารณาอนุมัติว่าจะยกเลิก ใช้ ระเบียบใด หรือ ไม่ อย่างไร และ จะออกระเบียบว่าจะให้ใช้อย่างไรก็ได้

ยกเลิกหมวด 2 การจัดหา ส่วนที่ 1 บททั่วไป
ข้อ 13. เมื่อทราบยอดเงินที่จะใช้แล้ว ให้ดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างได้ทันทีด้วยวิธีการใดๆก็ได้ตามที่ทางฝ่ายการเมืองกำหนด
ไม่ต้องไปสนใจว่าจะใช้วิธีพิเศษ หรือ วิธีประกวดราคา หรือ วิธีสอบราคา หรือ วิธีอื่นใด
ข้อ 14. ฝ่ายการเมืองสามารถกำหนดวิธีการจัดซื้อ จัดหา จัดจ้าง ฯ ได้เองแล้วแต่จะเห็นสมควร แม้แต่จะออกกฎ ระเบียบ ได้เอง

ข้อ 15.
- ฝ่ายการเมืองสามารถตั้งคณะกรรมการฯตรวจการจ้าง ทุกคณะฯ ใดๆได้เอง เป็นใครก็ได้  ไม่ต้องถามส่วนราชการที่เกี่ยวข้องใดๆอีก
- การจัดหาผู้ดำเนินการไม่จำเป็นต้องเปิดเผย โปร่งใส ฯ จะฮั้วหรือสมยอมราคากันก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม
  ไม่ต้องคำนึงถึงคุณสมบัติและความสามารถของบริษัทที่เข้าประกวดราคา ไม่ต้องบันทึกหลักฐานการดำเนินในทุกๆขั้นตอน
  ไม่ต้องบันทึกเหตุผลว่าเพราะเหตุใดจึงต้องสั่งการแบบนั้น ให้ตรวจสอบในภายหลัง
- บริษัทแม่ - ลูก ยื่นซองแข่งกันเองได้ และไม่ต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติใดๆว่าจะฮั้วหรือสมยอมราคากันหรือไม่ก่อนการเปิดซองเทคนิค และ ซองราคา
- ไม่ต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติผู้เสนอราคาในทุกๆกรณี เช่น ประวัติการผ่านงาน การทิ้งงาน ฐานะทางการเงิน คณะกรรมการบริหาร ผู้มีอำนาจลงนามผูกพัน
  และไม่ต้องเปิดเผยผู้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติให้สาธารณะชนได้รับทราบ
- ไม่มีการตัดรายชื่อบริษัทใดๆออก แม้ว่าบริษัทเหล่านั้นจะมีผลประโยชน์ร่วมกัน หรือ มีแนวโน้มว่าจะมีการสมยอมราคาในการยื่นซองประกวดราคา
- ห้ามตรวจสอบคุณสมบัติของบริษัทผู้เสนอราคาย้อนหลังในทุกๆกรณี และ ห้ามตัดบริษัทใดๆออกในภายหลัง
- หลังเปิดซอง บริษัทใดทำผิดกฎหมายฮั้วหรือสมยอมราคา หรือ ไม่มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม จะยกเลิกไม่ได้

ยกเลิกหมวด 2 การจัดหา ส่วนที่ 2 การซื้อ การจ้าง การใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศ และ กิจการของคนไทย
ข้อ 16. ฯลฯ ไม่ต้องใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศไทย ไม่จำเป็นต้องมีมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก. หรือ มาตรฐานระหว่างประเทศ
หรือ ISO ใดๆ  หมายความว่า ใช้ของ copy ที่ไม่มีมาตรฐานอุตสาหกรรมใดๆรองรับก็ได้

ข้อ 17. ห้ามทุกส่วนราชการทุกหน่วยงานเข้าไปตรวจสอบ หรือ ต้องอนุมัติก่อนใช้

 

วิธีซื้อและวิธีจ้าง
ข้อ 18 - 26 ยกเลิกวิธีการซื้อ/จ้าง เดิม ทั้ง 5 วิธี แล้วใช้วิธีการใดๆก็ได้ตามแต่ฝ่ายการเมืองกำหนด

รายงานขอซื้อหรือขอจ้าง
ข้อ 27 - 29  สามารถซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือ พัสดุ ใดๆก็ได้ ราคาเท่าใดก็ได้
ไม่ต้องแจ้งเหตุผลและความจำเป็นใดๆต่อส่วนราชการใดๆเพื่อขออนุมัติ หรือ เพื่อตรวจสอบใดๆ

การคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการซื้อและการจ้าง
ข้อ 30. ทุกส่วนราชการสามารถซื้อและจ้างใครก็ได้ วิธีใดก็ได้ โดยไม่ต้องตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น ไม่ต้องมีรายละเอียดที่มาของราคา
ข้อ 31. ไม่ต้องปิดประกาศ หรือ ให้รายละเอียดของโครงการ หรือ พัสดุที่จะซื้อ หรือ เงื่อนไข ใดๆ
ข้อ 32. ไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบใดๆในทุกๆขั้นตอนการดำเนินการ
ข้อ 33. ไม่ต้องออกกฎเกณฑ์ใดๆเพื่อมาใช้ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เข้ายื่นซองฯ
ไม่ต้องพิจารณาความสามารถ ความพร้อม ว่าผู้เสนอราคาจะทำได้หรือไม่ หรือ เคยถูกขึ้นบัญชีดำมาก่อน

กรรมการ
ข้อ 34 - 38 การซื้อ การจ้าง ไม่ต้องมีคณะกรรมการฯเพื่อมาทำหน้าที่ตรวจสอบ กำกับ ดูแล ไม่ว่าในด้านใดๆ   ฝ่ายการเมืองจะกำหนดเอง

วิธีตกลงราคา สอบราคา ประกวดราคา วิธีพิเศษ วิธีกรณีพิเศษ
ข้อ 39 - 59 ยกเลิกกระบวนการตรวจสอบคุณสมบัติทุกๆประการของผู้เสนอราคา หรือ ราคางาน และ วิธีการจัดซื้อ จัดหาที่ใช้อยู่ทั้งหมด
ฝ่ายการเมืองจะกำหนดเอง

การจัดซื้อยา และ เวชภัณฑ์
ข้อ 60 - 64

อำนาจในการสั่งซื้อ หรือ สั่งจ้าง
ข้อ 65 - 67 ยกเลิกเพดานการอนุมัติเงินเพื่อจัดซื้อ จัดหา ตามตำแหน่งหน้าที่/สายการบังคับบัญชา

การจ่ายเงินล่วงหน้า
ข้อ 68 - 70 ยกเลิกเพดานการจ่ายเงินล่วงหน้า 15 % ของงบประมาณทั้งหมด และ ผู้เสนอราคาที่รับเงินล่วงหน้าไปไม่ต้องมีหลักทรัพย์ใดๆมาค้ำประกัน

การตรวจรับพัสดุ
ข้อ 71 ไม่ต้องมีคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ - เพื่อตรวจสอบใดๆ

การตรวจการจ้างและการควบคุมงานก่อสร้าง
ข้อ 72 - 73 ไม่ต้องมีการตรวจสอบแบบและรายการก่อสร้างใดๆ ไม่ต้องมีการตรวจสอบความก้าวหน้าของงานเทียบกับเงินที่เบิกไป
ไม่ต้องตรวจสอบวันเริ่มงาน วันส่งงานแต่ละงวด ฯลฯ

ยกเลิกหมวด 2 การจัดหา ส่วนที่ 3 การจ้างที่ปรึกษา
ข้อ 74 - 76 ยกเลิกการส่งเสริมที่ปรึกษาไทย
ข้อ 77 - 91 ยกเลิกหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข ในการจ้างที่ปรึกษาที่ใช้กับส่วนราชการอื่นๆทั้งหมด และ ใช้ตามที่ฝ่ายการเมืองกำหนด

ค่าจ้างที่ปรึกษา และ หลักประกันผลงาน
ข้อ 92 - 94 ยกเลิกอัตราค่าจ้างที่ปรึกษาตามที่ คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ กวพ. เดิม กำหนดขึ้น
โดยให้ค่าจ้างที่ปรึกษาจะเป็นเท่าใดก็ได้โดยไม่ต้องพิจารณาวันทำงาน หรือ Man-month หรือ งานที่มีลักษณะเดียวกัน
ยกเลิกเพดานการจ่ายเงินล่วงหน้า 15 % ของเงินงบประมาณ และ ถ้าจ่ายไปก็ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
และ ไม่ต้องหักเงินแต่ละงวด 5 - 10 % ไว้เก็บงาน

ยกเลิกหมวด 2 การจัดหา ส่วนที่ 4 การจ้างออกแบบและควบคุมงาน
ข้อ 95 ยกเลิกวิธีการจ้างฯเดิม 4 วิธี ตกลง - คัดเลือก - คัดเลือกแบบจำกัดข้อกำหนด - วิธีพิเศษ
ข้อ 96 ไม่ต้องให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานประมาณการค่าก่อสร้าง กำหนดเวลาแล้วเสร็จ วิธีการจัดจ้าง ฯ
ข้อ 97 - 109 ยกเลิกหลักเกณฑ์ และ วิธีการ การจัดซื้อ จัดหา ทุกประเภท
ข้อ 110 - 111 ยกเลิกหลักเกณฑ์ วิธีการ ประกาศเชิญชวนเข้าร่วมประกวดราคา
ข้อ 112  ผู้เข้าร่วมเสนอราคาไม่ต้องเสนอหลักฐานคุณวุฒิ ประวัติการผ่านงาน บุคคลากรประจำบริษัท ใดๆ
หมายความว่า บริษัทที่มีเพียง 1 คน สามารถเข้าร่วมเสนอราคาแล้วขายงานภายหลังได้
ข้อ 113  ใครๆก็สามารถเข้าร่วมประกวดราคาได้ ไม่ว่าจะเป็น บริษัท ห้างร้าน เอกชน ข้าราชการ ต่างด้าว ฯลฯ

ข้อ 114  ยกเลิกการให้ข้าราชการเจ้าของโครงการเป็นผู้มีอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างโดยตรง
ข้อ 115  ยกเลิกการริบหลักประกันของผู้ยื่นซองประกวดราคาทุกชนิด
ข้อ 116 - 117 ยกเลิกคณะกรรมการตรวจสอบและรับมอบงาน
ข้อ 118  การควบคุมงานเป็นใครก็ได้ จะมีหรือไม่ก็ได้ ไม่ต้องให้ผู้ว่าจ้างเห็นชอบ หรือ ยินยอม ก็ได้

ค่าออกแบบและควบคุมงาน
ข้อ 119 ยกเลิกค่าออกแบบ หรือ ค่าคุมงาน(การจ่ายเงิน ค่าออกแบบและควบคุมงาน ไม่รวมถึง ค่าสำรวจ และวิเคราะห์ดินฐานราก)
           (๑) อาคารที่มี งบประมาณค่าก่อสร้าง ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้จ่าย ค่าออกแบบ หรือค่าคุมงาน อย่างใดอย่างหนึ่ง
                ในอัตราร้อยละ ๒ ของวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้าง
           (๒) อาคารที่มี งบประมาณค่าก่อสร้าง เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับในส่วนที่เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
                 ให้จ่าย ค่าออกแบบหรือค่าคุมงาน อย่างใดอย่างหนึ่ง ในอัตราร้อยละ ๑.๗๕ ของวงเงิน งบประมาณค่าก่อสร้าง
ข้อ 120 - 122 ยกเลิกข้อจำกัดที่ห้ามไม่ให้นำแบบและรายการก่อสร้างไม่ใช้ในโครงการใหม่ หรือ แก้ไขเปลี่ยนแปลงในระหว่างก่อสร้าง

ยกเลิกหมวด 2 การจัดหา ส่วนที่ 5 การแลกเปลี่ยน
ข้อ 123 - 127 ยกเลิกหลักเกณฑ์ วิธีการ แลกเปลี่ยนพัสดุ ระหว่างหน่วยงานของรัฐฯ - รัฐฯ และ ระหว่าง รัฐฯ - เอกชน

ยกเลิกหมวด 2 การจัดหา ส่วนที่ 6 การเช่า
ข้อ 128 - 131 ยกเลิกหลักเกณฑ์ วิธีการ เช่าอสังหาริมทรัพย์ และ ค่าเช่า เพื่อใช้ในระหว่างการก่อสร้าง

ยกเลิกหมวด 2 การจัดหา ส่วนที่ 7 สัญญา และ หลักประกันสัญญา
ข้อ 132 เขียนรูปแบบสัญญาใหม่ได้ หรือ จะใช้ของ กวพ. ็ได้ ทำเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ จะมีหรือไม่มีคำแปลด้วยก็ได้
มอบอำนาจให้ใครลงนามแทนก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการนั้นๆ สัญญาจะให้อัยการฯตรวจหรือไม่ก็ได้
เขียนสัญญาให้ทางราชการเสียเปรียบก็ได้ ฯลฯ

ข้อ 133 การจัดหาที่ใช้เงินไม่เกิน 1 แสนบาทไม่ต้องทำเป็นหนังสือก็ได้ ฯ
ข้อ 134 การส่งพัสดุล่าช้า หรือ ส่งงานล่าช้า ไม่ต้องเสียค่าปรับ
ข้อ 135 ไม่ต้องส่งหนังสือสัญญาให้ สตง. ตรวจสอบ
ข้อ 136 สัญญาที่ลงนามแล้วแก้ไขได้ตลอดเวลาถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเห็นว่าเสียเปรียบ
การเพิ่มวงเงินค่าก่อสร้างไม่ต้องทำตามกฎหมายใดๆให้ขึ้นอยู่กับฝ่ายการเมือง
การจัดซื้อจัดหาที่เกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างไม่ต้องให้วิศวกรรับรองก่อนนำมาใช้
ข้อ 137 หัวหน้าส่วนราชการไม่สามารถบอกเลิกสัญญาได้แม้ว่าจะทำงานไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนด ฯ
ข้อ 138 หัวหน้าส่วนราชการไม่สามารถบอกเลิกสัญญาได้ไม่ว่าจะเสียค่าปรับเท่าใดก็ตาม ฯ
ข้อ 139 เหตุที่จะทำให้งานล่าช้าทุกชนิดสามารถนำมาใช้คิดค่าปรับ หรือ ขยายเวลาทำงานได้ ฯ
ข้อ 140 หัวหน้าส่วนราชการสามารถแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องอิงกฎหมายใดๆ

หลักประกัน
ข้อ 141 - 144 ยกเลิกหลักประกันซอง หรือ หลักประกันสัญญา ทุกชนิด

ยกเลิกหมวด 2 การจัดหา ส่วนที่ 8 การลงโทษผู้ทิ้งงาน
ข้อ 145 ยกเลิกการลงโทษผู้ทิ้งงานฯ

ยกเลิกหมวด 3 การควบคุมและจำหน่ายพัสดุ
ข้อ 146 - 161 ผู้เสนอราคาสามารถใช้ที่ราชพัสดุได้โดยไม่ต้องเช่า ฯ ้าเกิดความเสียหายขึ้นไม่ต้องชดใช้

ฯลฯ
 
 


 
  รองศาสตราจารย์ รังสรรค์ วงษ์บุญ
วันอังคารที่ 10 มิถุนายน 2556
 
 



Use examples to explain your points, always backup a comment with a fact.



rangsonw@gmail.com www.facebook.com/rangsonw  ; www.twitter.com/rangsonw

All materials on this website is copyright and may not be republished in any form without written permission.

ปรับปรุงแก้ไข อังคาร, 11 มิถุนายน 2556 11:06:07