สำนักงานที่ปรึกษากฎหมายและวิศวกรรม  รังสรรค์ วงษ์บุญ
Office of Law and Engineering Consultants
The only thing necessary for the triumph of evil is for good men to do nothing.


วิธีการวัดปริมาณงานก่อสร้างอาคาร
ตามมาตรฐาน วสท (E.I.T. Standard 1012 - 40 , ISBN 974 - 90756 -3 - 3)

และ ตัวอย่างการประมาณราคางานทางด้านวิศวกรรมโยธาเบื้องต้นสำหรับบ้านพักอาศัย 2 ชั้น


1.
n
n
n

วิธีการประมาณราคาอย่างหยาบ ใช้เวลาน้อย ใช้คนน้อย เสียเงินน้อย ให้ความละเอียดถูกต้องน้อย มีหลายวิธี เช่น

  1. พื้นที่ใช้สอย ×  ราคา / ตร.ม.  เช่น สร้างบ้านมีพื้นที่ใช้สอย 100 ตารางเมตร ราคาประมาณ 8000 บาทต่อตารางเมตร ( ใช้ข้อมูลเดิม )
  2. ปริมาตรอาคาร × ราคา / ลบ.ม. เช่น สร้างอาคาร 5 ชั้น มีปริมาตรตัวอาคาร กว้าง x ยาว x สูง x ราคาประมาณ 10000 บาท ต่อ ลูกบาศก์เมตร
  3. หน่วยการใช้สอย × ราคา ต่อ หน่วย เช่น  โรงเรียนขนาดนักเรียน 300 คน x ราคาเฉลี่ยต่อคน
  4. ใช้ราคาอาคารเก่าถ้าสร้างเหมือนเดิม x อัตราเงินเฟ้อ ณ ปีที่สร้าง
  5. ใช้วิธีการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น Multiple linear regression

วิธีการประมาณราคาอย่างละเอียด

  1. ต้องมีแบบครบถ้วนสมบูรณ์ก่อนลงมือประมาณราคา ทำให้เสียเงินมาก เสียเวลามาก
  2. ได้ตัวเลขใกล้เคียงความจริงมากที่สุด

2. องค์ประกอบของราคางานก่อสร้าง มีอยู่ 5 ส่วน
  1. ค่าวัสดุก่อสร้าง  จัดเป็น Direct Cost  
    • ประมาณ 60 % - 70 %  ของราคาค่าก่อสร้างทั้งหมด
    • ราคาจะถูก – แพง ขึ้นอยู่กับวิธีการจัดซื้อ จัดหา และการเปลี่ยนแปลงของตลาด
    • วัสดุจะมีราคาแพงถ้าต้องสั่งจากนอกประเทศ หรือต้องสั่งทำพิเศษ ขาดแคลน และ หายาก
  2. ค่าแรง  จัดเป็น Direct Cost
    • ราคาค่อนข้างคงที่  บางเวลาหาได้ยาก
    • ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง เกินกว่านี้ต้องจ่ายค่าล่วงเวลา
  3. ค่าดำเนินการ หรือ โสหุ้ย  จัดเป็น Indirect Cost
    • เป็นเงินเดือน ค่าจ้างอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องการการใช้วัสดุโดยตรง
    • ถ้าคิดเป็น % ของ ( ค่าวัสดุ + ค่าแรง ) อาจผิดพลาดได้ และ อาจทำให้ Content ของการบริหารโครงการสูง
  4. กำไร  แปรผกผันกับโอกาสได้งานเสมอ  ถ้าประมูลงานในราคาที่ต่ำ โอกาสได้งานจะสูง และ โอกาสที่จะขาดทุนจะสูงตามไปด้วย
  5. ภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย และ ภาษีนอกกฎหมายอื่นๆที่ทำให้งานดำเนินการไปอย่างราบรื่น

3. ชนิดของปริมาณวัสดุที่ปรากฏในการประมาณราคา มี 2 แบบ
  1. Net in place เป็นปริมาตรสุทธิที่ปรากฏตามแบบ
  2. Procurement  =  net in place + losses = เป็นปริมาตรที่มีการเผื่อการสูญเสียในระหว่างการทำงานตามสภาพแวดล้อมต่างๆแล้ว

4. ข้อสังเกตเบื้องต้น
  1. ราคาวัสดุมีค่าประมาณ  50 % – 70 % ของราคาค่าก่อสร้างทั้งหมด
  2. การกำหนดราคาจะต้องรู้สิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ เช่น  ชนิด – ประเภท – ระดับคุณภาพ – จำนวน - ระยะเวลาที่จะใช้ในการดำเนินการก่อสร้าง –
    กำหนดวันส่งมอบถึง
    site - ยืนราคาเดิมกี่วัน – credit กี่วัน – จ่าย check  กี่วันจึงจะขึ้นเงินได้ เป็นต้น

5. จะรู้ราคาวัสดุและค่าแรงเบื้องต้นจากที่ใด
  1. ถามผู้ผลิต หรือ ผู้แทนจำหน่าย
  2. หน่วยราชการ – กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ - สำนักงบประมาณ  ฯ
  3. อ่านจากหนังสือที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง – ข่าวช่าง
  4. ใช้ BOQ ของเก่า ที่มีลักษณะการก่อสร้างคล้ายๆกัน

 


6. สาเหตุที่ทำให้ราคาวัสดุแพงกว่าธรรมดา
  1. หายาก  ผลิตน้อย  ขาดตลาด 
  2. มีลักษณะพิเศษ
  3. สั่งจากต่างประเทศ
  4. ขนส่งไกล
  5. ต้นทุนการผลิตเพิ่ม  -  น้ำมันแพง  ดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่ม

7. ข้อสังเกตเกี่ยวกับค่าแรง
  1. จัดเป็น direct cost หรือ ค่าก่อสร้างโดยตรงเหมือนค่าวัสดุ
  2. ทำงานวันละไม่เกิน 8 ชม. หรือ 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เกินกว่านี้ต้องได้ค่าล่วงเวลา
  3. ราคาไม่เท่ากันตามประเภทของช่างและระดับฝีมือ
  4. กลุ่มช่าง – ไม้ ปูน เหล็ก สี กรรมกร ฯลฯ
  5. งานที่เจ้าของงาน หรือ Main contractor ำเอง หรือ เรียกว่า Force account  ปัจจุบันประมาณ 10 % – 15 %  ของค่าวัสดุ + Equipment Cost
  6. Location of site ทำให้ราคาค่าแรงแพง – ในเมือง / นอกเมือง , ภูเก็ต / แม่ฮ่องสอน , site อยู่ใกล้กัน แย่งแรงงานกัน
  7. คนงานพักนอก site ต้องเพิ่มค่าที่พักและค่าเดินทาง

8. ประเภทของแบบที่ใช้ในงานก่อสร้างโดยทั่วไป มี 3 แบบ คือ
  1. Working Drawing เป็นแบบที่ใช้ในการยื่นซองประกวดราคา  โดยแยกงานแต่ละงานออกจากกัน – ไฟฟ้า ประปา ฝ้า โครงหลังคา โครงสร้าง สุขาภิบาล ฯลฯ
  2. Shop Drawing หรือ แบบหน้างาน จะนำแบบ Working Drawing ที่เกี่ยวข้องกันมาเขียนรวมอยู่ในแผ่นเดียวกัน เช่น แบบท่อน้ำ กับ โครงเคร่าฝ้าเพดาน เพื่อให้
    ช่างได้ดูว่าถ้าสร้างจริงๆจะมีปัญหาเรื่องแนวท่อชนกับเคร่าหรือไม่
  3. As – built Drawing  เป็นแบบที่เขียนหลังจากได้มีการก่อสร้างจริงเสร็จแล้วเพื่อใช้ในการปรับราคา ( claims ) และการซ่อมบำรุง

9. ตัวอย่างการหาราคาต่อหน่วยโดยอาศัยข้อมูลจากสถิติประสิทธิภาพการทำงาน เช่น
  1. จากสถิติประสิทธิภาพการทำงาน        ช่างปูน 1 คน + กรรมกร 3 คน ช่วยกันเทพื้นคอนกรีตหนา 10 ซม. ได้ 20 ตารางเมตรต่อวัน
                                                      หรือ 
    =   0.10 ม. × 20  ตร.ม.         =       2   ลบ.ม. ต่อ วัน
     
  2. ถ้า                                              ช่างปูนได้ค่าแรง 300 บาท / คน / วัน  และ กรรมกรได้ค่าแรง 200 บาท / คน / วัน
                                                      ดังนั้น ค่าแรงทั้งหมดต่อวัน
              =   ( 1 × 300 ) + ( 3 × 200 ) =   900   บาท / วัน
     
  3. ดังนั้น                                          ค่าแรงต่อหน่วย  Unit cost           =   900 บาท ต่อ วัน / 2 ลบ.ม. ต่อ วัน =   450   บาท / ลบ.ม.

10. ไม้ที่ใช้ในงานก่อสร้าง
  1. เนื้ออ่อน  เช่น  ยาง  กะบาก 
  2. เนื้อแข็งปานกลาง  เช่น  ตะเคียนทอง  ตะแบก  เต็ง  นนทรี  มะค่าแต้
  3. เนื้อแข็งมาก  เช่น  แดง  ประดู่  มะค่าโมง  รัง  ตะเคียนหิน
  4. เนื้อแข็งมากที่สุด  เช่น  กระพี้เขาควาย  บุนนาค  ไม้สัก
  5. ไม้เบญจพรรณ 
  6. ไม้อัดน้ำยา
  7. ไม้ประสาน

ไม้แปรรูป

  1. แบบไส ( dressed )  แบบไม่ไส ( nominal ) ขายเป็น ลูกบาศก์ฟุต
  2. เสา – ไม้เนื้อแข็ง หน้าตัดสี่เหลี่ยมขนาด 2 – 3 – 4 – 6 – 8 นิ้ว ยาว 2 – 6 เมตร โดยเพิ่ม @0.50 m
  3. กระดาน – มีทั้งเนื้อแข็ง และ เนื้ออ่อน หน้าตัด 0.5 – 0.75 – 1 – 1.5 – 2 นิ้ว ยาว 2 – 6 เมตร  โดยเพิ่ม @0.50 m
  4. ไม้คร่าว – ไม้เนื้ออ่อน หน้าตัด 1.5 นิ้ว กว้าง 3 – 4 นิ้ว ยาว 1 – 4 เมตร โดยเพิ่ม @ 0.50 m
  5. ไม้แบบ – ไม้เนื้ออ่อน หน้าตัด 1 นิ้ว กว้าง 6 – 8 – 10 นิ้ว ยาว 2 – 6 เมตร  โดยเพิ่ม @ 0.50 m
  6. ไม้สักยาว 1 เมตร ถือว่ายาว 3.33 ฟุต หน้าตัด กว้าง(นิ้ว) × หนา(นิ้ว) × ยาว(เมตร) × 0.02315 = ลบ.ฟ.
  7. ไม้เบญจพรรณยาว 1 เมตร ถือว่ายาว 3.25 ฟุต หน้าตัด กว้าง(นิ้ว) × หนา(นิ้ว) × ยาว(เมตร) × 0.02257 = ลบ.ฟ.
  8. ไม้มาตรฐานยาว 1 เมตร ถือว่ายาว 3.25 ฟุต หน้าตัด กว้าง(นิ้ว) × หนา(นิ้ว) × ยาว(เมตร) × 0.02278 = ลบ.ฟ.
  9. หน้าตัด กว้าง(นิ้ว) × หนา(นิ้ว) × ยาว(เมตร) × 0.00064516 = ลบ.ม.

ข้อสังเกตเกี่ยวกับไม้

  1. ในท้องตลาด ความยาวจะเพิ่มครั้งละ 0.50 ม.
  2. ราคามาตรฐานจะเริ่มที่ความยาว 3 เมตร
  3. ไม้ที่ยาวเกิน 8 เมตร และ หนา + กว้าง กว่าปกติ  หายาก และ แพง
  4. ไม้ที่ไส แพงกว่า ไม่ไส
  5. การสั่งไม้จะวัดจากศูนย์กลางถึงศูนย์กลางและเผื่อข้างละ 25 ซม. เพื่อตัดต่อหรือปลายไม้แตกเสียหาย 
  6. ไม้ฝา หรือ ไม้ฝ้า ที่ต่อชน  ให้เผื่อข้างละ 5 ซม.
  7. อย่าลืมคิดราคาอุปกรณ์ยึดไม้ เช่น ตะปู สลักเกลียว เหล็กปะกับรอยต่อ

ไม้ปาร์เก้

  1. ท่อนสั้นๆ หนาประมาณ 0.75 นิ้ว กว้าง 2 นิ้ว ยาวท่อนละ 12 นิ้ว
  2. ทำจากไม้เนื้อแข็ง  แต่ละท่อนมีการเซาะร่องเพื่อเข้าลิ้น
  3. นำมาเรียงต่อกันบนพื้นเรียบโดยใช้กาวเป็นตัวประสาน
  4. ขัดให้เรียบเสมอกัน
  5. ซื้อขายเป็นตารางเมตร
  6. ค่าแรงในการปูและการขัดมัน แล้วแต่จะตกลงกัน

ไม้โมเสคปาร์เก้

  1. ท่อนสั้นๆ คล้ายปาเก้แต่มีชิ้นเล็กกว่าเรียงกันเป็นแผง
  2. หนาประมาณ 0.375 นิ้ว กว้าง 12 นิ้ว ยาวท่อนละ 12 นิ้ว
  3. ทำจากไม้เนื้อแข็ง  แต่ละท่อนมีการเซาะร่องเพื่อเข้าลิ้น
  4. นำมาเรียงต่อกันบนพื้นเรียบโดยใช้กาวเป็นตัวประสาน
  5. ขัดให้เรียบเสมอกัน
  6. ซื้อขายเป็นตารางเมตร
  7. ค่าแรงในการปูและการขัดมัน แล้วแต่จะตกลงกัน

การประมาณราคาพื้นไม้

  1. ขนาดพื้นไม้ทั่วไป  1 นิ้ว x 4 นิ้ว , 1 นิ้ว x 6 นิ้ว , ยาวท่อนละ 1.00 ม. – 2.50 ม.
  2. พื้นไม้ 1 ตารางเมตร ใช้ไม้  1.2 – 1.3 ลบ.ฟ.  เผื่อเสียหายและตัดต่อแล้ว ใช้ตะปู  0.2  กก.

การประมาณราคาไม้แบบ

  1. ทาน้ำมันด้านที่สัมผัสกับคอนกรีต – ป้องกันการดูดซึม  และ ทำให้ถอดแบบง่าย ผิวคอนกรีตจะเรียบ
  2. พื้นที่ไม้แบบ – คิดเฉพาะด้านที่สัมผัสกับคอนกรีต
  3. พื้นที่ไม้แบบ 1 ตารางเมตร ใช้ไม้แบบ 0.7 – 0.9 ลบ.ฟ
  4. ใช้ตะปูชนิดผอมขนาด 2 – 2.5 – 3 นิ้ว จำนวน 0.25 กก.
  5. ช่างไม้ 1 แรง ทำแบบได้ 4 – 6 ตารางเมตร
  6. ไม้แบบใช้ได้ประมาณ 3 ครั้ง รื้อถอนแต่ละครั้งเสียหายประมาณ 10 % – 20 %
  7. ไม้แบบ 1 ตารางเมตร ใช้ไม้แบบ 0.7 – 0.9  หรือเฉลี่ย 0.75  ลบ.ฟ.
  8. ถ้าใช้ไม้แบบ 3 ครั้ง ต้องใช้ไม้แบบ 0.75 / 3 หรือ 0.25 ลบ.ฟ. /  ไม้แบบ 1 ตารางเมตร
  9. ถ้าใช้ไม้แบบ 2.5 ครั้ง ต้องใช้ไม้แบบ 0.75 / 2.5 หรือ 0.30 ลบ.ฟ. /  ไม้แบบ 1 ตารางเมตร

ไม้ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของแบบ

  1. ท้องแบบ / ข้างแบบ – ใช้ไม้ขนาด กว้าง 1 นิ้ว หนา 6 – 8 – 10 นิ้ว
  2. ค้ำยันข้างแบบ , ตงรับท้องคาน – ใช้ไม้กว้าง 3 นิ้ว หนา 1.5 นิ้ว
  3. เสาค้ำยันแบบ ใช้ไม้สน ยูคาลิป – ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 นิ้ว – 4 นิ้ว
  4. รัดปากแบบ – ใช้ไม้ขนาด 1 นิ้ว x 1 นิ้ว

 


11. การประมาณราคางานคอนกรีต

Strength of Concrete ขึ้นอยู่กับ

  1. ชนิดของปูนซีเมนต์
  2. อัตราส่วนผสม การผสม วิธีการบ่ม เวลาบ่ม
  3. คุณภาพน้ำที่ใช้ผสม
  4. ชนิด และ คุณสมบัติของวัสดุผสม
  5. สารผสมเพิ่ม

การทดสอบกำลังอัดของคอนกรีต

  1. ทดสอบแท่งคอนกรีตตัวอย่างรูป Cylinder เส้นผ่านศูนย์กลาง 15 ซม. สูง 30 ซม. หรือแท่งคอนกรีตตัวอย่างรูป Cube ขนาด 15 x 15 x 15 ซม.
  2. อายุแท่งทดสอบ 3 – 7 – 21 – 28 วัน หรือ ตามที่กำหนดใน Specification
  3. ที่ระยะเวลาเดียวกัน กำลังรับแรงอัดที่ได้จาก Cylinder จะต่ำกว่า Cube ประมาณ 13 %
  4. คอนกรีตที่อายุ 7 วัน จะมีกำลังรับแรงอัดต่ำกว่าที่อายุ 28 วัน ประมาณ 25 %

คอนกรีตผสมเสร็จ Ready mix concrete

  1. ราคาขึ้นอยู่กับ Strength ที่ 28 วัน + ระยะทางที่จะวิ่งไปเท
  2. คันละประมาณ 3.5 – 6.0 ลบ.ม.
  3. ต้องใช้ให้หมดภายใน 1 ชม.
  4. ต้องเสียค่าจอดคอยถ้านานกว่าที่ตกลงกัน ( Demurrage Charge )

Portland Cement  มาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. 15

  1. Type 1 Ordinary – ตราช้าง นาคสีเขียว เพชรเม็ดเดียว - ใช้ในโครงสร้างทั่วไป
  2. Type 2 Modified – นาคเจ็ดเศียร – ทนความร้อนและ sulphate ปานกลาง - เขื่อน กำแพงกันดิน ตอม่อ
  3. Type 3 High – early strength(Supercement) – เอราวัณ นาคสีแดง สามเพชร - ถอดแบบได้เร็ว
  4. Type 4 Low – Heat – งานคอนกรีตหลา ให้ความร้อนต่ำขณะแข็งตัว - ฐานรากเขื่อน
  5. Type 5 Sulphate Resistance – ปลาฉลาม – โครงสร้างในทะเล
  6. Type 6 Special

Portland Cement & Silica Cement

  1. Portland Cement  ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. 15  ใช้ในโครงสร้างหลัก - รับน้ำหนัก
  2. Silica Cement  หรือปูนผสม เช่น ตราเสือ ใช้ในงานปูนก่อ ปูนฉาบ
  3. ทั้งสองชนิด  ซื้อขายเป็นถุง ๆ ละ 50 กก.

Fine Aggregate

  1. ทรายผสมคอนกรีตเป็นทรายหยาบ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.07 – 4.5 มม.
  2. ทรายแห้ง หนัก 1.4 – 1.6 ตัน / ลบ.ม.  มีช่องว่างประมาณ 30 – 35 % ถ้าเล็กกว่านี้เรียกตะกอนทราย หรือ silt สีค่อนข้างดำ ใช้ถมที่ หรือ
    ทรายขี้เป็ด – สิงห์บุรี อ่างทอง
  3. ที่มาของทราย – ทรายบก ทรายแม่น้ำ ทรายทะเล
  4. ที่ใช้มาก ทรายอยุธยา เม็ดเล็ก – ใช้งานปูนสอ ปูนฉาบ ปูนถือ
  5. ที่ใช้มาก ทรายอ่างทอง เม็ดกลาง – ใช้งานโครงสร้าง + งานฉาบผนังห้องใต้ดิน พื้น คาน
  6. ที่ใช้มาก ทรายราชบุรี เม็ดใหญ่ – ใช้งานคอนกรีตรับแรงสูงๆ งานพื้น งานฐานราก
  7. ซื้อขายเป็น ลบ.ม. วัดกันที่ปลายทาง หรือ ที่ site

Course Aggregate

  1. หิน # 0 หินฝุ่น หรือ เศษหินย่อย
  2. หิน # 1  มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 – 25 มม. หรือ 0.30 – 0.75 นิ้ว
  3. หิน # 2  มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 – 50 มม. หรือ 0.75 – 1.50 นิ้ว
  4. หิน # 3  มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 50 – 75 มม. หรือ 1.50 – 3.00 นิ้ว
  5. หิน # 4  มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 75 – 100 มม. หรือ 3.00 – 4.00 นิ้ว
  6. หิน # 5  มีเส้นผ่านศูนย์กลางโตกว่า 100 มม. หรือโตกว่า 4.00 นิ้ว
  7. ทรายแห้ง หนักประมาณ 1.6 ตัน / ลบ.ม. มีช่องว่างประมาณ 50 % ซื้อขายเป็น ลบ.ม. วัดกันที่ปลายทาง หรือ ที่ site

การคิดราคางานคอนกรีต

  1. ราคางานคอนกรีต ประกอบด้วย  คอนกรีต +  เหล็กเสริม + ไม้แบบ + ค่าแรง + เครื่องมือและอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ
  2. ปริมาตรคอนกรีต =  พื้นที่หน้าตัด x ความยาวจากศูนย์ถึงศูนย์        ลบ.ม.
  3. Net in place     ปริมาตรคอนกรีตที่คิดตาม section ในแบบจริงๆ ไม่เผื่อเสียหาย
  4. Procurement   ปริมาตรคอนกรีตที่จะต้องสั่งซื้อซึ่งจะต้องเผื่อการสูญเสียระหว่างการทำงานด้วย =  net in place + losses
  5. คอนกรีต 1 ลบ.ม.  ใช้แรงงานผสมและเท  1.6 – 2.0 แรง และ 1 แรง หมายถึง คน 1 คน ทำงาน 1 วัน ( 8 ชั่วโมง )

ปริมาณวัสดุของงานปูนที่ใช้บ่อยโดยประมาณ ( วินิจ / วิสุทธิ์ ช่อวิเชียร )

ส่วนผสมโดยปริมาตร หน่วยงาน Cement - kg ทราย - - cu.m หิน - cu.m ปูนขาว - cu.m หมายเหตุ
คอนกรีต     1:2:4 1 ลบ.ม. 320 0.45 0.90 - -
คอนกรีต     1:3:5 1 ลบ.ม. 240 0.52 0.85 - -
             
ปูนก่อ หนา ≤ 1.5 ซม. 1 ตร.ม. 10 0.027 - 0.007 -
ปูนฉาบ หนา ≤ 2 ซม. 1 ตร.ม. 8 0.020 - 0.010 -
ปูนทราย 1: 3 หนา ≤ 2 ซม. 1 ตร.ม. 8 0.016 - - -
ปูนทราย 1: 4 หนา ≤ 5 ซม. 1 ตร.ม. 16 0.0060 - - -
             
หินขัด หนา ≤ 1 ซม. 1 ตร.ม. 6 - 20 - ปูนซีเมนต์ขาว
หินเกล็ด
หินล้าง หนา ≤ 1 ซม. 1 ตร.ม. 8 0.020 20 - ทรายละเอียด
หินเกล็ด
             
ปูนซีเมนต์ 1 ถุง หนัง 50 กก. มีปริมาตร 0.038 ลบ.ม.
ปูนขาว 1 ถุง หนัง 8.25 กก. มีปริมาตร 0.015  ลบ.ม.
ความถ่วงจำเพาะของวัสดุ  :  cement = 3.12 , sand = 2.63 , course aggregate = 2.76
ความหนาแน่นของวัสดุ :

12. เหล็กเสริมคอนกรีต
  1. ความหมาย  S – Billet Steel ใช้เสริมคอนกรีตในที่พักอาศัย / R – Round bar  เป็นเหล็กกลม / D – Deform bar เป็นเหล็กข้ออ้อย
    24 or 30  เป็น yield point ksc /
  2. SR 24 เป็นเหล็กเสริมคอนกรีตในบ้านพักอาศัยชนิดกลมซึ่งมีกำลังจุดคลาก 2400 ksc
  3. SD 30 เป็นเหล็กเสริมคอนกรีตในบ้านพักอาศัยชนิดข้ออ้อยซึ่งมีกำลังจุดคลาก 3000 ksc
  4. Mild Steel เหล็กกล้าละมุน ทนแรงดึงก่อนขาด 4400 – 5000 ksc
  5. 1 หุน = 3 มม. ความยาวมาตรฐาน 10 เมตร 12 เมตร
  6. เหล็กที่ใช้ทำเพลารถยนต์ หรือ รางรถไฟ จะมีรหัสเรียกแตกต่างจากเหล็กเสริมคอนกรีตสำหรับบ้านพักอาศัย

ลวดผูกเหล็ก

  1. ไม่ต้องผูกทุกจุด
  2. ขายเป็นขดๆละ ประมาณ 38.5 กก
  3. เหล็กเสริม 1 ตัน ใช้ ลวดผูกเหล็ก 15 – 16 กก.
  4. อาคาร คสล ทั่วไป  ใช้เหล็กเสริม  ประมาณ  0.09 – 0.13  ตัน / คอนกรีต 1 ลบ.ม.

การประมาณราคาเหล็กเสริม

  1. โดยการคิดอย่างละเอียดจากการวัดตามแบบ ให้ค่าที่ละเอียด แต่จะเสียเวลามาก
  2. แต่การประมาณราคาอย่างหยาบ + เผื่อเสียหาย  จะให้ค่าใกล้เคียงกับการคิดอย่างละเอียดมาก แต่เสียเวลาน้อยกว่า
  3. ต้องระบุ  SR – SD – GRADE – LENGTH – WEIGHT
  4. เหล็ก 1 หุน  มี Ø 3 มม.
  5. เหล็ก  1  ลบ.ซม. หนัก 7.8  กรัม
  6. ความยาวเหล็กเสริม  =  ความยาวในแนวเส้นตรง + ส่วนเพิ่ม
    ส่วนเพิ่ม
    ประกอบด้วย  ระยะทาบ + งอขอ +  คอม้า + สูญเสีย =  ทั้งหมดประมาณ 5 % - 10 % ของเหล็กแต่ละขนาด
  7. การคิดค่าแรงผูกเหล็ก ขึ้นอยู่กับ ดัด + ตัด + ผูก + ความสูง + ความยากง่ายของแบบ
    คิดต่อเหล็กเสริมที่ต้องการใช้ 1 ตัน
      หรือ  แยกคิดเป็น บาท / กก. ของเหล็กเสริมแต่ละชนิด
    เหล็กขนาดใหญ่ ทำงานยากกว่าเหล็กขนาดเล็ก ค่าแรงจะแพงกว่า
  8. เหล็กตะแกรงฐานราก =  [ ( ความกว้าง หรือ ยาว / spacing ) + 1 ท่อนแรก ] = จำนวนท่อน
ชนิดเหล็ก Ø
มม
เส้นรอบรูป
ซม.
น้ำหนัก
กก / ม
พื้นที่หน้าตัด
ตร.ซม.
RB 6 1.88 0.22 0.283
  9 2.83 0.50 0.636
  12 3.77 0.89 1.130
  15 4.71 1.39 1.770
  19 5.97 2.23 2.840
  22 6.91 2.98 3.800
  25 7.80 3.85 4.910
  28 8.80 4.83 6.160
  34 10.69 7.13 9.080
         
DB 10 3.14 0.62 0.780
  12 3.77 0.89 1.130
  16 5.03 1.58 2.010
  20 6.26 2.47 3.140
  22 6.91 2.98 3.800
  25 7.89 3.85 4.910
  28 8.80 4.83 6.160
  32 10.06 6.31 8.040

 


13 แบบหล่อคอนกรีตที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป
  1. แบบไม้ (lumber)  ส่วนมากเป็น ไม้เนื้ออ่อน ราคาถูก – กะบาก ยาง หนาประมาณ 1 นิ้ว
  2. แบบไม้อัด (plywood) ทำพื้น ผนัง – เรียบ สวย ใช้ได้ไม่นาน – น้ำจะซึม ทำให้แบบรั่ว / ไม้อัดชนิดกันน้ำ – ราคาแพง
  3. แบบเหล็ก (steel) เป็นแบบถาวร ใช้ได้นาน รับแรงได้มาก / ราคาแพงแต่ใช้ได้หลายครั้ง / เหมาะกับอาคารที่มีขนาดซ้ำๆกัน

การคิดปริมาณไม้แบบ

  1. ปริมาณไม้แบบ = ความยาวของเส้นรอบรูปส่วนที่สัมผัสกับคอนกรีต x ความยาว =  ตารางเมตร
  2. ส่วนประกอบของไม้แบบ = ไม้แบบหนา 1 นิ้ว + ไม้เคร่าหรือไม้ประกับข้างแบบขนาด 1.5 x 3.0 นิ้ว + ไม้ค้ำยัน + ตะปู
  3. แต่ละครั้งที่รื้อถอนจะเสียหายประมาณ 10 % – 20 % 
  4. ใช้ได้ประมาณ 3 – 4 ครั้ง ขึ้นอยู่กับวิธีการรื้อถอน
  5. สั่งไม้เป็น ลบ.ฟ.  เผื่อความยาวข้างละ 0.25 ม. สำหรับตัดต่อ
  6. ทาน้ำมันที่หน้าไม้ด้านที่สัมผัสกับคอนกรีตทุกครั้งจะทำให้ไม้ไม่ดูดซึมน้ำ ถอดแบบง่าย ผิวเรียบ
  7. ไม้แบบ 1 ตารางเมตร  ใช้ไม้  0.7 – 0.9 ลบ.ฟ. และใช้ตะปู  0.2  กก.
  8. ช่างไม้ 1 คน ใน 1 วัน หรือ 1 แรง ทำแบบเทพื้น คาน และตั้งค้ำยันได้ 4 ตารางเมตร
  9. ตัวแปรประสิทธิภาพการทำงาน ได้แก่ ความสูง ความยาก-ง่ายของแบบ ความละเอียดของการประกอบแบบสำหรับคอนกรีตเปลือย

 


14. การประมาณราคางานตอกเข็ม
  1. ประเภทของเสาเข็ม  เสาเข็มไม้ เสาเข็มคอนกรีต เสาเข็มเจาะ เสาเข็มเหล็ก ฯลฯ
  2. เสาเข็มไม้
    • ไม้เบญจพรรณ กะเทาะเปลือก เสี้ยมปลายยาว 2 – 2.5 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลาง
    • หัวเข็มแตกต้องตัดออก
    • ระดับหัวเข็มต้องอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำใต้ดินตลอดเวลา – ทำให้ผุช้า
    • ขนาด 4 นิ้ว – 4 เมตร / 5 นิ้ว – 5 เมตร / 6 นิ้ว – 6 เมตร / 8 นิ้ว – 8 เมตร
    • ซื้อขายเป็นต้น  มีสองราคา  เข็มคัด – ไม่คัด ซึ่ง เข็มคัด แพงกว่า ไม่คัด
    • ถ้าต้องใช้เป็นจำนวนมากให้ซื้อเป็นคันรถ  จะได้ทั้งดี – ไม่ดี คละกันมา
  3. เสาเข็มคอนกรีต
    • มีหลาย section – สี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยม กลม ตัน กลวง หรือแบบ I – H - Y
    • ยาว 4 – 22 เมตร  มีทั้งยาวท่อนเดียว หรือ ต้องต่อ
    • เข็มสั้น ขนย้ายง่ายไม่หัก ยาวไม่พอสามารถต่อได้
    • เข็มยาว แพงกว่า เข็มสั้น เพราะขนส่งลำบาก เสียหายได้ง่าย
    • ซื้อขายเป็นต้น ไม่รวมค่าตอก ปัจจุบันผู้ผลิตมักจะมีปั้นจั่นบริการตอกให้ด้วย
    • ค่าตอก  ขึ้นอยู่กับ ขนาด จำนวน  ลักษณะการตอก สถานที่ตอก
  4. เสาเข็มเหล็ก
    • section – H
    • เป็นสนิมง่าย ผุกร่อนง่าย
    • ราคาแพงมาก
    • ค่าตอก  ขึ้นอยู่กับ ขนาด จำนวน  ลักษณะการตอก สถานที่ตอก
  5. เสาเข็มเจาะ
    • section – กลม
    • ใช้ปลอกเหล็กช่วยย้ายดินออก บางโครงการอาจทิ้งปลอกเหล็กไว้
    • ค่าเจาะ  ขึ้นอยู่กับ ขนาด จำนวน ความลึก สถานที่ก่อสร้าง
  6. ความเร็วเฉลี่ยในการตอกเข็มยาว 21 เมตร ประมาณ 4 – 8 ต้น / วัน โดยใช้ปั้นจั่น

15. ผนัง หรือ วัสดุก่อ
  1. ชนิดไม่รับน้ำหนัก
    • อิฐมอญ  อิฐบล็อกบางชนิด
    • ใช้กั้นห้อง  ผนัง
    • ราคาถูกกว่าชนิดรับน้ำหนัก
  2. ชนิดรับน้ำหนัก
    • อิฐบางบัวทอง
    • ใช้ทำผนังรับน้ำหนัก
    • ราคาแพงกว่าชนิดไม่รับน้ำหนัก
  3. การหาปริมาณอิฐมอญ
    • ประกอบด้วย ( อิฐ + ปูนก่อ + ปูนฉาบ ) ( พื้นที่ผนัง 1 ตารางเมตร / พื้นที่วัสดุก่อต่อ 1 แผ่น ) = ก้อน / ตารางเมตร
    • แยกตามชนิด ขนาด ความหนา วิธีการก่อ
    •  ค่าแรงก่ออิฐมอญคิดเป็น ตารางเมตร
  4. ปริมาณปูนก่อต่อผนัง 1 ตารางเมตร เผื่อเสียหายแล้ว ก่อหนาประมาณ 1.5 ซม. ใช้ซีเมนต์ 15 กก. ทรายหยาบ 0.05 ลบ.ม. ปูนขาว 0.7 ถุง
    ปูนขาว 1 ถุง หนัก 8.25 กก. ปริมาตร 0.015 ลบ.ม.
  5. ริมาณอิฐมอญก่อครึ่งแผ่นในพื้นที่ 1 ตารางเมตร ก่อหนาไม่เกิน 1.5 ซม. ไม่เผื่อเสียหาย
    • ขนาดอิฐมอญ ขนาด 3.5 × 7 × 17.5  ซม. ใช้  105.263  ก้อน
    • ขนาดอิฐมอญ ขนาด  4 × 10 × 20  ซม.  ใช้  84.567 ก้อน
    • ขนาดอิฐ บปก. ขนาด  7 × 11 × 23  ซม. ใช้  48.019 ก้อน
  6. อิฐมอญ จะ เปราะ หักง่าย มีรูพรุน ดูดซึมน้ำมาก ก่อนใช้ต้องแช่น้ำก่อน
  7. ก่อกำแพง ถ้ายาว หรือ สูง กว่า 3 เมตร ต้องมีทับหลัง หรือ เสาเอ็น ตลอดแนว
  8. ผนังที่ก่อชนท้องคาน หรือ พื้น คสล. ต้องเว้นช่องไว้ 10 ซม. อย่างน้อย 3 วัน เพื่อให้ปูน set ตัวก่อนแล้วจึงค่อยก่อกำแพงขึ้นไปชนได้
  9. ซื้อขายหน่วยละ 100 – 1000 ก้อน
     

ผนังอิฐบล็อกขนาด 0.07 x 0.19 x 0.39

  1. ดูดซึมน้ำน้อยกว่าอิฐมอญ ก่อนใช้ หรือ ก่อนฉาบปูน ต้องแช่น้ำก่อน
  2. ถ้ายาว หรือ สูง กว่า 3 เมตร ต้องมีทับหลัง หรือ เสาเอ็น ตลอดแนว
  3. ผนังที่ก่อชนท้องคาน หรือ พื้น คสล. ต้องเว้นช่องไว้ 10 ซม. อย่างน้อย 3 วันเพื่อให้ปูน set ตัวก่อนแล้วจึงค่อยก่อกำแพงขึ้นไปชนได้
  4. ซื้อขายเป็น ก้อน
  5. ในพื้นที่ 1 ตารางเมตร ใช้ 11.614 ก้อนไม่เผื่อเสียหาย
  6. ปริมาณปูนก่ออิฐบล็อก  หนา 5 ซม. ใน  พื้นที่ 1 ตารางเมตร รวมจมในร่อง ใช้  ซีเมนต์ 19 กก. + ทรายหยาบ 0.065 ลบ.ม. + ปูนขาว 0.9 ถุง
  7. ปริมาณปูนก่ออิฐบล็อก หนา ≤ 1.5 ซม. ใน  พื้นที่ 1 ตารางเมตร รวมจมในร่อง ใช้ ซีเมนต์ 10 กก. + ทรายหยาบ 0.027 ลบ.ม. + ปูนขาว 0.007 ลบ.ม.
  8. ค่าแรงก่ออิฐบล็อก   คิดเป็น ตารางเมตร

ปูนซีเมนต์ 1 ถุง หนัง 50 กก. มีปริมาตร 0.038 ลบ.ม.
ปูนขาว 1 ถุง หนัง 8.25 กก. มีปริมาตร 0.015  ลบ.ม.


16 วัสดุมุงหลังคา
  1. กระเบื้องดินเผา เช่น กระเบื้องกาบกล้วย – หางมน - หางเหยี่ยว
    • มีแบบเป็นลอน แบบเรียบ
    • เคลือบสี ไม่เคลือบสี
  2. กระเบื้องซีเมนต์ เช่น CPAC MONIER  มีหลายสี
    • ขนาด 33 × 42.5
    • โลหะลอน หรือ แผ่นเหล็กชุบสังกะสี หนา # 24 - # 35
    • แบบลอนเล็ก / ลอนเหลี่ยม ขนาด กว้าง – ยาว
    • แบบลอนใหญ่ ขนาด กว้าง – ยาว
  3. วัสดุสังเคราะห์ หรือ กลาสโซลิท หรือ กระเบื้องแผ่นใสให้แสงผ่านได้ มีหลายขนาด
    • ลูกฟูกลอนเล็ก -  54 × 150 ซม.
    • ลูกฟูกลอนใหญ่ - 100 × 100/120/150 ซม.
    • ลอนคู่ -  50 × 120 / 150  ซม.
  4. กระเบื้องลอนซีเมนต์ใยหิน มีหลายขนาด
    • ลูกฟูกลอนเล็ก - 54 × 120 / 150 ซม.
    • ลูกฟูกลอนใหญ่ - 102 × 60/120/150/180/240 ซม.
    • ลอนคู่ - 50 × 90 / 120 / 150 / 180 ซม.
    • กระเบื้องราง - 98 × 500 ซม.
  5. จำนวนกระเบื้องที่ต้องใช้ โดยมีการทับซ้อนด้านข้าง 5 – 7 ซม. และ ทับซ้อนด้านยาว 20 ซม. พื้นที่ที่เหลือจัดเป็นพื้นที่สุทธิของกระเบื้อง 1 แผ่น
     
    ชนิดกระเบื้อง ขนาด จำนวน แผ่น ต่อ 1 ตารางเมตรของพื้นที่หลังคา
    ลูกฟูกลอนเล็ก  54 × 120 ซม. 2.128 
      54 × 150 ซม. 1.637 
    ลูกฟูกลอนใหญ่ 100 × 120 ซม. 1.053
      100 × 150 ซม 0.810
    ลอนคู่ 50 × 120 ซม. 2.326 
      50 × 150 ซม. 1.789
    กระเบื้องซีเมนต์วิบูลย์ศรี 24 × 39 ซม. 18
      น้ำหนัก 36 กก ต่อ ตารางเมตร  
    กระเบื้องซีเมนต์ดอนญาน่า 34 × 36 ซม. 12
      น้ำหนัก  42 กก. / ตารางเมตร  
    CPAC MONIER 33 × 42 ซม 10 - 11
      น้ำหนัก 4.5 กก. / แผ่น  
      ระยะห่างของระแนง 32 – 34  ซม  
    กระเบื้องคอนกรีต  VCON 33 × 43.8 ซม. 10
      น้ำหนัก 4.7  กก. / แผ่น  
    ครอบสันหลังคา ตะเข้สัน   3 แผ่น / เมตร
    ครอบอื่นๆ   ให้ดูตามแบบ
    ขอยึด 2 ตัว / กระเบื้อง 1 แผ่น    
    ตะปูเกลียว สลักเกลียว 1 ตัว / กระเบื้อง 1 แผ่น    

17 สีทาอาคารชนิดสีน้ำ
  1. สีน้ำ หรือ สีพลาสติกอีมัลชั่น ใช้ทาบนผิวฉาบปูน อิฐทั่วไป คอนกรีตบล็อก กระเบื้องใยหิน
  2. ก่อนทาต้องทาสีรองพื้น 1 ครั้ง ทาสีจริง 2 ครั้ง หลังจากสีรองพื้นแห้ง
  3. ขายเป็นกระป๋อง ขนาด 1 แกลลอน และ 0.25 แกลลอน (1 แกลลอน เท่ากับ 3.785 ลิตร)
  4. ขนาดเป็นถังๆละ 5 แกลลอน มีเฉพาะสีขาว ต้องมาผสมเป็นสีที่ต้องการภายหลัง ถ้าซื้อเป็นจำนวนมาก  สามารถสั่งได้

สีน้ำมัน

  1. ใช้ทาบนผิวฉาบปูน อิฐทั่วไป คอนกรีตบล็อก กระเบื้องใยหิน ไม้ เหล็ก
  2. เป็นมัน เงา ทนการขัดสีได้เป็นอย่างดี ทนความร้อนได้สูง
  3. ก่อนทาต้องทาสีน้ำมันรองพื้น 1 ครั้ง ทาสีจริง 2 ครั้ง หลังจากสีรองพื้นแห้ง
  4. ถ้าทาบนเหล็ก ต้องรองพื้นด้วย red oxide primer ก่อนทาสีน้ำมันทับหน้า
  5. ขายเป็นกระป๋อง ขนาด 1 แกลลอน และ 0.25 แกลลอน และ 1 แกลลอน เท่ากับ 3.785 ลิตร
  6. ขนาดเป็นถังๆละ 5 แกลลอน มีเฉพาะสีขาว ต้องมาผสมเป็นสีที่ต้องการภายหลัง ถ้าซื้อเป็นจำนวนมาก  สามารถสั่งได้

แลคเกอร์ วานิช

  1. ใช้ทาบนผิวไม้ภายในอาคาร ทำให้ไม้เป็นมัน เงา งามตามธรรมชาติของไม้ ทาได้เลย ไม่ต้องรองพื้น ทาหลายๆครั้ง
  2. ขายเป็นกระป๋องขนาด 1 แกลลอน และ 0.25 แกลลอน  และ  1 แกลลอน เท่ากับ 3.785 ลิตร
  3. ขนาดเป็นถังๆละ 5 แกลลอน ถ้าซื้อเป็นจำนวนมาก  สามารถสั่งได้

18.

การประมาณราคาฝ้าเพดาน

  1. ปริมาณวัสดุมุงแผ่นฝ้า ขึ้นอยู่กับ  ชนิด + เคร่า +  ตะปู + ไม้ทับขอบฝ้า + ฯลฯ
  2. การหาจำนวนวัสดุมุง = พื้นที่ฝ้า / พื้นที่วัสดุแผ่นฝ้าเต็ม 1 แผ่น
  3. ค่าแรง  คิดต่อหน่วยพื้นที่เป็น ตารางเมตร รวมตั้งแต่ตีเคร่า + ตีฝ้า + ไม้ทับขอบ
  4. จำนวนวัสดุแผ่นทำฝ้า = ( พื้นที่ห้อง หรือ พื้นที่เพดาน ตารางเมตร )  / ( พื้นที่แผ่นวัสดุ 1 แผ่น )
  5. ปริมาณไม้เคร่าฝ้า 2 ด้าน ( กริด )  จำนวนท่อน =   [ ( ความยาว หรือ ความกว้าง เพดาน เมตร ) /  ( spacing เคร่า 40 – 60 ซม. )] + 1
  6. จำนวนท่อนด้านกว้าง หรือ ด้านยาว  ×  ความยาวต่อท่อน
  7. พื้นที่ฝ้า 1 ตารางเมตร ใช้ไม้เคร่า 0.4 ลบ.ฟ  ใช้ตะปู  3  นิ้ว ชนิดผอม  0.25  กก.


19. แผ่นปูพื้นซีเมนต์ของ CPAC
  1. คดกริช หรือ ตัวหนอน  42 ก้อน / ตารางเมตร
  2. ตัว I  35 ก้อน / ตารางเมตร
  3. หกเหลี่ยมรวงผึ้ง 33 ก้อน / ตารางเมตร
20.

วิธีการวัดปริมาณงานตามมาตรฐาน วสท และ ตัวอย่างการคำนวณ
ตามมาตรฐาน วสท (E.I.T. Standard 1012 - 40 , ISBN 974 - 90756 -3 - 3)

งานขุดดินที่ต้องใช้เข็มพืดเหล็ก           

     
ปริมาณงานขุดดิน = ความลึกตามแบบ x พื้นที่ภายในของแนวตอกเข็มพืดเหล็ก

ปริมาณงานเข็มพืดเหล็ก = ความลึกตามแบบ x ความยาวตามแนวที่ตอกเข็มพืดเหล็ก

แม้ว่าเข็มพืดจะมีระยะที่จมลงไปในดินลึกกว่าระดับความลึกที่กำหนดไว้ในแบบ แต่การคิดราคางานขุดดินและงานเข็มพืดเหล็กจะคิดความลึกตามแบบเท่านั้น


งานกำแพงเข็มพืดคอนกรีต      

 

   
คิดความยาวตามแนวศูนย์กลางตามระยะของเข็มพืด

การตัดหัวเข็มจะคิดเป็นความยาวสุทธิตามแนวศูนย์กลางตามระยะของเข็มพืด


งานขุดร่องดินเพื่อวางท่อ 1 แนว      

 

       
ให้รวมงานขุดดินอยู่ในงานวางท่อ  ไม่ต้องแยกคิดปริมาณงานดินต่างหาก

แต่ถ้าวางท่อ 2 แนวในร่องคูเดียวกัน จะต้องแยกคิดปริมาณงานดินออกมาต่างหาก


งานตกแต่งพื้นผิวที่มีความลาดชัน ≥ 1 : 10      

 

     
พื้นผิวที่มีความลาดชัน ≥ 1 : 10 เช่น 1 : 5   หรือ 1 : 8 ต้องวัดระยะตามความลาดเอียง ไม่ถือว่าเป็นพื้นราบ

พื้นผิวที่มีความลาดชัน ≤ 1 : 10 เช่น 1 : 15   หรือ 1 : 18 ถือว่าเป็นพื้นราบ


ค่ารื้อถอนอาคารและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ    

 

     

ค่าเตรียมพื้นที่    

 

     

ค่าวัสดุถมที่    

 

     

ค่าถมดินหรือทรายเพื่อปรับระดับ    

 

     

งานถมและงานกลบแต่ง    

 

     
จะวัดเป็นปริมาณสุทธิหลังจากบดอัดแล้ว

ดินเหนียว 1 ลบ.ม. ตามสภาพเดิมตามธรรมชาติ เมื่อถูกขุดขึ้นมาจะมีปริมาตรเพิ่มขึ้นประมาณ 

ทราย  1 ลบ.ม. ตามสภาพเดิมตามธรรมชาติ เมื่อถูกขุดขึ้นมาจะมีปริมาตรเพิ่มขึ้นประมาณ 


งานเสาเข็มเจาะ    

 

     
ความลึกของเสาเข็มวัดจากผิวดิน ถึง ปลายเสาเข็ม

การขยายปลายเสาเข็มจะวัดเป็นจำนวน เช่น 2 จุด หรือ 2 หลุม


งานตอกเข็ม    

 

     
ความลึกของเสาเข็มวัดจากผิวดิน ถึง ปลายเสาเข็ม

การขยายปลายเสาเข็มจะวัดเป็นจำนวน เช่น 2 จุด หรือ 2 หลุม

ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงาน ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net  waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 ตอกเข็มไม้ Ø 6'' x 6 m จำนวน 9 ฐาน ๆ ละ 9 ต้น 81 10 % 90 ต้น 187.30 158.00 345.30 31077.00
                   

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


งานขุดดินฐานราก    

 

     
ปริมาณงานขุดดิน 
= [
ความกว้างของ pile cap x ความยาวของ pile cap x ความลึกจากระดับผิวดินถึงระดับหลังคอนกรีตรองพื้น ] x 1.30
 
ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net  waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

2 ปริมาตรดินขุด                
  =[1.00 x 1.00 x 1.50] x 1.3 x 9 หลุม 17.55 - 17.55 ลบ.ม. - 76 76 1333.80
                   

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


งานตัดหัวเสาเข็ม    

 

     
ค่าแรง = 300 บาท / ต้น

ต้องตกลงกันว่าขอบเขตงานแค่ไหน เครื่องมือของใคร ต้องขนออกไปด้วยหรือไม่ หรือ แค่ตัดขาดเพียงอย่างเดียว ไม่ต้องทำความสะอาด


งานคอนกรีตรองพื้นหลุมฐานราก    

 

     
ปริมาตรคอนกรีตรองพื้น และ ปริมาตรทรายรองพื้น = พื้นที่ pile cap x ความหนาคอนกรีตรองพื้น หรือ ความหนาของทรายรองพื้น ตามแบบ

คอนกรีต 1 ลบ.ม. ใช้ Cement 240 กก. ทรายหยาบ 0.52 ลบ.ม. หิน 0.85 ลบ.ม.
ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 วัสดุรองก้นหลุม                
1.1 ทรายหยาบอัดแน่น                
  =[1.00 x 1.00 x 0.10] x 9 หลุม 0.90 5 0.945 ลบ.ม. 287.50 46.00 333.50 315.16
1.2 คอนกรีตหยาบรองก้นหลุม                
  =[1.00 x 1.00 x 0.05] x 9 หลุม 0.45 5 0.473 ลบ.ม. 1070 342 1412 667.88
                   

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


งานเหล็กเสริมฐานราก    

 

   
เหล็กเสริมหลักตามยาว   =   คิดเท่ากับความยาวของ pile cap
เหล็กเสริมหลักตามขวาง  =  คิดเท่ากับความกว้างของ pile cap

ความยาวเหล็กเสริมหลัก ตามยาว และ ตามขวาง ที่ต้องงอขึ้นหลังฐานราก
=
ความยาว หรือ ความกว้าง ของ pile cap + 2 เท่าของความหนาของ pile cap หรือ 2 เท่าของความยาวเหล็กที่งอขึ้น

เหล็กรัดรอบฐานราก = ความยาวเส้นรอบรูป pile cap ตามผิวคอนกรีต

จำนวนเหล็กเสริมที่เป็นตะแกรงของ pile cap แต่ละด้าน
=
1 เส้นแรก + (ความยาว หรือ ความกว้าง ของ pile cap / spacing) ปัดเศษขึ้นให้เป็นจำนวนเต็ม = หรือ นับจากแบบ

ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 ความยาวเหล็กตะแกรงแต่ละท่อน RB15 SR24                
1.1 ความยาวเหล็กตะแกรงทางด้านกว้าง                
  = [2 x 0.25 + 1.10 ] = 1.6 m                
1.2 จำนวนท่อนทางด้านกว้าง                
  = [1 +(1.10 / 0.10)] = 12 ท่อน                
1.3 ความยาวเหล็กตะแกรงทางด้านยาว                
  = [2 x 0.25 + 1.10 ] = 1.6 m                
1.4 จำนวนท่อนทางด้านยาว                
  = [1 +(1.10 / 0.10)] = 12 ท่อน                
2 เหล็กรัดรอบ RB15 SR24                
  = 2[กว้าง + ยาว] = 4.40 เมตร                
3 ความยาวเหล็กทั้งหมดต่อ 1 pile cap                
  = [1.6 x 12] + [ 1.6 x 12 ] + 4.40 = 42.8 m                
4 คิดเป็นน้ำหนักเหล็ก ( 1.387 kg / m )                
  = 42.80 x 1.387 = 59.364 กก 0.059 5 % 0.062 ตัน 21120 2638 23758.00 1473.00
5 ลวดผูกเหล็ก 16 กก. / เหล็ก 1 ตัน 0.944 5 % 0.991 กก. 31.33 - 31.33 31.048
                   

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


งานแบบหล่อฐานราก    

  

   
พื้นที่แบบหล่อ หรือ contact area = เส้นรอบรูปของ pile cap x ความหนาของ pile cap

ผนังอิฐบล็อกขนาด 0.07 x 0.19 x 0.39 ในพื้นที่ 1 ตารางเมตร ใช้ 11.614 ก้อนไม่เผื่อเสียหาย
ปริมาณปูนก่ออิฐบล็อกหนา 5 ซม. ในพื้นที่ 1 ตารางเมตร รวมจมในร่อง ใช้ ซีเมนต์ 19 กก. + ทรายหยาบ 0.065 ลบ.ม. + ปูนขาว 0.9 ถุง
ปริมาณปูนก่ออิฐบล็อกหนา ≤ 1.5 ซม. ในพื้นที่ 1 ตารางเมตร รวมจมในร่อง ใช้ ซีเมนต์ 10 กก. + ทรายหยาบ 0.027 ลบ.ม. + ปูนขาว 0.007 ลบ.ม.

ปูนซีเมนต์ 1 ถุง หนัง 50 กก. มีปริมาตร 0.038 ลบ.ม.
ปูนขาว 1 ถุง หนัง 8.25 กก. มีปริมาตร 0.015  ลบ.ม.

การประมาณราคาไม้แบบ

  1. ทาน้ำมันด้านที่สัมผัสกับคอนกรีต – ป้องกันการดูดซึม  และ ทำให้ถอดแบบง่าย ผิวคอนกรีตจะเรียบ
  2. พื้นที่ไม้แบบ – คิดเฉพาะด้านที่สัมผัสกับคอนกรีต
  3. พื้นที่ไม้แบบ 1 ตารางเมตร ใช้ไม้แบบ 0.7 – 0.9 ลบ.ฟ
  4. ใช้ตะปูชนิดผอมขนาด 2 – 2.5 – 3 นิ้ว จำนวน 0.25 กก.
  5. ช่างไม้ 1 แรง ทำแบบได้ 4 – 6 ตารางเมตร
  6. ไม้แบบใช้ได้ประมาณ 3 ครั้ง รื้อถอนแต่ละครั้งเสียหายประมาณ 10 % – 20 %
  7. ไม้แบบ 1 ตารางเมตร ใช้ไม้แบบ 0.7 – 0.9  หรือเฉลี่ย 0.75  ลบ.ฟ.
  8. ถ้าใช้ไม้แบบ 3 ครั้ง ต้องใช้ไม้แบบ 0.75 / 3 หรือ 0.25 ลบ.ฟ. /  ไม้แบบ 1 ตารางเมตร
  9. ถ้าใช้ไม้แบบ 2.5 ครั้ง ต้องใช้ไม้แบบ 0.75 / 2.5 หรือ 0.30 ลบ.ฟ. /  ไม้แบบ 1 ตารางเมตร

ไม้ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของแบบ

  1. ท้องแบบ / ข้างแบบ – ใช้ไม้ขนาด กว้าง 1 นิ้ว หนา 6 – 8 – 10 นิ้ว
  2. ค้ำยันข้างแบบ , ตงรับท้องคาน – ใช้ไม้กว้าง 3 นิ้ว หนา 1.5 นิ้ว
  3. เสาค้ำยันแบบ ใช้ไม้สน ยูคาลิป – ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 นิ้ว – 4 นิ้ว
  4. รัดปากแบบ – ใช้ไม้ขนาด 1 นิ้ว x 1 นิ้ว
ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 ค่าแบบหล่อฐานรากโดยใช้คอนกรีตบล็อก                
  ขนาด 0.07 x 0.19 x 0.39 ปูนก่อหนา 2 ซม.                
1.1 พื้นที่แบบหล่อ = 2 [ กว้าง + ยาว ] x หนา x 9 ฐาน                
  = 2 [ 1 + 1 ] x 0.25 x 9 = 9 ตารางเมตร 9 5 % 9.45 ตารางเมตร 106 44 150 1417.50
1.2 จำนวนคอนกรีตบล็อกด้านยาว                
  = [ 100 cm / ( 39 + 2 cm ] = 2.44 ก้อน                
1.3 จำนวนคอนกรีตบล็อกด้านตั้ง                
  = [ 100 cm / ( 19 + 2 cm ] = 4.76 ก้อน                
1.4 จำนวนคอนกรีตบล็อกต่อตารางเมตร                
  = 2.44 x 4.76 = 11.61  ก้อน                
1.5 จำนวนคอนกรีตบล็อกทั้งหมด                
  = 9 x 11.61 = 104.49 ก้อน 104.49 5 % 109.71 ก้อน        
                   

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


งานคอนกรีตฐานราก    

 

     
ปริมาตรคอนกรีต = พื้นที่ pile cap x ความหนา

คอนกรีตโครงสร้าง 1 : 2 : 4 ปริมาตร 1 ลบ.ม. ใช้ cement 320 กก. ทราย 0.45 ลบ.ม. ใช้หิน 0.90 ลบ.ม.

ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 ปริมาตรคอนกรีต                
  = [1.00 x 1.00] x 0.25 x 9 ฐาน 2.25 5 % 2.36 ลบ.ม. 1347 403 1750 4130
                   

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


งานเหล็กเสริมตอม่อ    

 

       
ความยาวของเหล็กเสริมตอม่อ = ความลึก หรือ ความหนา ของ pile cap + ความยาวตอม่อวัดจากหลัง pile cap ถึงหลังพื้นชั้นแรก

ปริมาณเหล็กเสริมทั้งหมดรวมทั้งเหล็กยืน และ เหล็กปลอก

ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 เหล็กยืน RB12 SR24 ( 0.89 กก./ เมตร)                
  = 1.75 ม. x 6 เส้น x 0.89 x 9 ฐาน = 84.105 กก 0.084 5 % 0.088 ตัน 21310 2638 23948 2107.42
                   
2 เหล็กปลอก RB6 SR24 ( 0.22 กก./ เมตร)                
2.1 ความยาว = เส้นรอบรูปเสา = 0.80 m                
2.2 จำนวนปลอก = [ 1 + ( ความยาว / spacing )]                
  =[ 1 + ( 1.75 / 0.10 )] = 20 ปลอก                
2.3 น้ำหนัก = 0.80 x 20 x 0.22 x 9 ฐาน = 31.68 kg 0.032 5 % 0.034 ตัน 22750 2743 25493 866.76
                   
3 ลวดผูกเหล็ก 16 กก. ต่อ เหล็กเสริม 1 ตัน 1.856 5 % 1.949 กก 31.33 - 31.33 61.06
                   

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


งานคอนกรีตเสาตอม่อ    

 

        
ปริมาตรคอนกรีต = พื้นที่หน้าตัดเสาตอม่อ x ความยาววัดจากหลัง pile cap ถึงระดับพื้นชั้นถัดไป

คอนกรีตโครงสร้าง 1 : 2 : 4 ปริมาตร 1 ลบ.ม. ใช้ cement 320 กก. ทราย 0.45 ลบ.ม. ใช้หิน 0.90 ลบ.ม.

ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 ปริมาตรคอนกรีต                
  = [1.00 x 1.00] x 0.25 x 9 ฐาน 2.25 5 % 2.36 ลบ.ม. 1347 403 1750 4130
                   

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


งานคอนกรีตคาน    

 

       
ปริมาตรคอนกรีต = พื้นที่หน้าตัด x ความยาวของคาน  =  โดยไม่ต้องหักวัสดุฝังถ้ามีพื้นที่หน้าตัด ≤ 0.01 ตารางเมตร

ความยาวคาน คิดระหว่างขอบเสา ถึง ขอบเสา ของเสา 2 ต้นที่อยู่ระหว่างช่วงคานนั้น

ความลึกของคาน

  • คิด ระหว่างท้องพื้น ถึง ท้องคาน ถ้าเป็นคานฝาก
  • หรือ ระหว่างด้านบนของพื้น ถึง ด้านบนของคาน กรณีเป็น Inverted beam

คอนกรีตโครงสร้าง 1 : 2 : 4 ปริมาตร 1 ลบ.ม. ใช้ cement 320 กก. ทราย 0.45 ลบ.ม. ใช้หิน 0.90 ลบ.ม.

ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 ปริมาตรคอนกรีต                
  = [0.20 x 0.40] x 3.5 0.280 5 % 0.294 ลบ.ม. 1347 403 1750 514.50
                   

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


งานแบบหล่อคาน    

 

       
พื้นที่แบบหล่อ = พื้นที่ที่สัมผัสกับคอนกรีต = [2 เท่าของความลึกคาน + 1 เท่าของความกว้าง] x ความยาว =  โดยไม่ต้องหักวัสดุฝังถ้ามีพื้นที่หน้าตัด ≤ 0.01 ตารางเมตร

งานแบบหล่อสำหรับคานรอง ( secondary beam ) ต้องวัดความยาวไปจนถึงด้านข้างของคานเอก ( main beam ) โดยไม่ต้องหักพื้นที่ของงานแบบหล่อ
ของคานหลักตรงจุดที่คานรองตัดผ่าน

และไม่มีการหักพื้นที่ของงานแบบหล่อของเสาที่คานหลักตัดผ่าน

การประมาณราคาไม้แบบ

  • ทาน้ำมันด้านที่สัมผัสกับคอนกรีต – ป้องกันการดูดซึม  และ ทำให้ถอดแบบง่าย ผิวคอนกรีตจะเรียบ
  • พื้นที่ไม้แบบ – คิดเฉพาะด้านที่สัมผัสกับคอนกรีต
  • พื้นที่ไม้แบบ 1 ตารางเมตร
    •  ใช้ตะปูชนิดผอมขนาด 2 – 2.5 – 3 นิ้ว จำนวน 0.25 กก.
    • ไม้แบบ 1 ตารางเมตร ใช้ไม้แบบ 0.7 – 0.9  หรือเฉลี่ย 0.75  ลบ.ฟ.
    • ถ้าใช้ไม้แบบ 3 ครั้ง ต้องใช้ไม้แบบ 0.75 / 3 หรือ 0.25 ลบ.ฟ. /  ไม้แบบ 1 ตารางเมตร
    • ถ้าใช้ไม้แบบ 2.5 ครั้ง ต้องใช้ไม้แบบ 0.75 / 2.5 หรือ 0.30 ลบ.ฟ. /  ไม้แบบ 1 ตารางเมตร
  • ช่างไม้ 1 แรง ทำแบบได้ 4 – 6 ตารางเมตร
  • ไม้แบบใช้ได้ประมาณ 3 ครั้ง รื้อถอนแต่ละครั้งเสียหายประมาณ 10 % – 20 %

ไม้ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของแบบ

  • ท้องแบบ / ข้างแบบ – ใช้ไม้ขนาด กว้าง 1 นิ้ว หนา 6 – 8 – 10 นิ้ว
  • ค้ำยันข้างแบบ , ตงรับท้องคาน – ใช้ไม้กว้าง 3 นิ้ว หนา 1.5 นิ้ว
  • เสาค้ำยันแบบ ใช้ไม้สน ยูคาลิป – ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 นิ้ว – 4 นิ้ว
  • รัดปากแบบ – ใช้ไม้ขนาด 1 นิ้ว x 1 นิ้ว
ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 ปริมาณไม้แบบ = contact area                
  = [ 2 เท่าความลึก + 1 เท่าของความกว้าง] x ยาว                
  = [( 2 x 0.40) + 0.20 ] x 3.5 = 3.5 ตารางเมตร 3.5 5 % 3.675 ตารางเมตร - 99 99 363.83
                   
2 แบบ 1 ตารางเมตร ใช้ไม้ 0.25 ลบ.ฟ. (ใช้ 3 ครั้ง)                
  ใช้ไม้แบบทั้งหมด = 3.5 x 0.25 0.875 5 % 0.919 ลบ.ฟ. 405 - 405 372.20
                   
3 แบบ 1 ตารางเมตร ใช้ตะปู 0.25 กก. 0.875 5 % 0.919 กก. 25 - 25 22.98
                   

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


งานเหล็กเสริมคาน และ เสา    

 

       
ความยาวของเหล็กเสริมคานช่วงใน ให้คิดระหว่างศูนย์กลางเสา 2 ต้นที่อยู่ติดกัน
ยกเว้นคานช่วงสุดท้ายที่ต้องคิดความยาวระหว่างศูนย์กลางเสา ถึง ขอบริมสุดของคาน

สำหรับเหล็กเสริมพิเศษ ให้คิดความยาวตามแบบ

ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 main bars RB15 SR24 ( 1.39 กก./ เมตร)                
  = 3.50 ม. x 5 เส้น x 1.39 = 24.325 กก 0.024 5 % 0.025 ตัน 21120 2743 23863 596.575
                   
2 เหล็กปลอก RB6 SR24 ( 0.22 กก./ เมตร)                
2.1 ความยาว = เส้นรอบรูปคาน                  
  = [0.20 x 2 ] + [0.40 x 2 ] = 1.20 m                
2.2 จำนวนปลอก = [ 1 + ( ความยาว / spacing )]                
  =[ 1 + ( 3.5 / 0.20 )] = 19 ปลอก                
2.3 น้ำหนัก = 1.20 x 19 x 0.22 = 5.016 kg 0.005 5 % 0.006 ตัน 22750 2743 25493 152.96
                   
3 ลวดผูกเหล็ก 16 กก. ต่อ เหล็กเสริม 1 ตัน 0.464 5 % 0.487 กก 31.33 - 31.33 15.26
                   

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


งานเหล็กปลอกในคาน และ เสา    

 

       
ความยาวของเหล็กปลอก = 2 เท่าของความกว้างคาน หรือ เสา + 2 เท่าของความลึกคานหรือเสา

จำนวนเหล็กปลอกของคาน
= 1
ปลอกแรก + ( ความยาวเหล็กเสริมหลัก / spacing ของเหล็กปลอก ) ปัดเศษขึ้นให้เป็นจำนวนเต็ม = หรือ นับจากแบบ

ความยาวของเหล็กเสริมหลักในคาน     ให้คิดระหว่างหน้าเสา 2 ต้นที่อยู่ติดกัน
ความยาวของเหล็กเสริมหลักในเสา      ให้คิดระหว่างหลังคานด้านล่าง ถึง ท้องคานด้านบน

ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 main bars RB15 SR24 ( 1.39 กก./ เมตร)                
  = 3.50 ม. x 5 เส้น x 1.39 = 24.325 กก 0.024 5 % 0.025 ตัน 21120 2743 23863 596.575
                   
2 เหล็กปลอก RB6 SR24 ( 0.22 กก./ เมตร)                
2.1 ความยาว = เส้นรอบรูปคาน                  
  = [0.20 x 2 ] + [0.40 x 2 ] = 1.20 m                
2.2 จำนวนปลอก = [ 1 + ( ความยาว / spacing )]                
  =[ 1 + ( 3.5 / 0.20 )] = 19 ปลอก                
2.3 น้ำหนัก = 1.20 x 19 x 0.22 = 5.016 kg 0.005 5 % 0.006 ตัน 22750 2743 25493 152.96
                   
3 ลวดผูกเหล็ก 16 กก. ต่อ เหล็กเสริม 1 ตัน 0.464 5 % 0.487 กก 31.33 - 31.33 15.26
                   

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


งานคอนกรีตเสา คสล    

 

     
ความสูงของเสาวัดจากส่วนบนสุดของฐานเสา (column base) หรือ หลัง Pile cap หรือ หลังพื้น ไปจนถึงระดับพื้นของชั้นถัดไป
กรณีท้องพื้นมีแป้นหัวเสา ( drop panel ) ให้วัดความสูงจากหลังพื้นถึงระดับท้องแป้นหัวเสาเท่านั้น
ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 ปริมาตรคอนกรีต                
  = [0.40 x 0.40] x 3.0 0.480 5 % 0.504 ลบ.ม. 1347 403 1750 882.00
                   

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


งานคอนกรีตพื้น คสล ที่วางบนพื้น    

 

       
ความกว้าง และ ความยาว วัดระหว่างจุดศูนย์กลางของเสา ถึง จุดศูนย์กลางของเสา

ถ้าเป็นพื้นช่วงสุดท้าย ความกว้างและความยาววัดระหว่างจุดศูนย์กลางของเสาด้านใน ถึง ขอบเสาด้านนอก

ปริมาตรคอนกรีต = ความหนา x ความกว้างของแผ่นพื้น x ความยาวของแผ่นพื้น

ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 ทรายรองพื้น หน้า 0.07 ม. บนพื้นที่ 3.5 x 3 ตร.ม                
  = 0.07 x 3.50 x 3.00 0.735 5 % 0.772 ลบ.ม. 287.50 46 333.50 257.46
                   
2 ปริมาตรคอนกรีตแผ่นพื้น                
  = 0.08 x 3.50 x 3.00 0.840 5 % 0.882 ลบ.ม. 1347 403 1750 1543.50
                   

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


งานแบบหล่อคอนกรีตพื้น    

 

       
พื้นที่แบบหล่อ = พื้นที่ที่สัมผัสกับคอนกรีต = กว้าง x ยาว = โดยไม่ต้องหักพื้นที่ช่องเปิดที่มีพื้นที่ ≤ 1.00 ตารางเมตร

ไม่ต้องหักพื้นที่ของส่วนที่เสาหรือคานตัดผ่าน

ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 พื้นที่ไม้แบบ = พื้นที่แผ่นพื้น = contact area                
  = 3.00 x 3.50 = 10.50 10.50     ตารางเมตร   99 99 1039.50
                   
2 แบบ 1 ตารางเมตร ใช้ไม้ 0.25 ลบ.ฟ. (ใช้ 3 ครั้ง)                
  ใช้ไม้แบบทั้งหมด = 10.50 x 0.25 2.625 5 % 2.756 ลบ.ฟ. 405 - 405 1116.18
                   
3 แบบ 1 ตารางเมตร ใช้ตะปู 0.25 กก. 2.625 5 % 2.756 กก. 25 - 25 68.90
                   

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


งานเหล็กเสริมพื้น ในระบบพื้น - คาน    

 

        
ความยาวของเหล็กเสริมพื้น ให้คิดระหว่างศูนย์กลางคาน 2 ตัว ที่มีพื้นฝากอยู่
ยกเว้นพื้นช่วงสุดท้ายที่ต้องคิดความยาวระหว่างศูนย์กลางเสาหรือคาน ยาวจนถึง ขอบริมสุดของคาน
ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 เหล็กตะแกรงด้านกว้าง
RB6 SR24 ( 0.22
กก./ เมตร)
               
1.1 จำนวนท่อน                
  = [ 1 + ( ความกว้าง / spacing )]                
  = [ 1 + ( 3 / 0.20 )] = 16 ท่อน                
1.2 ความยาวทั้งหมด = 16 x 3 = 48 m 48     เมตร        
                   
2 เหล็กตะแกรงด้านยาว
RB6 SR24 ( 0.22 กก./ เมตร)
               
2.1 จำนวนท่อน                
  = [ 1 + ( ความยาว / spacing )]                
  = [ 1 + ( 3.5 / 0.20 )] = 19 ท่อน                
2.2 ความยาวทั้งหมด = 19 x 3.5 = 66.50 m 66.50     เมตร        
                   
3 น้ำหนักเหล็ก                
  = [(48 + 66.50) x 0.22 = 25.19 kg 0.025 5 % 0.026 ตัน 22750 2743 25493 662.82
                   
4 ลวดผูกเหล็ก 16 กก. ต่อ เหล็กเสริม 1 ตัน 0.400 5 % 0.420 กก 31.33 - 31.33 13.16
                   

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


งานคอนกรีตพื้น คสล แผ่นพื้นไร้คานที่มีแป้นหัวเสา ( drop panel )    

 

        
ความกว้าง และ ความยาว วัดระหว่างจุดศูนย์กลางของเสา - จุดศูนย์กลางของเสา

ถ้าเป็นพื้นช่วงสุดท้าย ความกว้างและความยาววัดระหว่างจุดศูนย์กลางของเสาด้านใน - ขอบเสาด้านนอก

ปริมาตรคอนกรีต = ความหนา x ความกว้างของแผ่นพื้น x ความยาวของแผ่นพื้น

ต้องรวมปริมาตรของแป้นหัวเสาด้วย


งานคอนกรีตกำแพง คสล    

 

        

ปริมาตรคอนกรีต = ความยาวของเส้นรอบรูป x ความหนา x ความสูง

ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 ปริมาตรคอนกรีต                
  = 20.00 x 0.20 x 3.0 12.000 5 % 12.600 ลบ.ม. 1347 403 1750 22050
                   

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


งานไม้แบบกำแพง คสล    

 

        
ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 ปริมาณไม้แบบ = contact area 2 ด้าน                
  = 2 x [ ความยาวเส้นรอบรูป x ความสูง ]                
  = 2 x [20 x 3] = 120 ตารางเมตร 120  - 120 ตารางเมตร - 99 99 11880
                   
2 แบบ 1 ตารางเมตร ใช้ไม้ 0.25 ลบ.ฟ. (ใช้ 3 ครั้ง)                
  ใช้ไม้แบบทั้งหมด = 120 x 0.25 30 5 % 31.50 ลบ.ฟ. 405 - 405 12757.50
                   
3 แบบ 1 ตารางเมตร ใช้ตะปู 0.25 กก. 30 5 % 31.50 กก. 25 - 25 787.50
                   
4 อุปกรณ์ยึดแบบ 4 ตัว ต่อ ตารางเมตร 480 5 % 504 ชุด 25 - 25 12600
                   

งานเหล็กเสริมกำแพงคอนกรีต    

 

        
ความยาวของเหล็กนอนทั้งด้านนอก และ ด้านใน = ความยาวตามเส้นรอบรูปภายนอกของกำแพง

ความยาวของเหล็กตั้งทั้งด้านนอกและด้านใน = คิดเหมือนเหล็กเสริมหลักของเสา

ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 เหล็กนอน                
1.1 ความยาว main bars RB15 SR24 ( 1.39 กก./ เมตร)                
  = ความยาวของเส้นรอบรูป = 20 m 0.024              
                   
1.2 จำนวนเหล็กนอน 2 ด้าน                
  = 2 x [ 1 + ( ความสูง / spacing )]                
  = 2 x [ 1 + ( 3 / 0.15 )] = 42 ท่อน                
                   
1.3 น้ำหนัก = 42 x 20 x 1.39 = 1167.60 kg 1.168     ตัน        
                   
2 เหล็กยืน                
2.1 ความยาว main bars RB15 SR24 ( 1.39 กก./ เมตร)                
  = ความสูงของผนัง = 3 m                
                   
2.2 จำนวนเหล็กยืน 2 ด้าน ไม่ต้องรวมตัวแรกเพราะครบรอบ                
  = 2 x [( ความยาว / spacing )]                
  = 2 x [ 20 / 0.20 )] = 200 ท่อน                
                   
2.3 น้ำหนัก = 200 x 3 x 1.39 = 834 kg 0.834     ตัน        
                   
3 น้ำหนักเหล็กทั้งหมด = 1.168 + 0.834 = 2.002 2.002 5 % 2.102 ตัน 21120 2743 23863 50160.03
                   
4 ลวดผูกเหล็ก 16 กก. ต่อ เหล็กเสริม 1 ตัน 32.032 5 % 33.634 กก 31.33 - 31.33 1053.75
                   

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


งานเหล็กเสริม งานคอนกรีต และ งานไม้แบบ บันได    
ความยาวของเหล็กเสริมหลักตามขวาง และ เหล็กเสริมมุม = ความกว้างของบันได

ความยาวของเหล็กเสริมหลักตามยาว = ความยาวที่วัดตามความลาดเอียงระหว่างจุดศูนย์กลางของที่รองรับ - ที่รองรับ

ความยาวของเหล็กดัดตามรูปลูกขึ้นบันได = ความยาวตามลูกผิวขั้นบันได

เหล็กเสริมพื้นชานพักบันได คิดเหมือนเหล็กเสริมพื้นทั่วไป
เหล็กเสริมคานบันได  คิดเหมือนเหล็กเสริมคานทั่วไป

ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 กรณีบันไดท้องเรียบ (ชานพักบันไดคิดเหมือนพื้น)
1.1 ปริมาตรคอนกรีตแม่บันได 1 ช่วง
= หนา x กว้าง x ยาวตามลาดเอียง
= 0.12 x 1.20 x 3.626 = 0.522 0.522  
1.2 ปริมาตรคอนกรีตขั้นบันได 1 ขั้น
= พื้นที่หน้าตัด x ความกว้างของบันได
= 0.5 x ความยาวลูกนอน x ความยาวลูกตั้ง x กว้าง
= [0.5 x 0.225 x 0.20] x 1.20 x 9 ขั้น 0.243  
1.3 รวมปริมาตรคอนกรีต 0.765 5 % 0.803 ลบ.ม. 1347 403 1750 1405.25
1.4 พื้นที่ไม้แบบ = contact area
= พื้นที่ท้องบันได + พื้นที่ข้างบันได
= [3.626 x 1.20] + [0.12 x 3.626 x 2 ด้าน] 5.221 5 % 5.482 ตารางเมตร - 99 99 542.718
1.5 แบบ 1 ตารางเมตร ใช้ไม้ 0.25 ลบ.ฟ. (ใช้ 3 ครั้ง)                
  ใช้ไม้แบบทั้งหมด = 5.221 x 0.25 1.305 5 % 1.370 ลบ.ฟ. 405 - 405 554.85
                   
1.6 แบบ 1 ตารางเมตร ใช้ตะปู 0.25 กก. 1.305 5 % 1.370 กก. 25 - 25 34.25
                   
2 กรณีบันไดพับผ้า สามารถใช้วิธีเดียวกับบันไดท้องเรียบได้                

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


งานก่อผนัง - กำแพง ตรง    
พื้นที่ผนัง กำแพง = (กว้าง x ยาว) - ช่องเปิดที่มีพื้นที่ ≥ 0.01 ตารางเมตร

ไม่ต้องหักช่องเปิด หรือ วัสดุอื่นใดที่ฝังในกำแพง ที่มีพื้นที่ ≤ 0.01 ตารางเมตร , รอยต่อ ร่อง คิ้ว ธรณีประตู ทับหลัง เสาเอ็น

ในกรณีเป็นกำแพงโค้ง ต้องวัดความยาวตามโค้ง

ผนัง หรือ วัสดุก่อ

  1. ชนิดไม่รับน้ำหนัก เช่น  อิฐมอญ  อิฐบล็อกบางชนิด , ใช้กั้นห้อง  ผนัง , ราคาถูกกว่าชนิดรับน้ำหนัก
  2. ชนิดรับน้ำหนัก เช่น อิฐบางบัวทอง ใช้ทำผนังรับน้ำหนัก ราคาแพงกว่าชนิดไม่รับน้ำหนัก
  3. การหาปริมาณอิฐมอญ
    • ประกอบด้วย ( อิฐ + ปูนก่อ + ปูนฉาบ ) ( พื้นที่ผนัง 1 ตารางเมตร / พื้นที่วัสดุก่อต่อ 1 แผ่นรวมความกว้างปูนก่อด้วย ) = ก้อน / ตารางเมตร
    • แยกตามชนิด ขนาด ความหนา วิธีการก่อ
    •  ค่าแรงก่ออิฐมอญคิดเป็น ตารางเมตร
  4. ปริมาณปูนก่อต่อผนัง 1 ตารางเมตร เผื่อเสียหายแล้ว ก่อหนาประมาณ 1.5 ซม. ใช้ซีเมนต์ 15 กก. ทรายหยาบ 0.05 ลบ.ม. ปูนขาว 0.7 ถุง
    ปูนขาว 1 ถุง หนัก 8.25 กก. ปริมาตร 0.015 ลบ.ม.
  5. ริมาณอิฐมอญก่อครึ่งแผ่นในพื้นที่ 1 ตารางเมตร ก่อหนาไม่เกิน 1.5 ซม. ไม่เผื่อเสียหาย
    • ขนาดอิฐมอญ ขนาด 3.5 × 7 × 17.5  ซม. ใช้  105.263  ก้อน
    • ขนาดอิฐมอญ ขนาด  4 × 10 × 20  ซม.  ใช้  84.567 ก้อน
    • ขนาดอิฐ บปก. ขนาด  7 × 11 × 23  ซม. ใช้  48.019 ก้อน
  6. อิฐมอญ จะ เปราะ หักง่าย มีรูพรุน ดูดซึมน้ำมาก ก่อนใช้ต้องแช่น้ำก่อน
  7. ก่อกำแพง ถ้ายาว หรือ สูง กว่า 3 เมตร ต้องมีทับหลัง หรือ เสาเอ็น ตลอดแนว
  8. ผนังที่ก่อชนท้องคาน หรือ พื้น คสล. ต้องเว้นช่องไว้ 10 ซม. อย่างน้อย 3 วัน เพื่อให้ปูน set ตัวก่อนแล้วจึงค่อยก่อกำแพงขึ้นไปชนได้
  9. ซื้อขายหน่วยละ 100 – 1000 ก้อน

ผนังอิฐบล็อกขนาด 0.07 x 0.19 x 0.39

  1. ดูดซึมน้ำน้อยกว่าอิฐมอญ ก่อนใช้ หรือ ก่อนฉาบปูน ต้องแช่น้ำก่อน
  2. ถ้ายาว หรือ สูง กว่า 3 เมตร ต้องมีทับหลัง หรือ เสาเอ็น ตลอดแนว
  3. ผนังที่ก่อชนท้องคาน หรือ พื้น คสล. ต้องเว้นช่องไว้ 10 ซม. อย่างน้อย 3 วันเพื่อให้ปูน set ตัวก่อนแล้วจึงค่อยก่อกำแพงขึ้นไปชนได้
  4. ซื้อขายเป็น ก้อน
  5. ในพื้นที่ 1 ตารางเมตร ใช้ 11.614 ก้อนไม่เผื่อเสียหาย
  6. ปริมาณปูนก่ออิฐบล็อก  หนา 5 ซม. ใน  พื้นที่ 1 ตารางเมตร รวมจมในร่อง ใช้  ซีเมนต์ 19 กก. + ทรายหยาบ 0.065 ลบ.ม. + ปูนขาว 0.9 ถุง
  7. ปริมาณปูนก่ออิฐบล็อก หนา ≤ 1.5 ซม. ใน  พื้นที่ 1 ตารางเมตร รวมจมในร่อง ใช้ ซีเมนต์ 10 กก. + ทรายหยาบ 0.027 ลบ.ม. + ปูนขาว 0.007 ลบ.ม.
  8. ค่าแรงก่ออิฐบล็อก   คิดเป็น ตารางเมตร

ปูนซีเมนต์ 1 ถุง หนัง 50 กก. มีปริมาตร 0.038 ลบ.ม.
ปูนขาว 1 ถุง หนัง 8.25 กก. มีปริมาตร 0.015  ลบ.ม.

ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 พื้นที่ผนัง                
  = ความยาว x ความสูง                
  ความยาว คิดระหว่างขอบเสาถึงขอบเสา                
  ความสูง คิดจากหลังคานถึงท้องคาน                
  พื้นที่ = 3.30 x 2.20 7.26 5 % 7.623 ตารางเมตร 151 59 210 1600.83
                   
2 จำนวนอิฐมอญต่อ 1 ตารางเมตร                
  ขนาด 3.5 × 7 × 17.5  ซม. ใช้  105.263  ก้อน 764.209 5 % 802.419 ก้อน        
                   

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


งานฉาบผนัง - กำแพง ตรง    
พื้นที่ผนัง กำแพง = (กว้าง x ยาว)

พื้นที่ขอบเสา ขอบกำแพง ที่มีความกว้าง ≤ 30 ซม. ให้คิดรวมในงานฉาบทั่วไป

ปูนฉาบทั่วไปหนา ≤ 2 ซม. ในพื้นที่ 1 ตารางเมตร ใช้ cement 8 กก. ทราย 0.02 ลบ.ม. ปูนขาว 0.01 ลบ.ม.

ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 พื้นที่ผนัง เมื่อต้องฉาบปูน 2 ด้าน หนา 1.5 ซม.                
  = 2 x [ความยาว x ความสูง]                
  ความยาว คิดระหว่างขอบเสาถึงขอบเสา                
  ความสูง คิดจากหลังคานถึงท้องคาน                
  พื้นที่ = 2 x [3.30 x 2.20] 14.52 5 % 15.246 ตารางเมตร 37 44 81  1234.93
                   

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


งานมุงหลังคา    
พื้นที่หลังคา  = ความกว้างตามความลาดเอียง x ความยาว

ไม่ต้องหักพื้นที่ส่วนที่อยู่ใต้ตะเข้ราง ตะเข้สัน ครอบมุม ไม่ต้องคิดส่วนที่กระเบื้องต้องทาบกัน หรือ ส่วนที่เป็นลูกฟูก

ตัวอย่าง                                                                       

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 พื้นที่หลังคา 1 ด้าน = 4.712 x 9 42.408 - 42.408 ตารางเมตร - 20 20 848.16
  มุงด้วย ลูกฟูก ลอนคู่ สังกะสี                
                   
2 วัสดุมุง ลอนคู่ ขนาด 50 x 120 x 0.5 ซม.           -    
  2.326 แผ่น ต่อ ตารางเมตร 98.641 5 % 103.545 แผ่น        
  ค่าวัสดุ 48 บาท ต่อ แผ่น = 48 x 2.326          111.65 - 111.65 4734.85
                   
3 ครอบหลังคา คิดตามความยาวสันหลังคา                
  แผ่นละ 70 บาท x 10 แผ่น               700
                   
4 ตะขอยึด 2 ตัวๆละ 5 บาท ต่อกระเบื้อง 1 แผ่น 197.282 5 % 207.15 ตัว 5 บาท / ตัว     1035.75
                   

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


งานโครงหลังคา    
ประกอบด้วย -  แป / จันทันเอก / จันทันพราง / อกไก่ / ดั้ง / ค้ำยัน / แผ่นเหล็กรองหัวเสา / tie rod หรือ เหล็กยึดโครงหลังคา

ให้ดูจากแบบ

ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 จันทันเหล็กรูปพรรณ [ 100 x 50 x 3.2 mm                
  จำนวนที่ใช้ทั้งหมด 8 ท่อนๆละ 6 ม. 8 - 8 ท่อน 556.50 - 556.50 4452
                   
2 แปเหล็ก [ 75 x 75 x 2.3 mm                  
  จำนวน = [ 1 + ( ความยาวตามลาด / spacing)]                
  = [ 1 + (4.7 / 1)] = 6 ตัวๆละ 6 ม. 6 - 6 ท่อน 461 - 461 2766
                   
3 อกไก่ [ 100 x 50 x 3.2 mm                
  จำนวนที่ใช้ทั้งหมด 3 ท่อนๆละ 6 ม. 3 - 3 ท่อน 556.50   556.50 1669.50
                   
4 ค่าแรงติดตั้งโครงสร้างเหล็กคิดตามพื้นที่หลังคา                
  พื้นที่หลังคา 1 ด้าน = 4.712 x 9 42.408 - 42.408 ตารางเมตร - 170 170 7209.36
                   

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


งานระบบท่อ และ สุขภัณฑ์    
ท่อทุกชนิดวัดเป็น เมตร ความแนวศูนย์กลาง

รวมข้อต่อ ข้องอ

ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 ส้วมชักโครก       ชุด   310    
2 ส้วมนั่งยอง       ที่   108    
3 ที่ปัสสาวะชาย หญิง       ชุด   310    
4 อ่างล้างหน้า       ชุด   310    
5 ฝักบัว       ชุด   111    
6 ที่ใส่ม้วนกระดาษฝังผนัง       อัน   107    
7 ที่ใส่สบู่ฝังผนัง       อัน   107    
8 ชั้นวางของ       อัน   60    
9 กระจกเงา       บาน   41    
                   
10 ค่าแรงเดินท่อน้ำดี น้ำเสีย ต่อจุด outlet       ≥ 10 จุด    558    
          ≤ 10 จุด   774    
                   
11 บ่อเกรอะ บ่อซึม       จุด        

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


งานประตู หน้าต่าง    
วัดเป็นบาน ตามขนาดมาตรฐาน

ต้องระบุชนิดของวัสดุที่ใช้ทำ

ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 ติดตั้งวงกบประตู       ตารางเมตร   32    
2 ติดตั้งวงกบหน้าต่าง       ตารางเมตร   46    
3 ปรับและติดตั้งประตูพร้อมอุปกรณ์       ตารางเมตร   87    
4 ปรับและติดตั้งบานหน้าต่างพร้อมอุปกรณ์       ตารางเมตร   108    
                   

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


งานกระจก    
พื้นที่กระจกไม่ต้องคิดส่วนที่ถูกทับอยู่ใต้กรอบ = กว้าง x ยาว  ตารางเมตร
ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 ปริมาตรกระจก       ลบ.ฟ.   8    
                   

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


งานทาสี    
พื้นที่งานทาสี = กว้าง x ยาว  ตารางเมตร

พื้นที่กว้าง ≤ 30 ซม. ไม่ต้องแยกคิดต่างหาก แต่ให้รวมอยู่ในพื้นที่หลัก

ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 พื้นที่ทาสี = กว้าง x ยาว 150 - 150 ตารางเมตร        
                   
2 ทาสีน้ำมัน       ตารางเมตร 35 39 74 11,100
                   

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


งานปูกระเบื้อง    
พื้นที่ปูกระเบื้อง = กว้าง x ยาว  ตารางเมตร

พื้นที่กว้าง ≤ 30 ซม. ไม่ต้องแยกคิดต่างหาก แต่ให้รวมอยู่ในพื้นที่หลัก

ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 ปูนทรายรองพื้น = 4.5 x 3.5 = 15.75 - 15.75 ตารางเมตร 71 29 100 1575
                   
2 พื้นปูกระเบื้องเคลือบขาว 4" x 4" 15.75 - 15.75 ตารางเมตร 229 118 347 5465.25
                   
3 จำนวนกระเบื้อง
=
พื้นที่ห้อง / พื้นที่กระเบื้อง 1 แผ่น
               
                   

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


พื้นที่ฝ้าเพดาน    
พื้นที่ = กว้าง x ยาว  ตารางเมตร

ไม่ต้องพิจารณาส่วนที่ทาบ หรือ ส่วนที่เป็นลูกฟูก
พื้นผิวที่มีความลาดชัน ≥ 1 : 10 เช่น 1 : 5   หรือ 1 : 8 ต้องวัดระยะตามความลาดเอียง ไม่ถือว่าเป็นพื้นราบ
พื้นผิวที่มีความลาดชัน ≤ 1 : 10 เช่น 1 : 15   หรือ 1 : 18 ถือว่าเป็นพื้นราบ
ฝ้าเพดานที่มีลักษณะโค้ง ต้องวัดตามผิวโค้ง

ช่องเปิดในฝ้าเพดานที่มีพื้นที่ ≤ 0.5 ตารางเมตร เช่น ช่องใส่หลอดไฟเพดาน ไม่ต้องนำมาคิด

ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 เพดานกระเบื้องแผ่นเรียบหนา 6 มม.                
  คร่าวไม้ยาง 60 x 60 ซม. 42 - 42 ตารางเมตร 283 68 351 14742
                   
2 จำนวนแผ่นฝ้า                
  = พื้นที่ฝ้า / พื้นที่กระเบื้อง 1 แผ่น                
                   
3 จำนวนท่อนไม้คร่าวที่ยาวท่อนละ 60 ซม.                
  = [ 1 + ( ความกว้างหรือความยาวห้อง / 0.60)]                
                   

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


งานไฟฟ้า    
คิดเป็นจุด และ คิดเป็นชุด
ตัวอย่าง

summation of price lists

ที่

รายการ

ปริมาณงานได้จากแบบก่อสร้าง ราคาต่อหน่วย (บาท)  Price lists & Wages จำนวนเงินรวม
net   waste รวม หน่วย ค่าวัสดุ  price ค่าแรง  wages รวม

บาท

1 Breaker 2 -   ชุด        
2 จำนวนดวงโคม + เดินสาย + สวิทช์       ชุด   310    
3 เต้าเสียบ + เดินสาย       จุด   310    
                   

net หรือ net in place เป็นปริมาณงานที่ปรากฏตามแบบและรายการก่อสร้าง ไม่มีการเผื่อในทุกกรณี

waste เป็นปริมาณงานที่เผื่อไว้สำหรับการสูญเสียขณะทำงาน เช่น การตัดเหล็กให้ได้ความยาวที่ต้องการจะต้องมีบางส่วนทิ้งไป หรือ การฉาบปูนตกหล่นจากผนัง เป็นต้น
ไม่มีจำนวนที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ประมาณราคาว่าจะเพิ่มเท่าไร แต่การเพิ่มมากจะทำให้ราคายื่นซองประกวดราคาสูง โอกาสชนะการประมูลจะลดลง
เช่น เผื่อ 10 % = net x [1 + ( 10 % / 100 )] = ปริมาณงาน รวม

ราคาต่อหน่วยมาจากหลายแหล่ง สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม และ การตัดสินใจของผู้ทำการประมาณราคา

ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขคร่าวๆเพื่อใช้ประกอบตัวอย่างขั้นตอนการคำนวณ
ส่วนค่าวัสดุและค่าแรงจริงๆต้องใช้จากสำนักงบประมาณในปีนั้นๆ หรือ ใช้ตัวเลขของแต่ละบริษัทเอง

จำนวนเงินรวม = ปริมาณงานรวม x ราคาต่อหน่วยรวม


rscelaw@yahoo.com

ปรับปรุงแก้ไข จันทร์, 26 ธันวาคม 2548 15:43:10