สำนักงานที่ปรึกษากฎหมายและวิศวกรรม  รังสรรค์ วงษ์บุญ
Office of Law and Engineering Consultants
The only thing necessary for the triumph of evil is for good men to do nothing.


แนวทางการวัดปริมาณงานก่อสร้างอาคารตามมาตรฐาน วสท และ การประมาณราคางานก่อสร้างเบื้องต้น
หมวด 03 งานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก


งานคอนกรีต

ข้อกำหนดทั่วไป
  1. งานคอนกรีตสามารถแยกตามวิธีการก่อสร้างต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
  • คอนกรีตหล่อในที่  (Cast – in  - Place Concrete)
  • คอนกรีตหล่อสำเร็จ   (Precast Concrete)
  • คอนกรีตอัดแรง  (Prestressed Concrete)
    • คอนกรีตอัดแรงหล่อในที่ (Cast – in  - Place Prestressed Concrete)
    • คอกรีตอัดแรงหล่อสำเร็จ  (Precast Prestressed Concrete)

คอนกรีตหล่อในที่  (Cast – in  - Place Concrete)
  1.  งานคอนกรีตหล่อในที่ต้องรวมงานต่อไปนี้ด้วย
  • การขนส่ง  การผสม  การเท  และการจี้คอนกรีต
  • การสุ่มตัวอย่างและการทดสอบตัวอย่างคอนกรีต (หากมีความต้องการพิเศษอื่นใดจะต้องระบุให้ชัดเจน)
  • การซ่อมแซมผิวคอนกรีตให้เรียบร้อยหลังการถอดแบบหล่อ
  • การบ่มและการป้องกันมิให้เกดความเสียหายต้อคอนกรีตที่ได้ทำการหล่อ
  • การทำรอยต่อก่อสร้างที่ไม่ได้ออกแบบไว้ก่อน  และการเตรียมผิวคอนกรีตที่ต้องมีการเทคอนกรีตต่อ   ก่อนที่จะมีการเทคอนกรีตใหม่
  • การเสียเปล่าของคอนกรีตเนื่องจากการทำงานต่างๆ
  1. งานคอนกรีตหล่อในที่สามารถแบ่งงานออกได้ตามลักษณะดังต่อไปนี้
  • กำลังอัด  คุณภาพและชนิดของคอนกรีต
  • ชนิดและส่วนของโครงสร้าง
  •  วิธีการก่อสร้าง เช่น พื้นเอียง เทใต้น้ำ
  1. วิธีการวัด
  • การวัดปริมาณคอนกรีตของเสาและกำแพง  แยกเป็นกรณีดังนี้
    • กรณีท้องพื้นแต่ละระดับเดียวกัน    และพื้นหนาเท่ากัน  ให้วัดจากส่วนบนของฐานเสา(Column Base)   ไปจนถึงพื้นชั้นหนึ่ง  และจากด้านบนของชั้นหนึ่งไปจนถึงท้องพื้นถัดไปตามลำดับ
    • กรณีพื้นอยู่ต่างระดับกัน    วัดเหมือนกรณีแรก   แต่ให้วัดจากด้านใดด้านหนึ่งของเสาเป็นหลักตลอดความสูงของเสานั้น
    • กรณีท้องพื้นมีแป้นหัวเสา(Drop Panel)    ให้วัดจากส่วนบนสุดของฐานเสา(Column Base)    ไปจนถึงหัวเสาชั้นหนึ่ง   และจากด้านบนของพื้นชั้นหนึ่งไปจนถึงท้องแป้นหัวเสาถัดไปตามลำดับ
  • การวัดปริมาณของคอนกรีตพื้น   ความกว้างและความยวคิดจากจุดศูนย์กลางของจุดรองรับถึงศูนย์กลางของจุดรองรับ   หรือริมสุดของแผ่นพื้น 
    (กรณีเป็นพื้นช่วงสุดท้ายและปริมาณคอนกรีตหาจาก   พื้นที่คูณกับความหนาของพื้น
  • ในกรณีของพื้นสำหรับแผ่นพื้นไร้คานที่มีแป้นหัวเสา(Drop Panel)    การคิดปริมาณของคอนกรีตพื้นจะต้องรวมถึงส่วนของแป้นหัวเสาเข้าไว้ในปริมาณของคอนกรีตพื้นด้วย
  • การวัดปริมาณของคอนกรีตคาน   ความยาวคานจะต้องคิดจากหน้าเสาต้นหนึ่ง  ไปยังหน้าเสาอีกต้นหนึ่งของช่วงคานนั้น  สำหรับความลึกของคานจะต้องคิดจากท้องพื้นลงไปยังท้องคาน  ยกเว้น  ในกรณีที่เป็นคานกลับ(Inverted Beam)  จะต้องคิดจาก   ด้านบนของแผ่นพื้นขึ้นไปยังด้านบนของคาน
  • การวัดปริมาณของคอนกรีตจะไม่หักปริมาตรเนื่องจากสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
    • ปริมาตรของเหล็กเสริมโครงสร้าง  และหน้าตัดเหล็กอื่นใดที่ฝังอยู่ในคอนกรีต   ยกเว้นคานหรือเสาที่เป็นกล่อง
    • ปริมาตรของอุปกรณ์ที่ใช้ในงานคอนกรีตอัดแรง  อันได้แก่   แท่นยึด(Anchorage)   ท่อ (Ducts)   และลวดกำ(Tendons)
    • ปริมาตรของท่อน้ำ   ท่อสายไฟอื่นๆ ที่มีขนาดพื้นที่หน้าตัดไม่เกิน  0.01 ตารางเมตร
    • ปริมาตรของร่องราง (Rebates)  การหลบมุม(Chamfer)  และอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน  ซึ่งมีพื้นที่หน้าตัดไม่เกิน   0.01 ตารางเมตร
    • ปริมาตรของช่องเปิดใดๆ (Openings)  ซึ่งมีขนาดพื้นที่หน้าตัดไม่เกิน 0.01 ตารางเมตร
    • ปริมาตรของแผ่นกันซึม  ยาแนว  และเหล็กเดือย (Dowel Bar) ในรอยต่อ(Joints)
    • ปริมาตรของวัสดุหรือส่วนของโครงสร้างอื่นที่กลืนกันอยู่  เช่น ปริมาตร  หัวเสาเข็มที่กลืนกันอยู่ในส่วนของงานฐานราก
  1. หน่วยการวัด
  • งานคอนกรีตทุกประเภทในกรณีที่มิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น มีหน่วยเป็น  ลูกบาศก์เมตร
  • คอนกรีตมวล คอนกรีตหยาบ พื้นถนนและทางเท้าที่ความหนาไม่เกิน 10 ซม.  มีหน่วยเป็น  ตารางเมตร
  • แนวคันหิน รางน้ำ มีหน่วยเป็น เมตร 
  • บ่อ (Pits)  ช่องเปิด (Block)  แท่นเครื่อง (Pads)  ซึ่งไม่วัดลงไปในรายละเอียด มีหน่วยเป็น     หน่วย

คอนกรีตหล่อสำเร็จ   (Precast Concrete)
  1. คอนกรีตหล่อสำเร็จ  หมายถึง   ส่วนของงานคอนกรีตซึ่งหล่อจากตำแหน่งอื่น  แล้วจึงนำมาประกอบเข้าตำแหน่งที่ต้องการภายหลัง
     
  2. ราคาต่อหน่วยในการประมาณราคาคอนกรีตหล่อสำเร็จจะต้องรวมถึงรายการต่างๆ  ดังต่อไปนี้คือ
  • การสุ่มตัวอย่างและการทดสอบชิ้นส่วนคอนกรีตหล่อสำเร็จ
  • การขนส่ง  ขนถ่าย  และการติดตั้ง
  • งานไม้แบบและแบบหล่อที่ใช้
  • เหล็กเสริมคานคอนกรีตหล่อสำเร็จ
  • ค้ำยันชั่วคราว  ซึ่งไม่ได้แสดงรายละเอียดไว้ในรูป
  1. การแบ่งรายการของงาน  วิธีการวัดและหน่วยของการวัด
  • แผ่นพื้นคอนกรีต  และกำแพง(Wall Panel)   โดยวัดปริมาณงานในหน่วยของพื้นที่ตารางเมตร  โดยใช้ระยะตามที่แสดงในแบบ
  • คาน เสา วัดปริมาณงานในหน่วยความยาวเป็นเมตร    หรือระบุเป็นจำนวนหน่วยของชิ้นส่วนคอนกรีตหล่อสำเร็จนั้นๆ
  • แปและรางน้ำ  (Channel)  โดยวัดปริมาณงานในหน่วยของความยาวเป็นเมตร  หรือระบุจำนวนเป็นหน่วยของชิ้นส่วนคอนกรีตหล่อสำเร็จนั้นๆ
  • แนวคิ้ว (String Courses)  ครอบ (Copings)  ชุดบันได (Staircases) ธรณีหน้าต่าง  บานเกล็ดและอื่นๆ  ในทำนองเดียวกันโดยวัดปริมาณงานในหน่วยของความยาวเป็นเมตร   หรือระบุจำนวนเป็นหน่วยของชิ้นส่วนคอนกรีตหล่อสำเร็จนั้นๆ
  • คันขอบถนน (Curb)  และอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน  โดยวัดปริมาณงานในหน่วยของความยาวเป็นเมตร  หรือระบุจำนวนหน่วยของชิ้นส่วนคอนกรีตหล่อสำเร็จนั้นๆ  และในบริเวณที่เป็นส่วนโค้งจะต้องระบุให้ชัดเจน
  • งานตกแต่งชิ้นส่วนคอนกรีตหล่อสำเร็จใดๆ  จะต้องระบุไว้ให้ชัดเจน  และวัดปริมาณงานแยกในหน่วยของพื้นที่เป็นตารางเมตร

คอนกรีตอัดแรง  (Prestressed Concrete)
  1. การวัดปริมาณงานคอนกรีต  แบบหล่อ   และ เหล็กเสริมในหมวดของงานคอนกรีตอัดแรง   ให้ใช้วิธีวัดปริมาณงานเช่นเดียวกับหมวดอื่นๆ
  2. ในการปะมาณราคาคอนกรีตอัดแรง  ให้รวมถึงรายการต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ

    • วัสดุที่ใช้  การขนส่งและติดตั้งระบบในตำแหน่งที่ต้องการ

    • การอัดแรงและการอัดน้ำปูนเหลว(Grouting)

    • การสุ่มตัวอย่าง  และการทดสอบ
       

  3. วิธีการวัด

  • การวัดปริมาตรของงานคอนกรีตให้วัดปริมาณงานตามหมวดงาน  คอนกรีตในที่   คอนกรีตหรือหล่อสำเร็จแล้วแต่กรณี

  •  เหล็กเสริมให้ใช้การวัดปริมาณงานเช่นเดียวกับงานในหมวดงานเหล็กเสริมคอนกรีต

  • แบบหล่อให้วัดปริมาณงานเช่นเดียวกับงานในหมวดงานแบบหล่อโดยระบุว่า  เป็นงานคอนกรีตอัดแรงหล่อในที่หรือคอนกรีตอัดแรงหล่อสำเร็จ

  • ลวดอัดแรงต่างๆ ให้วัดความยาวสุทธิตามแบบก่อสร้างในหน่วยน้ำหนักโดยคำนวณน้ำหนักจากน้ำหนักต่อหน่วย(Nominal Unit Mass)

  • ท่อร้อยลวดกลุ่ม  ให้วัดปริมาณงานในหน่วยความยาว  โดยไม่หักแท่นยึด (Anchorage)

  •  แท่นยึด  ให้วัดเป็นจำนวนโดยรวมอุปกรณ์จับยึด(Grip)

  1. หน่วยของการวัด

  • ลวดอัดแรง(ระบุขนาด)        มีหน่วยเป็น                                กิโลกรัม

  • ท่อร้อยลวดกลุ่ม (รวมทั้งอัดน้ำปูนเหลว)         มีหน่วยเป็น         เมตร

  • อุปกรณ์อื่นๆ เช่น  แท่นยึด ฯลฯ             มีหน่วยเป็น                จำนวน

 รายการเบ็ดเตล็ด (MISCELLANEOUS ITEM)
  1. คอนกรีตกันน้ำ ให้วัดเป็นปริมาณของคอนกรีตกันน้ำที่ใช้ (ลูกบาศก์เมตร)
  2. งานที่เกี่ยวกับการตัดหรือการกัดเซาะลงไปในส่วนของคอนกรีเดิม  จะต้องแบ่งออกตามลักษณะดังต่อไปนี้คือ
  • ร่อง(Grooves)  สายดุน(Chases)  และอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน  จะต้องวัดปริมาณงานในหน่วยความยาวเป็นเมตร โดยระบุถึงเส้นรอบรูปของร่องหรือสายดุนนั้นๆ
  • รูเจาะ  และช่องเปิด  จะต้องวัดปริมาณงานเป็นจำนวนรูเจาะหรือช่องเปิด   โดยระบุขนาดของรูเจาะหรือช่องเปิดนั้น
  • การตัดช่องเปิดที่มีพื้นที่มากกว่า  0.10 ตารางเมตร   จะต้องวัดปริมาณงานในหน่วยของปริมาตรเป็นลูกบาศก์เมตร  โดยรายการแสดงปริมาณงานดงกล่าวจะต้องรวมงานติดตั้งและงานรื้อถอนค้ำยันชั่วคราวที่ใช้ในการนั้นด้วย
  • การตัดหรือเจาะผิวหน้าคอนกรีตเสริมเหล็กไปจนถึงเหล็ก    เสริมอยู่ข้างใน   โดยไม่ทำให้เกิดความเสียหายใดๆ นั้น  จะต้องวัดปริมาณงานในหน่วยของพื้นที่เป็นตารางเมตร   พร้อมทั้งระบุความลึกของการเจาะฝังเหล็กคานในเสา

 


ความสูงของเสา หรือ กำแพง ที่ใช้ในการคิดปริมาณคอนกรีต และ พื้นที่แบบหล่อ
เมื่อ  พื้นหนาเท่ากัน และ อยู่ระดับเดียวกัน

  1. กรณีท้องพื้นแต่ละชั้นอยู่ระดับเดียวกันและ  พื้นหนาเท่ากัน  ให้วัดจากส่วนบนสุดของฐานเสา (Column Base) หรือ ฐานราก ไปจนถึงท้องพื้นชั้นหนึ่ง  และจากด้านบนของพื้นที่ชั้นหนึ่งไปจนถึงท้องพื้นถัดไปตามลำดับ
  2. การคิดความสูงเพื่อคิดปริมาตรคอนกรีต  และพื้นที่แบบหล่อเสาหรือกำแพง   โดยทั่วไปคิดจากส่วนบนสุดของฐานเสาหรือฐานรากไปจนถึงท้องพื้นชั้นหนึ่ง   และจากด้านบนของพื้น (หลังพื้นชั้นหนึ่งถึงท้องพื้นชั้นที่สูงถัดไป


ความสูงของเสา หรือ กำแพง ที่ใช้ในการคิดปริมาณคอนกรีต และ พื้นที่แบบหล่อ
เมื่อ  พื้นหนาไม่เท่ากัน หรือ  ไม่อยู่ระดับเดียวกัน

  1.  วัดเหมือนกรณีแรก  แต่ให้วัดระยะจากด้านใดด้านหนึ่งของเสาเป็นหลักไปตลอดความสูงของเสานั้น
  2.  การคิดความสูงเพื่อคิดปริมาตรคอนกรีต  และพื้นที่แบบหล่อเสาหรือกำแพง  กรณีพื้นอยู่ต่างระดับกันให้วัดเหมือนกรณีแรก  แต่ให้วัดระยะจากด้านใดด้านหนึ่งของเสา
     เป็นหลักไปตลอดความสูงของเสานั้น


 ความสูงของเสา หรือ กำแพง ที่ใช้ในการคิดปริมาณคอนกรีต และ พื้นที่แบบหล่อ
เมื่อมีแป้นหัวเสา  
(Drop Panel)

  1.  ให้วัดจากส่วนบนสุดของฐานเสา(Column Base)  ไปจนถึงท้องแป้นหัวเสาชั้นหนึ่ง  จากด้านบนของพื้นชั้นหนึ่งไปจนถึงท้องแป้นหัวเสาถัดไปตามลำดับ
  2. การคิดความสูงเพื่อคิดปริมาตรคอนกรีต  และพื้นที่แบบหล่อเสาหรือกำแพง  กรณีท้องพื้นมีแป้นหัวเสา (Drop Panel) ให้วัดจากส่วนบนสุดของฐานเสา(Column Base)  ไปจนถึงท้องแป้นหัวเสาชั้นหนึ่ง  จากด้านบนของพื้น(หลังพื้น) ชั้นหนึ่งไปจนถึงท้องแป้นหัวเสาถัดไปตามลำดับ


การวัดปริมาตรคอนกรีตพื้น

  1. ความกว้างและความยาวคิดจากจุดศูนย์กลาง  ของจุดรองรับถึงจุดศูนย์กลางของจุดรองรับ  หรือ  ริมสุดของแผ่นพื้น (กรณีเป็นพื้นช่วงสุดท้าย
  2. และปริมาตรคอนกรีตหาจาก  พื้นที่คูณกับความหนาของพื้น

 การวัดปริมาตรคอนกรีตแผ่นพื้นไร้คานที่มีแป้นหัวเสา (Drop Panel)

  1. ในกรณีของพื้นสำหรับแผ่นพื้นไร้คานที่มีแป้นหัวเสา(Drop Panel)การคิดปริมาณของคอนกรีตพื้นจะต้องรวมถึงส่วนของแป้นหัวเสาเข้าไว้ในปริมาณของคอนกรีตพื้นด้วย

  การวัดปริมาตรคอนกรีตคาน

  1. ความยาวคานจะต้องคิดจากหน้าเสาต้นหนึ่ง ไปยังหน้าเสาอีกต้นหนึ่งของช่วงคานนั้น

  2. สำหรับความลึกของคานจะต้องคิดจากเสาต้นหนึ่ง  ไปยังหน้าเสาอีกต้นหนึ่งของช่วงคานนั้น

  3. สำหรับความลึกของคานจะต้องคิดจากท้องพื้นลงไปจนถึงท้องคาน 

  4. ในกรณีที่เป็นคานกลับ (Inverted Beam)  ความลึกของคานจะต้องคิดจากด้านบนของแผ่นพื้นขึ้นไปยังด้านบนของคาน

  5. ในระบบพื้นบนคาน (Slab on Beam)  จะมีบางส่วนที่กลืนกันอยู่กับพื้น  แต่ในการคิดปริมาณงานคอนกรีต  และ แบบหล่อ จะให้คิดแยกส่วนที่ไม่กลืนกับพื้นออกมา


ข้อพิจารณาต้องหักปริมาตรคอนกรีตออกหรือไม่

  1.  ปริมาตรของเหล็กเสริมโครงสร้างและหน้าตัดอื่นใดฝังอยู่ในคอนกรีตไม่ต้องหักปริมาตร
  2.  คานหรือเสาที่เป็นกล่องต้องหักปริมาตรช่องท่อออก
  3. ปริมาตรของท่อน้ำ  ท่อร้อยสายไฟ  และอื่นๆ  ที่มีขนาดพื้นที่หน้าตัดไม่เกิน 0.01 คร.. ไม่ต้องหักปริมาตร
  4. ปริมาตรของร่องราง  การลบมุมและอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน  ที่มีพื้นที่หน้าตัดไม่เกิน 0.01 ตร.. ไม่ต้องหักปริมาตร
  5.  ปริมาตรวัสดุ (หัวเสาเข็มที่กลืนอยู่ในฐานราก  ไม่ต้องหักปริมาตร  ในการคิดปริมาณงานคอนกรีตฐานราก

งานแบบหล่อคอนกรีต(FORMWORK)

  1. ข้อกำหนดทั่วไป  งานแบบหล่อจะจัดหมวดหมู่ตามลำดับเช่นเดียวกับงานคอนกรีต  คือ
  • งานแบบหล่อสำหรับคอนกรีตหล่อในที่
  • งานแบบหล่อสำหรับคอนกรีตหล่อสำเร็จ
  • งานแบบหล่อสำหรับคอนกรีตอัดแรง
  1. ในการประมาณราคางานแบบหล่อ  จะต้องรวมถึงรายการต่างๆ  ดังต่อไปนี้คือ
  • ทุกสิ่งที่จำเป็นในการรักษารูปร่างของคอนกรีต  ซึ่งได้แก่  นั่งร้าน(Falsework)   ค้ำยันแบบเหล็กยึดแบบ  (Form Ties)  ตะปู ฯลฯ
  • งานลบมุมที่มีขนาดเล็ดกว่า 2.5*2.5 ซม.
  • อุปกรณ์จำเป็นทุกอย่างที่ใช้ในการประกอบและการรื้อถอนแบบหล่อ
  • การเสียเปล่าของวัสดุ
  1. การแบ่งรายการของงานแบบหล่อ สามารถแบ่งได้ตามลักษณะ ดังต่อไปนี้
  • แบบหล่อสำหรับผิวคอนกรีตที่แตกต่างกัน
  • แบบหล่อที่ใช้กับงานรูปแบบต่างๆ เช่น แนวตั้ง  แนวราบ  แนวเอียง  และ พื้นผิวโค้ง
  • แบบหล่อที่ต้องทิ้งไว้ในตำแหน่งนั้น ไม่สามารถถอดออกมาใช้ได้อีก
  1. วิธีการวัด
  • งานแบบหล่อจะต้องวัดปริมาณงานในหน่วยของพื้นที่เป็นตารางเมตร  ตามพื้นที่ของผิวคอนกรีตหล่อในที่ซึ่งต้องอาศัยค้ำยันชั่วคราว    ในระหว่างที่ทำการหล่อคอนกรีต   โดยระยะที่ใช้ในการวัดปริมาณของโครงสร้างชนิดต่างๆ ให้ใช้ระยะเดียวกับงานหล่อในที่
  • การคิดปริมาณงานแบบหล่อจะไม่หักส่วนของช่องเปิดที่มีพื้นที่หน้าตัดไม่เกิน 1.00  ตารางเมตร  ในแต่ละช่องเปิด
  • งานแบบหล่อสำหรับคานรอง  (Secondary Beam)   จะต้องวัดปริมาณงานไปจนถึงด้านข้างของคานเอก (Main Beam) จไม่มีการหักพื้นที่ของงานแบบหล่อของคานหลักส่วนที่คานรองตัดผ่าน
  • จะไม่มีการหักพื้นที่ของงานแบบหล่อของส่วนคานหลักตัดผ่าน
  • จะไม่มีการหักพื้นที่ของงานแบบหล่อของส่วนเสาหรือคานหลักตัดผ่าน
  • พื้นผิวคอนกรีตที่มีลักษณะพิเศษจะต้องวัดปริมาณแยกต่างหาก
  • ช่องเปิดสำหรับติดตั้งสลักยึด (Anchor Black)  รูเจาะ  (Cored Holes)  ช่องเปิดขนาดเล็กใน   ขนาดใกล้เคียงกัน  ให้จัดให้เป็นหมวดหมู่
  • งานลบมุมที่มีขนาดเกินกว่า  2.5*2.5 ซม. ให้จัดเป็นกลุ่มที่มีขนาดใกล้เคียงกัน
  • รอยต่อเผื่อขยาย  รอยต่อก่อสร้าง  โดยวัดแยกออกมา
  1. หน่วยของการวัด
  • งานแบบหล่อทั่วๆ ไป   มีหน่วยเป็น     ตารางเมตร
  • ร่องและรางต่างๆ  มีหน่วยเป็น เมตร
  •  รอยต่อเผื่อขยาย  รอยต่อก่อสร้างตามที่กำหนด โดยระบุความกว้าง และความลึกของรอยต่อ   เมตร
  • รูเจาะ  ช่องเปิด  ช่องเปิดสำหรับติดตั้งสลักเกลียว (ระบุขนาด)          จำนวน
  1.  การคิดปริมาณงานแบบหล่อ   จะไม่หักส่วนของช่องเปิดที่มีพื้นที่หน้าตัดไม่เกิน 1.00 ตารางเมตร  ในแต่ละช่องเปิด

งานแบบหล่อคอนกรีตสำหรับคานรอง (Secondary Beam)

  1. ต้องวัดปริมาณงานไปจนถึงด้านข้างของคานเอก (Main Beam)  โดยไม่มีการหักพื้นที่ของงานแบบหล่อของคานหลักส่วนที่คานรองตัดผ่าน  และไม่มีการหักพื้นที่ของงานแบบหล่อ  ของส่วนเสาที่คานหลักตัดผ่าน
  2. จะไม่มีการหักพื้นที่ของงานแบบหล่อของพื้นที่ส่วนที่เสาหรือคานตัดผ่าน

เหล็กเสริมคอนกรีต(REINFORCEMENT)

  1. ข้อกำหนดงานทั่วไป
  • งานหล็กเสริมจะจัดหมวดหมู่ตามลำดับเหมือนกับงานคอนกรีต
  • การสัดปริมาณงานเหล็กเสริมสามารถเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งจาก 2 วิธีนี้
  • การวัดปริมาณโดยทำรายการการดัดเหล็ก (Bar Bending Schedual)
  • การวัดปริมาณโดยการประมาณการ
  1. ขอบเขตราคาต่อหน่วย ในการประมาณราคางานเหล็กเสริมคอนกรีต  จะต้องรวมรายการต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ
  • วัสดุที่ใช้  การขนส่ง  การขนถ่ายและการติดตั้งเหล็กเสริมในตำแน่งที่ต้องการ
  • การจัดทำรายการดัดเหล็ก   หากใช้วิธีการวัดปริมาณ   โดยวิธีทำรายการดัดเหล็ก
  • การทำความสะอาด  การตัด  การดัด  และการผูกเหล็กตะแกรง
  • ขารับ (Chairs)  เหล็กจัดระยะ (Spacers)  Hangers ฯลฯ   และการใช้ลวดผูกเหล็กหรืออื่นๆ  (ในกรณีที่จำเป็นเพื่อยึดเหล็กให้อยู่ในตำแหน่ง
    ที่ต้องการ
  • การทาบต่อของการก่อสร้าง (Construction Lap)  ของเหล็กเสริม  และเศษที่เหลือจากการตัด
  1. การแบ่งรายการของงาน  งานเหล็กเสริมคอนกรีต สามารถแบ่งได้ตามลักษณะดังต่อไปนี้
  • ตามกำลังคลาก  (SR, SD) 
  • ตามลักษณะของผิวเหล็ก  เช่น เส้นกลม (RB)  ข้ออ้อย(DB)
  • ตามขนาดของเหล็กที่ใช้
  1. วิธีการวัด
  • การวัดปริมาณโดยการทำรายการการดัดเหล็ก
    • คำนวณน้ำหนักของเหล็กเสริม  จะต้องวัดจากความยาวสุทธิที่ปรากฏในแบบ  โดยคำนวณน้ำหนักจากนำหนักระบุต่อหน่วย(Nominal Unit Mass)   ของแต่ละหน้าตัดเหล็กเส้น  และ  ยอมให้คำนึงถึงส่วนของเหล็กที่ทาบต่อกันและส่วนที่ดัดหรืองอ     โดยใช้ความยาวตามข้อที่กำหนดของโครงการนั้นๆ   แต่ไม่อนุญาตให้คำนึงถึงเศษของการตัดน้ำหนักในส่วนของขารับ  เหล็กจัดระยะ Hangers   ตัวยึดผูกลวดเหล็กหรืออื่นๆ ที่จำเป็น  เพื่อยึดเหล็กเสริมให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ
  •  การวัดเนื้องานโดยวิธีประมาณการ
    • การวัดเนื้องานให้คิดตามแบบที่แสดงไว้   โดยวัดเป็นน้ำหนัก  ระยะงอ  ระยะขอ  ระยะทาบ  ระยะคอม้า  การเผื่อเสียหายให้คิดเป็นเปอร์เซ็นตามขนาดเหล็กตามตารางอัตราเปอร์เซ็นต์ปริมาณเหล็กเพิ่ม  โดยแยกรายละเอียดตามประเภทของโครงสร้าง
      • ความยาวเหล็กปลอกหรือเหล็กรัดรอบที่คล้ายเหล็กปลอก  ให้คิดตามรูปตัดที่แสดงในแบบโดยวัดระยะจากผิวคอนกรีตถึงผิวคอนกรีต
      • จำนวนเหล็กปลอกให้หาค่าเฉลี่ยจากระยะที่แสดงในแบบหรือตลอดความยาวเหล็กเสริมหลัก(Main Reinforcement) (ถ้าแบบไม่ได้ชี้เฉพาะโดยปัดเศษขึ้น (Round up)  ให้เป็นจำนวนเต็ม
      • ความยาวเหล็กเสริมพิเศษ  ให้คิดตามที่แสดงในแนบ
      • ความยาวเหล็กเสริมหลัก(Main Reinforcement)  ให้คิดจำนวนตาแบบส่วนความยาว   ให้คิดตามแต่ละชนิดโครงสร้าง
      • เหล็กเสริมรอบ Sleeve  และช่องเปิด ไม่ต้องคิด (ให้ถือว่าคิดเผื่อไว้แล้วตามเปอร์เซ็นต์ของเหล็ก)
      • เหล็กตะแกรง  (Fabric Reinforcement)  จะต้องวัดปริมาณงานในหน่วยของพื้นที่เป็นตารางเมตร  โดยไม่อนุญาตให้คำนึงถึงส่วนของการก่อสร้างทาบต่อกันและส่วนของเศษที่เหลือจากการตัด
      • จะไม่มีการหักพื้นที่ปริมาณงานของเหล็กตะแกรม  สำหรับช่องเปิดที่มีพื้นที่ไม่เกิน  1  ตารางเมตร                        
  1. ตารางอัตราเปอร์เซ็นต์ปริมาณเหล็กเพิ่มสำหรับการวัดโดยการประมาณการ
  • เหล็กเส้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  6  มม.                         เผื่อ   5         เปอร์เซ็นต์
  • เหล็กเส้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  9  มม. และ 10   มม.      เผื่อ   7         เปอร์เซ็นต์
  • เหล็กเส้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  12  มม.                       เผื่อ   9         เปอร์เซ็นต์
  • เหล็กเส้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  15  มม., 16 มม.           เผื่อ   11        เปอร์เซ็นต์
  • เหล็กเส้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  19 มม., 20 มม.            เผื่อ   13        เปอร์เซ็นต์
  • เหล็กเส้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  25  มม.ขึ้นไป               เผื่อ   15        เปอร์เซ็นต์
  1. หน่วยของการวัด
  • เหล็กเส้น (ระบุแยก  กำลังคลาก  ชนิด และขนาด)             มีหน่วยเป็น             กิโลกรัม
  • เหล็กตะแกรง(ระบุแยก  กำลังคลาก  ชนิด และขนาด)        มีหน่วยเป็น             ตารางเมตร
  • รอยต่อพิเศษ  เช่น  การเชื่อม หรืออุปกรณ์ต่อเหล็ก ในกรณีระบุให้ใช้      นับเป็น จำนวนหน่วย

 

งานเหล็กเสริมคอนกรีต : เหล็กเสริมคาน

  1. คิดความยาวจากจุดศูนย์กลางของจุดรองรับ ถึง ศูนย์กลางของจุดรองรับถึงจุดรองรับ  หรือ  ริมสุดของคาน (กรณีเป็นคานช่วงสุดท้าย)
  2. ถ้าเหล็กเสริมหลักยาวไม่ตลอดช่วงคาน ให้ใช้ความยาวคานตามแบบ หรือ ที่ระบุในรายการก่อสร้าง
  3. ไม่ต้องคิดระยะงอขอ งอฉาก

งานเหล็กเสริมคอนกรีต : เหล็กปลอก

  1. ความยาวเหล็กปลอกหรือเหล็กรัดรอบที่คล้ายเหล็กปลอก   ให้ติดตามรูปที่แสดงในแนบโดยวัดระยะจากผิวคอนกรีตถึงผิวคอนกรีต
  2. ในการคิดความยาวเหล็กโดยวิธี “ประมาณการ”  มีจุดประสงค์คือ ต้องการความรวดเร็วในการคำนวณปริมาณงาน  และยังคงมีความใกล้เคียงปริมาณงานที่มีจริงในการคิดความยาวเหล็กปลอกคานหรือเสา  โดยวิธีนี้คิดจากระยะตามผิวคอนกรีตที่ปรากฏในแบบเสาหรือคาน
  3. จำนวนเหล็กปลอกให้หาเฉลี่ยจากระยะที่แสดงในแนบ  หรือตลอดความยาวเหล็กเสริมหลัก (Main Reinforcement)  (ถ้าแบบไม่ได้ชี้เฉพาะ) โดยปัดเศษขึ้น (Round up) ให้เป็นจำนวนเต็ม
ความยาวเหล็กปลอก  ระยะตามแบบจากผิวคอนกรีตถึงผิวคอนกรีต 2 เท่าความกว้างคาน หรือ เสา + 2 เท่าความลึกคานหรือเสา
จำนวนเหล็กปลอก ( ปัดเศษขึ้น ) ความยาวเหล็กเสริมหลัก / ระยะเรียงเหล็กปลอก    

งานเหล็กเสริมคอนกรีต : เหล็กเสริมพื้น ในระบบพื้น - คาน

       
  1. คิดความยาวจากจุดศูนย์กลางของจุดรองรับ ถึง จุดศูนย์กลางของจุดรองรับ หรือ  ริมสุดของพื้น (กรณีเป็นพื้นช่วงสุดท้าย)
  2. ถ้าเหล็กเสริมหลักยาวไม่ตลอดช่วงคาน ให้ใช้ความยาวคานตามแบบ หรือ ที่ระบุในรายการก่อสร้าง
  3. ไม่ต้องคิดระยะงอขอ งอฉาก

งานเหล็กเสริมคอนกรีต : เหล็กเสริมในเสา และ ตอม่อ

  1. ตอม่อ คิดรวมความยาวจากท้องฐานรากถึงระดับหลังพื้นชั้นแรกตามระดับที่กำหนดในแบบ
  2. เสาชั้นใดๆ คิดความยาวจากระดับหลังพื้นชั้นนั้นๆ ถึงระดับพื้นชั้นถัดไป  (หรือสุดความสูงของอาคาร ในกรณีเป็นเสาชั้นสุดท้าย)

งานเหล็กเสริมคอนกรีต : ฐานราก

  1. เหล็กเสริมหลักตามยาว  คิดเท่ากับความยาวของฐานราก (ผิวคอนกรีต – ผิวคอนกรีต)
  2. เหล็กเสริมหลักตามขวาง  คิดเท่ากับความกว้างของฐานราก (ผิวคอนกรีต – ผิวคอนกรีต)
  3. เหล็กเสริมหลักที่ต้องงอขึ้นหลังฐานราก(มากกว่าระยะงอปกติให้คิดเท่ากับความยาวเหล็กเสริมหลัก  บวกกับ 2 เท่า  ของความหนาฐานรากในกรณีงอเหล็กขึ้นถึงหลังฐานราก หรือ 2 เท่า  ของระยะความสูงที่งอขึ้น  ซึ่งชี้ชัดอยู่ในแบบ
  4. เหล็กรัดรอบฐานราก ให้คิดเท่ากับเส้นวัดรอบของฐานราก (ตามผิวคอนกรีต)
  5. การคิดปริมาณงานเหล็กเสริมฐานรากมี 3 กรณีใหญ่ๆ คือ
    • กรณีที่งอขึ้นไม่มากกว่าระยะงอปกติ
    • กรณีงอเหล็กขึ้นถึงฐานราก
    • กรณีงอเหล็กขึ้นที่ระบุระยะความสูงชี้ชัดในแบบ ซึ่งแต่ละกรณีจะมีการคิดตามรายละเอียดข้างต้น

งานเหล็กเสริมคอนกรีต : กำแพงคอนกรีต

  1. เหล็กนอนทั้งด้านนอกและด้านใน  คิดความยาวตามเส้นรอบรูป (ภายนอกของกำแพง
  2. เหล็กทั้งทางด้านนอกและด้านใน  คิดเหมือนเหล็กเสริมหลักของเสา
ความยาวเหล็กนอนด้านนอก ความยาวเหล็กนอนด้านใน =  เส้นรอบรูปภายนอกกำแพง

งานเหล็กเสริมคอนกรีต : บันไดคอนกรีตเสริมเหล็ก

  1. เหล็กเสริมหลักตามขวางคิดความยาวเท่ากับความกว้างของบันได
  2. เหล็กเสริมหลักตามยาววัดตามความเอียงบันไดจากจุดศูนย์กลางที่รองรับถึงศูนย์กลางที่รองรับ
  3. เหล็กดัดตามรูปลูกขั้นบันได   ให้วัดความยาวตามผิวลูกขั้นบันได
  4. เหล็กเสริมมุม  คิดความยาวเท่ากับความกว้างของบันได
  5. เหล็กเสริมพื้นชานพักบันไดคอนกรีตระบบพื้น – คาน  ให้คิดเหมือนเหล็กเสริมพื้นในระบบพื้น - คาน
  6. เหล็กเสริมคานบันไดคอนกรีตระบบพื้น – คาน  ให้คิดเหมือนเหล็กเสริมคานในระบบพื้น - คาน

rscelaw@yahoo.com

ปรับปรุงแก้ไข จันทร์, 26 ธันวาคม 2548 15:39:40