สำนักงานที่ปรึกษากฎหมายและวิศวกรรม  รังสรรค์ วงษ์บุญ
Office of Law and Engineering Consultants
The only thing necessary for the triumph of evil is for good men to do nothing.


แนวทางการวัดปริมาณงานก่อสร้างอาคารตามมาตรฐาน วสท และ การประมาณราคางานก่อสร้างเบื้องต้น
หมวด 02 งานสนามและงานเสาเข็ม


การปรับเตรียมสถานที่ งานรื้อถอนและรื้อทำลาย
Mobilization and Demolition

       
ข้อกำหนดทั่วไป ข้อกำหนดทั่วไป
  1. งานรื้อถอน  หมายถึง   การกระทำการรื้อ  และเคลื่อนย้ายโดยปราศจากการก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ  แก่สิ่งที่ถูกรื้อนั้น
     
  2. งานรื้อทำลาย   หมายถึง  การกระทำการรื้อ  และเคลื่อนย้ายด้วยวิธีตามสะดวก  โดยไม่จำเป็นต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหาย แก่สิ่งของที่ต้องการรื้อทำลาย
    • เมื่องานรื้อถอนหรือรื้อทำลาย  มีปริมาณน้อย  อาจทำการวัดปริมาณ
      ภายใต้หัวข้อที่กำหนดข้นใหม่โดยคิดเป็นแบบเหมารวม
  3. ซากวัสดุที่เกิดขึ้นจากการรื้อถอนหรือรื้อทำลาย และสิทธิความเป็น
    เจ้าของซากวัสดุ
    นั้น ต้องระบุให้ชัดเจนก่อนการดำเนินงานว่าเป็นของใคร
     
  4. วิธีการวัด
    • งานรื้อถอนและรื้อทำลายจะวัดจากแบบ
    • ตำแหน่งที่จะวัดเส้นรอบรูปของต้นไม้   จะต้องวัด  ณ ตำแหน่ง
      ที่อยู่เหนือพื้นผิวดินเดิม
      1 เมตร
    • รั้วจะวัดเป็นความยาว

     

     

      

  1. การคิดราคาต่อหน่วย    ให้รวมถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องกับการเก็บรักษา  การขนย้ายสิ่งของหรือซากวัสดุใดๆ
     
  2. การแบ่งรายการของงาน
    • จำแนกตามงานว่าเป็นงานรื้อถอนหรืองานทำลาย
    • จำแนกตามลักษณะสิ่งที่รื้อถอนหรือรื้อทำลาย   เช่น 
      งานก่อสร้างคอนกรีต  โครงเหล็ก  โครงท่อ  เป็นต้น
    • ต้นไม้หรือตอไม้ที่มีความยาวรอบต้นระหว่าง  30 ซม. ถึง  100 ซม.
    • ต้นไม้หรือตอไม้ที่มีความยาวรอบต้นระหว่าง 101 ซม. ถึง 250 ซม.
    • ต้นไม้หรือตอไม้ที่มีความยาวรอบต้นเกินกว่า  250  ซม
  3. หน่วยของการวัด
    • พุ่มไม้  ต้นไม้  รั้ว  ซากวัสดุ  ขยะ  เป็น รายการ
    • รั้ว  เป็น เมตร
    • ต้นไม้หรือตอไม้  เป็น  ต้น
    • งานรื้อถอนและรื้อทำลายโครงสร้าง(ต้องระบุรายละเอียดและขนาด)
      เป็น รายการ
    • งานรื้อถอนและรื้อทำลายโครงท่อ  หรือวัสดุคล้ายกันรวมทั้งวัสดุ
      รองรับ
      ต้องระบุความยาวและขนาด เป็น รายการ

                


งานขุด (Excavation )

1 ข้อกำหนดทั่วไป

  • สำหรับงานดิน  รายการที่ควรระบุไว้ในสัญญา  หรือเงื่อนไขประกอบสัญญา  เช่น   ผลการเจาะสำรวจดิน  ระบบสาธารณูปโภคเดิมที่อยู่เหนือและใต้ระดับดิน  และ   กรรมสิทธิ์ที่ดินขุด

  • ในกรณีที่มีการแบ่งประเภทของวัสดุหินแข็ง   รายละเอียดและข้อจำกัดความแข็ง   ของหิน   จะต้องระบุรายละเอียดของสัญญา

  • ระบบป้องกันดินพังต่างๆ ให้วัดแยกต่างหาก

2. ขอบเขตงานในราคาต่อหน่วย ในการประมาณราคางานขุด  จะต้องรวมถึงรายการต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • การป้องกันและการแก้ไขหลุมขุดให้ปราศจากนำขังตลอดเวลา

  • การเก็บรักษาวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ในการถมได้

  • การเปลี่ยนแปลงปริมาตราของมวลดินที่ (Bank Volume)   ไปเป็นปริมาตรดินหลวม (Loose Volume)

  • การขนย้ายดินหรือทราย    หรือเศษวัสดุจากการก่อสร้างออกไปนอกหน่วยงาน    ค่าใช้จ่ายให้คิดรวมอยู่ในรายการขนย้ายดิน  

  • รายละเอียดและเงื่อนไขของการขนย้ายวัสดุ  จะต้องระบุไว้ในเอกสารปะกวดราคา โดยแสดงถึงขอบเขตหรือระยะทางขนส่งที่อัตราของงานขุด
    ยังคงครอบคลุมต้นทุนการขนถ่าย


  1. ปริมาณงานขุดดิน  วัดเป็นลูกบาศก์เมตรของดินเดิม  =  ความกว้าง x ความยาว x ความลึกจากระดับผิวดิน x 1.30 %

งานขุดดินที่จำเป็นต้องมีเข็มพืดเหล็ก (Steel Sheet Pile)

  1. ปริมาณงานขุดดิน  วัดเป็นลูกบาศก์เมตรของดินเดิม  =  ความลึกตามแบบ  x พื้นที่ภายในของแนวตอกเข็มพืดเหล็กที่วิศวกรคุมงานได้อนุมัติ  Shop Drawing แล้ว
  2. ปริมาณเข็มพืดเหล็ก  ตารางเมตร  =  ความลึกตามแบบ x ความยาวตามแนวที่ตอกเข็มพืดเหล็ก
  3. ราคาต่อหน่วยให้ถือว่าได้เผื่อความลึกของเข็มพืดเหล็ก  ที่ได้ตอกลึกลงไปในดิน  นอกเหนือจากความลึกของแบบกำหนด  และเผื่อการทำค้ำยัน  การทำแท่นขุดรถขุดดิน  วิ่งทำงานเหนือบริเวณขุดดิน  และค่าใช้จ่ายอื่นๆ แล้ว
  4. ถึงแม้ว่าการใช้เข็มพืดเหล็กจะมีระยะที่ฝังลงใต้ดินลึกกว่าระดับความลึกตามแบบ   แต่การคิดปริมาณงานขุดดินและงานเข็มพืดเหล็ก   ให้คิดความลึกตามแบบเท่านั้น

 


งานขุดร่องดินวางท่อเดี่ยว และ ท่อคู่

  1. ปริมาณงานดินวางท่อเดี่ยวให้รวมอยู่ในงานสาธารณูปโภค ไม่ต้องแยกคิดงานดินต่างหาก
  2. ปริมาณงานดินวางท่อคู่ ให้แยกคิดงานดินต่างหาก

งานขุดดินบนพื้นที่ที่มีความลาดชัน

  1. พื้นที่ที่มีความลาดชัน มากกว่า 10 % grade ( 1 : 10 ) ต้องวัดปริมาณงานดินตามความลาดเอียง เช่น 1 : 5 or 20 % grade
  2. พื้นที่ที่มีความลาดชัน น้อยกว่า 10 % grade ( 1 : 10 ) ถือว่าเป็นพื้นที่ราบ เช่น 1 : 20 or 5 % grade

งานถมและงานกลบแต่ง

  1. การวัดปริมาณงานถมและงานกลบแต่ง  จะวัดปริมาณสุทธิหลังจากการบดอัด
  2. เปลี่ยนแปลงปริมาตรการของมวลดินหลวม  (Loose Volume)  ไปเป็นมวลดินบดอัด  (Compacte Volume)
  3. ในกรณีที่ไม่ได้กำหนดเป็นอย่างอื่น ดินถมและกลบแต่ง    มีหน่วยเป็น ลูกบาศก์เมตร
  4. การถมเพื่อปรับระดับหรือการถมหน้าดินไม่เกิน  30 เซนติเมตร โดยระบุความหนาเฉลี่ย  และ ความหนาน้อยที่สุด  มีหน่วยเป็น ตารางเมตร
  5. การตกแต่งผิวลาดเอียง  มีหน่วยเป็น  ตารางเมตร

งานเสาเข็ม

  1.  ข้อกำหนดทั่วไป
    • การขนส่งเครื่องจักรอุปกรณ์สำหรับงานเสาเข็มไปยังหน่วยงาน  การติดตั้ง   การถอดและการนำออกไปจากหน่วยงาน   อาจจะคิดรวมไปอยู่ในส่วน
      ค่าใช้จ่ายเบื้องต้น   โดยค่าใช้จ่ายนั้นให้คิดแยกราคาเหมาต่อหน่วยเครื่องจักรประเภทต่างๆ
    • แบบแผนผังบริเวณ   และ แบบที่ใช้ประกอบในการคิดราคาควรจะแสดงถึง  แผนผังงานเสาเข็ม , ตำแหน่งของเสาเข็มที่แตต่างกัน , ระดับน้ำใต้ดิน (ถ้าจำเป็น)
      ระบบสาธารณูปโภคเดิม , ระดับดิน   ระดับเสาเข็ม , น้ำหนักบรรทุกปลอดภัย  หรือความลึกของปลายเข็ม
  2. ประเภทของเสาเข็มจะแบ่งออกตามลักษณะของประเภทงานต่างๆ ดังต่อไปนี้
    • เสาเข็มคอนกรีตหล่อสำเร็จ  เสาเข็มเหล็ก และ เสาเข็มไม้ 
    • เสาเข็มเจาะ
    • กำแพงเข็มพืด
  3. ราคาต่อหน่วยของเสาเข็มคอนกรีตหล่อสำเร็จ   เสาเข็มเหล็กและเสาเข็มไม้  ให้รวมรายการต่อไปนี้
    • ค่าวัสดุอุปกรณ์  เครื่องจักร  ค่าแรงที่ใช้ในการผลิต  และค่าฝังเสาเข็ม
    • ค่าวัสดุอุปกรณ์  และเครื่องจักร  ในกรณีใช้เสาเข็มแบบต่อเชื่อม
    •  ความยาวส่วนที่เพิ่มขึ้น   เพื่อใช้ในการตอก
    • เหล็กเดือย (Dowel Bar)  เมื่อมีการกำหนดไว้ในแบบ
    • การแบ่งรายงานของงาน
      • แยกตามวัสดุเสาเข็ม และ ขนาดของเสาเข็ม
      • การตอกเสาเข็มในลักษณะพิเศศษ  เช่น  ในแนวเอียง  หรือในน้ำ
    • วิธีการวัด  วัดเป็นหน่วยความยาวจากหัวเข็ม  ถึงปลายเสาเข็ม   ตามรายละเอียดในแบบก่อสร้าง
    • หน่วยของการวัด
      • เมื่อระบุขนาด   หน่วยการวัดเป็น   เมตร
      • เมื่อระบุขนาดและความยาว   หน่วยการวัดเป็น  จำนวน
      • งานตัดหัวเสาเข็มและเคลื่อนย้ายของเสาเข็ม (โดยระบุขนาด) หน่วยการวัดเป็น  จำนวน
      • การทดสอบเสาเข็ม หน่วยการวัดเป็น จำนวน
  4. เสาเข็มเจาะ
    • การประมาณราคาเสาเข็มเจาะให้รวมถึงคาใช้จ่าย  ค่าขุดดินและการขนย้ายดินออก   และระบบป้องกันการพังทลายของดินในหลุมเจาะ
    • สำหรับคอนกรีตและเหล็กเสริมที่ใช้ในงานเสาเข็ม  ให้ใช้หลักการเดียวกับการวัดปริมาณงานในหมวดงานคอนกรีตและงานเหล็กเสริมตามลำดับ
    • การแบ่งรายงานของงาน
      • การขุดผ่านชั้นหิน  หรือชั้นดิน
      • ขนาด  ประเภท  คุณภาพของคอนกรีตเสริมเหล็ก  และปลายปลอก
      • การขุดมีลักษณะพิเศษ  เช่น แบบเอียง
      • ลักษณะ  และขนาดของปลายเข็มที่แตกต่างกัน
      • ประเภทของระบบเสาเข็มเจาะ   เช่น ระบบเปียก  หรือระบบแห้ง  เป็นต้น
    • วิธีการวัด 
      • งานขุด  วัดหน่วยความยาวถึงปลายเสาเข็ม
      • การขยายปลายเสาเข็มให้วัดเป็นจำนวน
    • หน่วยการวัด
      • การขุดหลุมรวมทั้งการใส่และถอนปลอก(Casing)  (โดยระบุขนาด เมตร  เส้นผ่าศูนย์กลาง  ความยาวมากที่สุด  และจำนวนเสาเข็ม)
      • คอนกรีตในเสาเข็ม  และ ส่วนที่ปลายขยาย       มีหน่วยเป็น      ลูกบาศก์เมตร
      • เหล็กเสริมคอนกรีต มีหน่วยเป็น   ตัน
      • การตัดเสาเข็ม มีหน่วยเป็น  จำนวน
      • การทดสอบเสาเข็ม มีหน่วยเป็น จำนวน
  5. กำแพงเข็มพืดคอนกรีต
    • การแบ่งรายงานของงาน
      • วัสดุ  และ คุณภาพของวัสดุที่ใช้
      • การตอกกหรือหล่อในแนวตรง  หรือโค้งในแนวราบ
      • การตอกหรือหล่อในสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน
      • การตอกหรือหล่อโดยจะถอนขึ้นมาใช้ภายหลัง หรือ ไม่ถอน
    • วิธีการวัด
      • วัดจากพื้นที่สุทธิของบริเวณที่ล้อมรอบ   คือจากปลายเข็มถึงระดับนบสุดตามที่ในแบบก่อสร้างโดยไม่คำนึงถึงพื้นที่  อันเนื่องมาจากรูปร่างที่เป็นหยัก
        ของเข็ม
      • การตัดเข็มจะเป็นความยาวสุทธิตามแนวศูนย์กลางตามระยะของเข็มพืด
      • งานค้ำยัน (Strut)  สมอยึด (Anchor)   และอื่นๆ ที่จำเป็นในการเพิ่มความแข็งแรงแก่โครงสร้างเข็มพืด   จะต้องแยกจากงานเข็ดพืดนี้
    • หน่วยของการวัด
      • การจัดหา  และ  ขนส่งเข็มพืด  มีหน่วยเป็น  ตารางเมตร
      • การตอกหรือหล่อเข็มพืด มีหน่วยเป็น ตารางเมตร
      • การตัดเข็ม   มีหน่วยเป็น  เมตร
      • การถอนเข็ม มีหน่วยเป็น  ตารางเมตร
      • การทดสอบเสาเข็ม ีหน่วยเป็น  จำนวน

           งานขุดดินเสาเข็มเจาะ

       
  1. งานขุด  วัดหน่วยความยาวถึงปลายเสาเข็ม ส่วนการขยายปลายเสาเข็มให้วัดเป็นจำนวน

  2. กรณีที่คิดงานขุดในงานเข็ม  ให้วัดความยาวถึงปลายเข็ม  ส่วนการขยายปลายเสาเข็ม (ถ้ามีให้วัดเป็นจำนวน

   

งานตัดหัวเข็มพืดคอนกรีต

  1. การตัดเข็มจะคิดเป็นความยาวสุทธิตามแนวศูนย์กลางตามระยะของเข็มพืด

  2. การคิดงานเข็มพืดคอนกรีตจะแตกต่างจากงานเข็มทั่วไปคือ  คิดเป็นความยาวตามแนวศูนย์กลางตามระยะของเข็มพืด


งานพื้นและถนนภายนอกอาคาร

  1. ข้อกำหนดทั่วไป  ให้แยกรายการต่อไปนี้ต่างหาก
    • งานปรับพื้นที่
    • งานขุดดิน
    • ถมดิน
    • งานระบายน้ำ 
  2. ในการประมาณราคางานพื้น  และถนนภายนอกอาคารจะต้องรวมถึงรายการต่างๆ ดังต่อไปนี้
    • การจัดหาวัสดุ  แงงาน และ เครื่องจักร
    • งานรองพื้นทาง (Sub – base)   ชั้นพื้นทาง(Base Course)   ไหล่ทาง (Shoulder)
      • การขนส่งเกลี่ยผสม   และ การอัดบด ตามข้อกำหนด
      • การปรับระดับและแนวให้เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด
      • การเก็บตัวอย่างและการทดสอบตามข้อกำหนด
    • งานพื้นผิวยางมะตอย (Asphaltic Concrete Surface)
      • การเตรียมพื้นผิว  ชั้นพื้นทาง
      • การราดแอสฟัลต์ Prime Coat หรือ Tack Coat
      • การผสมวัสดุ  การขนส่ง  ปูผิวยางมะตอยและการบดอัดให้ได้ความหนา  และความหนาแน่นตามที่กำหนด
      • การเก็บตัวอย่างและการทดสอบตามข้อกำหนด
    • งานพื้นผิวคอนกรีตเสริมเหล็ก
      • งานพื้นผิวคอนกรีต   ให้รวมถึงงานแบบหล่อ  เหล็กเสริม  งานรอยต่อผิวคอนกรีตต่างๆ
      • การขนส่ง  การเท  การจี้คอนกรีต  กาปรับแต่งผิว
      • การบ่มและการป้องกันผิวคอนกรีต
      • การเก็บตัวอย่างและการทดสอบคุณภาพวัสดุ
      • การเสียเปล่าของวัสดุเนื่องจาการทำงานต่างๆ
    • งานบล็อกปูถนน
      • การเตรีมพื้นผิว  ชั้นพื้นทาง
      • การขนส่ง  การจัดลวดลาย   การปรับด้วยทราย  และการอุดช่องว่างด้วยทราย
      • ส่วนที่เสียเปล่าเนื่องจากการตัด
    • งานคันหิน(Curbs)  รางน้ำ (Channels)  ฯลฯ  รวมถึงงานขุด  และการปรบแต่งพื้นผิว  งานแบบหล่อ  เหล็กเสริมและรอยต่อต่างๆ
  3. การแบ่งรายการของงาน
    • ชั้นรองพื้นทาง (Sub – base)  ชั้นพื้นทาง (Base Course)   ไหล่ทาง(Shoulder)
    • ลักษณะของผิวงานพื้นและถนน
    • งานคันหิน  (Curbs)  ร่องน้ำ  รางน้ำ (Gutters  หรือ  Channels)  หลังเต่า
    • รอยต่อต่างๆ (ในกรณีวัดแยกต่างหาก)
    • เสานำทาง (Guide Posts)
    • รั้วกั้นถนน (Guard Fencing)
    • ป้ายจราจร (Traffic Signs / Signals)
    • สีทาถนน (Pavement Marking)
  4. วิธีการวัด
    • การวัดปริมาณพื้นผิวต่างๆ โดยหน่วยวัดของพื้นที่โดยไม่หักโครงสร้างต่างๆ เช่น บ่อพัก
    • ในกรณีไม่ได้ระบุเป็นอย่างอื่น   ความหนาของชั้นวัสดุต่างๆ เป็นปริมาตรสุทธิหลังการบดอัด
    • สำหรับงานไหล่ทางจะวัดแยกต่างหาก  ในกรณีที่มีการแยกขั้นตอนการทำงานจากงานชั้นรองพื้นทางและชั้นพื้นทาง
  5. หน่วยของการวัด
    • ชั้นรองพื้นทาง ชั้นพื้นทาง                        (ระบุความหนา)              ตารางเมตร
    • ไหล่ทางกรณีวัดแยกต่างหาก                    (ระบุความหนา)              ตารางเมตร
    • พื้นผิวยางมะตอย                                   (ระบุความหนา)              ตารางเมตร
    • พื้นผิวคอนกรีต                               (ระบุความหนาของคอนกรีต)    ตารางเมตร
    • บล็อกปูถนน                                                                           ตารางเมตร
    • คันหิน  รางน้ำ  หลังเต่า                                                               เมตร
    • รอยต่อต่างๆ เช่นรอยต่อเผื่อขยาย   (Expansion Joint)   (กรณีวัดแยก) เมตร
    • เสานำทาง                                                                                 จำนวน
    • รั้วกั้นถนน                                                                                  เมตร
    • ป้ายจราจร                                 (ระบุชนิดและขนาด)                   จำนวน
    • สีทาถนน   เส้นแบ่งช่องจราจร          (ระบุชนิดและขนาด)                   เมตร
      สัญลักษณ์หรือลูกศร
                                                                        จำนวน
    • คันหินกันชน(Car Stopper)   (ระบุขนาด)                                       จำนวน
   

rscelaw@yahoo.com

ปรับปรุงแก้ไข จันทร์, 26 ธันวาคม 2548 15:39:03