ภาคีเครือข่ายผู้ตรวจการก่อสร้าง และ ต่อต้านการทุจริตเชิงป้องกัน (ภตป.)
Independent Inspector Alliance for Construction & Anti - Corruption Preventive Approach (IACONPA)
The only thing necessary for the triumph of evil is for good men to do nothing.

 

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

www.shutterfly.com

 

โครงสร้างของราคาค่าก่อสร้าง
ที่สัญญาประเภท Turn - Key หรือ Design & Construct ไม่ต้องการเปิดเผย
  โดยปกติของโครงการก่อสร้างทั่วๆไป ค่าใช้จ่ายในงานก่อสร้างทั้งหมด จะแบ่งออกได้เป็นส่วนใหญ่ๆ 3 ส่วน คือ

Construction cost = (Direct cost  + Indirect cost ) x Factor F
 
  Direct Cost
จะเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับตัวโครงสร้างโดยตรง จะประกอบไปด้วย  ค่าวัสดุ + ค่าแรง
ซึ่งเกือบทั้งหมดจะหาได้จากแบบและรายการก่อสร้าง
 
 

ค่าวัสดุ หรือ MATERIAL   COST 
เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับวัสดุที่จำเป็นต้องใช้ในการก่อสร้างตัวอาคารหรือสิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ (FACILITIES) 
ปริมาณของวัสดุที่ต้องการในงานก่อสร้างจะประกอบไปด้วยปริมาณที่ปรากฏตามแบบ และ ความสูญเสียที่เกิดขึ้นตามสภาวะการทำงานปกติ
ซึ่งจะประกอบไปด้วยระหว่างการขนส่งจากแหล่งผลิตหรือสถานที่เก็บไปยัง  
SITE  , ความสูญเสียระหว่างการเก็บรักษา
และ ความสูญเสียระหว่างหรือขณะทำการก่อสร้าง
ราคาค่าวัสดุจะได้จากราคาที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ
แต่ถ้าไม่ได้กำหนดไว้ คณะกรรมการกำหนดราคากลางจะต้องไปหาเอาเองจากท้องตลาดในพื้นที่ที่จะทำการก่อสร้างนั้นๆ

ค่าแรง หรือ LABOR  COST 
เป็นค่าแรงงานที่จำเป็นต้องใช้ในงานก่อสร้างซึ่งโดยปกติทางกระทรวงพาณิชย์จะเป็นผู้กำหนดให้ว่าจะต้องคิดเท่าใด
เช่น การเทคอนกรีต ทางราชการจะกำหนดให้ว่าจะให้คิดค่าแรงได้เท่าใด ต่อ ปริมาตรคอนกรีต 1 ลบ.ม.

 
  INDIRECT COST
เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับค่าก่อสร้างตัวโครงสร้างหรืออาคาร แต่เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้างนั้น ๆ  เช่น
 
 

- ค่าเครื่องจักรเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง

- ค่าใช้จ่ายสำหรับงานชั่วคราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งอำนวยความสะดวกทางด้านเครื่องกล  เช่น  CONCRETE  PLANT ,ASPHALT  PLANTS ,
  สะพานชั่วคราว ,  ค่าถนนชั่วคราว , ค่าซ่อมแซมถนนที่มีอยู่เพื่อใช้ในงานได้ดี   ค่าก่อสร้างกำแพงกันดิน  เป็นต้น

-
ค่าใช้จ่ายสำหรับมาตรการต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้เพื่อไม่ให้การก่อสร้างส่งผลกระทบต่ออาคารข้างเคียง หรือสิ่งแวดล้อมบริเวณ  SITE  ก่อสร้าง 
  เช่น   การป้องกันเสียงรบกวน
การป้องกันการทรุดตัวของฐานรากของอาคารข้างเคียงการป้องกันการสั่นสะเทือนเนื่องมาจากการตอกเสาเข็ม
 
การป้องกันอิทธิพลของน้ำใต้ดินในระหว่างการก่อสร้าง เป็นต้น

-
ค่าใช้จ่ายในการเตรียมงานที่ SITE ก่อสร้าง (MOBILIZATION) และค่าทำความสะอาดหลังการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว
  และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสำรวจภูมิประเทศ

-
ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการทางด้านเทคนิค เช่น ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการก่อสร้าง 
  ค่าใช้จ่ายในการทดสอบวัสดุเพื่อการควบคุมคุณภาพ การวัด 
DIMENSION ต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการควบคุมงานการจัดเตรียมรายงานต่างๆ เป็นต้น

-
ค่าใช้จ่ายในการขนส่งหรือการเคลื่อนย้ายเครื่องจักรเครื่องมือจากที่เก็บไปยังที่ที่จะทำการก่อสร้างและการเคลื่อนย้ายเก็บเข้าโกดัง 
  ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการขนย้ายเครื่องจักรเครื่องมือภายใน 
SITE  ก่อสร้างเอง

-
ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างซ่อมแซมและรื้อถอนาคารชั่วคราว  เช่น  สำนักที่พักคนงาน   ห้อง LAB, 
 
โรงเก็บพัสดุสำนักงานชั่วคราวสำหรับ ผู้ควบคุมโรงรถ  เป็นต้น

- ค่าใช้จ่ายในการขนส่งคนงานระหว่างที่พักกับ
SITE  ก่อสร้างทั้งไปและกลับ

- ค่าใช้จ่ายเพื่อความปลอดภัย   เช่น  ค่าป้ายสัญญาเตือนภัย  ค่าสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย 
  ค่าใช้จ่ายสำหรับการควบคุมความปลอดภัยและเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง 
  ค่าตรวจสอบและมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอันตรายต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น

-
ค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนสำเร็จรูปจากโรงงานไปยัง  SITE  ก่อสร้าง

-
ค่าสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นต้องใช้เพื่อช่วยให้การก่อสร้างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย  เช่น    ค่าเช่าที่ชั่วคราวสำหรับเก็บ MATERIAL,   
 
ค่าเช่าที่สำหรับการทำงานชั่วคราวที่จำเป็นต้องใช้เฉพาะแห่ง  เป็นต้น

- ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ประกอบไปด้วยค่าลิขสิทธิ์หรือ 
PATENT  FEE  สำหรับเครื่องจักรเครื่องมือซึ่งจะรวมไปถึงค่าใช้จ่ายสำหรับผู้เชี่ยวชาญ
  ในการใช้วิธีการก่อสร้างหรือเครื่องจักรมือนั้นๆด้วย

- ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการฝูงชนที่เกี่ยวข้องในโครงการ

 
  Factor F
เป็นค่าดำเนินการ ภาษี และ กำไร ที่ทางราชการกำหนดให้ในแต่ละปี ขึ้นอยู่กับ ผลรวมของค่าวัสดุและค่าแรงของโครงการนั้นๆ อัตราดอกเบี้ย และ VAT
 
 

- ค่าดำเนินการ เช่น เงินเดือนของฝ่ายบริหารจัดการโครงการและเจ้าหน้าที่สนับสนุน ค่าน้ำ-ไฟ-โทรศัพท์-การสื่อสารทุกชนิด-การติดต่อประสานงาน ฯลฯ

- เบี้ยเลี้ยง เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน สวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเลี้ยงรับรอง งานการกุศล ซ่อมแซมอุปกรณ์สำนักงาน ฯลฯ

- อัตราดอกเบี้ย และ VAT ขึ้นอยู่กับทางราชการกำหนด และ ค่าก่อสร้างที่ใช้เงินงบประมาณ + เงินกู้ จะมีวิธีการคิด Factor f แยกจากกัน

 
     
  แต่โครงการของรัฐฯที่เป็นโครงการประเภท Turn key or Design & Construct ซึ่งมีงบประมาณมาก จะไม่ใช่โครงสร้างราคามาตรฐานตามแบบข้างต้น
ทำให้ตรวจสอบไม่ได้  แม้ว่าในข้อเท็จจริง การออกแบบจะต้องมีทั้งค่าวัสดุ + ค่าแรง ที่สามารถตรวจสอบได้ก็ตาม
แต่ฝ่ายควบคุมนโยบายไม่ต้องการให้มีการตรวจสอบ ซึ่งไม่เป็นธรรมกับประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของเงินภาษีที่นำไปใช้ในโครงการ
 
     
  กระบวนการยุติธรรมของไทยน่าจะปรับปรุงวิธีการทำงานให้มีลักษณะ Preventive มากกว่า Corrective อย่างที่เป็นอยู่เช่นปัจจุบัน
จึงจะช่วยกันหยุดขบวนการปล้นงบประมาณแผ่นดินซึ่งๆหน้าแบบนี้ได้บ้าง ไม่มากก็น้อย ก่อนที่ประเทศชาติจะหายนะ หรือ ย่อยยับ ล่มจม มากไปกว่านี้
 
     
  รองศาสตราจารย์ รังสรรค์ วงษ์บุญ
วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2556
 
 



Use examples to explain your points, always backup a comment with a fact.



rangsonw@gmail.com www.facebook.com/rangsonw  ; www.twitter.com/rangsonw

All materials on this website is copyright and may not be republished in any form without written permission.

ปรับปรุงแก้ไข ศุกร์, 14 มิถุนายน 2556 12:05:36