ภาคีเครือข่ายผู้ตรวจการก่อสร้าง และ ต่อต้านการทุจริตเชิงป้องกัน (ภตป.)
Independent Inspector Alliance for Construction & Anti - Corruption Preventive Approach (IACONPA)
The only thing necessary for the triumph of evil is for good men to do nothing.

 

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

www.shutterfly.com

 

บ่อน้ำมันทางบกในประเทศไทย และ ปริมาณน้ำมันดิบที่ไทยขายให้สหรัฐ
original copy

บริษัท Advanced Resources International, Inc. (ARI) ได้ทำการสำรวจปริมาณน้ำมันที่อยู่ใต้ดินของหลายๆประเทศในทวีปเอเชีย
รวมทั้งประเทศไทยด้วย และ ได้เขียนรายงานส่งไปยัง สำนักบริหารข้อมูลข่าวสารทางด้านพลังงานของสหรัฐฯ
หรือ U.S. Energy Information Administration ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของ U.S. Department of Energy หรือ กรมพลังงานของสหรัฐ

ในรายงานฉบับนี้ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย
บริษัท ARI ได้เขียนรายงานเกี่ยวกับความน่าจะเป็นหรือโอกาสที่จะพบบ่อน้ำมันใต้ผืนดินทางบกของประเทศไทยทั่วประเทศ
ซึ่งจะเรียกว่า Shale gas/oil หมายถึง บ่อน้ำมันและก๊าซที่เกิดอยู่ใต้ชั้นหินดินดานที่อยู่ลึกลงไปจากใต้ผิวดินประมาณเกือบ 3 กิโลเมตร

นอกจากนี่ในรายงานฉบับนี้จะพูดถึงโครงสร้างทางธรณีวิทยาของแต่ละบ่อน้ำมันทางบกทั่วประเทศไทยว่าประกอบด้วยชั้นหินอะไรบ้าง
หนาเท่าใด เกิดขึ้นมาแล้วกี่ล้านปี มีปริมาณน้ำมันและก๊าซประมาณเท่าใด
เพื่อให้บริษัทที่ได้รับสัมปทานไปพิจารณาเองว่าควรจะใช้วิธีการขุดเจาะก๊าซและน้ำมันขึ้นมาทางธุรกิจด้วยวิธีใด
ซึ่งในรายงานจะเต็มไปด้วยศัพท์ทางด้านธรณีวิทยาเป็นส่วนมาก และ ยากที่จะทำความเข้าใจสำหรับประชาชนทั่วไป จึงไม่ได้แปลไว้

สิ่งที่พวกเราคนไทยทั่วๆไปควรทราบ คือ ในรูปแรกว่า บ่อน้ำมันและก๊าซทางบกใต้พื้นดินนั้นอยู่บริเวณใดบ้าง ซึ่งได้แปลให้ไว้แล้วโดยสังเขป 


พื้นที่สีเขียว
เป็นบริเวณที่มีบ่อน้ำมันที่มีลักษณะเป็นของเหลว
ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ฝาง พื้นที่ระหว่างภูเขาในภาคเหนือ
พิษณุโลก แม่สอด ที่ราบลุ่มภาคกลาง สุพรรณบุรีและกรุงเทพฯ




พื้นที่สีปูนแห้ง

เป็นบริเวณที่มีก๊าซธรรมชาติ
ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่บริเวณที่ราบสูงโคราช และ แอ่ง โคราช




















เป็นตารางที่บอกคุณสมบัติของก๊าซ
ที่อยู่ใต้ผืนดินของประเทศไทยตามรูปข้างต้น
โครงสร้างทางธรณีวิทยา ความหนาของชั้นดิน
หรือ ชั้นหินที่ทับถมอยู่เหนือบ่อก๊าซ
แรงดันของก๊าซ ปริมาณน้ำ
และ ดินเหนียว ที่ผสมอยู่ในก๊าซ  ฯลฯ


ตารางแสดงลำดับชั้นอายุทางธรณีวิทยาของชั้นหิน
ที่ทับถมกันอยู่บริเวณแอ่งโคราช มีหน่วยเป็นล้านปี
ตามโครงสร้างนี้จะเห็นว่าเมื่อหลายล้านปีมาแล้ว
ที่ราบสูงโคราชเคยถูกน้ำท่วมมาก่อน
ทำให้ตะกอนทับถมกันเป็นเวลานาน
รวมทั้งพวกทรากพืชทรากสัตว์อีกเป็นจำนวนมาก
จนกลายเป็นก๊าซและน้ำมันในอีกหลายล้านปีต่อมา
ทั้งสองภาพเป็นการทดสอบความแข็งแรง รอยแตก รอยร้าว ของชั้นหินที่อยู่เหนือแอ่งโคราชฝั่งตะวันตกและตะวันออก
โดยวิธีการที่เรียกว่า Seismic หรือ คลื่นเสียง เช่นเดียวกันกับที่ใช้ในการตรวจสอบความเสียหายของเสาเข็มเจาะในการก่อสร้างขนาดใหญ่โดยทั่วไป

คำตอบที่ได้จะทราบว่าชั้นดิน ชั้นหินด้านล่างมีความแข็งแรงมากน้อยเพียงใด ที่ใดมีรอยแตก รอยร้าว ความยาว ความหนา เท่าใด
เพื่อที่จะได้วางแผนการขุดเจาะได้ถูกต้อง และ ประหยัดมากที่สุด
แสดงรูปตัดตามขวางของแอ่งโคราชและวิธีการทั่วๆไปในการขุดเจาะเอาก๊าซขึ้นมาใช้ สังเกตว่าเขาจะตั้งจุดขุดเจาะตรงจุดสูงสุดของบ่อหรือกะเปาะ
แต่จะต้องพิจารณาโครงสร้างของชั้นหิน รอยแตก รอยแยก และ รอยร้าวของชั้นหิน ด้วย
ตัวอย่างการแปลความหมายหลังจากใช้ Seismic หรือ คลื่นเสียงสำรวจความหนาแน่นของชั้นหินและบ่อก๊าซขนาดเล็กบริเวณแอ่งโคราช
ซึ่งจะเห็นรอยแตก รอยแยก รอยเลื่อนของชั้นหินต่างๆทางธรณีวิทยาอย่างชัดเจน
รูปแสดงโครงสร้างทางธรณีวิทยาของบ่อน้ำมันบริเวณทุ่งราบภาคกลาง
ทั้งสองภาพเป็นการทดสอบความแข็งแรง รอยแตก รอยร้าว ของชั้นหินที่อยู่เหนือบริเวณทุ่งราบภาคกลาง
โดยวิธีการที่เรียกว่า
Seismic หรือ คลื่นเสียง

คำตอบที่ได้จะทราบว่าชั้นดิน ชั้นหินด้านล่างมีความแข็งแรงมากน้อยเพียงใด ที่ใดมีรอยแตก รอยร้าว ความยาว ความหนา เท่าใด
เพื่อที่จะได้วางแผนการขุดเจาะได้ถูกต้อง และ ประหยัดมากที่สุด

รูปด้านล่าง แสดงจำนวนน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับปิโตรเลียมที่ประเทศไทยส่งออกไปยังสหรัฐ
ซึ่งเป็นรายงานของหน่วยงาน EIA ของสหรัฐฯเอง
1 Barrels = 158.97 ลิตร  ในปี 2009/2552 ไทยส่งน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมไปยังสหรัฐฯสูงสุด 8,419,000.00 barrels
หรือ ประมาณ 1338.37 ล้านลิตร รายละเอียดดูจาก link ด้านล่าง
http://www.eia.gov/dnav/pet/hist/LeafHandler.ashx?n=PET&s=MTTIMUSTH1&f=A

คำแนะนำ

ต้องหาพิกัดของตำแหน่งของบ่อน้ำมันและก๊าซข้างต้นทั้งหมด แล้วนำไปเปรียบเทียบกับแผนที่ 1 ต่อ 50000
จะทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า บ่อน้ำมันและก๊าซตามภาพทั้งหมดนี้อยู่บริเวณใดบ้าง

   
รองศาสตราจารย์ รังสรรค์ วงษ์บุญ
วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม 2556
 

Use examples to explain your points, always backup a comment with a fact.



rangsonw@gmail.com www.facebook.com/rangsonw  ; www.twitter.com/rangsonw

All materials on this website is copyright and may not be republished in any form without written permission.

ปรับปรุงแก้ไข เสาร์, 13 กรกฎาคม 2556 08:15:57