สำนักงานที่ปรึกษากฎหมายและวิศวกรรม  รังสรรค์ วงษ์บุญ
Office of Law and Engineering Consultants
The only thing necessary for the triumph of evil is for good men to do nothing.


 ตัวอย่าง Specification งานก่อสร้างอาคาร
เฉพาะงานทางด้านวิศวกรรมโยธา
 

001

วัตถุประสงค์

ผู้ว่าจ้างมีความประสงค์จะทำงานก่อสร้าง และติดตั้งอุปกรณ์ประจำอาคารสำหรับโครงการ สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ให้เป็นไป
ตามแบบก่อสร้าง และรายละเอียดประกอบแบบ ซึ่งออกแบบโดยบริษัท จีโอเดสิค ดีไซน์ จำกัด มีขอบเขตของงานโดยสังเขปดังนี้

  1. งานปรับระดับพื้น

  2. งานเสาเข็ม

  3. งานโครงสร้าง และสถาปัตยกรรม

  4. งานภายนอก ได้แก่ ทางเข้า , ทางออก , ทางเท้า , ลานปลูกหญ้า เป็นต้น

  5. ระบบลิฟท์

  6. ระบบไฟฟ้า และสื่อสาร

  7. ระบบสุขาภิบาล และป้องกันอัคคีภัย

  8. ระบบปรับอากาศ และระบายอากาศ

  9. การดำเนินงานขอหมายเลขโทรศัพท์ ตามความต้องการของผู้ว่าจ้าง

  10. การดำเนินการ และค่าใช้จ่ายในการขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า

  11. การดำเนินการ และค่าใช้จ่ายในการขอติดตั้งมิเตอร์ประปา


002

สารบัญ

  1. ข้อกำหนดและขอบเขตทั่วไป                                               ขก-00

  2. รายละเอียดประกอบแบบงานสถาปัตยกรรม                            สถ-00

  3. รายละเอียดแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง                                คส-00

  4. รายละเอียดแบบงานระบบไฟฟ้า และสื่อสาร                           ฟฟ-00

  5. รายละเอียดแบบงานสุขาภิบาล และดับเพลิง                           สข-00

  6. รายละเอียดแบบงานปรับอากาศ และระบายอากาศ                   ปอ-00

  7. รายละเอียดแบบงานลิฟท์                                                   ลฟ-00  


003

บทที่1  ข้อกำหนด และขอบเขตทั่วไป

1.

คำจำกัดความ 

 

“ผู้ว่าจ้าง” หมายถึง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

 

“ผู้รับจ้าง” หมายถึง ผู้เสนอราคาที่ได้ทำสัญญาการจ้างเหมากับผู้รับจางแล้ว

 

“สถาปนิก วิศวกร ผู้ควบคุมงาน” หมายถึง สถาปนิก วิศวกร ผู้ควบคุมงานของผู้ว่าจ้างที่ผู้ว่าจ้างได้มอบหมายให้ควบคุมดูแลงานก่อสร้าง

 

“ผู้แทนผู้ว่าจ้าง” หมายถึง สถาปนิก วิศวกร ผู้ควบคุม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าจ้างให้ควบคุมดูแล หรือมีหน้าทีเกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างตลอดจนการทำสัญญาการจ้างเหมา

 

“คณะกรรมการตรวจการจ้าง” หมายถึง คณะกรรมการที่ผู้ว่าจ้างแต่งตั้งขึ้นเป็นผู้ควบคุมดูแลการดำเนินการในระหว่างก่อสร้าง

2.

การตรวจสอบ
 

2.1

SITE SURVEY ผู้รับจ้างจะต้องการตรวจสอบสถานที่ และสภาวะที่มี หรือเป็นอยู่ก่อนอื่น และต้องเสนอผลการตรวจสอบนั้น เพื่อการพิจารณาในกรณีที่มีสภาวะอันอาจทำให้เกิดกระทบกระเทือนยุ่งยากแก่งานที่ระบุในสัญญาได้ ผู้รับจ้างจะต้องทำการรังวัด ตรวจสอบหมุด หลักเขต จัดทำระดับแนวส่วนอื่นใดที่เกี่ยวข้อง หรือต่อเชื่อมกับของเดิมและระยะต่าง ๆ ตามในแบบก่อสร้างให้ชัดเจนแล้วจัดทำรายงานความคลาดเคลื่อน อันได้เกิดขึ้นระหว่างแบบก่อสร้างกับสถานที่จริงเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ทางสถาปนิก วิศวกร หรือผู้ควบคุมงานทราบเพื่อทำการวินิจฉัยออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรแก่ผู้รับจ้างก่อนการดำเนินงานต่อไป
 

2.2

ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชอบในการทำงานให้ถูกต้องตามกฎเทศบัญญัติพระราชบัญญัติการก่อสร้าง และเป็นไปตามกฎหมายแรงงาน ตลอดจนระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานก่อสร้างเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย
 

3.

แบบขยายรายละเอียด และวิธีปฏิบัติงาน (SHOP DRAWINGS)

 

ผู้รับจ้างจะต้องศึกษา และตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ ก่อนดำเนินการปฏิบัติงานทุกแห่งในงานก่อสร้าง และจัดทำขึ้นเป็นแบบขยายรายละเอียด ให้เสนอเป็นแบบพิมพ์เขียวจำนวน 3 ชุด ลงวันที่ชื่อในโครงการ และตำแหน่งของแบบ ขยายรายละเอียดต่อสถาปนิก วิศวกร หรือผู้ควบคุมงาน โดยแบบขยายรายละเอียดจะต้องแสดงถึงวิธีการ การดำเนินการ ตำแหน่ง และระยะต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานให้ละเอียด

ผู้รับจ้างจะต้องส่งรูปแบบขยายรายละเอียดให้กับสถาปนิก วิศวกร หรือผู้ควบคุมงานเพื่อการอนุมัติ ก่อนการดำเนินงานอย่างน้อย 60 วัน และจะต้องแจ้งให้ตัวแทนผู้ว่าจ้างทราบก่อนการทำงานอย่างน้อย 24 ชั่วโมง จึงจะดำเนินงานได้

แบบขยายรายละเอียด (SHOP DRAWINGS) ที่ได้รับอนุมัติจากผู้ควบคุมงานทั้งหมด ผู้รับจ้างจะต้องรวบรวมเป็นรูปเล่มส่งมอบให้ผู้ว่าจ้างในวันส่งมอบงาน
 

4.

การพิมพ์แบบ และรายการสำหรับการก่อสร้าง

แบบ และรายการสำหรับใช้ในการก่อสร้าง ที่นอกเหนือไปจากแบบ และรายการที่เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาว่าจ้างผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้จัดพิมพ์ให้ตามความจำเป็นที่ผู้รับจ้างจะต้องใช้ใน
งานก่อสร้าง โดยผู้รับจ้างจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์

 

5.

การเก็บรักษาแบบในที่ก่อสร้าง

ผู้รับจ้างจะต้องเก็บแบบแปลนพร้อมทั้งรายการก่อสร้างไว้ ณ ที่ก่อสร้าง 1 ชุด โดยจัดเรียงลำดับ และเย็บไว้เป็นระเบียบ เพื่อให้ตรวจสอบได้ทุกเวลา
 

6.

ลิขสิทธิ์ของแบบ และรายการ

แบบ และรายการก่อสร้าง และพิมพ์เขียวที่จัดทำทั้งหมด เป็นสิทธิ์ของเจ้าของงานห้ามผู้ใดนำไปใช้งานอื่น
ผู้รับจ้าง จะต้องส่งคืนแปลน และรายการก่อสร้าง เมื่อเสร็จงานก่อสร้างแล้ว ยกเว้นแบบแปลน และรายการที่เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาว่าจ้างในการก่อสร้างรายนี้

 

7.

บันทึกการแก้ไขแบบ

7.1

หากมีการคลาดเคลื่อน หรือขัดแย้งระหว่างแบบ และรายการก่อสร้าง ไม่ว่ากรณีใด ให้ผู้รับจ้างจะต้องแจ้งแก่สถาปนิก วิศวกรหรือผู้ควบคุมงาน ซึ่งเป็นผู้วินิจฉัย อนุมัติออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร หากผู้รับจ้างกระทำการแก้ไขใด ๆ เอง แล้วการกระทำนั้นต้องแก้ไข หรือรื้อถอนไป ให้ผู้รับจ้างรับผิดชอบค่าใช้จ่าย และค่ารื้อถอนในการนั้นเอง

7.2

ในระหว่างการดำเนินงาน ให้ผู้รับจ้างทำบันทึกการเปลี่ยนแปลงแก้ไขจากแบบ โดยวินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจการจ้างไว้ก่อนเริ่มงานทุกครั้ง

8.

ระเบียบการเสนอเพื่อพิจารณาอนุมัติวัสดุ

 

8.1

ตัวอย่างวัสดุอุปกรณ์ตัวอย่าง จะต้องอยู่ในสภาวะเรียบร้อยได้มาตรฐานและคุณภาพที่ระบุไว้ในแบบก่อสร้างและรายการตกแต่งทุกประเภท

8.2

ต้องมีเอกสารนำเสนอเพื่อประกอบการพิจารณาแบบส่งมาถึงสถาปนิก วิศวกร หรือผู้ควบคุมงาน

8.3

ต้องระบุในแผ่นป้าย บอกชื่อโครงการ วัสดุ บริษัทผู้ผลิต วันที่ส่งอนุมัติ ตำแหน่งที่ใช้ และรายละเอียดที่เกี่ยวข้องปิดบนวัสดุอุปกรณ์ตัวอย่างดังกล่าว

8.4

วัสดุอุปกรณ์ตัวอย่างดังกล่าว จะต้องมีขนาดพอที่จะแสดงให้เห็นถึงคุณภาพ ประเภทสี การตกแต่ง และลักษณะ ผิววัสดุ ตลอดจนในกรณีที่ต้องมีการเลือกสี วัสดุอุปกรณ์ตัวอย่าง ทางผู้รับจ้างจัดเสนอให้ครบสีต่าง ๆ ตามที่ผู้ผลิตได้ผลิตขึ้น

8.5

เอกสาร หรือตัวอย่างที่จะเสนอเพื่อขออนุมัติใช้งานต้องทำเป็น 3 ชุด ให้แก่สถาปนิก วิศวกร หรือผู้ควบคุมงาน และในกรณีที่ผู้รับจ้างไม่สามารถจัดหาวัสดุอุปกรณ์ได้ตามกำหนด ทางผู้รับจ้างสามารถจัดเสนอวัสดุเทียบเท่า เพื่อการพิจารณาตรวจสอบ โดยวัสดุเทียบเท่าดังกล่าว จะต้องมีคุณภาพไม่ด้อยกว่าวัสดุที่กำหนด และในกรณีที่วัสดุเทียบเท่ามีราคาสูงกว่าวัสดุที่กำหนด ทางผู้รับจ้างต้องไม่เรียกร้องค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด รวมทั้งระยะเวลาก่อสร้าง ทั้งนี้การจัดใช้วัสดุเทียบเท่าต้องได้รับการอนุมัติจากสถาปนิก วิศวกร หรือผู้ควบคุมงานเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น

8.6

ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาตัวอย่าง แคตตาล๊อค หนังสืออธิบายคุณสมบัติของวัสดุอุปกรณ์ที่นำเสนอเพื่อการอนุมัตินั้น ๆ มาเสนอแก่สถาปนิก วิศวกร หรือผู้ควบคุมงาน เพื่อพิจารณาโดยไม่คิดมูลค่า

9.

วัสดุ อุปกรณ์ และคนงาน

ผู้รับจ้างต้องจัดหา และออกค่าใช้จ่ายสำหรับวัสดุ ค่าแรง น้ำ เครื่องมือ อุปกรณ์ ดวงไฟ ค่าไฟ ค่าขนส่ง และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ในการดำเนินงานจนแล้วเสร็จ หากไม่ระบุ
ไว้เป็นอย่างอื่น วัสดุทั้งหมดที่จะนำมาใช้เป็นของใหม่ ทั้งฝีมือ และวัสดุจะต้องมีคุณภาพดี มีมาตรฐานเป็นที่พอใจ ผู้รับจ้างจะต้องจัดระเบียบการปฏิบัติงานของคนงาน โดยวางหลัก
เกณฑ์ และถือระเบียบอย่างเคร่งครัด ไม่ให้จ้างคนงานที่ไม่มีฝีมือเหมาะสมแก่งานนั้น

 

10.

การทดสอบ

หากไม่มีระบุไว้อย่างอื่นการจัดการตรวจสอบ และจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นในการทดสอบต่าง ๆ ให้เป็นภาระของผู้รับจ้าง การตรวจสอบวัสดุ และอุปกรณ์ให้ได้มาตรฐานเป็นที่พอใจให้ทำตามคำสั่งของสถาปนิก วิศวกร หรือผู้ควบคุมงาน และเสนอรายงานการทดสอบซึ่งการทดสอบนี้อาจกระทำโดยเจ้าหน้าที่ทดสอบจนได้ผลเป็นที่พอใจค่าใช้จ่ายของการทดสอบในห้องปฏิบัติการ และในสนามเป็นของผู้รับจ้าง

ผู้รับจ้างจะต้องทำการทดสอบคุณสมบัติของดิน ในบริเวณตัวอาคารที่ทำการก่อสร้างอย่างน้อย 1 จุด พร้อมทั้งนำผลการทดสอบดินเสนอ สถาปนิก วิศวกร หรือผู้ควบคุมงาน

ผู้รับจ้างจะต้องทำการทดสอบความสามารถในการารับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็ม ตามที่ระบุในหมวดงานเสาเข็มในรายละเอียดประกอบแบบก่อสร้างงานวิศวกรรมโครงสร้าง

วิศวกร หรือผู้ควบคุมงานจะต้องได้ดูการทดสอบด้วยตนเอง และอาจขอให้มีการทดสอบซ้ำเพิ่มเติมอีกก็ได้ การทดสอบดังกล่าว หรือการรับรองวัสดุไม่ถือเป็นการรับรอง ขั้นสุดท้ายด้วยกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
 

11.

 ตารางงาน

ก.

ผู้รับจ้างต้องเริ่มปฏิบัติงานภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ในลำดับขั้นตอนของงาน

ข.

หลังจากการลงนามสัญญาก่อสร้างแล้ว ผู้รับจ้างจะต้องทำตารางการทำงาน (MASTER SCHEDULE) โดยทันที และแสดงแผนของงานทั้งหมดที่จะเริ่มปฏิบัติ และกำหนดแล้วเสร็จเป็นระยะ รวมทั้งเวลาส่งวัสดุอุปกรณ์แต่ละงวด

ค.

ความสามารถในการปฏิบัติงาน และวิธีปฏิบัติงาน รวมทั้งอุปกรณ์ และแรงงานจะต้องได้รับการตรวจจากสถาปนิก วิศวกร หรือผู้ควบคุมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งสถาปนิก วิศวกร หรือผู้ควบคุมงานอาจสิ่งเปลี่ยนแปลงสิ่งใด ๆ ก็ได้ เพื่อให้งานแล้วเสร็จสมบูรณ์ในเวลาที่กำหนดไว้

12.

ไฟฟ้าแสงสว่าง ไฟฟ้ากำลัง และน้ำที่ใช้ชั่วคราว

ผู้รับจ้างต้องเป็นผู้จัดหา และออกค่าใช้จ่ายสำหรับไฟฟ้ากำลัง และน้ำที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน รวมทั้งการเดินสายไฟหม้อแปลงไฟฟ้า เดินท่อน้ำ ลิ้นกั้น มิเตอร์ และการเตรียมการอื่น ๆ ที่เหมาะสมเพียงพอแก่การทำงานก่อสร้างทั้งหมด รวมถึงการทดลองอุปกรณ์ และเครื่องจักรต่างๆ การจัดหาสัญญาณไฟบอกเขต หรือบริเวณที่อาจจะได้รับอันตรายที่จะเกิดขึ้นโดยรอบบริเวณสถานที่ก่อสร้าง

13.

สำนักงานชั่วคราว ที่เก็บของ และห้องน้ำ ห้องส้วม

ผู้รับจ้างต้องจัดตั้งสำนักงานชั่วคราวในขนาดที่เหมาะสม ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ระบบแสงสว่าง และระบบปรับอากาศ พร้อมทั้งสถานที่เก็บของ ที่กันแดดกันฝนได้ในสถานที่ก่อสร้าง ตามตำแหน่งที่ได้รับอนุมัติจากผู้ควบคุมงานพร้อมกันนี้ ผู้รับจ้างจะต้องจัดเตรียมสถานที่ทำงานสำหรับผู้ควบคุมงาน สถาปนิก และวิศวกร ตามรายการ ดังนี้

1.

สำนักงานชั่วคราวพร้อมระบบไฟฟ้าแสงสว่าง และระบบปรับอากาศ พื้นที่รวมประมาณ 60 ตารางเมตร

2.

โต๊ะทำงานแบมีลิ้นชักล็อคได้ และเก้าอี้ทำงานแบบมีล้อเลื่อนได้ จำนวน 4 ชุด พร้อมชั้นวางเอกสาร

3.

โต๊ะประชุม และเก้าอี้ประชุมจำนวน 20 ตัว

4.

อุปกรณ์สำนักงานประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง พร้อม UPS 1 เครื่อง เครื่องพรินเตอร์เลเซอร์สี ขนาด A4 จำนวน 1 เครื่อง โทรศัพท์ 2 เครื่อง 1 เลขหมาย โทรสาร 1 เครื่อง และตู้เย็นขนาด 5 คิว 1 เครื่อง เครื่องกรองน้ำดื่ม 1 เครื่อง

5.

ห้องน้ำ – ส้วม สำหรับผู้ควบคุมงาน สถาปนิก และวิศวกรโดยเฉพาะ 1 ห้อง สุขภัณฑ์ประกอบด้วยอ่างล้างหน้า 1 ที่ และโถส้วมแบบนั่งราบ 1 ที่

6.

ห้องเก็บตัวอย่างวัสดุขนาดประมาณ 9 ตารางเมตร 1 ห้อง

ผู้รับจ้างจะต้องจัดเตรียมสถานที่ทำงาน ณ ตำแหน่งที่ได้รับอนุมัติจากผู้ควบคุมงานพร้อมทั้งรับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำนักงานอันได้แก่ ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าโทรศัพท์ 
และจะต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและอุปกรณ์ดังกล่าวทั้งหมด ก่อนส่งมอบงาน งวดสุดท้าย

7.

กรณีที่สถานที่ก่อสร้างอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร  ให้ผู้รับจ้างจัดเตรียม และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่พักของผู้ควบคุมงาน  ตามที่ผู้ควบคุมงานเห็นสมควร  จนกว่าจะส่งมอบงานงวดสุดท้าย

14.

ยาม
        
ผู้รับจ้างต้องจัดให้มียามเฝ้าสถานที่ก่อสร้างตลอดเวลา 24  ชั่วโมง  เพื่อดูแลทรัพย์สิน  และรักษาความ ปลอดภัย  ตลอดจนมีมาตรการป้องกันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาภายในบริเวณ
สถานที่ก่อสร้าง  ก่อนได้รับอนุญาต

15.

การใช้สถานที่

ผู้รับจ้างจะต้องจัดสร้างที่เก็บวัสดุเครื่องมือ  และสัมภาระ  และที่ทำงานของคนงานให้อยู่ในขอบเขตของบริเวณที่ทำการก่อสร้าง  โดยได้รับความเห็นชอบของผู้ว่าจ้างก่อน 
และให้ปฏิบัติตามกฎหมาย  กฎเทศบัญญัติข้อบังคับของราชการ  และระเบียบข้อบังคับตามที่ผู้ว่าจ้างได้ระบุไว้

ผู้รับจ้างต้องดำเนินการตามคำสั่งของสถาปนิก  วิศวกร หรือผู้ควบคุมงานในเรื่องจัดทำป้ายต่างๆ ชี้แจงการใช้สถานที่ เรื่องไฟและควัน

ผู้รับจ้างจะต้องจัดให้ให้มีการป้องกันวัสดุ  หรือ เศษวัสดุไม่ให้ล่วงหล่น  ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตราย  หรือความไม่ปลอดภัยแก่คนงาน  และบุคคลภายนอก ตลอดจนทรัพย์สิน
ต่างๆ  โดยให้เสนอวิธีการต่อสถาปนิก  วิศวกร  หรือผู้ควบคุมงานตรวจสอบก่อน  และต้องจัดทำรั้วชั่วคราวรอบสถนที่ก่อสร้าง  สูงไม่น้อยกว่า 2 เมตร
  วัสดุทำด้วยแผ่นสังกะสี
เคลือบสีเขียวที่มีสภาพเรียบร้อย  หรือ นำเสนออนุมัติ

16.

ป้าย

ก.

ห้ามติดตั้งป้ายโฆษณาใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต จากสถาปนิก วิศวกร หรือ ผู้ควบคุมงานก่อน

 ข.

ผู้รับจ้าง  ต้องจัดทำป้ายแสดงงาน  ขนาด 2.00 x 2.00 เมตร บนแผ่นเหล็กและโครงสร้างเหล็กตามแบบฟอร์มและลักษณะที่กำหนดไว้โดยผู้ว่าจ้าง  จำนวนไม่เกิน 2 ชุด

ค.

ผู้รับจ้างจะต้องทำป้ายเหล็กแสดงเขตอันตราย  ที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าในระยะไม่น้อยกว่า  10  เมตรโดยรอบบริเวณสถานที่ก่อสร้าง

ง.

เมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จ  ให้ผู้รับจ้างจัดทำป้าย STAINLESS  STEEL ขนาดประมาณ  0.25x0.50 เมตร  แสดงรายละเอียดโครงการ เช่น ชื่ออาคาร  เจ้าของงาน  ผู้ออกแบบ  ผู้ควบคุมงาน ผู้รับจ้าง งบประมาณ ระยะเวลา  และข้อความประกอบอื่นๆ ตามลักษณะที่กำหนดโดยผู้ว่าจ้างจำนวน 1 ชุด (ดูเอกสารแบบขยายทั่วไป)

จ.

เมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จให้ผู้รับจ้างจัดทำป้าย STAINLESS  STEEL ขนาดประมาณ  150x300 ม.ม. แสดงสัญลักษณ์  ห้องน้ำ หน้าห้องน้ำสาธารณะทุกห้อง  แบบเสนอผู้ออกแบบอนุมัติ  (ดูเอกสารแบบขยายทั่วไป)
 

17.

การรักษางาน  และทรัพย์สิน

ผู้รับจ้างต้องจัดการป้องกันรักษางานทั้งหมด  และทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างให้ปลอดภัยจากความเสียหายอันอาจเกิดขึ้น  ผู้รับจ้างต้องจัดการซ่อมแซม  แก้ไขส่วนที่เสียหายทั้งหมดให้อยู่ในสภาพที่ดีเรียบร้อย  ผู้รับจ้างจะต้องจัดการป้องกันรักษางานที่ทำแล้ว หรือยังไม่แล้วเสร็จตลอดระยะเวลาของการก่อสร้าง  ให้อยู่ในสภาพใหม่เรียบร้อยจนกว่าจะส่งมอบงาน  ทั้งต้องป้องกันทรัพย์สินของผู้อื่นให้ปลอดภัย  จากการเสียหายตามกฎหมาย  และตามเงื่อนไขที่ระบุ

18.

การประกัน

ผู้รับจ้างต้องทำประกันความเสียหายทุกประเภทของอาคาร  และวัตถุ เพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจเกิดเนื่องจากอัคคีภัย อุทกภัย สงคราม จลาจล ฯลฯ ตลอดระยะเวลาจนส่งมอบงานงวดสุดท้าย  การทำประกันให้ลงนามร่วมกันระหว่างผู้รับจ้าง และผู้ว่าจ้าง

ผู้รับจ้างจะต้องทำประกันความเสียหาย  ที่อาจเกิดขึ้นกับอาคารข้างเคียงก่อนที่ผู้รับจ้างจะดำเนินการ  จะทำบันทึกรูปร่าง สภาพเดิมของอาคารข้างเคียง

19.

การวางหลักทรัพย์ประกัน

ในการตกลงเซ็นสัญญา  ผู้รับจ้างจะต้องวางหลักเกณฑ์ประกันแก่ผู้ว่าจ้างเป็นมูลค่าตามที่ตกลงไว้  หลักทรัพย์นี้จะเป็นการรับรองการชำระค่าฤชาตามสัญญา  และรับรองการชำระ
ชดเชยค่าเสียหาย  และรายจ่าย  ซึ่งผู้รับจ้างจะต้องรับใช้ให้แก่ผู้ว่าจ้าง  เนื่องจากการใช้วัสดุ  หรือการปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะสมถูกต้องตามตามแบบ หรือรายการตามข้อตกลงสัญญา  และซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้  หลักทรัพย์นี้อาจเป็นลักษณะ
BANK  GUARANTEE หรือพันธะบัตรของธนาคาร  หรือบริษัทประกันภัย  ซึ่งผู้ว่าจ้างยอมรับ

หากผู้รับจ้างไม่สามารถวางหลักทรัพย์ได้ในเวลาที่กำหนด  ถือเป็นการผิดสัญญา  ซึ่งผู้ว่าจ้างอาจยกเลิกสัญญาได้โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า  และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ผู้รับจ้าง

หลักทรัพย์ที่วางจะต้องมีค่าโดยสมบูรณ์ ตลอดระยะเวลาการประกันเพื่อรับรองว่าผู้รับจ้างได้ปฏิบัติการได้ผลตามตกลงในสัญญา

20.

การตรวจงาน

ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะเข้าดูงานได้ทุกเวลา  ไม่ว่าจะเป็นระยะเตรียมงาน  หรือระหว่างปฏิบัติงาน  ผู้รับจ้างต้องให้ความสะดวก  และจัดหาอุปกรณ์จำเป็นสำหรับการตรวจงานนั้น  งานใดที่มีการระบุไว้  ให้มีการทดสอบ  หรือตรวจสอบเป็นพิเศษ  ผู้รับจ้างจะต้องแจ้งให้ทราบเวลาที่พร้อมสำหรับการนั้นหากมีงานส่วนใดที่จะทำไปก่อนโดยไม่ได้ตรวจสอบ  และไม่ผ่านการพิจารณาของสถาปนิกและวิศวกร  หรือผู้ควบคุมงาน  ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะสั่งให้รื้อถอน  หรือทุบส่วนนั้นเพื่อการ  ตรวจสอบงานขั้นก่อนนั้นได้โดยผู้รับจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย  ถ้าปรากฏว่ามีงานใดไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในสัญญา     สถาปนิก วิศวกร หรือผู้ควบคุมงานจะสั่งแก้ไขเป็นลายลักษณ์อักษรแก่ผู้ว่าจ้าง ซึ่งผู้รับจ้างต้องปฏิบัติตามค่าใช้จ่ายในการแก้ไขเปลี่ยนแปลง งานส่วนนั้นให้เป็นภาระของผู้รับจ้าง

การตรวจ หรือการรับรองในขั้นนี้ จะถือเทียบเท่าการตรวจรับรองครั้งสุดท้ายไม่ได้

21.

งานฝีมือ

ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาช่างฝีมือที่มีความสามารถและความชำนาญในแต่ละประเภทมาปฏิบัติงานนั้น ๆ มาตรฐานของการทำงานต้องเป็นชั้นหนึ่งเท่านั้น ถ้าปรากฏว่าช่างฝีมือนั้น
ปฏิบัติงานไม่ดีพอ ไม่มีหลักการ สถาปนิก วิศวกร หรือผู้ควบคุมงาน มีสิทธิที่จะสั่งให้เปลี่ยนช่างได้ โดยจะสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรมายังผู้รับจาง

22.

ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง

ผู้รับจ้างจะต้องหาผู้ควบคุมงานก่อสร้าง โดยให้มีคุณวุฒิตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดสำหรับการขออนุญาตปลูกสร้างอาคารมาประจำอยู่ ณ สถานที่ก่อสร้างระหว่างการปฏิบัติงาน ซึ่งจะเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้รับจ้างให้เป็นผู้รับคำสั่งจาก สถาปนิก วิศวกร หรือผู้ควบคุมงาน และเป็นผู้เซ็นรับรองบันทึกการก่อสร้าง และเงื่อนไขต่าง ๆ และสถาปนิก วิศวกร และผู้ควบคุมงาน มีสิทธิที่จะขอให้เปลี่ยนผู้ควบคุมงานก่อสร้างใหม่ได้ ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาผู้ควบคุมงานก่อสร้างที่มีคุณวุฒิ ความสามารถ และมีความเหมาะสมมาปฏิบัติงานแทนในหน้าที่ทันที

23.

การขอทำงานนอกเวลาทำงานปกติ

การปฏิบัติงานในการก่อสร้าง ซึ่งจำเป็นจะต้องควบคุมมาตรฐานการทำงาน อันได้แก่ คุณภาพ ชนิด ปริมาณ ส่วนผสม และวิธีการดำเนินงาน จะต้องมีผู้แทนผู้ว่าจ้างคอยตรวจสอบเฝ้าดู และรู้เห็นในการดำเนินงานตลอดเวลา เช่น การตอกเสาเข็ม การผสม และเทคอนกรีต การผสมสี และน้ำยาพิเศษอื่น ๆ การบดอัด และการกลบดิน เป็นต้น หากผู้ว่าจ้างมีความประสงค์จะทำการปฏิบัติงานดังกล่าวนอกเวลาทำงานปกติ ให้ทางผู้รับจ้างทำใบเสนอการทำงานดังกล่าวแก่ทางผู้แทนผู้ว่าจ้างก่อน 24 ชั่วโมง ของการปฏิบัติงาน เพื่อที่ทางผู้ว่าจ้างจะได้จัดตัวแทนของผู้ว่าจ้างมาคอยตรวจสอบ เฝ้าดูการปฏิบัติงานดังกล่าว (ค่าใช้จ่ายในการทำงานล่วงเวลาของสถาปนิก วิศวกร หรือผู้ควบคุมงานผู้รับจ้างจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ) และจะต้องได้รับการอนุมัติจากทางตัวแทนผู้ว่าจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน กรณีที่ผู้รับจ้างฝ่าฝืน ผู้ว่าจ้าง หรือผู้แทนผู้ว่าจ้างมีสิทธิสั่งรื้อถอน และให้ทำใหม่ หรือตรวจสอบแก้ไข หรือบอกเลิกสัญญาเลยก็ได้ โดยทางผู้รับจ้างไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่าย หรือค่าเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น

ค่าบริการควบคุมงานนอกเหนือเวลาปกติ

ในกรณีที่ผู้ควบคุมงานจะต้องทำงานล่วงเวลา หรือทำงานนอกเหนือเวลาปกติ ผู้ควบคุมงานก่อสร้างขอคิดอัตราค่าบริการนอกเหนือเวลาปกติต่อคนดังนี้

-  ค่าล่วงเวลาสถาปนิก วิศวกรควบคุมงาน และผู้จัดการโครงการ                600         บาท / ชั่วโมง

-  ค่าล่วงเวลาช่างเทคนิคควบคุมงาน                                                    300         บาท / ชั่วโมง

-  ค่าล่วงเวลาธุรการ                                                                        100         บาท / ชั่วโมง

ช่วงเวลาทำงานปกติ หมายถึง ช่วงเวลา 8.30 – 17.30 น. ของวันจันทร์ ถึงวันศุกร์ ในแต่ละสัปดาห์ และวันเสาร์ที่ 1 และ 3 ในแต่ละเดือน ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตามประกาศของบริษัทฯ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายแรงงานไม่เกินปีละ 15 วัน

ผู้รับจ้างจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการจ่ายค่าควบคุมงานนอกเหนือเวลาปกติ แก่ผู้ควบคุมงานก่อสร้างโดยตรงหลังรับใบแจ้งหนี้ ในแต่ละเดือนภายใน 30 วัน

24.

การเปลี่ยนแปลงงาน

สถาปนิก วิศวกร หรือผู้ควบคุมงาน มีสิทธิเปลี่ยนแปลงงานส่วนย่อยได้ โดยไม่กระทบกระเทือนถึงมูลค่า และโดยไม่ขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของอาคาร

การเพิ่มเติม และลดงาน – ผู้ว่าจ้างมีสิทธิ์ที่จะสั่งลด หรือเพิ่มเติมงานส่วนใด ส่วนหนึ่ง หรือสั่งเปลี่ยนแปลงวัตถุ นอกเหนือไปจากแบบ และรายการในสัญญาข้อตกลงได้โดยจะกระทำเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ว่าจ้าง หรือตัวแทนของผู้รับจ้าง

การพิจารณามูลค่าที่เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมาแล้ว อาจกระทำได้โดยวิธีดังต่อไปนี้

ก.

โดยตกลงกันตามราคาแต่ละหน่วยวัตถุ หรือหน่วยงานที่เปลี่ยนแปลง

ข.

โดยตกลงกันตามราคารวม

ค.

โดยคิดเทียบส่วนจากราคา และงานเดิมบวกค่าดำเนินการ รวมแล้วไม่เกินราคาที่ตกลงกันใหม่

การเรียกร้องมูลค่าเพิ่มเติม นอกเหนือจากกรณีที่กล่าวมาแล้ว จะไม่มีผลใด ๆ ทั้งสิ้น และหากทุกฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ในการพิจารณาเพิ่มมูลค่าโดยวิธีดังกล่าวข้างบนนี้ อาจให้มีการเรียกร้องการตัดสินชี้ขาดได้

25.

การแก้ไขเปลี่ยนแปลงงานที่ปฏิบัติไปแล้ว

หากผู้ว่าจ้าง และสถาปนิก วิศวกร หรือผู้ควบคุมงาน พิจารณาเห็นว่าวัตถุ หรืองานที่ผู้รับจ้างได้ใช้ หรือปฏิบัติไปแล้วไม่เหมาะสม หรือไม่ถูกต้องตามแบบ หรือรายการตามข้อตกลงสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามรายการ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และหากไม่สามารถจะแก้ไขได้ ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะหักเงินค่าชดเชยจากเงินที่ตกลงตามสัญญาได้

26.

การแก้ไขงานก่อนการจ่ายเงินงวดสุดท้าย

หากปรากฏว่าวัตถุ หรืองานที่ผู้รับจ้างได้นำมาใช้ หรือปฏิบัติไปไม่ถูกต้องตรงกับที่ระบุไว้ในแบบรายการ หรือคำสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขที่เป็นลายลักษณ์อักษรตามข้อตกลงสัญญา และสถาปนิก หรือวิศวกร พิจารณาเห็นว่าไม่เหมาะสม ผู้รับจ้างจะต้องรื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายวัตถุออกไปจากสถานที่ทันที หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขงานนั้นให้ถูกต้องตรงตามข้อตกลงสัญญาโดยไม่คิดมูลค่าใด ๆ เพิ่มเติมทั้งสิ้นหากผู้รับจ้างไม่ทำการเคลื่อนย้าย  หรือรื้อถอนเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัตถุ  หรืองานที่ไม่ถูกต้องนั้นภายในเวลาที่สมควรผู้ว่าจ้างมีสิทธิจัดการเคลื่อนย้าย  และเปลี่ยนแปลงแก้ไขงานนั้นโดยคิดค่าใช้จ่ายจากผู้รับจ้าง
 

27.

การแก้ไขหลังการจ่ายเงินงวดสุดท้าย

การรับมอบงานงวดสุดท้าย  หรือการจ่ายเงินงวดสุดท้าย  ถือว่าผู้รับจ้างมีภาระการรับผิดชอบงานต่อไปเป็นเวลา  1  ปี  ภายหลังวันรับมอบงานงวดสุดท้าย  หากมีความเสียหายใดๆ
เกิดขึ้นกับวัตถุ  หรือฝีมือปฏิบัติงานภายในระยะเวลาแห่งความรับผิดชอบดังกล่าว  ผู้รับจ้างต้องรับจ้างซ่อมแซมแก้ไข  หรือเปลี่ยนแปลงให้อยู่ในสภาพดังที่ระบุไว้ตามข้อตกลง
สัญญา  หากไม่สามารถจัดทำการให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดได้  ผู้รับจ้างต้องยืดระยะเวลารับผิดชอบต่อไปอีกจนกว่าจะจัดการให้เสร็จ

28.

สิทธิของผู้ว่าจ้างในการแก้ไขหรือบอกเลิกสัญญา

หากผู้รักจ้างเพิกเฉยไม่ทำการแก้ไข  หรือปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญาภายใน  7  วัน  หลังจากได้รับแจ้ง  เป็นลายลักษณ์อักษรของผู้ว่าจ้างแล้ว  ผู้ว่าจ้างมีสิทธิให้ผู้อื่นมาจัดการ
แก้ไขเปลี่ยนแปลงงานส่วนนั้น  โดยหักค่าใช้จ่ายจากผู้รับจ้าง  หากผู้ว่าจ้างถูกพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย  หรือผู้ว่าจ้างไม่สามารถหาวัตถุ  หรือคนงานมาปฏิบัติงานได้เพียง
พอ  หรือไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสั่งของสถาปนิก วิศวกร หรือผู้ควบคุมงาน ซึ่งผู้ว่าจ้างเห็นว่าจะเกิดผลเสียหายแก่การก่อสร้างอาคาร หรือทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง ผู้ว่าจ้างมีสิทธิ
บอกเลิกสัญญาผู้รับจ้างได้ โดยแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายในกำหนด
7 วัน

29.

การยื่นเสนอขออนุมัติเบิกเงินค่าก่อสร้าง

ในกรณียื่นเสนอข้ออนุมัติเบิกเงินค่าก่อสร้างตามงวดเงินตามสัญญา ผู้รับจ้างจะต้องทำบันทึกเสนอขออนุมัติเบิกเงินค่าก่อสร้าง  พร้อมทั้งลายละเอียดงานที่ได้ทำไปแล้วในงวด
นั้นยื่นเสนอแก่คณะกรรมการควบคุมการจ้างเพื่อนำเสนอแก่คณะกรรมการการตรวจรับงานจ้างต่อไป หากคณะกรรมการตรวจรับงานจ้างได้รับรองผลในงวดนั้นว่าได้ปฏิบัติไปถูก
ต้อง  และครบถ้วนตามระบบ  และรายการตามสัญญา  และข้อตกลง  ผู้ว่าจ้างจะได้พิจารณาจ่ายเงินในงวดนั้น
 

30.

การยับยั้งการจ่ายเงินค่าก่อสร้าง

ผู้ว่าจ้างมีสิทธิจะยับยั้งการจ่ายเงินค่าก่อสร้างส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมดโดยการรับรองของผู้แทนผู้ว่าจ้าง ซึ่งพิจารณา เห็นว่า เป็นการป้องกันสิทธิ และรักษาผลประโยชน์ของผู้ว่าจ้างตามสัญญาในกรณีดังต่อไปนี้

ก.      ผู้รับจ้างมิได้แก้ไขงานที่ไม่ตรงตามกำหนดในแบบรายการ หรือตามข้อตกลงให้ถูกต้อง

ข.      ผู้รับจ้างไม่สามารถดำเนินการตามกำหนดในแบบแปลน และรายการก่อสร้าง

ค.      ในกรณีที่ผู้รับจ้างควรจะสามารถทำงานให้ถูกต้องตามสัญญาได้

เมื่อผู้รับจ้างได้ดำเนินการแก้ไขกรณีดังกล่าวถูกต้องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ว่าจ้างจะได้จ่ายเงินส่วนที่ยับยั้งไว้ให้แก่ผู้รับจ้าง
 

31.

การทำงานก่อสร้างเกินกำหนดสัญญา

หากผู้รับจ้างไม่สามารถทำการก่อสร้างให้เป็นที่เรียบร้อยตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาผู้รับจ้างจะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ว่าจ้าง นับแต่วันกำหนดเสร็จจนถึงวันเสร็จงานจริง เป็นมูลค่าตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา และจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย และค่าแรงของผู้ควบคุมงาน  ในอัตราค่าจ้างที่ผู้ควบคุมงานได้รับจากผู้ว่าจ้าง  ถ้ามีการขยายระยะเวลาการก่อสร้างเพิ่มเติมไปจากสัญญาเดิม  ไม่ว่ากรณีใด ๆ ผู้รับจ้างยังคงต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายและค่าแรงงานของผู้ควบคุมงาน

32.

ความเกี่ยวข้องระหว่างผู้รับจ้าง และผู้รับจ้างอื่นที่จ้างโดยตรงกับผู้ว่าจ้าง

ผู้รับจ้างต้องร่วมกันกับผู้รับจ้างรายอื่นที่จ้างโดยตรงกับผู้ว่าจ้าง  จัดทำตารางลำดับงาน  และวางแผนการแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งหมดให้เหมาะสมเป็นผลดีต่อการปฏิบัติงาน โดยผู้ว่าจ้าง หรือผู้แทนผู้ว่าจ้าง เป็นผู้ตรวจเห็นชอบด้วยเพื่อทำงานให้สัมพันธ์กัน  ได้ผลตามระบุในแบบแปลน  หากมีข้อขัดแย้งระหว่างผู้รับจ้าง  และผู้รับจ้างรายอื่นที่จ้างตรงกับผู้ว่าจ้าง ให้ถือการตัดสินของผู้ว่าจ้างเป็นข้อยุติ

33.

แบบที่สร้างจริง (As-Built Drawings)

1.       ผู้รับจ้างจะต้องเสนอแบบ As-Built Drawings ของสถาปัตยกรรม  งานโครงสร้าง  งานไฟฟ้า  งานระบบสุขาภิบาล  และงานปรับอากาศ มาตราส่วนไม่น้อยกว่าแบบที่เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาว่าจ้าง  ให้แก่ผู้ว่าจ้างในวันส่งมอบงาน แบบที่เสนอนี้ให้เป็นแบบกระดาษไขให้ระบุขนาด และทิศทางที่ได้ก่อสร้างจริง (จำนวน 1 ชุด) สำเนาลงใน CD-ROM 2 ชุด และพิมพ์เขียวจำนวน 2 ชุด (เขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรม AutoCAD RELEASE 12 หรือโปรแกรมที่สูงกว่า)

2.       ผู้รับจ้างจะต้องรวมรวมเข้าเล่มเป็นชุด  เกี่ยวกับรายการ  วัสดุก่อสร้างแคตตาล๊อค สี ขนาด รายละเอียดคำอธิบายวิธีใช้วัสดุอุปกรณ์คู่มือของผู้ผลิตวัสดุที่ใช้ในโครงการมอบให้ผู้ว่าจ้างจำนวน 2 ชุด
 

34.

กรณีรายละเอียดของเอกสารแบบไม่ตรงกัน

ในการก่อสร้างอาคารผู้รับจ้างจำเป็นจะต้องจัดการก่อสร้างอาคารให้ตรงตามแบบและสัญญา  กรณีที่แบบ  รายการประกอบแบบ แบบขยายทั่วไป บัญชีรายการวัสดุ และเอกสารอื่น ๆ ประกอบสัญญาไม่ตรงกัน หรือ ขัดแย้งกัน ให้ผู้รับจ้างเสนอผู้ออกแบบพิจารณา โดยพิจารณาจากความจำเป็นในการใช้สอยและความสวยงาม คงทนถาวรเป็นหลักให้ถือปฏิบัติตามการพิจารณาของผู้ออกแบบ โดยผู้รับจ้างไม่สามารถคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้

35.

การโอนสัญญา

ผู้รับจ้างจะต้องไม่โอน หรือมอบช่วงสัญญา โดยไม่ได้รับการยินยอมจากผู้ว่าจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร

36.

สิทธิ และหน้าที่ของสถาปนิก วิศวกร หรือผู้ควบคุมงาน

ก.

สถาปนิก วิศวกร หรือผู้ควบคุมงาน มีสิทธิ และหน้าที่ให้คำแนะนำ ตรวจ และควบคุมการก่อสร้างให้เป็นไปตามรายการ สัญญา และข้อตกลง

ข.

สถาปนิก วิศวกร หรือผู้ควบคุมงาน มีสิทธิยับยั้งการดำเนินงานเมื่อพิจารณาเห็นว่างานนั้นบกพร่อง และมีสิทธิสั่งให้ผู้รับจ้างแก้ไขงานที่บกพร่องนั้นให้ได้ตรงตามกำหนดในแบบรายการก่อสร้าง และข้อตกลง

ค.

สถาปนิก วิศวกร หรือผู้ควบคุมงาน จะเป็นผู้มีสิทธิสั่งงาน และติดต่อประสานงานกับผู้รับจ้างโดยตรง และมีสิทธิสั่งแก้ไข หรือยับยั้งงานโดยกระทำเป็นลายลักษณ์อักษร

ง.

สถาปนิก วิศวกร หรือผู้ควบคุมงาน จะเป็นผู้พิจารณาตัดสินการระบุใช้วัสดุโดยความยินยอมเห็นชอบจากผู้ว่าจ้าง

37.

การทำความสะอาดสถานที่

ในขณะก่อสร้าง ผู้รับจ้างจะต้องรักษาสถานที่ให้สะอาดปราศจากเศษวัสดุที่เกิดจากการปฏิบัติงาน หรือจัดการให้เรียบร้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่องานแล้วเสร็จผู้รับจ้างจะต้องขนเศษไม้ นั่งร้าน และวัสดุเหลือใช้อื่น ๆ ออกจากอาคาร และบริเวณให้หมดสิ้น และทำความสะอาดบริเวณให้อยู่ในสภาพที่จะเข้าใช้สอยได้ทันที

38.

การรับมอบงาน

เมื่องานแล้วเสร็จในแต่ละงวด ผู้รับจ้างจะต้องแจ้งแก้ผู้ว่าจ้าง โดยผ่านทางผู้แทนผู้ว่าจ้างตามลำดับขั้นให้ทราบ เพื่อจะได้ทำการตรวจสอบพิจารณาว่างานนั้นสมบูรณ์ตรง
ตามความประสงค์ในสัญญาหรือไม่

เมื่อผ่านการตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่างานถูกต้องตรงตามสัญญาผู้ว่าจ้างจะออกใบรับมอบงานให้แก่ผู้รับจ้าง

39.

ข้อกำหนด และมาตรฐานหลัก

เพื่อให้อ้างหรือเทียบคุณภาพ หรือทดสอบวัสดุก่อสร้าง และวิธีการติดตั้งวัสดุก่อสร้างตลอดจน วิธีการติดตั้งวัสดุอุปกรณ์สำหรับงานก่อสร้างตามสัญญา ในโครงการนี้มีดังต่อไปนี้

-

กฎและประกาศกระทรวงหมาดไทย

-

กฎและระเบียบกระทรวงมหาดไทย

-

มาตรฐานการพลังงานแห่งชาติ

-

 ม.อ.ก.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

 ว.ส.ท.

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

 PEA    

กฎและระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ASTM 

AMERICAN SOCIETY OF TESTING MATERIAL

 BS

BRITISH STANDARD

JIS 

JAPANNESS INDUSTRIAL STANDARD

 DIN 

DEUTCHE INSUDTERIENORMEN

ANSI 

AMERICAN NATIONAL STANDARD INSTITTUTE

 NFPA

NATIONAL FIRE PROTECTION ASSOCIATION

 ACI

AMERICAN CONCRETE INSTITUTE

 AWS

AMERICAN WELDING SOCIETY

IEC

INTERNATIONAL ELECTROTECTNICAL COMMISSION

 NEC

NATIONAL ELECTRICAL CODE

NEMA

NATIONAL ELECTRICAL MANUFACTURES

NESC

NATIONAL ELECTRICAL SAFETY CODE

 UL

 UNDERWRITERS LABORATORIES INC

VDE

VERBAND DEUTCHER ELECTROTECHNIKER

AASHTO

AMERCICAN ASSOCIATION OF STATE HIGHWAY AND TRANSPORTATION OFFITLALS

 

 


004

บทที่  2  รายละเอียดประกอบแบบงานสถาปัตยกรรม

27.       สารบัญ

มาตรฐานการก่อสร้าง                                                                                         ลขหน้า

            1.   งานก่อผนัง                                                                                        สถ – 02

            2.   งานฉาบปูน                                                                                        สถ – 06

            3.   งานไม้                                                                                              สถ – 10

            4.   งานโลหะ                                                                                          สถ – 15

            5.   งานระบบกันซึม                                                                                  สถ – 16

            6.   งานระบบป้องกันความร้อน                                                                    สถ – 19

            7.   งานหลังคา                                                                                        สถ – 20

            8.   งานกระเบื้องปูพื้น และผนัง                                                                    สถ – 22

            9.   งานหินขัด                                                                                         สถ – 24

            10.   งานทรายล้าง กรวดล้าง  และหินขัด                                                       สถ – 26

            11.   งานกระเบื้องยาง                                                                               สถ – 28

            12.   งานพรม                                                                                          สถ – 30

            13.   งานผิวคอนกรีตชนิดต่างๆ                                                                    สถ – 31

            14.   งานฝ้าเพดาน                                                                                   สถ – 33

            15.   งานผนังเบา                                                                                      สถ – 35

            16.   งานสุขภัณฑ์                                                                                    สถ – 36

            17.   งานสี                                                                                              สถ -37

            18.   งานประตู และหน้าต่าง                                                                        สถ – 42

            19.  งานอลูมิเนียม และกระจก                                                                    สถ – 47

            20.   งานผนังห้องน้ำสำเร็จรูป                                                                      สถ – 52

            21.   งานกำจัดปลวก                                                                                 สถ – 54

            22.   งานก่อสร้างติดตั้งแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูป                                           สถ – 56

รายการวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง                                                                           สถ – 60

 

บทที่  2  รายละเอียดประกอบแบบงานสถาปัตยกรรม
1.  งานก่อผนัง

1.

ขอบเขตของงาน

ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาแรงงาน วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ในการทำงานก่อผนังตามแบบ ก่อสร้างให้เสร็จเรียบร้อย

งานก่อผนัง หมายรวมถึง งานก่อวัสดุ ก่อผนังโดยรอบอาคาร ก่อผนังภายในอาคาร งานหล่อเสาเอ็น และคานทับหลัง คสล.  และงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้งานก่อผนังเป็นไปตามแบบ และรายการประกอบแบบ

2.

ข้อมูลทั่วไป

2.1

ผู้รับจ้างจะต้องส่งตัวอย่างวัสดุก่อนที่จะใช้ให้ผู้ควบคุมงานพิจารณาอนุมัติ จึงจะทำการสั่งเข้าบริเวณก่อสร้างได้

2.2

วัสดุก่อทุกชนิดจะต้องจัดวางเป็นระเบียบเรียบร้อย และมั่นคง การเก็บเรียงซ้อนกันควรสูงไม่เกิน  2  เมตร บริเวณที่เก็บจะต้องไม่มีสิ่งสกปรก หรือน้ำที่จะก่อให้เกิดตะไคร่น้ำ หรือราได้  ทั้งนี้  วัสดุก่อที่ม่สิ่งสกปรกจับแน่น หรืออินทรีย์วัตถุ  เช่น รา หรือ ตะไคร่น้ำจับจะนำไปใช้ก่อไม่ได้

2.3

ผู้รับจ้างจะต้องตรวจสอบให้แน่นอน ในการดำเนินการก่อผนังให้ถูกต้องตามชนิด ขนาด และความหนา  ระยะและแนวต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้ในแบบก่อสร้าง  และรายการประกอบแบบ

2.4

ผนังก่อจะต้องก่อชั้นวัสดุก่อ แต่ละชั้นให้มีรอยต่อของวัสดุสลับกัน  ยกเว้นในกรณีที่ ในแบบก่อสร้างได้ระบุไว้เป็นแบบอื่น

2.5

การก่อผนังจะต้องเป็นตามหลักวิชาช่าง ซึ่งจะต้องให้ช่างที่มีความชำนาญมาดำเนินการก่อผนัง หากผนังก่อไม่ได้คุณภาพ หรือไม่เรียบร้อย ผู้ควบคุมงานมีสิทธิ์สั่ง รื้อทุบได้ และผู้รับจ้างจะต้องดำเนินการก่อผนังใหม่ให้เรียบร้อย โดยค่าใช้จ่ายของผู้รับจ้างเอง

2.6

การทำความสะอาดเมื่อก่อผนังเสร็จเรียบร้อย ต้องทำความสะอาดผิวผนัง และแนวปูนก่อทั้ง  2  ด้านให้ปราศจากเศษปูนก่อเกาะติดผนัง เศษปูนที่ตกที่พื้นจะต้องเก็บกวาดทิ้งให้หมด  ให้เรียบร้อยทุกรั้งก่อนปูนแข็งตัว

3.

วัสดุ

3.1

ปูนซีเมนต์  ให้ปูนซีเมนต์ผสมเสร็จสำหรับงานก่อโดยเฉพาะ ซึ่งผสมน้ำสะอาด แล้วใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องผสมทราย หรือปูนซีเมนต์ สำหรับก่อ ผสมปูนขาว  ทราย  และ
น้ำ อัตราส่วนผสมตามมาตรฐานงานก่อ นำเสนอ  อนุมัติ

3.2

น้ำต้องใสสะอาด  ปราศจากน้ำมันกรด ต่างๆ เกลือ  พฤกษธาตุ  และสิ่งสกปรกเจือปน ห้ามใช้น้ำจาก คูคลองหรือ แล่งอื่นใดก่อนได้รับอนุญาติ  และน้ำที่ขุ่นจะต้องทำให้ใส 
และตกตะกอนเสียก่อนจึงจะนำมาใช้ได้

3.3

ทรายต้องเป็นซิลิก้า น้ำจืด แข็ง สะอาด ปราศจากสิ่งสกปรก จะต้องเป็นชนิดที่ระบุไว้ในตาราง และตามขนาดของปูนก่อ

3.4

ให้ใช้อิฐมอญที่หาได้ในท้องถิ่นแต่จะต้องได้ขนาด เผาสุกทั่วกันดี  แข็งแกร่ง ปราศจากรอยชำรุดใดๆ อันเป็นเหตุให้เสียกำลัง จะต้องมีขนาดสม่ำเสมอ ไม่บิดโค้ง และเป็นของใหม่

3.5

คอนกรีตบล็อก ชนิดโปร่ง กลวงและตัน จะต้องผลิตตามมาตรฐาน ASTM C-70,C-90,C-129 และ C-145 และจะต้องได้ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมโดยส่วนผสมของคอนกรีตมีส่วนคละของขนาดเม็ดกรวด หรือหินกับทรายได้อย่างสัมพันธ์กันดี และจะต้องมีกำลังอัดประลัยของคอนกรีต
(ULTIMATE COMPRESIVE STRESS)
ต้องได้ไม่น้อยกว่า 150 กก/ตร.ซม. ขนาดความกว้างยาวและส่วนสูงของก้อนคอนกรีตบล็อกจะมีส่วนผิดพลาดจากรายการที่กำหนดได้ไม่เกิน 3 มม.

3.6

ผนังโดยทั่วไปของอาคารให้ใช้ผนังอิฐบล็อก ยกเว้นผนังห้องน้ำและภายในห้องน้ำให้ใช้ผนังอิฐมอญ โดยที่ผนังหนา 100 มม.,150 มม.,200 มม. ให้ใช้อิฐบล็อกหนา
70 มม.,129 มม.,145 มม. ตามลำดับ

4.

 การก่อ

4.1

ผนังก่อบนพื้น คสล. ทุกแห่ง ผิวหน้าของพื้น คสล. จะต้องสกัดผิวให้ขรุขระแล้วทำความสะอาด และราดน้ำให้เปียกเสียก่อนที่จะก่อผนังและโดยเฉพาะการก่อผนังริมนอก
โดยรอบอาคาร และโดยรอบห้องน้ำจะต้องเทคอนกรีต กว้างเท่ากับผนังก่อ และสูงกว่าพื้น คสล. 10 ซม. ก่อนจึงก่อผนังทับได้เพื่อกันน้ำรั่วซึม

4.2

ผนังก่อชนเสา คสล. จะต้องสกัดผิวให้ขรุขระแล้วทำความสะอาด และราดน้ำให้เปียกเสียก่อนที่จะก่อผนัง และจะต้องใช้เหล็กเสริมขนาด RB 6 มม. X 30 ซม. @ 60 ซม.
เสริมยึดผนังคอนกรีตบล็อกกับโครงสร้าง คสล. ตลอดแนวผนังคอนกรีตบล็อกที่มาชน โดยวิธีเจาะโครงสร้าง คสล. ด้วยสว่านเจาะคอนกรีต แล้วฝั่งยึดเหล็กเสริม
RB 6มม.
ด้วย
EPOXY
หรือพุกเหล็กที่ใช้กับคอนกรีต

4.3

ห้ใช้คอนกรีตบล็อกในลักษณะแห้ง โดยไม่จำเป็นต้องนำไปแช่น้ำเสียก่อน เว้นแต่ว่าต้องการทำความสะอาดก้อนคอนกรีตบล็อกเท่านั้น ส่วนการก่อวัสดุก่อประเภทอิฐต่างๆ
ก่อนนำอิฐมาก่อต้องนำไปแช่น้ำให้เปียกเสียก่อน

4.4

การก่อผนังจะต้องได้แนว ได้ดิ่ง และได้ระดับ และต้องเรียบโดยการทิ้งดิ่ง และใช้เชือกดึงจับระดับทั้งสองแนวตลอดเวลา ผนังก่อที่ก่อเปิดเป็นช่องต่างๆ เช่น DUCT สำหรับ
ระบายปรับอากาศ หรือไฟฟ้าจะต้องเรียบร้อยมีขนาดตามระบุในแบบก่อสร้าง และจะต้องมีเสาเอ็น หรือทับหลังโดยรอบ

4.5

ปูนก่อสำหรับผนัง ให้ใช้ปูนซีเมนต์ผสมเสร็จสำหรับงานก่อสร้างผสมกับน้ำสะอาดตามคำแนะนำของผู้ผลิต การผสมให้ผสมด้วยเครื่อง นอกจากจะได้รับอนุมัติจากผู้ควบคุม
งาน การเติมน้ำผสมจะต้องไม่ทำให้ปูนก่อเหลวเกินไปปูนก่อจะต้องถูกผสมตลอดเวลา จนกวาจะนำมาใช้ ปูนก่อผสมแล้วเกินกว่า 1 ชม. ห้ามนำมาใช้

4.6

แนวปูนก่อจะต้องหนาประมาณ 1 ซม. และต้องใส่ปูนก่อให้เต็มรอยต่อโดยรอบแผ่นวัสดุก่อ การเรียงก่อต้องกดก้อนวัสดุก่อ และใช้เกรียงอัดปูนให้แน่นไม่ให้มีซอกมีรู ห้าม
ใช้ปูนก่อที่กำลังเริ่มแข็งตัว หรือเศษปูนก่อที่เหลือร่วงจากการก่อมาใช้ก่ออีก

4.7

การก่อผนังในช่วงเดียวกัน จะต้องก่อให้มีความสูงใกล้เคียงกัน ห้ามก่อผนังส่วนหนึ่งส่วนใดสูงกว่าส่วนที่เหลือเกินกว่า 1 เมตร และผนังก่อหากก่อไม่แล้วเสร็จในวันนั้น ส่วน
บนของผนังก่อที่ค้างไว้จะต้องหาสิ่งปกคลุมเพื่อป้องกันฝน

4.8

ผู้รับจ้างจะต้องทำช่องเตรียม ไว้ในขณะก่อสร้างส่วนงานของระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น ระบบไฟฟ้า ระบบสุขาภิบาล ระบบปรับอากาศ ฯลฯ การสกัด และการเจาะผนังก่อ
เพื่อติดตั้งระบบดังกล่าว จะต้องยื่นขออนุมัติจากผู้ควบคุมงานเสียก่อน เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงจะดำเนินการได้ ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการสกัดเจาะด้วยความประณีต และต้อง
ระมัดระวังมิให้ก่อผนังก่อบริเวณใกล้เคียงแตกร้าวเสียความแข็งแรงไป

4.9

ผนังก่อโชว์แนว การก่อจะต้องจัดก้อนวัสดุก่อให้ได้แนวดิ่ง และได้แนวระดับ ผิวหน้าเรียบได้ระดับอย่างสม่ำเสมอ โดยแนวปูนก่อต้องมีความกว้างไม่เกิน 15 มม. ยกเว้นจาก
ที่ระบุเป็นอย่างอื่น แล้วให้ใช้เครื่องมือขุดร่องรอยแนวปูนก่อให้ลึกเข้าไปประมาณ 5 มม.และผนังก่อโชว์แนว ภายนออาคารเมื่อปูนก่อแห้งแข็งตัวดีแล้วผู้รับจ้างจะต้องทิ้งให้
ผนังแห้งสนิท พร้อมทั้งทำความสะอาดผนังให้เรียบร้อยแล้วทาด้วยน้ำยาประเภท
SILICONE เพื่อกันซึม และป้องกันพวกราตะไคร่น้ำจับ

4.10

ผนังที่ก่อชนคาน คสล.  หรือพื้น คสล. จะต้องเว้นช่องไว้ประมาณ 10-20 ซม. เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 วัน เพื่อให้ปูนก่อแข็งตัว และทรุดตัวให้ได้ที่เสยก่อน จึงทำการก่อให้
ชนท้องคาน หรือท้องพื้นได้ ท้องคาน หรือท้องพื้น คสล. ที่จะก่อผนังอิฐชน จะต้องโผล่เหล็ก 6 มม. ยาว 20 ซม. ระยะห่างระหว่างเหล็ก 80 ซม. ตลอดความยาวของ
กำแพง

4.11

ผนังก่อที่ก่อใหม่ จะต้องไม่กระทบกระเทือน หรือรับน้ำหนักเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 วัน หลังจากก่อผนังเสร็จเรียบร้อยแล้ว

4.12

ที่มุมผนังก่อทุกมุมหรือที่ผนังก่อหยุดลอยๆ โดยไม่ติดเสา คสล. หรือตรงที่ผนังก่อติดกับวงกบประตูหน้าต่างจะต้องมีเสาเอ็น จะต้องไม่น้อยกว่าเหล็ก 10 ซม. และมีความ
กว้างเท่ากับผนังก่อ เสาเอ็น จะต้องเสริมด้วยเหล็ก 6 มม. และมีเหล็กปลอก 6 มม.
@ 20ซม.เหล็กเสริมเสาเอ็นจะต้องฝั่งลึกลงในพื้นและดามด้านบนโดยโผล่เหล็กเตรียม
ไว้ ผนังก่อที่กว้างเกินกว่า 3 เมตร จะต้องมีเสาเอ็นแบ่งครึ่งช่วงกว้างตลอดความสูงของผนังคอนกรีตที่ใช้เทเสาเอ็นจะต้องใช้ส่วนผสม 1:2:4
โดยปริมาตร ส่วนหินให้ใช้หิน
เล็ก

4.13

ผนังก่อที่ก่อสูงไม่ถึงท้องคานหรือพื้น คสล. หรือผนังที่ก่อชนใต้วงกบ หน้าต่าง หรือเหนือวงกบประตู หน้าต่างที่ก่อผนังทับด้านบน จะต้องมีคานทับหลัง และขนาดจะต้อง
ไม่เล็กกว่าเอ็นตามที่ระบุแล้ว  และผนังก่อที่สูงเกินกว่า
3 เมตร จะต้องมีคานทับหลัง  ระยะระหว่างทับหลังจะต้องไม่เกิน 3 เมตร  เหล็กเสริมคานทับหลังจะต้องต่อกับเหล็กที่
เสียบไว้ในเสา หรือเสาเอ็น คสล

บทที่  2  รายละเอียดประกอบแบบงานสถาปัตยกรรม
2.งานฉาบปูน

1.

ขอบเขตของงาน

ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาแรงงาน  วัสดุ  อุปกรณ์ และ สิ่งจำเป็นอื่น ๆ ในการทำงานฉาบปูนตามแบบก่อสร้างให้เสร็จเรียบร้อย

านฉาบปูน  หมายรวมถึง  งานฉาบปูนผนังวัสดุก่อทั้งหมด  ผนัง  คสล.  และงานฉาบปูนโครงสร้าง คสล.  เช่น  เสา  คาน  และท้องพื้นในส่วนที่มองเห็นด้วยตาทั้งหมด 
ยกเว้นฝ้าเพดานส่วนที่เป็นคอนกรีตสำเร็จรูป  และงานคอนกรีตเปลือย  หรือบริเวณที่ระบุได้เป็นอย่างอื่น

2.

ข้อกำหนดทั่วไป

2.1

การฉาบปูนทั้งหมด  เมื่อฉาบครั้งสุดท้ายเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ผนังจะต้องเรียบสะอาดสม่ำเสมอ  ไม่เป็นรอยคลื่นและรอยเกรียงได้ดิ่งได้ระดับทั้งแนวนอน  และแนวตั้ง มุม
ทุกมุมจะต้องตรง  ได้ดิ่ง และฉาก (เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นพิเศษในแบบรูป)

2.2

หากมิได้ระบุลักษณะการฉาบปูนเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง  ให้ถือว่าเป็นลักษณะ  การฉาบปูนเรียบทั้งหมด

2.3

ปูนฉาบให้ใช้ปูนซีเมนต์ผสมเสร็จ  ผสมกับน้ำตามคำแนะนำของผู้ผลิต

2.4

การผสมปูนฉาบ  จะต้องนำส่วนผสมรวมกันด้วยเครื่องผสมคอนกรีต  การผสมด้วยมือจะอนุมัติให้ได้ในกรณีที่ผู้ควบคุมงานพิจารณาเห็นว่าได้คุณภาพเทียบเท่าผสมด้วย
เครื่อง

2.5

ส่วนผสมของน้ำ  จะต้องพอเหมาะกับการฉาบปูน  ไม่เปียก  หรือแห้งเกินไป  ทำให้ปูนฉาบไม่ยึดเกาะผนัง

2.6

การซ่อมผิวปูนฉาบ  ผิวปูนฉาบที่แตกร้าว  หลุดร่อน  หรือปูนไม่จับกับผิวพื้นที่ที่ฉาบไป  จะต้องทำการซ่อม  โดยการเคาะสกัดปูนฉาบเดิมออกเป็นบริเวณกว้างไม่น้อยกว่า 
10  ซม.  และทำผิวให้ขรุขระ  ฉีดน้ำล้างให้สะอาด  แล้วฉาบปูนใหม่ตามข้อการฉาบปูนข้างต้น   ด้วยทรายที่มีขนาด  และคุณสมบัติเดียวกันกับผิวปูนเดิม  ผิวปูนที่ฉาบให้แล้วจะต้องเรียบสนิทเป็นเนื้อเดียวกับผิวปูนเดิม  ห้ามใช้ฟองน้ำชุบน้ำในการตกแต่งผิวปูนฉาบซ่อมนี้

3.

วัสดุ

3.1

ปูนซีเมนต์  ให้ใช้ปูนซีเมนต์ผสม สำหรับฉาบรองพื้น  และฉาบตกแต่งโดยเฉพาะ  ต้องเป็นปูนใหม่ไม่จับตัวเป็นก้อนบรรจุในถุงปิดสนิทเรียบร้อย

3.2

น้ำ  ต้องใสสะอาดปราศจากน้ำมันกรดต่าง ๆ  ด่าง  เกลือ  พฤกษธาตุ  และสิ่งสกปรกเจือปน  ห้ามใช้น้ำจาก คูคลอง  หรือแหล่งอื่นใดก่อนได้รับอนุญาต  และน้ำที่ขุ่นจะต้องทำให้ใส  และตกตะกอนเสียก่อน  จึงจะนำมาใช้

3.3

น้ำยากันซึมผสมปูนฉาบ ให้ใช้น้ำยากันซึมสำหรับปูนฉาบโดยเฉพาะในงานฉาบปูนผนังภายนอก อัตราส่วนผสมและวิธีใช้ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตทั้งนี้
ผลิตภัณฑ์จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้ควบคุมงานก่อน

3.4

เส้นเซาะร่อง P.V.C ต้องเป็นวัสดุคุณภาพเหมาะสมแก่การใช้งานโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาจากตัววัสดุกับงานฉาบผิวในระยะยาว

4.

การเตรียมผิวฉาบปูน

4.1

ผิว คสล. ที่จะฉาบให้ล้างผิวคอนกรีต และขจัดผงเศษวัสดุออกให้หมดก่อนน้ำมันทาไม้แบบในการเทคอนกรีต จะต้องขัดล้างออกให้สะอาดด้วยเช่นเดียวกัน
หลังจากนั้นจึงฉาบด้วยปูนซีเมนต์ผสมเสร็จชนิดสำหรับฉาบรองพื้นผิวคอนกรีตโดยเฉพาะ การผสมน้ำให้ผสมตามคำแนะนำของผู้ผลิต หลังจากนั้นจึงฉาบด้วยปูนฉาบแต่งผิวหน้าตามขั้นตอน

4.2

ผิววัสดุก่อ ผนังก่อวัสดุก่อต่างๆจะต้องทิ้งไว้ให้แห้ง และทรุดตัวจนคงที่แล้วเสียก่อน (อย่างน้อยหลังจากก่อผนังเสร็จแล้ว 3 วัน) จึงทำการสกัดเศษปูนออก
ทำความสะอาดผิวให้ปราศจากไขมันหรือน้ำมันต่างๆรวมถึงฝุ่น ผง

5.

การฉาบปูน

5.1

การฉาบปูน จะต้องตั้งเฟี้ยมทำระดับ จับเหลี่ยม เสาคาน ขอบ คสล.ต่างๆ ให้เรียบร้อยได้แนวดิ่ง และแนวระดับ ผนังและฝ้าเพดานควรจะทำระดับไว้เป็นจุดๆให้ทั่ว
เพื่อให้การฉาบปูนรวดเร็ว และเรียบร้อยขึ้น โดยใช้ปูนซีเมนต์ผสมเสร็จสำหรับงานจับเซี้ยมโดยเฉพาะ หรือใช้ปูนฉาบรองพื้นผิวคอนกรีตภายหลัง ปูนที่จับเซี้ยมทำระดับ
เสร็จเรียบร้อย และแห้งดีแล้วให้ราดน้ำ หรือฉีดน้ำ ให้บริเวณที่จะฉาบปูนเปียกโดยทั่วกัน แล้วจึงทำการฉาบปูน โดยผสมปูนฉาบตามอัตราส่วน และวิธีผสมตามที่กำหนดให้
แล้ว เมื่อฉาบปูนเสร็จแล้ว จะต้องบ่มปูนฉาบตลอด 24 ชม. และทิ้งไว้ให้แห้งก่อน 2 วัน การฉาบปูนผนังภายนอกของอาคารตรงผนังวัสดุก่อที่ผนังก่อต่อกับโครงสร้างคอนกรีต
ให้ป้องกันการแตกร้าวโดยใช้แผ่นตะแกรง ชนิด
GALVANIZED EXPANDED METAL LATH กว้างประมาณ 20 ซม ตอกตะปูยึดยาวตลอดแนวรอยต่อแล้วจึงทำการฉาบปูน
รองพื้นได้ (ดูรูปที่ 1 และ 2)

กรณีฉาบปูนผนังภายนอกและผนังภายในเหนือวงกบประตู และหน้าต่าง ให้ปูแผ่น GALVANIZED EXPANDED METAL LATH ขนาด 20 x 30 ซม. ตอกตะปูยึดตามมุมทุกมุม
ของประตูและหน้าต่าง แล้วจึงทำการฉาบปูนรองพื้นได้ (ดูรูปที่ 3, 4)

5.2

การฉาบปูนในลักษณะพื้นที่กว้าง การฉาบปูนตกแต่งบนพื้นที่ระนาบนอน เอียงลาด หรือระนาบตั้ง ซึ่งมีขนาดกว้างเกิน 9 ตารางเมตร หากในแบบ หรือรายละเอียด
มิได้ระบุให้มีแนวเส้นแย่งที่แสดงไว้อย่างชัดเจน ผู้รับจ้างจะต้องขอคำแนะนำจากผู้ควบคุมงานในการแบ่งเส้นปูนฉาบ หรือให้ใส่แผ่นตะแกรงชนิด
GALVANIZED EXPANDED
MATAL BEAD ช่วยยึดปูนฉาบตลอดแนว หากผู้รับจ้างมิได้ปฏิบัติตามในกรณีดังกล่าวข้างต้น ผู้ควบคุมงานอาจสั่งให้เคาะสกัดปูนฉาบนอก แล้วฉาบใหม่ โดยผู้รับจ้าง
จะต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายทั้งหมด ในกรณีที่ระบุให้ฉาบปูนขัดผิวมัน ให้ฉาบปูนตกแต่งปรัให้ได้ระดับตกแต่งผิวให้เรียบร้อยแล้ว ให้ใช้น้ำปูนข้น ๆ ทากโบกทับหน้าให้ทั่ว
ดผิวมันเรียบด้วยเกรียงเหล็ก ในกรณีที่ระบุให้ฉาบปูนผสมน้ำยากันซึม ปูนฉาบชั้นรองพื้น และปูนฉาบชั้นแต่ง จะต้องผสมน้ำยากันซึม ลงในส่วนผสมของปูนฉาบตามอัตราส่วน
และคำแนะนำของผู้ผลิตโดยเคร่งครัด

5.3

การฉาบปูนบนผนังให้เสมอกับผิวของบัวกระเบื้องเซรามิค

การฉาบปูนกรณีนี้ให้ฉาบปูนหนาอย่างน้อย 20 มม. โดยเมื่อติดตั้งบัวกระเบื้องเซรามิคแล้วผิวจะต้องเสมอกับปูนฉาบในกรณีที่จำเป็นต้องฉาบหนากว่า 20 มม. ให้ปู GALVANIZED METAL LATH เพื่อเสริมความแข็งแรงให้ปูนฉาบ ฉาบ ครั้งที่ 1 หนาประมาณ 10 มม. ขูดผิวแล้วจึงปู METAL LATH ให้ทั่วบริเวณยึดตปู หลังจากนั้นจึงฉาบเที่ยวที่ 2 และฉาบตกแต่งจนได้ระดับที่ต้องการแต่ต้องหนาไม่เกิน 25 มม.

5.4

เส้นเซาะร่อง

วัสดุที่ใช้จัดทำเส้นเซาะร่อง ให้เป็น P.V.C กว้าง 2 ซม. สำหรับงานเซาะร่องภายนอกอาคาร และกว้าง 1.5 ซม. สำหรับงานเซาะร่องภายในอาคาร

ในกรณีที่แบบไม่ได้แสดงเส้นเซาะร่อง ให้ถือว่ามีงานเซาะร่องในผนังปูนฉาบเสมอ โดยผู้รับจ้างทำแบบเสนออนุมัติแนวทางในการแบ่งเส้นเซาะร่อง

-          แบ่งพื้นที่เซาะร่องให้เป็นพื้นที่ย่อยประมาณ 12 – 15 เมตร

-          แบ่งพื้นที่เซาะร่องตามแนวยาวเป็นช่วง ๆ ประมาณ 4 – 6 เมตร

-          แบ่งพื้นที่บริเวณที่มีโครงสร้างติดกัน เช่น เสากับคานบรรจบกัน หรือ คาน เสา กับผนังก่อ

บทที่  2  รายละเอียดประกอบแบบงานสถาปัตยกรรม
3. งานไม้

1.

ขอบเขตของงาน

ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาแรงงาน วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งที่จำเป็นอื่น ๆ ในการก่อสร้างงานไม้ ตามที่ปรากฏในแบบก่อสร้าง จนเสร็จเรียบร้อย

งานในหมวดนี้ รวมถึงงานไม้โครงสร้าง และงานไม้ประกอบตกแต่งต่าง ๆ งานช่างไม้ งานโลหะประกอบต่าง ๆ งานติดตั้งประตู – หน้าต่าง คร่าว ผนัง เพดาน คิ้วไม้ และบัวต่าง ๆ ตลอดจนถึงแผ่น LAMINATE ประเภทฟอร์ไมก้า

ดังที่ปรากฏในแบบก่อสร้าง และแบบขยายรายละเอียดที่อาจมีเพิ่มเติมจากผู้ออกแบบ

2.

ข้อกำหนดทั่วไป

2.1

คุณสมบัติไม้ ต้องเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีคุณภาพดี เป็นไม้ที่ไม่มีตำหนิไม่มีตาไม้ หรือกระพี้ ไม่มีโพรง รอยแตกร้าว ไม่บิดงอ และข้อบกพร่องอื่น ๆ ต้องเป็นไม้ ที่ผ่านการอบ และผึ่งแห้งดีแล้ว ไม้ที่มีความชื้นเกิน 18 % ห้ามนำมาใช้ในงานถาวรหากมีการยืดหดภายหลัง ผู้รับจ้างจะต้องแก้ไขและรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด

2.2

ไม้ทุกชิ้นที่มองเห็นด้วยตา จะต้องไสและตกแต่งให้เรียบร้อย นอกจากจะระบุเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ผู้รับจ้างจะต้องแสดงตัวอย่างที่ทาย้อมสีเสี้ยน หรือทาแลคเกอร์
ต่อผู้ควบคุมงานก่อนทำงาน

2.3

ไม้ที่นำมาใช้ทำวงกบ กรอบบานประตู หน้าต่าง หรือไม้ประดับตกแต่ง จะต้องไสให้เรียบร้อยทุกด้าน และขัดด้วยกระดาษทราย

2.4

ถ้าหากว่าแบบแผนผัง รายละเอียดไม่ได้ระบุประเภทเนื้อแข็งให้ใช้แล้ว ไม้เนื้อแข็งที่นำมาใช้จะต้องมีคุณสมภาพไม่ต่ำกว่าไม้ตะเคียนทอง

2.5

ไม้ที่ใช้เป็นส่วนประกอบทั่วไป ซึ่งมิใช่ไม้สำหรับโครงสร้างหลัก อาทิเช่น ไม้สำหรับทำคร่าวผนัง ถ้าแบบ และรายการ มิได้ระบุไว้เป็นไม้เนื้อแข็งแล้วให้ใช้ไม้เนื้ออ่อนได้

2.6

ขนาดของไม้ที่ใช้สำหรับก่อสร้างทั้งหมด (ยกเว้นไม้สัก เมื่อได้ตกแต่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะต้องมีขนาดเต็มามที่ระบุไว้ในแบบ) ยอมให้เสียเนื้อไม้เป็นคลองแลคเกอร์ และเมื่อไสตกแต่งเรียบร้อย พร้อมที่จะประกอบเข้าเป็นส่วนของอาคารแล้ว อนุญาตให้ขนาดไม้ลดลงได้ไม่เกินจากขนาดที่จะได้ระบุต่อไป การหดตัวของไม้ จะต้องไม่ทำให้การรับแรงและรูปโฉมเปลี่ยนแปลง และไม่เป็นผลเสียต่อวัสดุที่อยู่ติดกัน

ไม้ขนาด                 1/2”      ไสตกแต่งแล้วเหลือไม่น้อยกว่า    3/8”

     “                        1”                     “           “                 7/8”

     “                    1 1/2"                   “           “                 1 3/8”

     “                      2”                       “          “                1 7/8”

ไม้ขนาด                 3”     ไสตกแต่งแล้ว หรือไม่ต่ำกว่า        2”    3/4”

      “                      4”                    “                            3”    5/8”

      “                      5”                    “                            4”    5/8”

      “                      6”                    “                            5”    5/8”

      “                      8”                    “                            7”    1/2”

      “                      10”                   “                           9”    1/2” 

      “                      12”                   “                           11”   1/2”

2.7

 ในกรณีที่ขนาดของไม้ระบุเป็นหน่วยมิลลิเมตร,เซนติเมตร   หรือเมตร  ให้ถือเป็นขนาดหลังจากการไสตกแต่งแล้ว

2.8

การเก็บไม้  ผู้รับจ้างจะต้องสร้างโรงเก็บไม้ หรือจัดหาที่เก็บ  ซึ่งสามารถป้องกันแดด น้ำ น้ำฝน ความชื้น และปลวกได้เป็นอย่างดี    ควรอยู่ในที่โปร่ง  ลมพัดผ่านได้  และสามารถนำไม้เข้าเก็บได้ทันทีที่นำมาถึงบริเวณก่อสร้าง

2.9

การเตรียมงานไม้ ผู้รับจ้างจะต้องทำบังลิ้นร่องต่างๆ  ที่จำเป็นสำหรับเข้าไม้ไว้ให้เรียบร้อย  ตลอดจนจัดเตรียมเหล็กประกบ  สกรู  ตะปู และอื่นๆ  เพื่อให้ใช้ประกอบ  และอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้  หากติดตั้งแล้วสามารถเห็นด้วยตา     จะต้องจัดจังหวะให้แลดูเรียบร้อย ทั้งนี้ โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้ควบคุมงานก่อนติดตั้ง

2.10

ในกรณีที่ไม่ได้ใช้ไม้อัดน้ำยาจากโรงงาน  การป้องกัน และรักษาเนื้อไม้  ไม้โครงเคร่าผนัง และฝ้าเพดานที่กำหนดให้ใช้เป็นไม้เนื้ออ่อนเท่านั้น  ไม้จะต้องได้รับการป้องกัน และรักษาเนื้อไม้จากปลวก และมอด  แมลงต่างๆ ตามกรรมวิธีที่ผู้ควบคุมงานเห็นชอบ

2.11

ไม้สำหรับทำคร่าวผนัง หรือ คร่าวฝ้าเพดาน จะต้องไสเรียบมาจากโรงงานทั้งหมด   ห้ามใช้เศษไม้ที่ใช้ประกอบแบบเทคอนกรีตมาใช้ทำคร่าวผนัง หรือคร่าวฝ้าเพดานเป็นอันขาด

2.12

ผู้ควบคุมงานมีสิทธิ์ ที่จะนำไม้ตัวอย่างไม้ไปทำการทดสอบ เพื่อให้ได้มาตรฐานที่ระบุ โดยค่าใช้จ่ายเป็นของผู้รับจ้างทั้งสิ้น

2.13

  หากมิได้ระบุในแบบ และหรือบทกำหนดนี้ รายละเดียดต่างๆ เกี่ยวกับงานไม้ให้เป็นไปตามมาตรฐานสำหรับอาคารไม้ ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย

3.

งานไม้

 

 

3.1

ในแบบก่อสร้าง  และรายการประกอบแบบ   หากมิได้ระบุชนิดของไม้ไว้เป็นพิเศษ  หรือบอกแค่เพียงว่าเป็น   ไม้เนื้อแข็งอนุญาตให้ใช้ได้ดังนี้  ( ยกเว้นไม้สำหรับทำวงกบ  ถ้าไม่ได้ระบุไว้ในแบบก่อสร้าง  หรือรายการประกอบแบบให้ใช้ไม้ตะเคียนทอง )
 

 

มะค่าโมง 

มะค่าแต้     

ไม้พลวง

ไม้แดง  

ไม้ประดู่ 

ไม้เต็ง

ไม้รัง   

ไม้เคียน 

ไม้ยมหิน

ตะเคียนทอง      

ตะครัวไข     

ตะกร้อหนาม

กันเกรา 

ตะปูนคำ 

มะเกลือเดือด

เสียงมัน   

เสลา

หลุดพอ

สักขี้ควาย  

ไม้แอ๊ก

 

 

 

 

 

3.2

ไม้เนื้ออ่อนให้ใช้    ไม้ยาง  กระบาก  พลวง  กราด   และไม้ตะเคียนทราย  ส่วนคร่าวเพดาน ถ้าแบบและรายการมิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่นแล้ว ให้ใช้ไม้ตะเคียนทรายแทน

3.3

ไม้อัดชนิดต่างๆ ถ้ามิได้ระบุไว้ในแบบก่อสร้าง   หรือที่อื่นใด   จะต้องใช้ไม้อัดที่ผลิตได้ตามมาตฐานมอก.  178-2519   รวมทั้งจะต้องได้ความหนา และชนิดของเนื้อไม้ด้านนอก ตามที่ระบุไว้

3.4

ซิปบอร์ด จะต้องผลิตจากไม้ธรรมชาติที่ผ่านการย่อยเป็นไม้ชิ้นเล็กๆ ผสมกับกาววิทยาศาสตร์ แล้วอัดทางตั้งให้เป็นแผ่นด้วยแรงอัดจากเครื่องอัด  และด้วยความร้อนสูง ขนาดและชนิดของเนื้อไม้ด้านนอก ใช้ตามที่ระบุไว้ในแบบก่อสร้าง

3.5

ประตูไม้อัด จะต้องเสริมภายในด้วยไม้เนื้อแข็ง โดยเป็นไปตามมาตรฐานของ มอก. 192-2519 และ จะต้องใช้ตามขนาดความหนา และชนิดของเนื้อไม้ด้านนอกตามที่ระบุในแบบก่อสร้าง

3.6

แผ่น LAMINATE ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ของ FORMICA  หรือ  PERSTOP หรือ  WILSONART หรือ เทียบเท่าความหนาไม่ต่ำกว่า 1.0 มม. สีเลือกโดยสถาปนิก

3.7

งานโลหะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานไม้

 

-การยึดเครื่องทองเหลือง ตะปูควง ตะปูเกลียว  สลัก  น๊อต และเครื่องยึดต่างๆ ที่มิได้ระบุในแบบก่อสร้างหรือรายการประกอบแบบ  แต่เพื่อความมั่นคงแข็งแรง ผู้รับจ้างจะต้องจัดหา  และติดตั้งเพื่อให้แข็งแรงเรียบร้อย 

 

-การยึดด้วยตะปูหรือตะปูควง ความยาวของตะปูที่ใช้ต้องไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของความกว้างโครงเคร่าที่ยึดและตะปูควงที่ใช้ขันยึดทุกตัว จะต้องใช้เป็นชนิด STAINLESS STEEL ในส่วนที่มองเห็น

 

-การเจาะรูสำหรับตะปูควงสลักเกลียวหรือตอกตะปูเพื่อมิให้ไม้แตก ขนาดของรูที่เจาะ  ต้องเล็กกว่าขนาดตะปูที่ใช้

 

-การยึดด้วยตัวน๊อต  ให้เจาะรูโตกว่าขนาดน๊อตไม่เกิน 10 %  น๊อตทุกตัวจะต้องมีแหวนมาตรฐาน หรือ แหวนสลัก (SPLIT  RING) รองใต้แป้นเกลียวทุกตัว และน๊อตที่ใช้ในส่วนภายนอกอาคารทั้งหมด  รวมทั้ง ส่วนภายในที่สามารถมองเห็นจะต้องใช้เป็น STAINLESS STEEL

 

-โลหะอื่นๆ ที่ใช้ประกอบในงานก่อสร้าง สำหรับงานไม้ เช่น ตะปู ควง น๊อต เหล็กฉาก ฯลฯ จะต้องเป็นของใหม่ทั้งหมด และมีคุณภาพได้มาตรฐาน
 

4.

การประกอบ และการติดตั้ง

4.1

การประกอบ และการต่อไม้ เข้าไม้ จะต้องใช้ช่างที่มีฝีมือ และความชำนาญโดยเฉพาะซึ่งการประกอบการต่อ และการเข้าไม้ จะต้องได้แน่นสนิทเต็มหน้าที่ประกบกันอย่างเรียบร้อย ตรงรอยต่อติองยึดให้แน่น แข็งแรงได้ฉาก หรือได้แนวทุกชนิด

4.2

การต่อไม้โดยทั่วไป ไม่อนุญาตให้ต่อไม้ เว้นแต่มีความจำเป็น ซึ่งต้องได้ขออนุมัติจากผู้ควบคุมงานแบบแล้ว โดยผู้รับจ้างต้องทำอย่างประณีต และคำนึงถึงความสวยงามด้วย และอย่าต่อไม้ในตำแหน่งที่เห็นว่าเป็นจุดอันตราย แม้ว่าการต่อไม้จะทำได้ดีก็ตาม การยึดสลัก ตลอดจนการใช้แหวนรอง ควรมีความหนาแน่นถาวรมั่นคงทุกตำแหน่ง

4.3

บัวเชิงผนัง จะต้องไสปรับ แต่งให้เรียบ ตามชนิด และขนาดที่ระบุในแบบก่อสร้าง และจะต้องรอให้งานปูวัสดุผิวพื้นเสร็จเรียบร้อย จึงดำเนินการติดตั้งได้

4.4

การประกอบไม้วงกบ ให้ใช้วิธีประกอบเดือยเข้ามุม 45 องศา และยึดด้วยตะปูควง การติดตั้งวงกบไม้ จะต้องได้ฉาก และดิ่ง จะต้องมีการป้องกันไม่ให้มุมของวงกบไม้บิ่น หรือเกิดเสี้ยน

4.5

การติดตั้งฝ้าเพดานบนโครงคร่าวไม้ ไม้คร่าว จะต้องไสเรียบจากโรงงาน ขนาด และระยะตามระบุในแบบ ในกรณีที่ไม่ได้ระบุไว้แน่นอนในแบบ ให้ติดตั้งโครงเคร่าไม้ระยะ 60 x 60 ซม. สำหรับฝ้าเพดานที่เป็นแผ่น เช่น กระเบื้อกระดาษ หรือยิปซั่มบอร์ด และระยะ 50 ซม. สำหรับฝ้าเพดานไม้กระดาน โครงเคร่าเพดานที่ติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว  จะต้องได้ระดับ ได้แนว และยึดติดกับโครงสร้างของอาคารให้แข็งแรง ไม้ หรือเหล็กที่ห้อยจากโครงสร้างอาคาร  เพื่อรับโครงเคร่าเพดาน  จะต้องได้แนวได้ดิ่ง เป็นระเบียบ เพื่อความสะดวกในการติดตั้งของระบบอื่นๆ ที่อยู่เหนือฝ้าเพดาน

4.6

การติดตั้งงานไม้อัด  เคร่าฝาสำหรับติดตั้งไม้อัด จะต้องไสเรียบจากโรงงาน ขนาด และระยะของเคร่าตามระบุในแบบก่อสร้าง ในกรณีที่ไม่ได้ระบุแน่นอนในแบบ  ให้ใช้เคร่าขนาด 1 ½” x 3” ระยะ 40 x 40 ซม. สำหรับฝาไม้อัดหนาไม่ถึง 6 มม. และระยะ 60 x 60 ซม. สำหรับฝากไม้อัดหนาตั้งแต่ 6 มม. ขึ้นไป ตะปูสำหรับยึดไม้อัดกับไม้เคร่า จะต้องฝังหัวตะปูให้เรียบร้อย ฝาไม้อัดที่ติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะต้องแข็งแรง ได้ดิ่ง ได้ฉาก และระดับรอยต่อระหว่างแผ่นจะต้องเรียบร้อย

4.7

การติดตั้งประตู – หน้าต่าง เข้าในวงกบ ต้องใช้ช่างผู้ชำนาญงานในการติดตั้งโดยเฉพาะ เมื่อเรียบร้อยแล้ว จะต้องปิดเปิดได้สะดวก ไม่มีการติดขัด หรือเสียดสีกัน เมื่อปิดจะต้องสนิทสามารถกันลม และฝนเป็นอย่างดี

4.8

หัวตะปูทั้งหมด จะต้องฝัง และอุดให้เรียบร้อย รวมทั้งผิวไม้ต่าง ๆ ทั้งหมด จะต้องขัดด้วยกระดาษทรายอุดรูตำนิ หรือยาแนวแล้วขัดให้เรียบร้อย ก่อนทำการทาสีตามที่ได้ระบุไว้

4.9

การประกอบ การเข้าไม้ การติดตั้งการยึดของโครงสร้าง ไม้ต่าง รอยต่อต่างๆ ของไม้ ถ้ามิได้ระบุในแบบก่อสร้าง ผู้รับจ้างจะต้องปฏิบัติตามหลักการช่างที่ดี และจัดทำ SHOP DRAWING เสนอผู้ควบคุมงานเพื่อพิจารณาอนุมัติก่อนดำเนินงาน

4.10

การยึดด้วยน๊อต หรือสลักเกลียว การเจาะรู จะต้องเจาะให้พอดีสำหรับ การตอกน๊อต หรือสลักเกลียวเข้าได้โดยง่าย ตามขนาดของน๊อต และสลักเกลียวที่ระบุในแบบก่อสร้าง ทั้งนี้จะต้องมีแหวนมาตรฐานของน๊อต หรือสลักเกลียวอยู่ใต้แป้นเกลียวทุกๆ ตัว
 

5

การเก็บ และการส่งตัวอย่างไม้เพื่อทดสอบ

5.1

ผู้รับจ้างจะต้องส่งตัวอย่างไม้แต่ละชนิดที่จะนำมาใช้จำนวนอย่างน้อยชนิดละ 3 ท่อนแต่ละท่อนยาวไม่น้อยกว่า 50 ซม. การเก็บตัวอย่างไม้จะต้องเก็บต่อหน้าผู้ควบคุมงานของผู้ว่าจ้างแล้วนำส่งเพื่อทดสอบคุณภาพ ขนาดของตัวอย่างไม้ให้เป็นไปตามมาตรฐานการทดสอบคุณภาพไม้

5.2

การส่งตัวอย่างไม้เพื่อทดสอบคุณภาพนั้น ผู้รับจ้างจะต้องส่งมาให้แต่เนิ่นๆ การเริ่มงานไม้นั้น เมื่อได้รับความเห็นชอบอนุญาตให้ใช้ไม้นั้นๆ ได้แล้วจึงจะดำเนินการต่อไปได้ หากผู้รับจ้างได้ดำเนินการไปก่อนที่จะรู้ผลการทดสอบคุณภาพไม้ และปรากฏผลการทดลองคุณภาพไม้ภายหลังว่าไม่ได้คุณภาพตามกำหนดแล้ว ผู้รับจ้างจะต้องรื้อไม้ส่วนนั้นๆ ที่ได้ทำงานไปแล้วออกทั้งหมด และใช้ไม้ที่มีคุณภาพถูกต้องตามข้อกำหนดมาดำเนินการใหม่ ค่าเสียหายต่างๆ ที่บังเกิดขึ้นเนื่องจากเหตุดังกล่าวนั้น ผู้รับจ้างจะเรียกร้องเอาจรากผู้ว่าจ้างไม่ได้

 

 

บทที่  2  รายละเอียดประกอบแบบงานสถาปัตยกรรม
4. งานโลหะ

 

 

1.

ขอบเขตของงาน

ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาแรงงาน, วัสดุ, อุปกรณ์ และสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ในการทำการก่อสร้างงานโลหะตามแบบก่อสร้างจนเสร็จเรียบร้อย

งานโลหะในที่นี้ หมายถึง งานโลหะทั้งหมดนอกเหนือจาก  งานเหล็กโครงสร้าง เหล็กโครงหลังคา เหล็กเสริมคอนกรีต และงานอลูมิเนียม  งานเหล็กโครงสร้างและเหล็กเสริมคอนกรีต  ให้ดูในรายละเอียดประกอบแบบงานโครงสร้าง  งานอลูมิเนียมให้ดูในหมวดงานอลูมิเนียมและกระจก
 

2.

ข้อกำหนดทั่วไป

2.1

ผู้รับจ้างจะต้องจัดทำแบบขยาย และ  SHOP DRAWING   ของงานโลหะทั้งหมดที่ระบุในแบบก่อสร้าง  ให้ผู้ควบคุมงานตรวจอนุมัติก่อนจึงจะทำการก่อสร้างได้  แบบขยายเหล่านี้จะต้องแสดงขนาด จุดเชื่อม  และระยะต่างๆโดยละเอียด

2.2

งานโลหะทุกชนิดที่จะนำมาติดตั้ง  จะต้องส่งตัวอย่างให้ผู้ควบคุมงานอนุมัติเสียก่อนภายหลังจากได้รับอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจึงทำการติดตั้งได้

2.3

วัสดุที่เป็นเหล็กทั้งหมด  จะต้องล้างให้สะอาดปราศจากสนิมรอยต่อ  และรอยเชื่อมต่างๆ  จะต้องจัดตกแต่งให้เรียบร้อย และทาสีกันสนิม  ตามที่ระบุในหมวดงานสีก่อนจึงทาสีทับหน้าได้
 

3.

 วัสดุ

3.1

เหล็กทั่วไป เช่น เหล็กฉาก เหล็ก PLATE  ให้ใช้เหล็กรีดเย็นตามมาตรฐาน  BS 2994

 

 

4.

การประกอบ และติดตั้ง

4.1

งานโลหะทั้งหมด  จะต้องมีขนาด  และรูปร่างตามระบุในแบบขยาย  การตัดเชื่อมจะต้องเรียบร้อยได้ฉากได้แนวและระดับ  รอยต่อต่างๆ  จะต้องเรียบร้อย และสนิทด้วยการยึดด้วยน๊อตสกรูทุกแห่ง จะต้องใส่แหวนรองรับ  และขันสกรูจนแน่น

4.2

การทำราวกันตก  ให้ผู้รับจ้างประกอบชิ้นส่วนราวกันตกเป็นชุดๆ  ในโรงงานให้มากที่สุด  เพื่อง่ายต่อการควบคุมคุณภาพหลังจากนั้นจึงนำมาประกอบติดตั้ง  ณ  สถานที่ก่อสร้างในลักษณะเป็น MODULE

4.3

ในกรณีของเหล็ก  GALVANIZED  หลังจากเคลือบแล้ว  หากไม่จำเป็นไม่ควรตัด  เชื่อม หรือเจาะ  ในกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  ให้หาจุดที่มีการตัดเชื่อม  หรือเจาะด้วยสาร  EXPANDITE  GALVAFROID SB หรือสารเคลือบ  อื่นที่ได้รับอนุมัติจากผู้ควบคุมงาน

 

 

บทที่  2  รายละเอียดประกอบแบบงานสถาปัตยกรรม
5.
งานระบบกันซึม

 

 

1.

 ขอบเขตของงาน

ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาแรงงาน, วัสดุ,  อุปกรณ์  และสิ่งจำเป็นอื่นๆ  ในการก่อสร้างระบบกันซึม ตามที่ได้ระบุในรายละเอียดนี้จนเสร็จ

งานระบบกันซึม  หมายรวมถึง  งานในส่วนหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็ก  ส่วนใต้ดิน  ติดดิน  ถังเก็บน้ำ  และบ่อบำบัดน้ำเสีย  ตามที่ปรากฏในแบบก่อสร้าง
 

2.

วัสดุ  แบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้

2.1

น้ำยากันซึมชนิดผสมคอนกรีต ( WATERPROOFING  ADMIXTURE )

2.2

แผนกันน้ำ (  WATER  STOP )

2.3

น้ำยากันซึมชนิดผสมปูนฉาบ  และปูนทรายปรับระดับ

2.4

น้ำยากันซึมชนิดพ่นผิวคอนกรีต  เพื่อทำปฏิกิริยาเคมี

2.5

ระบบกันความชื้นสำหรับพื้นติดดิน  หรือพื้นชั้นที่ 1

 

 

3.

น้ำยากันซึมชนิดผสมคอนกรีต

3.1

วัสดุที่ใช้จะต้องเป็นสารผสมในคอนกรีต  เพื่อป้องกันการซึมผ่านของน้ำ  มีคุณภาพถูกต้องตามมาตรฐาน ASTM C 494 TYPE A

3.2

ส่วนของอาคาร หรือโครงสร้าง ที่ต้องผสมน้ำยากันซึม มีดังนี้คือ

1.

พื้น และผนังคอนกรีตส่วนที่อยู่ต่ำกว่าระดับดิน  และทีอยู่ติดดิน

2.

ถังเก็บน้ำ ค.ส.ล. ที่อยู่ใต้ระดับดิน

3.

พื้น และผนังสระน้ำ

3.3

การก่อสร้าง

1.

การผสมน้ำยากันซึม  ให้ปฏิบัติตามบริษัทผู้ผลิตจำหน่ายทุกประการ

2.

การเทคอนกรีตส่วนที่ต้องการป้องกันการซึมผ่านของน้ำ  จะต้องต่อเนื่องเป็นเนื้อ  เดียวกันตลอดในกรณีที่มีความจำเป็นต้องหยุดการเทคอนกรีต  จะต้องเตรียม  CONSTRUCTION  JOINT ที่กันน้ำได้ที่จุดนั้นโดยได้รับอนุมัติจากผู้ควบคุมงาน
 

4.

แผ่นกันน้ำ ( WATER  STOP )

4.1

ให้ใช้ฝังในคอนกรีต ขนาดความกว้างของแผ่นที่ใช้  ให้เหมาะสมกับความหนาของคอนกรีตตามคำแนะนำของผู้ควบคุมงาน

4.2

ลักษณะการใช้ในส่วนที่ต้องทำการกันซึม ด้วยแผ่นกันน้ำ

1.

ทุกตำแหน่งที่มีการหยุดงานคอนกรีต

2.

รอยต่อระหว่างพื้น และผนัง

3.

ตามคำสั่งของสถาปนิก วิศวกร หรือผู้ควบคุมงาน

4.3

แผ่นกันน้ำที่ใช้มี 2 ประเภท คือ ชนิดสำหรับงานคอนกรีตใต้ดิน และติดดินให้ใช้ UA PVC ของ UNION ASSOCATES และชนิดสำหรับงานหลังคา สระน้ำ และรางน้ำ ให้ใช้ WATERSTOP RX ของ RADCON
 

5.

น้ำยากันซึมชนิดผสมปูนฉาบ และปูนปรับระดับพื้น

5.1

บริเวณที่จะต้องผสมน้ำยากันซึมชนิดนี้ ได้แก่ ปูนฉาบ และปูนปรับระดับสำหรับพื้นห้องน้ำ ผนังห้องน้ำ ผนังภายนอกทั้งหมด พื้น / ผนัง คสล เพื่ออยู่ใต้ระดับดิน พื้นเฉลียง พื้นทางเดินมีหลังคาคลุมให้ลักษณะกึ่งกลางแจ้ง (SEMI – OUTDOOR)

5.2

การผสมน้ำยากันซึม ให้ผสมตามคำแนะนำของผู้ผลิต

 

 

6.

 น้ำยากันซึมชนิดพ่นผิวคอนกรีตเพื่อทำปฏิกิริยาเคมี

6.1

ส่วนของโครงสร้าง หรืออาคารที่ต้องพ่นน้ำยากันซึมชนิดนี้ได้แก่

1.

หลังคา และรางน้ำ คสล ทั้งหมด

2.

ถังเก็บน้ำ คสล. ที่อยู่เหนือระดับดิน

3.

พื้น และผนัง คสล.

6.2

การพ่นน้ำยาให้ดำเนินการตามกรรมวิธีของผู้ผลิต ทั้งนี้ก่อนพ่นจะต้องทำความสะอาดและซ่อมแซมพื้นผิวคอนกรีตให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดโดยผู้ผลิต

 

 

7.

ระบบกันความชื้นสำหรับพื้นของอาคารที่ติดดิน หรือพื้นชั้นที่ 1

7.1

บริเวณที่ต้องดำเนินการตามระบบนี้ ได้แก่ พื้น คสล. ชั้นล่างของอาคาร ส่วนที่อยู่บนโครงสร้างทั้งหมด ยกเว้นถนน หรือทางเท้าที่ไม่มีหลังคาคลุม

7.2

ก่อนเทพื้น คสล. ให้ดำเนินการโดยถมทรายอัดแน่น โรยหินย่อยขนาด 1 นิ้ว หนาประมาณ 5 ซม. ปูแผ่นพลาสติก POLY ETHYLENE หนา 0.25 มม. ให้ทั่วทั้งบริเวณ แล้วจึงเทคอนกรีตหยาบหนาประมาณ 5 ซม. เพื่อทำหน้าที่เป็น FORMWORK ส่วนรับพื้น คสล.

7.3

พื้น คสล. ให้ผสมน้ำยากันซึมตามที่ระบุในข้อ 3 ข้างต้น

7.4

ในกรณีที่ใช้พื้นสำเร็จรูป PRECAST CONCRETE ให้ดำเนินการโดยเว้นช่องว่างระหว่างพื้น และดินถมประมาณ 60 ซม.

 

 

8.

การรับประกันสำหรับระบบกันซึม

สำหรับระบบกันซึมในข้อ 3. ข้อ 5 และข้อ 6 ผู้รับจ้างจะต้องส่งมอบเอกสารแสดงการรับประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี ประกอบการส่งมอบงานขั้นสุดท้าย

 

 

บทที่  2  รายละเอียดประกอบแบบงานสถาปัตยกรรม
 
6.       งานระบบป้องกันความร้อน

 

 

1.

 ขอบเขตของงาน

ติดตั้งฉนวนป้องกันความร้อนได้แก่

1.1

ใต้พื้นหลังคาคอนกรีต ที่กั้นเป็นห้องใช้สอย

ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาแรงงาน, วัสดุ, อุปกรณ์ และสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ในการติดตั้งระบบป้องกันความร้อนตามที่ระบุในรายละเอียดนี้จนเสร็จเรียบร้อย
 

2.

  วัสดุ

2.1

หลังคาคอนกรีต ให้พ่นด้วยฉนวนเซลปิด RIGID POLYURETHANE FOAM หนา 1” ความหนาแน่น 35 – 40 kg/m3 และมีคุณสมบัติไม่ติดไฟ ตามมาตรฐาน DIN 4102

 

 

3.

การติดตั้ง

3.1

ตามมาตรฐานของผู้ผลิตและผู้ติดตั้ง โดยให้นำเสนอวิธีการ การติดตั้ง เพื่อขออนุมัติก่อนลงมือดำเนินการ

บทที่  2  รายละเอียดประกอบแบบงานสถาปัตยกรรม
7. งานหลังคา

1.

ขอบเขตของงาน

ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาแรงงาน, วัสดุ, อุปกรณ์ และสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ในการติดตั้งงานหลังคา ตามแบบก่อสร้างจนเสร็จเรียบร้อย
งานหลังคา หมายรวมถึง งานดังต่อไปนี้
1.1   งานหลังคา และรางน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมด
1.2   งานหลังคา METAL SHEET
1.3   งานรางน้ำอื่น ๆ ทั้งหมด

2.

 ข้อกำหนดทั่วไป
2.1  
ผู้รับจ้างจะต้องจัดส่งตัวอย่างวัสดุงานหลังคาเสนอให้ผุ้ควบคุมงานอนุมัติก่อน การสั่งซื้อ และการลงมือก่อสร้าง
2.2  ผู้รับจ้างจะต้องจัดทำ SHOT DRAWING แสดงรายละเอียด และวีการติดตั้งงานหลังคาทุกประเภท ให้ผู้ควบคุมงานอนุมัติก่อนลงมือก่อสร้าง
2.3   SHOP DRAWING ให้รวมถึงรายละเอียดช่องเปิดทุกชนิดบนหลังคา สำหรับงานระบบอื่นๆ เช่น ระบบปรับอากาศ, ระบบสุขาภิบาล เป็นต้น
2.4   หากจำเป็นผู้รับจ้างจะต้องขอรายละเอียดเพิ่มเติมจากสถาปนิก/วิศวกรเกี่ยวกับรายละเอียด ช่องเปิดในข้อ 2.3

3.

วัสดุ และการติดตั้ง

3.1

งานหลังคา และรางน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก

1.

หลังคาคอนกรีต และรางน้ำคอนกรีตทั้งหมด จะต้องทำระบบกันซึมชนิดพ่นด้วยน้ำยากันซึมลงบนผิวคอนกรีต ตามรายละเอียดในหมวดงานระบบกันซึม

2.

หลังจากพ่นด้วยน้ำยากันซึมแล้วจึงเทคอนกรีตทับหน้าด้วยส่วนผสมของปูนซีเมนต์ผมเสร็จ และน้ำโดยทำระดับเพื่อให้เอียงลาดไปสู่รางน้ำ หรือท่อระบายน้ำ(ROOF DRAIN)

3.

ในกรณีที่ในแบบมิได้ระบุทิศทาง หรือแนวของการลาด (SLOPE) ให้ผู้รับจ้างทำ SHOP DRAWING เสนอผู้ควบคุมพิจารณาอนุมัติก่อนลงมือก่อสร้าง

4.

ผู้รับจ้างจะต้องตรวจสอบแบบก่อสร้างทุกระบบ หากมีช่องเปิดในหลังคาคอนกรีต จะต้องขอรายละเอียดเพิ่มเติม หรือดำเนินการตามรายละเอียดในแบบก่อสร้างซึ่งแสดงวิธีการก่อสร้างช่องเปิดเหล่านั้น

3.2

งานหลังคา METAL SHEET

1.

วัสดุหลังคาผลิตจากแผ่นเหล็กเคลือบสี (COLOR BOND) มาตรฐาน ASTM A 792 – 1983 แบบไร้รอยสลักยึด (BOLTLESS TYPE) ความหนาของแผ่นเหล็ก ไม่น้อยกว่า 0.50 มม. ใต้หลังคาติดตั้งฉนวนกันความร้อนตามที่ระบุในหมวดงานระบบป้องกันความร้อน

2.

รายละเอียดโครงหลังคา ให้ดูรายละเอียดประกอบแบบงานโครงสร้างทั้งนี้การวางตำแหน่งระยะของแปและรายละเอียดการติดตั้งอื่น ๆ จะต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดในการติดตั้งของผู้ผลิตแผ่นหลังคาและการติดตั้งแป ระยะห่างต้องไม่เกิน 1.00 เมตร

3.

งาน FLASHING ให้ใช้แผ่นเหล็กเคลือบสี (COLOR BOND) ความหนาไม่น้อยกว่า 0.57 มม. และความหนาต้องผ่านความเห็นชอบจากผู้ออกแบบ หรือผู้ควบคุมงาน เพื่อวัตถุประสงค์ของความแข็งแรงและการป้องกันน้ำฝนเข้าสู่อาคาร เหมาะสมกับการใช้งาน

4.

งานสกรูยึด ให้ใช้สกรู STAINLESS STEEL พร้อมแหวนรองที่ทำการวัสดุปลอดสนิม และคงทนถาวรเสนออนุมัติ

บทที่  2  รายละเอียดประกอบแบบงานสถาปัตยกรรม
8. งานกระเบื้องปูพื้น และ ผนัง

1.

ขอบเขตของงาน

ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาแรงงาน วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งจำเป็นอื่นๆในการก่อสร้างงานปูกระเบื้องพื้น และผนังที่ระบุในแบบก่อสร้างจนเสร็จเรียบร้อย งานเหล่านี้ หมายรวมถึง

1.1

งานปูกระเบื้องพื้นห้องน้ำ

1.2

งานปูกระเบื้องผนังห้องน้ำ

1.3

งานบัวเชิงผนังกระเบื้อง

2.

ข้อกำหนดทั่วไป

2.1

ผู้รับผิดชอบจะต้องจัดส่งตัวอย่างวัสดุกระเบื้องทุกชนิดที่ใช้ในการก่อสร้าง ให้สถาปนิก และผู้ควบคุมงานอนุมัติก่อนการสั่งซื้อของ และดำเนินการก่อสร้าง

2.2

ผู้รับจ้างจะต้องจัดทำ SHOP DRAWING แสดงวิธีการติดตั้ง และการจัดลายกระเบื้องทุกบริเวณที่มีการระบุ

2.3

การทำความสะอาดภายหลังการปูกระเบื้องเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะต้องล้างทำความสะอาดคราบปูนยาแนวที่ติดบนกระเบื้องให้หมด แล้วขัดด้วย WAX 2 ครั้ง ให้ทำความสะอาด และล้างคราบน้ำปูนบนผิวกระเบื้องตามข้อแนะนำของผู้ผลิต

3.

วัสดุ

3.1

 พื้นห้องน้ำ ให้ใช้กระเบื้องเซรามิคเกรด A ขนาดตามที่ระบุในแบบของ CAMPANA หรือ COTTO ชนิดปูพื้น

3.2

ผนังห้องน้ำ ให้ใช้กระเบื้องเซรามิคเกรด A ขนาดตามที่ระบุในแบบของ CAMPANA/COTTO สำหรับเคาน์เตอร์อ่างล้างหน้าใช้กระเบื้องเดียวกับผนัง หรือ วัสดุอื่นที่ระบุในแบบ (เอกสารแบบขยายทั่วไป)

3.3

พื้นลานกลางแจ้ง ให้ใช้กระเบื้องเซรามิคเกรด A สีเรียบขนาดที่ระบุในแบบ ของ COTTO ชนิดผิวหยาบหรือกระเบื้องดินเผา หรือกระเบื้องชนิดอื่นตามที่ระบุในแบบ สำหรับผนังอาคารให้ใช้กระเบื้องเซรามิค เกรด A หรือกระเบื้องแกรนิต ขนาดตามที่ระบุในแบบ หรือขนาดอื่นๆพร้อมกระเบื้องเข้ามุมต่างๆที่ระบุในแบบ ผู้ออกแบบขอสงวนสิทธิ์ในการจักทำรายละเอียดเพิ่มเติมภายหลัง โดยผู้รับจ้างไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

3.4

ปูนทราบปรับระดับ และรองพื้น ให้ใช้ปูนซีเมนต์ผสมเสร็จชนิดฉาบรองพื้นของ บจก. ปูนซีเมนต์ไทย ผสมกับน้ำและน้ำยากันซึม

3.5

น้ำยากันซึม ชนิดผสมปูนฉาบของ SIKA หรือเทียบเท่า

3.6

กาวซีเมนต์ใช้ของ ตราจระเข้ รุ่น จระเข้แดง หรือเทียบเท่า สำหรับการปูกระเบื้องทั่วไป

3.7

ปูนยาแนวกระเบื้องใช้ของ ตราจระเข้ รุ่น จระเข้เงินหรือทอง หรือเทียบเท่า สำหรับการปูกระเบื้องทั่วไปตามมาตรฐานของผู้ผลิต

4.

กรรมวิธีการปูกระเบื้อง

4.1

การปูพื้น

ก่อนปูพื้นผู้รับจ้างจะต้องทำระดับทรายเสียก่อน การทำระดับจะต้องให้มีความลาดเอียงตามที่ระบุในแบบก่อสร้าง ปูนทรายที่ใช้ปูนซีเมนต์ผสมเสร็จ ผสมกับน้ำ และน้ำยากันซึม โดยความหนาของปูนทรายทำระดับ จะต้องไม่ต่ำกว่า 3 ซม. ภายหลังปูน SET ตัวแล้ว จะต้องรดน้ำให้ทั่วไม่ต่ำกว่า 48 ชม. และทิ้งไว้ให้แข็งตัวเป็นเวลา 3 วัน จึงทำการปูได้ ก่อนปูจะต้องทำความสะอาด และรดน้ำให้ชุ่ม การปูให้ใช้กาวซีเมนต์เป็นตัวยึด โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิต ในกรณีที่เป็นโพรงเคาะมีเสียงจะต้องทำการรื้อออก และทำการปูใหม่

กระเบื้องที่ปูเสร็จแล้วต้องเรียบได้แนว และระดับ และมีความลาดเอียงตามระบุในแบบก่อสร้าง กระเบื้องที่ชนกับผนัง ฝาครอบท่อระบายน้ำ หรือขอบต่างๆ จะต้องตัดให้เรียบสม่ำเสมอ พื้นที่ปูเรียบร้อยแล้ว จะต้องทิ้งให้แห้งโดยไม่ถูกกระทบกระเทือน หรือรับน้ำหนักเป็นเวลา 418 ชั่วโมง จึงล้างทำความสะอาด และอุดรอยต่อของกระเบื้อง ด้วยปูนยาแนวกระเบื้องที่ระบุในข้อ3.7

4.2

การปูผนัง

ผู้รับจ้างจะต้องฉาบปูนด้วยปูนซีเมนต์ผสมเสร็จ ผสมกับน้ำ และน้ำยากันซึม ให้ได้ระดับเสียก่อนทิ้งไว้ให้แข็งอย่างน้อย 3 วัน ก่อนบุต้องทำความสะอาดผิวให้ปราศจากฝุ่น เศษปูน น้ำมัน และวัสดุอย่างอื่น แล้วรดน้ำให้ชุ่มการบุทีละแผ่นโดยใช้กาวซีเมนต์เป็นตัวยึด โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิตทุกประการ แผ่นกระเบื้องจะต้องไม่แน่นไม่เป็นโพรง เมื่อบุเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในกรณีที่เป็นโพรงจะต้องรื้อออก และทำการบุใหม่ ในการเข้ามุมผนัง และมุมเคาน์เตอร์ ทั้งมุมนอกและมุมใน ให้ใช้กระเบื้องโมเสด ชนิดเดียวกันแบบเข้ามุมโดยเฉพาะ ความหนาจากผิวกระเบื้องที่ปูเสร็จแล้วถึงผิววัสดุก่อจะต้องหนา 25 มม. พื้นที่ที่บุกระเบื้องแล้ว จะต้องทิ้งให้แห้งโดยไม่ถูกกระทบกระเทือนเป็นเวลา 48 ชั่วโมง จึงล้างทำความสะอาด และอุดรอยต่อของกระเบื้องที่ระบุในข้อ 3.7

4.3

การปูกระเบื้องชนิดบัวเชิงผนัง

ผู้รับจ้างจะต้องดำเนินการลักษณะเดียวกับข้อ 4.2 คือ ทำระดับด้วยปูนซีเมนต์ผสมเสร็จผสมน้ำ และยึดบัวกระเบื้อง ด้วยกาวซีเมนต์ ในการเข้ามุมให้ใช้กระเบื้องเข้ามุมชิ้นโดยเฉพาะการติดตั้งบัวเชิงผนังกระเบื้องเมื่อเสร็จแล้วจะต้องเป็นผิวเดียวกับปูนฉาบทั้งนี้ให้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในแบบก่อสร้าง

บทที่  2  รายละเอียดประกอบแบบงานสถาปัตยกรรม
9. งานหินขัด

1.

ขอบเขตงาน

ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาวัสดุ, แรงงาน, อุปกรณ์ และสิ่งจำเป็นในการก่อสร้างงานพื้นหินขัด บัวเชิงผนังหินขัด และบันไดหินขัด ตามที่ระบุในแบบก่อสร้างจนเสร็จเรียบร้อย

2.

ข้อกำหนดทั่วไป

2.1

ผู้รับจ้างจะต้องจัดส่งตัวอย่างหินขัด เส้นแบ่งแนวหินขัดทองเหลือง และแบบ SHOP DRAWINGS แสดงแนวการวางเส้นหินขัดให้สถาปนิก และผู้ควบคุมงานอนุมัติก่อนลงมือก่อสร้าง ตัวอย่างของหินขัดจะต้องมีขนาด 30 ซม. X 30 ซม. ผิวหน้าขัดเรียบเหมือนของจริง

2.2

ขนาดของพื้นที่หินขัดที่จะต้องแบ่งด้วยแนวเส้นทองเหลือง คือประมาณ 3 ตารางเมตร สถาปนิกจะกำหนด แนวให้ในระหว่างก่อสร้าง

2.3

ภายหลังจากการขัดพื้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้รับจ้างจะต้องล้างทำความสะอาด ทิ้งให้พื้นหินขัดแห้งสนิท แล้วจึงลง WAX พร้อมขัดด้วยเครื่องขัด 2 ครั้ง

3.

วัสดุ

3.1

 ปูนซีเมนต์ ให้ใช้ปูนซีเมนต์ขาวของบริษัทปูนซีเมนต์ไทยจำกัด

3.2

 หินที่จะทำพื้นหินขัด ให้ใช้เกร็ดหินอ่อนขนาดเม็ด และสีตามที่กำหนดภายหลัง โดยมีส่วนผสมของหินสีต่างๆ ประมาณดังนี้

หินสีขาวเบอร์ 4   

50%

หินสีดำคัดเบอร์ 4 

40%

หินสีเทาคัดเบอร์ 2     

10%

3.3

เส้นแบ่งแนวหินขัด ให้ใช้ STAINLESS STEEL  กว้าง ¼ ̋  ฝังในพื้นลึก ½ ̋

3.4

ปูนทรายทำระดับ ให้ใช้มาตรฐานเดียวกับปูนก่อผนัง

3.5

น้ำ จะต้องเป็นน้ำที่สะอาด ปราศจากกรดด่าง เกลือ และ พฤกษชาติ เจือปน

3.6

 ผงสีผสมตามมาตรฐานของการทำหินขัดของบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

4.

กรรมวิธีการทำหินขัด

พื้นที่จะทำหินขัดจะต้องสะอาด  ปราศจากน้ำมัน  ฝุ่น  หรือเศษฝุ่น ก่อนลงมือทำหินขัด จะต้องล้างให้สะอาดเสียก่อน ภายหลังจากทำความสะอาดแล้ว จึงตัดเส้นแบ่งแนวหินขัด โดยใช้ปูนทรายเป็นตัวยึดเส้นแบ่งแนวกับพื้นเดิม เส้นแบ่งแนวจะต้องได้รับ ได้ฉาก และได้แนวกับผนัง เส้นแบ่งแนวที่ชนกันจะต้องเรียบร้อย ทิ้งไว้ให้แห้งเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 24 ชม. จึงทำปูนทรายระดับได้ ก่อนทำปูนทรายระดับจะต้องล้างพื้นให้สะอาดเสียก่อน จึงเทปูนทรายทำระดับให้เหลือผิวที่จะทำหินขัดให้มีความหนาไม่น้อยกว่า 1.5 ซม. ก่อนที่ปูนทรายทำระดับจะเริ่มแข็งตัวให้ขูดผิวหน้าให้ขรุขระให้ทั่วทั้งบริเวณ ทิ้งไว้ให้แข็งตัวเป็นเวลา 24 ชม. จึงทำผิวหินขัดได้

ก่อนลงมือทำผิวหินขัด ให้ราดน้ำผิวปูนทรายให้เปียกโดยทั่วถึงเสียก่อน จึงเทหินขัดซึ่งมีส่วนผสมตามระบุ ผิวหินขัดจะต้องมีความหนาไม่น้อยกว่า 1.5 ซม. ใช้เกรียงตกแต่งให้เรียบร้อยผิวหินขัดจะต้องเรียบและได้ระดับ รดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอเป็นเวลา 48 ชม. และทิ้งไว้ให้แข็งตัวเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ตัว จึงทำการขัดผิวหน้าได้

การขัดผิวหน้าให้ขัดด้วยเครื่อง โดยใช้น้ำเป็นตัวหล่อลื่น การขัดผิวหินขัดให้ขัดครั้งแรกด้วยหินหยาบเพื่อให้ได้ระดับ แต่งผิวหน้าด้วยปูนซีเมนต์ สีเดิม และทิ้งไว้ให้แห้ง จึงขัดผิวผิวหน้าครั้งที่สองด้วยหินละเอียด  หินขัดที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว  จะต้องได้ระดับมีเม็ดหินสม่ำเสมอโดยทั่วกันทั้งห้อง

การทำบัวเชิงผนังหินขัด  ให้ตั้งเส้นแบ่งแนวหินขัดห่างจากผนัง  หรือเสาที่จะทำบัวเชิงผนัง  ประมาณ 10 ซม.  และเว้นพื้นหินขัดส่วนที่ติดกับผนังไว้ทำพร้อม  กับหินขัดบัวเชิงผนัง  การทำบัวเชิงผนังหินขัดจะต้องทำบัวส่วนที่ติดกับพื้นภายหลัง

ในกรณีที่ปรากฏว่าพื้นหินขัดส่วนใดส่วนหนึ่งไม่เรียบร้อย  สีไม่สม่ำเสมอมีรอยด่างแตกร้าว  หรือเส้นแบ่งแนวไม่ตรงผู้รับจ้างจะต้องรีบแก้ไขทันทีโดยสกัดพื้นหินขัดตรงที่เสียหายออกทั้งช่องทำให้ใหม่จนเรียบร้อบ  ทั้งนี้เกล็ดหินอ่อนและสีจะต้องเหมือนกับของเดิม  หรือบริเวณข้างเคียง

บทที่  2  รายละเอียดประกอบแบบงานสถาปัตยกรรม
10.
งานทรายล้าง กรวดล้าง และหินล้าง

1.

ขอบเขตของงาน
ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาวัสดุ , แรงงาน ,อุปกรณ์ และสิ่งที่จำเป็นอื่นๆในการก่อสร้างพื้น และบัวเชิงผนังทรายล้างตามที่ระบุในแบบก่อสร้าง จนเสร็จเรียบร้อย

2.

ข้อกำหนดทั่วไป

2.1

ผู้รับจ้างจะต้องส่งตัวอย่างวัสดุขนาดไม่เล็กกว่า 30 ซม. X 30 ซม. ให้ผู้ควบคุมงาน หรือสถาปนิกพิจารนา และอนุมัติก่อนลงมือทำงานดังกล่าว

2.2

พื้นทรายล้างจะต้องแบ่งแนวด้วยเส้น PVC โดยเฉลี่ยทุกๆ 2 ตารางเมตร ในกรณีที่มิได้ระบุแนวเส้นในแบบก่อสร้างสถาปนิกจะกำหนดแนวให้ระหว่างการก่อสร้าง

2.3

ผู้รับจ้างจะต้องจัดทำแบบ SHOP DRAWINGS แสดงแนวการแบ่งเส้น PVC บนพื้นทรายล้าง ให้สถาปนิก และผู้ควบคุมงานอนุมัติก่อนลงมือก่อสร้าง

3.

วัสดุ

3.1

ทรายให้ใช้ทรายน้ำจืด ทรายที่ใช้จะต้องมีขนาดใกล้เคียงกัน ขนาดของเม็ดทรายโดยทั้วไปประมาณ 3 มม. ทรายที่ใช้ทำทรายล้าง จะต้องสะอาดปราศจากเกลือแร่ และสารอื่นปน

3.2

กรวดให้ใช้กรวดน้ำจืด กรวดที่ใช้จะต้องมีขนาดใกล้เคียงกัน ขนาดของเม็ดกรวดโดยทั้วไปประมาณ 5 มม.กรวดที่ใช้ทำกรวดล้างจะต้องปราศจากเกลือแร่ และสารอื่นปน

3.3

ปูนซีเมนต์  ให้ใช้ปูนซีเมนต์ตราเสือ และปูนซีเมนต์ขาวตราช้างเผือก ทรายล้างสำหรับพื้นให้ใช้ปูนซีเมนต์ตราเสือ ทรายล้างสำหรับผนังให้ใช้ปูนซีเมนต์ตราเสือ 1 ส่วน และปูนซีเมนต์ตราช้างเผือก 1 ส่วนผสมกัน

3.4

เส้นแบ่ง PVC ขนาด ¼” กว้าง ½”

3.5

ผงสีผสมต้องเป็นผงสีอย่างดี สีไม่ตก และกันด่างได้

4.

กรรมวิธีในการทำผิวทรายล้าง

การเตรียมพื้นผิว ให้ทำความสะอาดพื้นผิว และฉาบปูนปรับผิวหน้า แต่ฉาบเฉพาะปูนเค็มรองพื้นเท่านั้น ปรับผิวหน้าให้เรียบร้อย และเพื่อให้เกิดการยึดเหนี่ยวใช้เครื่องมือขูดขีดผิวหน้าที่ฉาบเป็นรอยตัดไปตัดมาก่อนที่ปูนฉาบนั้นจะ แห้งทิ้งปูนที่ฉาบให้แห้งสนิทไม่น้อยกว่า 7 วัน ผสมหินล้าง หรือกรวดล้างสัดส่วนตามตัวอย่างที่สถาปนิกอนุมัติ ก่อนที่จะลงมือฉาบให้ทาน้ำปูนซีเมนต์ขาวจนทั่ว ทิ้งไว้จนหมาดจึงฉาบผิวล้าง กรวดล้าง หรือทรายล้าง แต่งผิวหน้าให้เรียบเมื่อซีเมนต์ขาวในหินล้าง หรือกรวดล้างแข็งตัว ให้ล้างผิวหน้าด้วยแปรง และน้ำสะอาดจนเห็นเกล็ดหิน หรือกรวดได้ชัดเจน เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผิวหน้าหินล้างกรวดล้างจะต้องเรียบสม่ำเสมอ ไม่เป็นคลื่น เป็นลอน มีสีกลมกลืน และปราศจากคราบปูนจับอยู่ เมื่อหินล้าง กรวดล้าง หรือทรายล้างแห้งดีแล้วให้ทำกรวดล้าง หรือทรายล้าง แห้งดีแล้ว ให้ทา หรือพ่นน้ำยา WATER REPELLENT บนผิวหน้าจนทั่ว 2 ครั้ง ใช้ผลิตภัณฑ์ของ SHERWIN WILLIAMS ICI หรือ JOTUN ในกรณีมิได้กำหนดเป็นอย่างอื่น ให้ผู้รับจ้างเว้นเป็นรอยต่อทุกระยะ 2.00 ม. โดยเดินแนวเส้น PVC ในการทำผิวพื้น และเว้น่อง 1 ซม. X 1 ซม. ในการทำผิวผนัง ทั้งนี้ให้เสนอสถาปนิกเพื่ออนุมัติก่อน ความหนาของหินล้างกรวดล้าง หรือทรายล้างต้องไม่น้อยกว่า 1 ซม. และเมื่อรวมความหนาฉาบปูนด้วย จะต้องหนาไม่เกิน 3.0 ซม. ส่วนที่เป็นมุมรับน้ำฝน เช่นใต้คานครีบ หรือกันสาดนอกอาคาร ให้เซาะร่องกว้าง 1 ซม. ลึก 1 ซม. เพื่อให้น้ำฝนหยดกันการไหลย้อน

การฉาบหินล้าง กรวดล้าง หรือทรายล้าง ต้องกระทำเฉพาะเวลากลางวัน ห้ามทำขณะฝนตก หรือในบริเวณที่มีละอองน้ำกระจายอยู่ เมื่อฉาบ และล้างผิวหน้าเสร็จแล้ว หรือกรวดล้างแห้ง จะต้องระวังไม่ให้ถูกฝนหรือน้ำ

การผสมหินล้าง กรวดล้าง หรือทรายล้าง ให้ผสมพอใช้ในแต่ละส่วนของเนื้อที่ที่แบ่งไว้ห้ามใช้หินล้าง หรือกรวดล้างที่ผสมคนละครั้งฉาบในเนื้อที่ส่วนแบ่งเดียวกัน หากปรากฏว่าหินล้าง กรวดล้าง หรือทรายล้างส่วนหนึ่งส่วนใด มีรอยด่าง มีสีไม่สม่ำเสมอ ผิวไม่เรียบ มีรอยแตกร้าวผู้รับจ้างจะต้องจัดการแก้ไขโดยสกัดส่วนที่เสียหายออกทั้งหมด ทั้งช่องที่แบ่งไว้ แล้วจึงฉาบหินล้าง กรวดล้าง หรือทรายล้างเข้าไปใหม่ งานหินล้าง กรวดล้าง ทรายล้าง จะต้องมีขนาดและสีเหมือนกันหมดทั้งอาคาร

บทที่  2  รายละเอียดประกอบแบบงานสถาปัตยกรรม
11. งานกระเบื้องยาง

1.

ขอบเขตงาน
ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาแรงงาน,วัสดุ,อุปกรณ์ และสิ่งจำเป็นอื่นๆ ในการติดตั้ง พื้น และบัวเชิงผนังกระเบื้องนาง และจมูกบันได
PVC ตามระบุในแบบก่อสร้างจนเสร็จเรียบร้อย

2.

ข้อกำหนดทั่วไป

2.1

ตัวอย่าง ผู้รับจ้างต้องจัดหาตัวอย่างกระเบื้องยางที่จะใช้ทุกชนิด สี และแบบมาอย่างละ 2 แผ่น เพื่อสถาปนิกตรวจเห็นชอบก่อนนำไปใช้งาน

2.2

ผู้รับจ้างจะต้องจัดทำแบบ SHOP DRAWINGS แสดงการจัดลายกระเบื้องยาง ให้สถาปนิก และผู้ควบคุมงานอนุมัติก่อนดำเนินงานก่อนการก่อสร้าง

2.3

การติดตั้งกระเบื้องยาง หมายถึง งานการติดตั้งกระเบื้องยาง ซึ่งผู้รับจ้างจะต้องติดบัวเชิงผนัง จมูกบันได และเส้นยางปิดมุม ขอบ ด้วยจึงจะถือเป็นงานเสร็จสมบูรณ์
ยกเว้นในกรณีที่ในแบบระบุให้มีการติดตั้งบัวเชิงผนังเป็นวัสดุอื่น

2.4

การส่งของ และการเก็บรักษา ให้ส่งของมายังสถานที่โดยบรรจุอยู่ในหีบห่อจากโรงงานอย่างเรียบร้อย มีตรายี่ห้อประทับอยู่พร้อมด้วย บ่งสี หมายเลขของลวดลายไว้อย่างชัดเจน

2.5

การทำความสะอาด ภายหลังจากปูกระเบื้องเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะต้องทำความสะอาด และลงด้วย WAX ชนิดน้ำอย่างน้อย 2 ครั้ง และขัดด้วยเครื่องขัดเงาให้ขึ้นเงา

3.

วัสดุ

3.1

กาวต้องเป็นชนิดพิเศษประเภทเนื้อกาวสีขาวผลิตโดยบริษัทผู้ผลิตกระเบื้องยางและอุปกรณ์ประกอบเท่านั้น

3.2

กระเบื้องยาง ชนิดสีเรียบ ขนาด 600 x 600 มม. หรือ 300 x 300 มม. หรือ 12" x 12" หนา 2.5 มม. หรือตามที่ระบุในแบบ

3.3

บัวเชิงผนังต้องเป็นชนิดหล่อโค้งชนิดยางสังเคราะห์ไวนิลผสมหนา 3.2 มม. สูง 100มม. ตามที่ระบุไว้ในแบบ ยกเว้นในกรณีที่ในแบบระบุให้เป็นวัสดุชนิดอื่นให้จัดทำตามแบบ

3.4

จมูกบันได (ดูเอกสารแบบขยายทั่วไป) ในกรณีที่ในแบบไม่ได้ระบุ ให้ผู้รับจ้างใช้จมูกบันได PVC ชนิดฝังในเนื้อคอนกรีต ชนิดมีช่องอากาศภายใน

3.5

สี และลวดลายของกระเบื้องยาง , บัวเชิงผนัง , จมูกบันได PVC โดยผู้รับจ้างเป็นผู้จักหามาเสนออนุมัติจากสถาปนิกกำหนดภายหลัง

4.

กรรมวิธีการติดตั้ง

4.1

การเตรียมผิว ผิวที่จะบุกระเบื้องยางต้องเรียบสม่ำเสมอทั้งพื้น และสะอาดปราศจากสีคราบน้ำมัน คราบไข ฝุ่นละออง และวัสดุอื่นๆ ที่จะทำให้กระเบื้องไม่ติดพื้น เมื่อผิวแห้งแล้วให้อุดรูรอยต่างๆ บนผิวด้วยวัสดุอุดรอยร้าวผิวพื้นเดียวกัน ไม่ควรเกินต่างระดับกันเกิน 3 มม. ในระยะ 6 ฟุต หรือเกิน 2 มม. ในระยะห่าง 1 ฟุต หากต่างระดับกันเกินนี้ จะต้องหนุนด้วยวัสดุรองพื้นสำหรับรองใต้กาว และพื้นกระเบื้องยาง

4.2

การปูกระเบื้องยาง ผู้รับจ้างจะต้องตรวจสอบผิวพื้น และซ่อมแซมแก้ไขส่วนที่ใช้การไม่ได้ให้เรียบร้อยเสียก่อนจึงลงมือดำเนินการปูกระเบื้อง

ให้ผู้รับจ้างผสมกาวปูพื้นตามข้อบ่งใช้ของบริษัทผู้ผลิต ให้ฉาบกาวแต่ละครั้งเป็นบริเวณเท่าที่จะปูกระเบื้องได้ทัน ก่อนกาวแห้ง ถ้ากาวแห้งหรือเป็นแผ่นให้ลอกออก การฉาบกาวให้ใช้เกรียงฉาบตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต

ติดกระเบื้องตมแนวต่อให้ตรง กำจัดคราบส่วนเกินออก กระเบื้องแผ่นที่เป็นรอยต้องเอาออกแล้วใส่แผ่นใหม่ให้เรียบร้อย

หลังจากปูเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะต้องทำความสะอาดผิวด้วยน้ำยาทำความสะอาดเพื่อเช็ดในส่วนที่เป็นกาวซึมขึ้นมา ระหว่างการปูกระเบื้องยาง ปล่อยทิ้งไว้ไม่น้อยกว่า 5 วัน จากนั้นทำการขัดทำความสะอาด และเคลือบผิวด้วยครีมWAX 2 ครั้ง ทั้งนี้ผู้รับเหมาจะต้องจัดเตรียมกระเบื้องยางสำรองให้ไว้สำหรับทำการซ่อมแซมในอัตราส่วน 5% ของกระเบื้องยางที่ใช้ไป

4.3

การติดตั้งบัวเชิงผนัง ติดตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตโดนระวังไม่ให้ผิววัสดุใกล้เคียงต้องเสียหาย รอยต่อต้องชนสนิท ขอบบนและล่างต้องสนิทกับผนัง และพื้นมุมผนังทั้งภายในภายนอกให้บุด้วยบัวเชิงผนังที่ผลิตสำหรับงานมุมโดยเฉพาะ

บทที่  2  รายละเอียดประกอบแบบงานสถาปัตยกรรม
12. งานพรม

1.

ขอบเขตของงาน
ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาแรงงาน, วัสดุ, อุปกรณ์ และสิ่งจำเป็นอื่นๆ ในการติดตั้งงานพรม ตามระบุในแบบก่อสร้างจนเสร็จเรียบร้อย

2.

ข้อกำหนดทั่วไป
ผู้รับจ้างจะต้องจัดส่งตัวอย่างวัสดุขนาด 30ซม. X 30ซม. จำนวน 2 ชิ้น ต่อ 1 สี เสนอให้สถาปนิก และผู้ควบคุมงานพิจารณาอนุมัติก่อนสั่งซื้อ และดำเนินการก่อสร้าง

3.

วัสดุ

3.1

พรมทอจักร โอเลฟิน 100% ขนตัด ทอตามรูปห้อง น้ำหนักขนพรม 40 ออนซ์ / ตารางหลา พร้อมยางรองพื้นหนา 8 มม.

3.2

พรมแผ่น โพลีพรอพเพอลีน 100% ทอจักร ขนห่วง ขนาด 50 x 50 ซม. น้ำหนักขนพรม 22 ออนซ์ / ตารางหลา วัสดุปะหลัง พีวีซีและกลาสสคริม เคลือบสก๊อตการ์ด ไม่มียางรองพื้น ( การใช้งาน – ห้องควบคุม ห้องประชุมย้อย สำนักงาน ทางเดิน )

4.

การติดตั้ง
การติดตั้งพรม ต้องทำความสะอาด และปรับผิวหน้าของพื้นที่ปูให้เรียบร้อย ตรวจสอบอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องบนพื้นก่อนทำการปู การปูให้ตีขอบรอบนอกด้วยอุปกรณ์ยึดขอบพรมโดยตรง ยึดรอยต่อของยางรองพรมด้วยการทากาวและปิดเทปให้เรียบร้อย โดยยึดเป็นช่วงๆตามรอยต่อทั้งหมดแนวต่างๆ ของพรมต้องได้แนวตรงกันตลอดทุกด้านหลังจากปูพรมเสร็จแล้ว ให้ทำความสะอาด โดยการกวาดเส้นใยพรมที่หลุดหล่นออกให้เรียบร้อย

บทที่  2  รายละเอียดประกอบแบบงานสถาปัตยกรรม
13. งานผิวคอนกรีตชนิดต่างๆ

1.

ขอบเขตของงาน
ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาแรงงาน
, วัสดุ , อุปกรณ์ และสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ในการก่อสร้างงานผิวคอนกรีตต่าง ๆ ตามที่ระบุในแบบก่อสร้างจนเสร็จเรียบร้อยงานผิวคอนกรีตชนิดต่าง ๆ
หมายรวมถึงงานดังต่อไปนี้

1.1

ผิวคอนกรีตเปลือย

1.2

ผิวซีเมนต์ขัดมัน / ขัดมันผสมสี

1.3

 ผิวซีเมนต์ปาดเรียบ

2.

ข้อกำหนดทั่วไป

2.1

ในกรณีของงานผิวคอนกรีตเปลือย ผู้รับจ้างจะต้องทำแบบ SHOP DRAWINGS แสดงการจัดแนว และวิธียึดงานไม้แบบสำหรับเทคอนกรีตให้ผู้ควบคุมงานพิจารณาอนุมัติ
ก่อนดำเนินการ

2.2

ผิวคอนกรีตเปลือย เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วให้ทาด้วยสี SILICONE ชนิดใส หรือน้ำยาประเภท WATER REPELLENT ของผลิตภัณฑ์ที่ระบุไว้ในหมวดรายการวัสดุที่ใช้ใน
การก่อสร้าง

3.

วัสดุ และ กรรมวิธีในการก่อสร้าง

3.1

งานผิวคอนกรีตเปลือย

แบบหล่อคอนกรีต (FORMWORK) จะต้องแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักคอนกรีตเหลว และรับน้ำหนักบรรทุกในขณะคอนกรีตได้โดยไม่แอ่นเสียรูปทรง แบบหล่อให้ใช้แบบ
อลูมิเนียมหรือเหล็กที่ไม่เป็นสนิม หรือไม้ได้รับการทาผิวด้วย
POLYURETHANE
จนไม่ปรากฏร่องของเสี้ยนไม้ หรือแบบกระดาษสำหรับหล่อคอนกรีต โดยเฉพาะการโยงยึด
และรองรับจะต้องแน่นหนา รอยต่อสนิทกันน้ำไม่ให้รั่วซึมผิวหน้าของแบบต้องทาน้ำมันทาแบบ เพื่อให้ได้ผิวคอนกรีตตามแบบ เหล็กยึดน๊อต และสิ่งอื่น ๆ ที่ต้องฝังคอนกรีต
จะต้องจัดแนวให้ผู้ควบคุมงานอนุมัติก่อนดำเนินการ งานคอนกรีตเปลือย หลังจากบ่มคอนกรีตแล้วให้ทาทับด้วยน้ำยาเคลือบรักษาผิวตามที่ระบุในข้อ 2.3

3.2

ผิวซีเมนต์ข้ดม้น / ขัดมันผสมสี

1.

ปูนซีเมนต์ให้ใช้ปูนซีเมนต์ตราเสือของบริฐัท ปูนซีเมนต์ไทย (มหาชน) จำกัด หรือตรานกอินทรีย์ ของบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง (มหาชน) จำกัดหรือตรางูเห่า
ของบริษัท ชลประทานซีเมนต์ (มหาชน) จำกัด

2.

สี ใช้สีฝุ่นผสมอย่างดี

3.

ผู้รับจ้างจะต้องทำแผ่นตัวอย่างการทำผิวขัดมันขนาด 1 ตารางเมตร ให้ผู้ควบคุมงานตรวจสอบก่อนลงมือทำงาน

4.

พื้นที่ที่จะทำผิวซีเมนต์ขัดมัน จะต้องปรับผิวให้เรียบร้อยด้วยปูนทราย ส่วนผสมปูน 1 ส่วนต่อทราย 3 ส่วยหรือปูนซีเมนต์ผสมเสร็จ แล้วขัดผิวให้มันเรียบด้วยปูนซีเมนต์
ดังกล่าวข้างต้น ในกรณีที่ระบุให้เป็นผิวซีเมนต์ขัดมันผสมสี ให้ผสมสีฝุ่นลงขณะผสมซีเมนต์ ซึ่งจะต้องทำตัวอย่างให้ผู้ควบคุมงานเป็นชอบเสียก่อน

5.

หลังทำการขัดมันแล้ว สำหรับพื้นที่ที่ใช้สอยภายในและภายนอกอาคาร ให้ลงน้ำยาเคลือบผิว กันฝุ่นปูนของ SIKA เสนอวัสดุให้อนุมัติ

3.3

ผิวซีเมนต์ปาดเรียบ

1.

ปูนซีเมนต์ ให้ใช้ปูนซีเมนต์ตราเสือ ของบริษัท ปูฯซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือตรานกอินทรีย์ ของบริษัท นครหลวง จำกัด หรือตรางูเห่า ของบริษัท ชลประทานซีเมนต์ จำกัด (มหาชน)

2.

ทุก ๆ พื้นที่ 10 ตารางเมตร ของพื้นปาดเรียบให้เว้นร่องขนาดประมาณ 10 มม. แล้วอุดด้วยวัสดุประเภท MASTIC GROUT โดยอุดให้ผิวเสมอกับผิวซีเมนต์

บทที่  2  รายละเอียดประกอบแบบงานสถาปัตยกรรม
14. งานฝ้าเพดาน

1.

ขอบเขตของงานผู้รับจ้างจะต้องจัดหาแรงงาน , วัสดุ , อุปกรณ์ และสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ในการติดตั้งงานฝ้าเพดาน  ตามระบุในแบบก่อสร้างจนเสร็จเรียบร้อย

2.

ข้อกำหนดทั่วไป

2.1

ผู้รับจ้าง จะต้องตรวจสอบแบบก่อสร้างงาน  ระบบไฟฟ้า  ระบบปรับอากาศ  ระบบสุขาภิบาล และระบบอื่น ๆที่ เกี่ยวข้องกับงานฝ้าเพดาน เพื่อเตรียมโครงสร้างสำหรับยึดดวงโคม และประสานงานกับงานส่วนอื่น  ๆ  ให้ทำงานไปด้วยความเรียบร้อย

2.2

การติดตั้งฝ้าเพดานชนิดต่าง ๆ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตจำหน่าย และผู้ออกแบบทุกประการ

2.3

 ฝ้าเพดานที่ติดตั้งแล้ว จะต้องแข็งแรงได้ระดับ  และความสูงตามระบุในแบบรอยต่อจะต้องได้แนว  ได้ฉาก ได้ระดับ และเรียบร้อยด้วย

2.4 การทาสีฝ้าเพดาน ให้ดูรายละเอียดในหมวดงานสี
2.5 ให้ผู้รับจ้างจัดทำแบบ SHOP DRAWINGS และ / หรือส่ง CATTALOG ของงานฝ้าเพดาน ขออนุมัติก่อนลงมือก่อสร้างซึ่งจะต้องแสดงรายละเอียดต่อไปนี้
  • ตำแหน่งอุปกรณ์งานระบบที่เกี่ยวข้องทั้งหมด   เช่น   SMOKE  DETECTOR  ,  HEAT DETECTOR   หัวจ่ายระบบปรับอากาศ , ตำแหน่งดวงไฟ , SPRINKLER , EXIT SIGN , พัดลมดูดอากาศ เป็นต้น
  • รายละเอียด และวิธีการติดตั้งฝ้าเพดานชนิดต่าง ๆ
  • ตำแหน่ง   ACCESS  หรือ  SERVICE  PANEL  รายละเอียดของ   ACCESS  PANEL  ให้ดูเพิ่มเติมในแบบก่อสร้าง หากมิได้ระบุให้ผู้รับจ้างเสนอแบบ เพื่อให้ผู้ควบคุมงานพิจารณาอนุมัติ
2.6 ผู้รับจ้างจะต้องจัดส่งตัวอย่างวัสดุให้ผู้ควบคุมงานอนุมัติก่อนสั่งซื้อ

3.

วัสดุและการติดตั้ง

3.1

ฝ้าเพดานยิปซั่มบอร์ดฉาบเรียบทาสี

1.

แผ่นฝ้าเพดานให้ใช้แผ่นยิปซั่มบอร์ดชนิดหนา  12 มม.  สำหรับห้องทั่วไป  และแบบหนา 12 มม. ชนิดกันความชื้น สำหรับห้องน้ำ และแบบหนา 12 มม. ชนิดมีฟอยล์สำหรับห้องใต้หลังคา

2.

โครงคร่าวเหล็กชุบสังกะสี  ให้ใช้ระบบ CASOLINE ML 70 ของ TG หรือเทียบเท่า สำหรับรับน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า 200 นิวตัน  /  เมตร  ตามมาตรฐาน  ม...  863-2532  ชั้นคุณภาพที่  1    โดยโครงคร่าวหลัก

3.

ความหนาของแผ่นเหล็กชุบสังกะสีไม่น้อยกว่า 0.65 มมโครงคร่าวซอย ความหนาไม่น้อยกว่า  0.45 มม ฉากริมฉาบเรียบความหนาไม่น้อยกว่า 0.45 มม. การติดตั้งโครงสร้างคร่าวหลักทุก ๆ ระยะ 1.20 เมตรโครงคร่าวซอยทุก ๆ  ระยะ  0.40 เมตร  อุปกรณ์ประกอบตามมาตรฐานการติดตั้งของผู้ผลิต  สามารถรับน้ำหนักได้ตามมาตรฐานของ ม... ตามที่กล่าวข้างต้น

4. การติดตั้ง ให้ใช้แผ่นชนิดขอบลาดต่อชนพร้อมเทปปิดรอยต่อ และฉาบรอยต่อด้วยปูนพลาสเตอร์ u – 200 ตามกรรมวิธีของผู้ผลิต ส่วนการเข้ามุมของฝ้าลดระดับให้เหล็กเข้ามุม และฉาบเก็บด้วยปูนพลาสเตอร์

3.2

ฝ้าเพดานยิปซั่ม ระบบ T – BAR

1.

 แผ่นฝ้าเพดาน ให้ใช้แผ่นยิปซั่มบอร์ดชนิดหนา 12 มม.  สำหรับห้องทั่วไป  และแบบหนา 12 มม. ชนิดกันความชื่นสำหรับห้องน้ำ และแบบหนา 12 มม. ชนิดมีฟอยล์ สำหรับห้องใต้หลังคา หรือตามที่ระบุในแบบ

2.

โครงเคร่าเหล็กชุบสังกะสี ให้ใช้ระบบ ที – บาร์ CASOLINE กริด 38 โดย เมน-ที ขนาด 24 x 38 มม. ( 38 M 24 ) และ ครอส-ที ขนาด 24 x 38 มม. (38 C 24)

3.3

ฝ้าเพดานอะคูสติกบอร์ด ระบบ 2 ชั้น แบบเสมอเรียบ

1.

แผ่นฝ้าเพดานให้ใช้แผ่นยิปซั่มบอร์ดหนา  12  มม.   (  หรือตามระบุในแบบ  )   กรุทับแผ่นอะคูสติกบอร์ด หนา 12 มม. ขนาด 0.30 x 0.30 เมตร ของ DAIKEN รุ่น TRAVERTINE

2.

โครงสร้างเหล็กชุบสังกะสีให้ใช้ระบบเดียวกับมาตรฐาน ฝ้าเพดานยิปซั่มบอร์ดฉาบเรียบทาสี

3.

การติดตั้ง      ให้ใช้แผ่นยิปซั่มบอร์ดชนิดขอบเรียบต่อชนยึดติดกับโครงคร่าว    แล้วกรุแผ่นอะคูสติกบอร์ดด้วย  ตะปูสีขาวหรือโลหะตัวยู  ยึดติดกับแผ่นยิปซั่มบอร์ด

3.4 ฝ้าเพดานอลูมิเนียมเคลียบสี

1.

ให้ใช้แผ่นฝ้ารุ่น 150 F  ( กว้าง 150 มม. )  ผลิตจากอลูมิเนียมอัลลอยด์  AA-3003  ความหนาไม่น้อยกว่า 0.7 มม.  เคลือบสีด้วยระบบ   STOVE-ENAMELLED IN SPRAY SYSTEM     พร้อมขายึดแผ่นฝ้า   ทุกรุ่นผลิตจาก GALVANIZED STEEL  หนาไม่น้อยกว่า 0.5 มม. เคลืยบสีด้วยระบบ   STOVE ENAMELLED IN SPRAY SYSTEM

บทที่  2  รายละเอียดประกอบแบบงานสถาปัตยกรรม
15. งานผนังเบา

1.

ขอบเขตของงาน
ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาแรงงาน, วัสดุ, อุปกรณ์ และสิ่งจำเป็นในการติดตั้งงานผนังเบา ตามที่ระบุในแบบก่อสร้างจนเสร็จเรียบร้อย
งานผนังเบาในที่นี้ หมายถึง ผนังกรุยิบซั่มบอร์ด หรือวัสดุแผ่นอื่นๆ บนโครงคร่าวเหล็กชุบสังกะสี

2.

ข้อกำหนดทั่วไป

2.1

ให้ผู้รับจ้างจัดส่งตัวอย่างวัสดุที่ใช้ เสนอผู้ควบคุมงานเพื่อขออนุมัติก่อนลงมือก่อสร้าง

2.2

ให้ผู้รับจ้างจัดทำแบบ SHOP DRAWINGS และ / หรือเสนอ CATALOG แสดงวิธีการติดตั้งระบบผนัง โดยเฉพาะรอยต่อกับวัสดุชนิดอื่น เช่น งานก่ออิฐ หรือวงกบประตู เป็นต้น

2.3

ผู้รับจ้างจะต้องประสานงาน และตรวนสอบแบบระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การติดตั้งงานระบบอื่นๆ และผนังเบา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย งานระบบอื่นๆ ในที่นี้ได้แก่ ท่อน้ำยา, ท่อน้ำทิ้ง, ระบบปรับอากาศ, สวิตซ์, ปลั๊กไฟฟ้า เป็นต้น

3.

วัสดุและการติดตั้ง
ให้ใช้ผนังยิปซัมบอร์ด 12 มม. พร้อมด้วยโครงคร่าวเหล็กชุบสังกะสีชนิดกว้างไม่น้อยกว่า 76 มม. การเข้ามุม หรือรอยต่อให้ใช้เทปเข้ามุม หรือเทปปิดรอยต่อโดยเฉพาะ ปูนฉาบทับรอยต่อให้ใช้ปูนฉาบทับของผู้ผลิตแผ่นยิปซัมบอร์ด การทาสีให้ดูในหมวดทาสี

บทที่  2  รายละเอียดประกอบแบบงานสถาปัตยกรรม
16. งานสุขภัณฑ์

1.

ขอบเขตของงาน
ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาแรงงาน, วัสดุ, อุปกรณ์ และสิ่งจำเป็นอื่นๆ ในการติดตั้งงานสุขภัณฑ์ตามระบุในแบบก่อสร้างจนเสร็จเรียบร้อยงานสุขภัณฑ์ ในที่นี้ให้รวมถึง สุขภัณฑ์ในห้องน้ำ,
ห้อง PANTRY, ห้องปฏิบัติการ ตลอดจนถึงผนังสำเร็จรูปในห้องน้ำ (TOILET CUBICLE) และกระจกเงาในห้องน้ำ

2.

ข้อกำหนดทั่วไป

2.1

ก่อนการติดตั้งผู้รับจ้างจะต้องตรวจสอบ ขนาด ตำแหน่ง ระดับในงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ตั้งแต่ขั้นตอนงานโครงสร้าง จนถึงขั้นติดตั้งเครื่องสุขภัณฑ์ ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชอบ
ต่อผลเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้น หากมีความผิดพลาด คลาดเคลื่อน ทำให้งานติดตั้งเครื่องสุขภัณฑ์เป็นไปโดยไม่เรียบร้อย หากมีปัญหาหรือคาดว่าจะมีปัญหา ผู้รับจ้างจะต้อง
แจ้งให้ผู้ควบคุมงานทราบทันที ห้ามกระทำไปโดยพลการ

2.2

อ่างล้างหน้า และอ่างล้างมือทุกอ่างจะต้องติดตั้งวาล์วเปิดปิดพร้อมลายอ่อนยี่ห้อเดียวกับสุขภัณฑ์

2.3

รอยต่อระหว่างสุขภัณฑ์กับผนัง / พื้นห้องน้ำ ให้ยาแนวด้วย SILICONE SEALANT หรือ POLYSULPHIDE SEALANT ที่ได้รับอนุมัติจากผู้ควบคุมงาน

2.4 เครื่องสุขภัณฑ์ และอุปกรณ์ทั้งหมด ภายหลังจากติดตั้งเรียบร้อยแล้ว จะต้องได้รับการทดสอบรั่วซึม และกำลังดันของน้ำ การทดสอบจะต้องเป็นไปตามระบุในรายละเอียดประกอบแบบระบบสุขาภิบาล เครื่องสุขภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ติดตั้งเสร็จแล้ว จะต้องทำความสะอาดให้เรียบร้อย จึงจะส่งมอบงานได้

3.

สุขภัณฑ์ และ การติดตั้ง
รายละเอียดชนิดของสุขภัณฑ์ให้ดูในตารางห้องน้ำ หรือตารางสุขภัณฑ์ในแบบขยายทั่วไป

บทที่  2  รายละเอียดประกอบแบบงานสถาปัตยกรรม
17. งานสี

1.

ขอบเขตของงาน

ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาวัสดุ, อุปกรณ์ เครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆเพื่อดำเนินการทาสีให้ลุล่วงดังที่กำหนดในแบบก่อสร้าง และรายการประกอบแบบก่อสร้าง และสัมพันธ์กับงานในส่วนอื่นๆด้วย การทาสี หมายถึง การทาสีอาคารทั้งภายนอก ภายใน และส่วนต่างๆที่มองเห็นด้วยตาทั้งหมด ยกเว้นส่วนที่กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น หรือ ส่วนที่กำหนดให้บุด้วยวัสดุประดับต่างๆทั้งนี้ หากมีส่วนใดที่ผู้รับจ้างสงสัย หรือไม่แน่ใจ และขอคำแนะนำอนุมัติจากผู้ออกแบบทันที การทาสีให้รวมถึงตกแต่งอุดยาแนวผิวพื้น และการทำความสะอาดผิวพื้นต่างๆก่อนที่จะทำการทาสี ตลอดจนถึงการทาสีเพื่อรักษา และป้องกันผิวไม้ และเหล็กส่วนที่มองไม่เห็น

2.

ข้อกำหนดทั่วไป

2.1

ผู้รับจ้างจะต้องแจ้งปริมาณที่จะใช้กับอาคารนี้ ให้ผู้ควบคุมงานรับทราบด้วย

2.2

ผู้รับจ้างจะต้องสั่งซื้อสีโดยตรงจาก บริษัท ผู้ผลิต หรือจากตัวแทนจำหน่าย ของบริษัทผู้ผลิตโดยมีใบรับรองจากบริษัทแจ้งปริมาณสีที่สั่งมาเพื่องานนี้จริง สีที่ใช้จะต้องเป็นของใหม่ที่ห้ามนำสีเก่าที่เหลือจากงานอื่นมาใช้โดยเด็ดขาด

2.3

สีที่นำมาใช้จะต้องบรรจุ และผนึกในกระป๋อง หรือภาชนะโดยตรงจากโรงงานของผู้ผลิต และประทับตราเครื่องหมายการค้า เลขหมายต่างๆ ชนิดที่ใช้ และคำแนะนำในการทำติดอยู่บนภาชนะอย่างสมบูรณ์ กระป๋อง หรือภาชนะที่ใส่สีนั้น  จะต้องอยู่ในสภาพเรียบร้อยไม่บุบชำรุด ฝาปิดต้องไม่มีรอยปิดเปิดมาก่อน

2.4

สีทุกกระป๋องจะต้องนำมาเก็บไว้ในสถานที่ที่จัดไว้ หรือในห้องเฉพะที่มิดชิด มั่นคงสามารถใช้กุญแจปิดได้ภายในห้องมีการระบายอากาศดีไม่อับชื้น มีการทำความสะอาดให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นประจำทุกวัน

2.5

การตรวจสอบระหว่างการก่อสร้าง ผู้ว่าจ้าง ผู้ควบคุมงาน หรือผู้แทนของบริษัท ผู้ผลิต ผู้จำหน่ายสี มีสิทธิเข้าตรวจสอบคุณภาพ และจำนวนของสีได้ตลอดเวลาการก่อสร้าง

2.6

ผู้รับจ้างจะต้องไม่ทำการทาสี ในขณะที่มีดินฟ้าอากาศ มีฝนตก หรือความชื้นอากาศสูง และห้ามทาสีภายนอกอาคารหลังจากฝนหยุดตกแล้วทันที จะต้องทิ้งไว้ 72 ชม. หรือจนกว่าผู้ควบคุมงานจะเห็นสมควรให้เริ่มทาสีได้ และการทาสีภายนอกอาคารหลังจากฝนตกจะต้องขออนุมัติจากผู้ควบคุมงานทุกครั้งไป

2.7

ส่วนที่ไม่สามารถทาสีได้ ถ้าหากมีส่วนหนึ่งส่วนใดที่สงสัยหรือไม่สามารถทาสีได้ตามกำหนด ผู้รับจ้างจะต้องรีบแจ้งให้ผู้ออกแบบทราบทันที

2.8

สีที่จะใช้ในการก่อสร้าง จะต้องได้รับการพิจารณา และอนุมัติให้ใช้จากผู้ควบคุมงานเสียก่อน สีจะต้องเป็นของใหม่ห้ามนำสีเก่าเหลือจากงานอื่นมาใช้โดยเด็ดขาด ชนิดของสี และหมายเลขของสี จะต้องเป็นไปตามกำหนด ห้ามนำสีชนิด และหมายเลขที่นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้มาใช้ หรือมาผสมเป็นอันขาด

2.9

ผู้รับจ้างจะต้องปฏิบัติตามรายการงานสีนี้อย่างเคร่งครัด หากส่อเจตนาที่จะพยายามบิดพริ้วปลอมแปลง ผู้ควบคุมงานมีสิทธิจะให้ล้าง หรือขูดออกแล้ว ทาใหม่ให้ถูกต้องตามายการ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม ส่วนเวลาที่ล่าช้าเนื่องจากความผิดนี้จะยกเป็นข้ออ้างในการต่อสัญญาไม่ได้

2.10

ผู้รับจ้างมีสิทธิเลือกใช้สีของบริษัทผู้ผลิตใดก็ได้ ดังที่ระบุไว้ แต่ถ้าเลือกใช้สีของบริษัทใดแล้ว ต้องใช้สีของบริษัทนั้นทั้งหมด โดยผู้รับจ้างจะต้องแจ้งให้ผู้ควบคุมงานทราบก่อน และจัดทำตัวอย่างสีให้ผู้ควบคุมงานพิจารณาล่วงหน้าก่อน ในเวลาอันสมควรเพื่อรับการอนุมัติ และจะต้องแจ้งปริมาณสีที่จะใช้กับอาคารนี้ให้ผู้ควบคุมงานทราบด้วยเมื่อผู้รับจ้างได้ทาสีอาคารเรียบร้อยแล้ว จะต้องขอรับรองผลงานทาสีจากบริษัทตัวแทนจำหน่ายสีนั้นๆ โดยจะต้องรับรองคุณภาพสี และประกันความเสียหายจากการเสื่อมในคุณภาพของสี

2.11

การทาสี ผู้รับจ้างจะต้องดำเนินการตามกรรมวิธีที่ผู้ผลิตแนะนำอย่างเคร่งครัด

2.12

การทำความสะอาดขั้นสุดท้าย ผู้รับจ้างจะต้องทำความสะอาด เช็ดล้างสีส่วนเกิน และรอยเปรอะเปื้อนตามที่ต่างๆจนสะอาดเรียบร้อย

3.

การเตรียมงานก่อนการทาสี

3.1

ผู้รับจ้างจะต้องเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์ต่างๆรวมทั้งบันได หรือนั่งร้านสำหรับทาสี ที่เหมาะสม หรือตามความจำเป็นและผ้า หรือวัสดุอื่นใดที่ใช้ปกคลุมพื้นที่หรือส่วนอื่นของอาคาร เป็นการป้องกันการสกปรกเปรอะเปื้อนเลอะเทอะซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในงานทาสี

3.2

ก่อนการทา (ยกเว้นสีรองพื้นสำหรับงานเหล็ก) จะต้องทำการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ รอยต่อต่างๆ ของอาคารงานติดตั้งประตู-หน้าต่าง หยดยา หรืออุดส่วนเกิน ทำการขัดด้วยกระดาษทรายให้เรียบร้อย และทำความสะอาดเสียก่อน

3.3

พื้นผิวที่จะทาสี จะต้องแห้งสนิท โดยเฉพาะงานฉาบปูน และงานคอนกรีต โดยทำความสะอาดผิวจนปราศจากฝุ่นละออง และตกแต่งยาแนวให้เรียบร้อยเสียก่อน

3.4

บริเวณข้างเคียง  และพื้นที่ที่จะทาสี จะต้องป้องกันไม่ให้เปรอะเปื้อน ห้ามทาสีในบริเวณเปียกชื้น หรือในขณะที่มีละอองน้ำ ฝุ่นละออง

3.5

อุปกรณ์ประตู-หน้าต่าง สำหรับอุปกรณ์ที่ไม่รวมในการติดตั้ง และ/หรือที่สามารถจะติดตั้งภายหลัง การติดตั้งจะต้องทำภายหลังเมื่อทาสีเรียบร้อยแล้ว

3.6

อุปกรณ์ประตู และหน้าต่าง ที่ติดตั้งแล้วจะต้องถอดออกเก็บให้เรียบร้อยแล้วจึงเริ่มงานทาสี  หลังจากทาสีเสร็จแล้วจึงนำอุปกรณ์เหล่านี้มาติดตั้ง

3.7

สำหรับแผงสำหรับไฟฟ้า( ELECTRICAL  PANEL  BOX )  จะต้องถอดเอาฝาที่ปิดออก  แล้วทาหรือพ่นสีต่างหาก (ถ้าจำเป็น) หลังจากการทาสีของผนังเรียบร้อย  และแห้งสนิทดีแล้ว จึงนำไปติดตั้งตามเดิม

3.8

ฝาครอบสวิทซ์ และปลั๊กไฟฟ้า ซึ่งได้ติดตั้งสวิตซ์ และปลั๊กเรียบร้อยแล้ว จะต้องเอาออกก่อน ทำการทาสีเสร็จ และแห้งดีแล้วจึงทำการติดตั้งตามเดิมให้เรียบร้อย

4.

วัสดุ/ประเภทของสี และกรรมวิธีการทา

4.1

ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาช่างทาสีที่มีฝีมือดี มีประสบการณ์ และชำนาญงานปฏิบัติ ตามคำแนะนำในการใช้สี  หรือผสมสีของบริษัทผู้ผลิต ในการทาสีช่างสีจะต้องทาให้สีมีความเรียบสม่ำเสมอกันตลอดปราศจากรอยต่อช่องว่าง หรือเป็นรอยแปรงปรากฏอยู่ ไม่มีรอยหยดของสี มีความแน่ใจว่าสีแต่ละชั้นจะต้องแห้งสนิทดีแล้ว จึงจะลงมือทาสีชั้นต่อไป ควรจะพิจารณาความเรียบร้อย  ในการทาสีแต่ละชั้น

4.2

การตัดเส้นขอบต่างๆและการทาระหว่างรอยต่อของสีต่างกันจะต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างดีปราศจาก รอยทับกันระหว่างสี และจะต้องระวังอย่าให้มีสีสกปรกเลอะเทอะตามอุปกรณ์ประตู-หน้าต่าง

4.3

การทาสีพื้นผิวประเภทไม้

1.

วัสดุยาแนวส่วนที่เป็นไม้ให้ใช้ WOOD SEALER หรือ WOOD FILLER  ถ้าพื้นผิวไม่เรียบมีรอยขรุขระให้ขัดด้วยกระดาษทราย  หรือโป๊วสี  หรือพ่นสีรองพื้น และขัดจนเรียบทั่วกัน ส่วนที่เป็นไม้จะต้องทาวานิชให้อุดแนว และรองพื้นดินสอพองผสมสี และกาวประสาน หรือสีย้อมเนื้อไม้

2.

ผิวของไม้จะต้องแห้งสนิท และต้องทำการซ่อมโป๊วอุดรูรอยแตกต่างๆของผิวไม้ให้เรียบร้อย แล้วจึงทำการขัดเรียบผิวไม้ด้วยกระดาษทรายพร้อมทั้งทำการเช็ดปัดทำความสะอาดผิวไม้ให้เรียบร้อย แล้วให้ทาด้วยน้ำยารักษาเนื้อไม้ SADOLIN BASE ชนิดใส 1 ครั้ง( ห้ามใช้สีน้ำตาล หรือสีชา ยกเว้นส่วนที่อยู่ในฝ้าซึ่งมองไม่เห็นจากภายนอก) และทาด้วยสีรองพื้นกันยางไม้ (ALUMINIUM WOOD PRIMER) อีก 1 ครั้ง โดยให้ดำเนินตามคำแนะนำ และกรรมวิธีของผู้ผลิต

3.

พื้นผิวของไม้ในส่วนที่มองไม่เห็นเช่น โครงเคร่าไม้ ให้ทาด้วยน้ำยารักษาเนื้อไม้ SADOLIN BASE 2 เที่ยว

4.

พื้นผิวไม้ของงานวงกบประตู และบานประตูให้ทาด้วยสีประเภท ACRYLIC แท้ 100 % ของ TOA SUPERSHIELD TIMBERSHIELD 2เที่ยว

5.

พื้นผิวไม้ของงานฝ้าเพดานชายคาหรือเครื่องไม้งานหลังคา ส่วนที่มองไม่เห็น เช่น เชิงชาย เป็นต้น ให้ทาด้วยสีย้อมประเภท ALKYD MODIFIED  ของ     SADOLIN  EXTRA 2 เที่ยว

6.

การทาสีบานประตูไม้อัดยาง ให้ใช้กระดาษทรายขัด พร้อมลงแป้งเพื่อไม่ให้เห็นเสี้ยนไม้

4.4

การทาสีพื้นผิวประเภทโลหะ

1)

ผิวเหล็กหรือโลหะที่มีส่วนผสมของเหล็ก  เหล็กอาบสังกะสี  และโลหะต่างๆ ผิวเหล็กหรือโลหะที่มีส่วนผสมของเหล็กให้ใช้เครื่องขัด ขัดรอยต่อ เชื่อมตำหนิ แล้วใช้แปรงลวด หรือกระดาษทรายขัดผิวจนเรียบ และปราศจากสนิม หรืออาจใช้วิธีพ่นทราย(ในส่วนที่ผู้ออกแบบกำหนดให้ใช้)  เพื่อขจัดสนิม หรือเศษผง ออกให้หมด พร้อมทั้งทำความสะอาดผิวหน้าไม่ให้มีมัน หรือน้ำมันจับ โดยใช้น้ำยาล้างขจัดไขมันโดยเฉพาะเสร็จแล้วใช้น้ำยาล้างออกให้หมด และปล่อยให้แห้ง แล้งจึงใช้น้ำยาขจัดสนิม และป้องกันสนิม ประเภทไครโรเอทธิลิน หรือน้ำยาประเภทเดียวกัน 1 ส่วนต่อน้ำ 2 ส่วน ทาล้างคราบสนิมบนผิวหน้าเหล็กให้ทั่ว และก่อนที่น้ำยาจะแห้งให้ใช้น้ำสะอาดล้างออก จนผิวหน้าสะอาดพร้อมทั้งเช็ด หรือใช้ลมเป่าให้แห้งสนิท แล้วจึงทา หรือ พ่นสีรองพื้นกันสนิม ผิวเหล็กอาบสังกะสีและโลหะต่างๆ ให้ใช้น้ำยาล้างขจัดไขมันหรือน้ำมันเช็ดล้างออกให้หมด  และล้างด้วยน้ำสะอาด เมื่อทิ้งให้แห้งแล้วให้ทาหรอพ่นสีรองพื้น

2)

การทาสีรองพื้นกันสนิม ให้ทาสีรองพื้นกันสนิม RED LEAD PRIMER 1 ครั้ง เมื่อส่งวัสดุเข้าถึงหน่วยงานก่อสร้าง แล้วทาด้วยสีรองพื้นกันสนิม RED LEAD IRON OXIDE อีก  1  ครั้ง เมื่อทำการติดตั้งแล้วเฉพาะรอบๆ รอยเชื่อมที่สีกันสนิมโดนละลายด้วยความร้อนจะต้องขัดให้สะอาดแล้วทาสีรองพื้นทับ 2 ครั้ง เมื่อติดตั้งแล้วต้องตรวจดูรอยกระทบกระเทือน หากมีการชำรุดเสียหาย หรือทำการเชื่อมใหม่ ให้ทาสีรองพื้นทับอีก 2 ครั้ง หากทาสีรองพื้นส่วนใดไม่ดี จะต้องขัดออก  และทาใหม่

3)

ในส่วนของงานเหล็กที่มองเห็น เช่น ราวกันตก   หรือโครงหลังคาของ SKYLIGHT ให้ทาทับด้วยสีประเภท ALKYD

4)

 ประตู และวงกบเหล็กให้ทาด้วยสีประเภท ALKYD

4.5

การทาสีพื้นผิวประเภทโลหะ ของงานโครงสร้างภายนอกอาคาร

1.

การเตรียมผิวเหล็ก หรือ โลหะ เหมือน 4.4

2.

การทาสีรองพื้น และทาสีทับหน้า ประเภทสีอีพ็อกซี่

-

สีรองพื้น ประเภทสีอีพ็อกซี่ จำนวน 2 ครั้ง ที่ความหนาครั้งละ 125 ไมครอน

-

สีทับหน้า เป็นสีป้องกันรังสี  UV. จำนวน 1 ครั้ง ที่ความหนา 50 ไมครอน

4.6

การทาสีพื้นผิวประเภทปูนฉาบ  และผิวคอนกรีต

1.

วัสดุยาแนวส่วนที่เป็นคอนกรีต ปูนฉาบให้ใช้ CEMENT FILLER  ถ้าเป็นรอยหรือรูพรุนเพียงเล็กน้อย ให้ใช้ดินสอพองผสมสีน้ำมัน หรือสีพลาสติกชนิดทาภายนอกอุดยาแนวแทนได้

2.

ผิวปูนฉาบ และผิวคอนกรีต ที่จะทาสี จะต้องแห้งสนิท และจะต้องทำความสะอาดให้ปราศจากเศษฝุ่นละออง คราบฝุ่นคราบสกปรก ถ้ามีคราบไขมัน น้ำมัน หรือสีเคลือบละลายติดอยู่ให้ล้างออกด้วยน้ำยาขจัดไขมัน หรือผงซักฟอก ทิ้งให้ผิวแห้งสนิทแล้ว ให้ทาด้วยสีรองพื้นตามชนิดของสีทาทับหน้าโดยให้เป็นไปตามคำแนะนำ และกรรมวิธีของผู้ผลิตผิวคอนกรีตเปลือยไม่ฉาบปูน ให้ทำความสะอาดผิวหน้าจนปราศจากฝุ่น คราบน้ำมัน หรือน้ำยามาไม้แบบให้เรียบร้อย แล้วจึงอุดโป๊วตกแต่งผิวหน้า ให้เรียบร้อยเสียก่อน จึงทาสีรองพื้นตามชนิดของสีทาทับหน้าโดยให้เป็นไปตามคำแนะนำ และกรรมวิธีของผู้ผลิต

3.

ผิวคอนกรีตไม่ฉาบปูน หรือผิวฉาบปูน ส่วนภายนอกอาคารให้ทาสีรองพื้น ACRYLIC EMULSION PRIMER จำนวน 1 ครั้ง และให้ทาสีทับหน้าด้วยสีประเภท EXTERIOR PURE ACRYLIC EMULSION PAINT อีกจำนวน 2 ครั้ง

4.

ผิวคอนกรีตไม่ฉาบ หรือผิวฉาบปูน ส่วนภายในอาคารให้ทาสีรองพื้นประเภท ACRYLIC EMULSION PRIMER จำนวน 1 ครั้ง และให้ทาสีทับหน้าด้วยสีประเภท INTERIOR ACRYLIC EMULSION PAINT อีกจำนวน 2 ครั้ง

4.7

การทำสีแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป และ GRC

1.

 ในกรณีที่ระบุให้ทาสี ACRYLIC ให้ดำเนินการตามกรรมวิธีในข้อ 4.5 ทุกประการ

2.

ในกรณีที่ระบุให้ผิว GRC ทำสีพ่น METALIC ให้ดำเนินการโดยเริ่มยาแนวตามรอย หรือรูพรุนด้วยวัสดุที่ผู้ผลิต GRCแนะนำ แล้วจึงเริ่มทำงานสีพ่น METALIC ตามกรรมวิธีของผู้ผลิต

4.8

การทาน้ำยาเคลือบผิวคอนกรีตเปลือยทรายล้าง กรวดล้าง และหินล้าง พื้นผิวประเภทคอนกรีตเปลือย ทรายล้าง กรวดล้าง และหินล้าง หลังจากทำความสะอาดเสร็จ ให้ทาด้วยน้ำยาประเภท WATER REPELLENT SILICONE

4.9

การทาสีบนผิวยิปซัมบอร์ด

ให้ทาด้วยสีประเภท INTERIOR ACRYLIC EMULSION PAINT จำนวน 2 ครั้ง

4.10

การทาสีบนผิวไม้อัดซีเมนต์

ให้ทาด้วยสีประเภท EXTERIOR PURE ACRYLIC EMULSION PAINT ทั้ง 2 ด้าน เพื่อช่วยความสมดุลการซึมผ่านของความชื้นของผิวแผ่นทั้งสองด้าน โดยด้านหลังของแผ่นทาสีจำนวน 1 ครั้ง ส่วนด้านหน้าของแผ่นให้ทาจำนวน 2 ครั้ง

4.11

การทาสีบานประตูไม้

ให้รองพื้นด้วยสีประเภท ALUMINIUM WOOD PRIMER ก่อน 1 ครั้ง ปล่อยทิ้งไว้ 4-6 ชั่วโมง และทาทับด้วยสีอะครีลิคสำหรับทาไม้ 2 ครัง

บทที่  2  รายละเอียดประกอบแบบงานสถาปัตยกรรม
18. งานประตูและหน้าต่าง

1.

ขอบเขตของงาน

ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาแรงงาน วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งจำเป็นอื่นๆ ในการติดตั้งงานประตูและหน้าต่าง ที่ระบุในแบบก่อสร้างจนเสร็จเรียบร้อย งานประตูหน้าต่างหมายรวมถึง ประตูหน้าต่างไม้และโลหะทุกชนิด ยกเว้นประตู,หน้าต่างอลูมิเนียม นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงอุปกรณ์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับงานประตูหน้าต่าง

2.

ข้อกำหนดทั่วไป

2.1

ผู้รับจ้างจะต้องเขียนแบบ SHOP DRAWING งานประตูและหน้าต่าง พร้อมตำแหน่งการติดตั้ง HARDWARE เสนอผู้ควบคุมงานอนุมัติก่อนลงมือก่อสร้าง

2.2

ผู้รับจ้างจะต้องส่งตัวอย่างวัสดุ,อุปกรณ์ รวมถึง HARDWARE ไม่น้อยกว่า 2 ตัวอย่าง ให้ผู้ควบคุมงานอนุมัติ ก่อนดำเนินการสั่งซื้อและติดตั้ง

2.3

การทาสีให้ดูหมวดงานสี

3.

วัสดุและอุปกรณ์

3.1

ประตูไม้

ประตูไม้ การติดตั้งวงกบไม้จะต้องเป็นไปตามระบุในหมวดงานไม้ นอกจากระบุไว้เป็นพิเศษในแบบ

3.1.1

ประตูบานไม้อัด

ให้ใช้ประตูบานไม้อัดชนิดภายในสำหรับบานที่ติดตั้งภายในอาคาร และใช้ชนิดภายนอกกรณีที่อยู่ภายนอกอาคาร หรือห้องน้ำ หรือประตูช่องท่อ ประตูไม้อัดทั้ง 2 ชนิด จะต้องมีคุณภาพเทียบเท่า มอก.192-2519 ประตูทุกบานจะต้องมีขนาดตามระบุในแบบ ความหนาของบานไม่น้อยกว่า 35 มม. ห้ามใช้ประตูบานขนาดใหญ่กว่ามาตัดให้เล็กลง สำหรับบานที่ต้องการเจาะช่องกระจก หรือเกล็ดไม้เนื้อแข็งติดตาย ให้ใช้โครงไม้จริงประกอบขึ้นจากโรงงานให้เรียบร้อย มีขนาดและรูปร่างตามระบุในแบบก่อสร้าง การประกอบและการติดตั้งต้องเป็นไปตามระบุในรายการประกอบแบบหมวดงานไม้

ผิวหน้าโดยทั่วไปให้ใช้ผิวไม้อัดยาง สำหรับบานที่ระบุให้ทาสี (ตามหมวดงานทาสี) และผิวไม้อัดสัก สำหรับบานที่ระบุให้ทำสีธรรมชาติ ให้ย้อมผิวแบบโอ๊คแดง หรือระบุเป็นแบบอื่น

3.1.2

ประตูไม้เนื้อแข็ง

กรณีในแบบระบุเป็นบานประตูไม้เนื้อแข็ง ให้ใช้ไม้สักทั้งบาน ทั้งบานที่ระบุให้ทาสีหรือบานที่ระบุให้ทำสีธรรมชาติ ให้ย้อมผิวแบบโอ๊คแดง กรณีที่จำเป็นจะต้องใช้ไม้ชนิดอื่นแทนไม้สัก ให้เสนอผู้ออกแบบอนุมัติ

3.1.3

ประตูแผ่นใยไม้อัดแข็ง

เป็นผลิตภัณฑ์จากไม้ธรรมชาติ นำใยไม้มาอัดแน่นด้วยเทคโนโลยี HDWF (HIGH  DENSITY WOOD FIBER) การทาสี การประกอบและติดตั้ง เหมือนประตูบานไม้อัด

3.2

ประตูเหล็ก

3.2.1

ประตูเหล็กทั่วไป

สำหรับใช้งานทั่วไป ให้ใช้ประตูบานเดียวหรือบานคู่เปิดทางเดียว ขนาดบานตามระบุในแบบก่อสร้าง ตัวบานผลิตด้วยแผ่นเหล็ก เคลือบกัลวาไนซ์อัลลอย (GALVANIZED ALLOY STEEL : GA) หนา 0.60 มม. กำหนดให้ความหนาของบานประตู 36 - 38 มม. พับขึ้นรูปเป็นตัวแบบ REINFORCED DOUBLE SKIN HOLLOW SHELL โครงสร้างของบานเป็นไม้สำหรับบานเปิดเดี่ยว และโครงสร้างเหล็ก สำหรับบานเปิดคู่ บานประตูบรรจุด้วยโพลียูรีเทนโฟมชนิดแข็ง มีไม้หรือแผ่นเหล็กภายในบานประตูสำหรับรองรับการติดตั้งโชคอัพประตู กันชนประตู โซ่คล้องประตู ลูกบิด และสลักกลอนนิรภัย กรณีเป็นประตูคู่ให้มีเหล็กปิดปลายบานที่มาชนกันพร้อมยาง WEATHER SEAL

วงกบผลิตด้วยเหล็ก GA หนา 1.6 มม. กำหนดให้ขนาดประมาณ 50 x 93 มม. บานเดี่ยวให้ใช้ชนิดธรรมดา 3 ขา และชนิดกันเสียงและกลิ่น 4 ขา สำหรับบานประตูคู่

ส่วนการเคลือบสี การเจาะช่องกระจกที่ตัวบาน การติดตั้งให้เป็นตามมาตรฐานของผู้ผลิต(คำแนะนำ) ผลิตภัณฑ์ตราช้าง (สยามนวภัณฑ์) หรือเทียบเท่า

3.2.2

ประตูเหล็กกันไฟ

ประตูเหล็กกันไฟให้ใช้ประตูเดี่ยว หรือบานคู่เปิดทางเดียว ขนาดบานตามระบุในแบบก่อสร้าง ตัวบานผลิตด้วยแผ่นเหล็กเคลือบกัลป์วาไนซ์ อัลลอย (GALVANIZED ALLOY  STEEL) หนา 1.6 มม. กำหนดให้ความหนาของบานประตู 36-38 มม. พับขึ้นรูปเป็นตัวแบบ REINFORCED DOUBLE SKIN HOLLOW SHELL การประกอบตัวบานประตูเป็นแบบ INTERLOCK และ SPOT WELD ซึ่งทำให้ประตูยืดหดตัวได้เมื่อเกิดเพลิงไหม้และไม่เห็นรอยเชื่อมจากภายนอก ภายในบานประตูบรรจุด้วยวัสดุทนไฟ FLAMPROOFING HONEYCOMB / GLASS WOOL โดยให้ประตูทนไฟได้ไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง

วงกบผลิตด้วยเหล็ก GA หนา 1.6 มม. ขนาดประมาณ 50 x 93 มม. ชนิดหนามีแกนยางกันควัน NEOPRENE ติดรอบวงกบเพื่อป้องกันควันไฟ

การเคลือบสี การเจาะช่องกระจกที่ตัวบาน การติดตั้งให้เป็นตามมาตรฐานของผู้ผลิตให้สามารถทนไฟได้ไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง   

อุปกรณ์ประกอบประตูกันไฟ ให้ใช้มือผลักรุ่น PD006 บานผับ YL001 และกุญแจ EX001 ของตราช้าง (สยามนวภัณฑ์) หรือเทียบเท่า 

ยกเว้นในแบบระบุอุปกรณ์ที่ต่างออกไป และมาตรฐานที่สูงกว่า สำหรับ DOOR CLOSER ให้ใช้ชนิดกันไฟ ถ้าในแบบไม่ได้ระบุ ให้ผู้รับจ้างเสนออนุมัติ  

3.2.3

ประตูเหล็กม้วน

ประตูเหล็กม้วน ขนาดบานระบุในแบบก่อสร้าง รายละเอียดของส่วนประกอบดังนี้

เพลา 
แกนเพลาใช้ท่อเหล็กกลวงหนาประมาณ 3 มม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5 มม. ล้อเพลาหล่อจากพลาสติกวิศวกรรมไนล่อน -6 มีคุณสมบัติเบา แข็งแรง และไม่เปราะ สปริง ขนาดจำนวน และการติดตั้งตามมาตรฐานผู้ผลิต ส่วนฝาเหล็กคลอบเพลา  ให้ติดตั้งใช้สีเดียวกับผืนประตู ยกเว้นระบุเป็นแบบอื่น

ผืนประตู
ผืนประตูทึบ วัสดุทำแผ่นเหล็กเคลือบ COLORBOND ของ BHP มีความหนา 0.5 มม. ขอบแผ่นประตูติดไนล่อนโพลีไกลด์ตลอดแนวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เพื่อกันการเสียดสีกับรางน้ำ รางน้ำทำด้วยอลูมิเนียมชุบขาว รางล่างทำด้วยอลูมิเนียมชุบขาวรีดล็อคกับขอบผืนประตูด้านล่างใต้รางมีร่อง สำหรับสอดครีบ พีวีซี เพื่อป้องกันฝุ่น ลม ฝน รอดเข้าตามพื้น

หากในแบบระบุช่องอากาศ ให้เจาะช่องระบายอากาศแบบปั๊มป์หลุด  แต่ละช่องมีขนาด 7.5 x 2 ซม.

กรณีระบุลักษณะการใช้งานของใบประตูแบบโปร่ง ให้เป็น STAINLESS STEEL เบอร์ 23 หนา 0.6 มม. ลายเส้นตรง (LINK) ยกเว้นในแบบระบุเป็นลายอื่น

กุญแจล็อคตามมาตรฐานผู้ผลิต ที่ใช้งานสะดวก ปลอดภัย ทนทาน และสวยงาม

ระบบการทำงาน
ทั่วไปให้ใช้ระบบดึงโซ่ ยกเว้นมีเหลุผลและความจำเป็นในการใช้ระบบอื่น ที่เหมาะสมกับการใช้งาน

3.2.4

 ประตูเหล็กพิเศษ

เป็นประตูเหล็กขนาดใหญ่  ขนาดตามแบบ  และมีความต้องการการใช้งานพิเศษ  กรณีที่ในแบบระบุเป็นประตูเหล็กพิเศษ  ใช้ผู้รับจ้างประสานกับทางผู้ออกแบบโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม  เพื่อจัดทำบานประตูให้เหมาะสมกับการใช้งาน  เช่น  คุณสมบัติทนทาน  กันเสียง  กันควัน  หรือระบบเปิดปิด  พิเศษ

3.3

กระจกสำหรับงานประตู  และหน้าต่าง

1.

กระจกใสให้ใช้กระจกชั้นคุณภาพAมีคุณภาพเทียบเท่า  หรือดีกว่า  มอก.54–2516  ขนาด และความหนาตามระบุในแบบ

2.

กระจกฝ้า  กระจกช่องแสง  และหน้าต่างของห้องน้ำทั้งหมด  ให้ใช้กระจกฝ้า  กระจกฝ้าให้ใช้ชนิดลายผ้า  มีคุณภาพเทียบเท่า  หรือดีกว่า  มอก.54–2516  ขนาด     และความหนาตามระบุในแบบ

3.

PUTTY  ให้ใช้ชนิดสำหรับงานโลหะ  และ งานไม้

3.4

อุปกรณ์ประตู  และหน้าต่าง

 ให้ดูรายละเอียดใน HARDWARE  SCHEDULE  ของแบบงานขยายทั่วไป

4.

การประกอบ และ ติดตั้ง

4.1

 การติดตั้งประตูไม้

1.

ให้ติดตั้งโดยการทำการก่อผนังอิฐ  แล้วเทคอนกรีตตั้งเป็นเสาเอ็น  หรือคานเอ็นโดยใช้เคร่าไม้เป็นแบบหล่อ  หลังจากนั้นจึงติดตั้งวงกบเข้ากับเคร่าไม้  โดยยึดด้วยตะปูเกลียวทุกระยะ  40  ซม.

2.

ก่อนติดตั้ง  ผู้รับจ้างจะต้องตรวจดูความเรียบร้อยถูกต้องของวงกบประตูเสียก่อน  ถ้าเกิดความผิดพลาดเนื่องจากการคดโก่งของวงกบ  หรือการชำรุดอื่น ๆ  ซึ่งอาจเป็นผลเสียหายแก่ประตูภายหลัง  ผู้รับจ้างต้องแจ้งให้ผู้ควบคุมงานทราบ  และ/หรือรายงานต่อผู้ควบคุมงานทันทีเพื่อทำการแก้ไขซ่อมแซมให้เรียบร้อย  แล้วทำการติดตั้งประตูต่อไปได้

3.

การติดตั้งบาน  อาจต้องมีการตัดแต่งบ้างเล็กน้อยเพื่อให้พอดีกับวงกบประตู  และสะดวกในการเปิดปิดและสอดคล้องกัน  การทำงานของช่างสี  ผู้รับจ้างจะต้องทำด้วยความระมัดระวังโดยถือระยะเหล่านี้เป็นพื้นฐาน  คือ
ด้านบน               ควรจะห่างจากวงกบประมาณ           2-3       มม.
ด้านข้าง              ควรจะห่างจากวงกบประมาณ           2-3       มม.
ด้านล่าง              ควรจะห่างจากพื้นประมาณ              5          มม.  (ห้องทั่วไป)
                        ควรจะห่างจากพื้นประมาณ              10         มม.  (ห้องน้ำ)

4.2

การติดตั้งประตูเหล็ก

1.

การประกอบบานประตู  และวงกบจะต้องกระทำจากโรงงานด้วยความประณีต  โดยช่างฝีมือสำหรับงานนี้โดยเฉพาะ  การพับ  และการเข้ารูปบานประตู  และวงกบ  จะต้องใช้เครื่องมือสำหรับงานนี้โดยเฉพาะ  รอยพับทั้งหมดจะต้องสม่ำเสมอ  และเรียบร้อย

2.

การเชื่อมเหล็ก  จะต้องเป็นไปตามาตรฐานการเชื่อมที่ดี  แนวเชื่อมทั้งหมดจะต้องขัดแต่งให้เรียบร้อย

3.

ประตูและวงกบที่ประกอบเสร็จเรียบร้อยจะต้องแข็งแรง  ได้ฉาก  ผิวหน้าเรียบ  ไม่มีรอยย่น  หรือคดงอ

4.

ประตูบานเปิดทุกบานจะต้องเว้นร่องโดยรอบ  เพื่อความสะดวกในการปิดเปิด

5.

ประตูบานเปิดทุกบานจะต้องติดตั้งยางกันกระแทก  เพื่อไม่ให้เกิดเสียง  ดังตามระบุในแบบ  หรือตามความเหมาะสม

6.

การติดตั้งวงกบกับผนัง  เสา  หรือคาน  จะต้องเชื่อมเหล็กที่มีขนาดและความยาวที่เหมาะสมเพื่อให้แข็งแรงการติดตั้งวงกบจะต้องได้ดิ่ง  ได้ระดับ  และได้ฉาก  ถูกต้องตามระบุในแบบ

7.

 น๊อต  หรือสกรู  ที่มองเห็นด้วยตาเปล่าทั้งหมด  จะต้องใช้ชนิดฝังหัวเรียบในเหล็ก

4.3

การติดตั้งอุปกรณ์ประตู

การติดตั้งอุปกรณ์  เช่น  กุญแจ  ลูกบิด  ขอรับ  ขอสับ  ฯลฯ  ผู้รับจ้างจะตั้งใช้  TEMPLATE  กำหนดที่ที่จะเจาะประตูก่อน  แล้วจึงทำการเจาะเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้  หลังจากการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง  ๆ  และได้ทดสอบการใช้งานเรียบร้อยแล้วให้ถอดอุปกรณ์ต่าง  ๆ  ออกให้หมด  (ยกเว้นบานพับ)  แล้วนำเก็บลงกล่องบรรจุเดิม  ทั้งนี้เพื่อให้ช่างทาสีทำงานได้โดยสะดวก  และเมื่อสีที่ทาประตู  หรือวงกบแห้งสนิทแล้ว  จึงทำการติดตั้งอุปกรณ์เหล่านั้นใหม่  และทดสอบจนใช้การได้ดีดังเดิม  อุปกรณ์ต่าง  ๆ  เช่น  กุญแจ  ลูกบิด  บานพับ  ถ้าปรากฎเป็นรอยอันเนื่องมาจากการติดตั้งหรือจากการขนส่งอื่น  ๆ  ผู้รับจ้างจะต้องเปลี่ยนใหม่ทันที

การติดตั้ง  DOOR  CLOSER ชนิด  SURFACE  MOUNT  จะต้องตรวจสอบ  สอบถาม  และขออนุมัติตำแหน่งการการติดตั้งของ  DOOR  ก่อนลงมือติดตั้ง

4.4

ลูกกุญแจ

1.

ให้ผู้รับจ้างจัดทำระบบกุญแจ  GRAND  MASTER  KEY, MASTER  KEY,SUB  MASTER  KEY  เสนอขออนุมัติก่อนติดตั้ง

2.

ลูกกุญแจต้องทำจากวัสดุ  NICKEL หรือ SILVER

3.

ลูกกุญแจของอุปกรณ์ล็อคทุกชนิด  ทุกระบบ  จำนวน 2 ชุด ต่อ 1 จุด

บทที่  2  รายละเอียดประกอบแบบงานสถาปัตยกรรม
1
9. งานอลูมิเนียมและกระจก

1.

ขอบเขตของงาน
ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาแรงงาน, วัสดุ, อุปกรณ์ และสิ่งจำเป็นต่างๆในการติดตั้งงานอลูมิเนียม และกระจก ตามที่ระบุในแบบก่อสร้าง และทดสอบจนเสร็จเรียบร้อยใช้งานได้ดี งานอลิเนียมกระจก หมายรวมถึง หน้าต่าง, ช่องแสง, ประตู, เกล็ดติดตาย, อลูมิเนียม, กระจก, SEALANT, GASKETT,กำมะหยี่ และอุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง

2.

ข้อกำหนดทั่วไป

2.1

ผู้รับจ้างต้องส่งรายละเอียด ข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ ข้อมูลทางเทคนิค ข้อแนะนำการติดตั้ง และข้อมูลอื่นๆเกี่ยวกับสินค้าของตน ตามที่ผู้ควบคุมงานต้องการเพื่อพิจาณาอนุมัติ

2.2

ผู้รับจ้างต้องส่งตัวอย่างวัสดุ ผลิตภัณฑ์พร้อมตัวอย่างสี และอุปกรณ์ทั้งหมดที่ใช้จริงในโครงการนี้ให้ผู้ควบคุมงานอนุมัติ

2.3

ผุ้รับจ้างจะต้องจัดทำ SHOP DRAWINGS มาเสนอผู้ควบคุมงานจำนวน 3 ชุดเพื่อตรวจสอบ และพิจารณาอนุมัติโดย SHOP DRAWINGS จะต้องแสดงรายละเอียด ดังต่อไปนี้

1.

ตำแหน่งบริเวณที่จะใช้

2.

หน้าตัด และความหนาของอลูมิเนียม

3.

อุปกรณ์ประกอบทั้งหมด เช่น มือจับ, กุญแจ,บานพับ, โช๊คอัพ, ล้อเลื่อน ฯลฯ

4. กรรมวิธีในการติดตั้ง การยึดติดกับโครงสร้างต่างๆ
5. การใส่โลหะเสริมความแข็งแรงของงานอลูมิเนียม และเพื่อยึดอุปกรณ์ต่างๆ
6.  รอยต่อ และการใช้วัสดุอุดยาแนวเพื่อป้องกันน้ำ
7. รายละเอียดอื่นๆที่จำเป็น
2.4 เมื่อ SHOP DRAWINGS ได้รับการพิจารณาอนุมัติแล้ว ผู้รับจ้างต้องจัดทำสำเนา และ SHOP DARWINGS ที่ได้รับอนุมัติแจกจ่ายให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไว้ใช้ทำงานก่อสร้างด้วย
2.5 ระยะเวลาที่ใช้เสนอรายละเอียดผลิตภัณฑ์ และการเสนอ SHOP DRAWINGS ให้ปรึกษาผู้ควบคุมงานเพื่อให้สัมพันธ์กับระยะเวลาที่ใช้ในการก่อสร้าง
2.6 การพิจารณาอนูมัติ SHOP DRAWINGS และวัสดุต่างๆของผู้คุมงาน มิได้หมายความว่าผู้รับจ้างจะพ้นความรับผิดชอบงานเหล่านี้  ผู้รับจ้างยังคงรับผิดชอบความผิดพลาดทั้งหลายที่เกิดขึ้นทั้งหลายที่เกิดขึ้นทั้งในด้านค่าใช้จ่าย  และเวลาที่สูญเสียไปทั้งหมด ทั้งในระยะเวลาที่ดำเนินการก่อสร้าง และระยะเวลาตามภาระการรับประกันงานก่อสร้าง
2.7 ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชอบขนาด หน้าตัด และรูปร่างอลูมิเนียม และกระจกให้ทนแรงลมได้ดังนี้คือ ความสูง 0.9 ม. 0.5 ม.KN/m. ความสูง 9-22 ม. 0.8 ม.KN/m. และความสูง 22 ม. ขึ้นไป 1.2 KN/m. การทดสอบจะต้องได้ตามมาตรฐาน ASTME 330-70
2.8 การป้องกันผิววัสดุ
งานอลูมิเนียมทั้งหมดเมื่อทำการติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้รับจ้างจะต้องพ่นวัสดุปกคลุมผิว หรือติด PLASTICTAPE เพื่อป้องกันผิวของวัสดุไว้ให้ปลอดภัยจากน้ำปูน หรือ สิ่งสกปรกอื่นใดที่อาจทำความเสียหายให้กับงานอลูมิเนียม
2.9 การทำความสะอาด
ผู้รับจ้างจะต้องทำความสะอาดผิวของอลูมิเนียม และกระจก ทั้งด้านนอก และด้านในให้สะอาดปราศจากคราบน้ำมัน คราบน้ำปูน สี รอยดินสอ หรือสิ่งสกปรกอืนใดก่อนส่งมอบงาน โดยผู้รับจ้างจะต้องไม่ใช้เครื่องมือ และสารสะลายใดๆ ทำความสะอาดอันอาจเกิด ความเสียหายแก่งานอลูมิเนียม และกระจกได้
2.10 การรับประกัน
ผู้รับจ้างต้องจัดทำเอกสารรับประกันคุณภาพวัสดุ อุปกรณ์ที่นำมาติดตั้ง และคุณลักษณะผลงานของอลูมิเนียม และกระจก ว่าถูกต้องสมบรูณ์ไม่รั่วซึม และจะยังคงสภาพการใช่งานได้ดีอย่างน้อย 5 ปี นับจากวันส่งมอบงาน ความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นก่อนการรับมอบงานหรือภายในระยะเวลาของการรับประกัน อันมีผลเนื่องมาจากการผลิตการขนส่ง การติดตั้งผู้รับจ้างจะต้องชดใช้โดยถอดออก และติดตั้งด้วยของใหม่ที่มีคุณภาพ และขนาดเดียวกันโดยเป็นค่าใช้จ่ายของผู้รับจ้างทั้งสิ้น

3.

วัสดุ

3.1

อลูมิเนียมที่ใช้ในโครงการนี้ทั้งหมดจะต้องรีดมาจากอลูมิเนียมอัลลอย ชนิด 6063-T5 หรือ 50S-T5 ซึ่งมีคุณภาพเหมาะสมกับงานสถาปัตกรรมโดยมีค่า ULTIMATE TENSILE  STRENGTH ไม่ต่ำกว่า 22,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ผิวของอลูมิเนียมในส่วนที่มองเห็นภายนอกจะต้องเป็นชนิด NA-1 ( NATURAL ANCDIZED ) ความหนาของ ANODIZED FILM THICKNESS = 13-17 MICRON ส่วนผิวของอลูมิเนียมในส่วนที่มองไม่เห็นให้เป็นMILL FINISH

3.2

ขนาดและความหนาอลูมิเนียม
หน้าตัดอลูมิเนียมที่ใช้โดยทั่วไปจะต้องเหมาะสมกับลักษณะของต่ำแหน่งที่ใช้โดยมีความหนาไม่ต่ำกว่าที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้

1.

 ช่องแสง หรือกรอบติดตาย ความหนาไม่ต่ำกว่า 2.0 มิลลิเมตร

2.

ประตูหน้าต่างชนิดบานเลื่อน ความหนาไม่ต่ำกว่า 2 มิลลิเมตร

3.

บานประตูสวิง ความหนาไม่ต่ำกว่า 2.3 มิลลิเมตร ใช้กรอบบานขนาดไม่เล็กกว่า 43x49 มิลลิเมตร

4.

อลูมิเนียมตัวประกอบต่างๆ ความหนาไม่ต่ำกว่า 1.0 มิลลิเมตร

5.

หน้าต่างชนิดผลักกระทุ้ง ความหนาไม่ต่ำกว่า 2.0 มิลลิเมตร  

6.

ความหนาอลูมิเนียมที่กำหนดให้ในรายการก่อสร้างนี้ เป็นความหนาขั้นต่ำที่ยอมให้ ในกรณีที่ผู้รับจ้างคำนวณแล้ว ผลการคำนวณแสดงให้เห็นว่าความหนาของอลูมิเนียมจำเป็นต้องหนากว่าที่กำหนดให้ ผู้รับจ้างจะต้องใช้ความหนาตามที่คำนวณได้ หรือในกรณีที่ผลการคำนวณแสดงให้เห็นว่าความหนาของอลูมิเนียมสามารถใช้บางกว่าที่กำหนดให้ได้ ผู้รับจ้างใช้ความหนาตามที่กำหนดไว้ในรายการก่อสร้างนี้ โดยเคร่งครัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงความหนา หรือการต้องเสริมโลหะเพื่อความแข็งแรงอื่น ผู้รับจ้างจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว และจะถือเป็นข้ออ้างในการขอต่อเวลาตามสัญญาไม่ได้

3.3

กระจก

1.

กระจกใส ให้ใช้ชนิด FLOAT GLASS มีคุณภาพดีผิวเรียบสม่ำเสมอปราศจากริ้วรอยขีดข่วนไม่หลอกตาไม่ฝ้ามัว มีคุณสมบัติตาม มอก.54-2516 ความหนาเป็นไปตามรายการคำนวณแต่ไม่น้อยกว่า 6.0 มม.

2.

กระจกลวด (WIRE GLASS) ให้ใช้หนาไม่ต่ำกว่า 6.0 มม. ขนาดของช่องเส้นลวดภายในกระจกห่างกันประมาณ 1.8 x 1.8 ซม. ผลิตภัณฑ์ของกระจกไทยอาซาฮี หรือเทียบเท่า

3.

กระจกนิรภัยเทมเปอร์ สำหรับประตูและผนังกระจก ให้ใช้ความหนาไม่ต่ำกว่า 12 มม. ในกรณีที่ผนังกระจกครีบของผนังกระจกให้ใช้ความหนาไม่น้อยกว่า 19 มม

4.

กระจกเงาให้ทำมาจากกระจกโฟลทใส โดยมีความหนาไม่ต่ำกว่า 6 มม. ทำเป็นกระจกเงาโดยการเคลือบ 4 ชั้น คือ เคลือบวัสดุเงิน เคลือบวัสดุทองแดงบริสุทธิ์ และเคลือบสี โดยเฉพาะอีก 2 ชั้น

5.

กระจกฝ้าให้ใช้ชนิดลายผ้า มีคุณภาพเทียบเท่า หรือดีกว่า มอก.54-2516 ขนาด และความหนาตามระบุในแบบ

6.

กระจกโฟลทสีตัดแสง (HEAT ABSORBING FLOAT GLASS) มีคุณภาพเทียบเท่าหรือดีกว่า มอก.54-2519 ความหนาเป็นไปตามรายการคำนวณแต่ไม่น้อยกว่า 6.0 มม. สีกระจกระบุในแบบ หรือคัดเลือกภายหลัง 

3.4

วัสดุยาแนว ( SEALANT)
วัสดุอุดยาแนวทั้งหมดที่ใช้ในโครงการนี้ ให้ใช้ชนิด SILICONE SEALANT ชนิดที่ไม่เป็นอันตราย หรือสร้างความเสียหายแก่วัสดุที่จะอุด รอยต่อสำหรับอุดเพื่อป้องกันการรั่วซึม กำหนดให้ไม่เล็กกว่า 6 มม. แต่ไม่เกิน 10 มม. โดยมี CLOSED CELL POLYETHELENE FOAM BACKER ROD หนุนรองเสมอ ส่วนรอยต่อสำหรับงาน CURTAIN WALL และส่วนที่ต้องการความแข็งแรงในการจับยึด ให้เป็นไปตามรายการคำนวณ วัสดุอุดยาแนวให้ใช้ผลิตภัณฑ์ DOW CORNING หรือ GE หรือเทียบเท่า โดยใช้รุ่นที่เหมาะสมกับผิววัสดุที่จะอุดดังต่อไปนี้ ส่วนสีจะเลือกภายหลัง

1.

ซิลิโคนที่ทำหน้าที่ในการยึดกระจกเช่น ในส่วน CURTAIN WALL ให้ใช้ซิลิโคนประเภท GLAZING SEALANT ผลิตภัณฑ์ DOW CORNING NO. 795 หรือ GE NO.SSG 4000 หรือWACKER หรือเทียบเท่า

2.

ซิลิโคนสำหรับอุดยาแนวผิวอลูมิเนียมกับผิวปูนเพื่อป้องกันน้ำซึม ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ DOW CORNING NO.789  หรือ GE รุ่น SILPRUF หรือ WACKER หรือเทียบเท่า

3.

ซิลิโคนสำหรับอุดยาแนวกระจกโฟลทกับกระจกโฟลท ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ DOW CORNING NO 999A หรือ GE หรือ WACKER หรือเทียบเท่า

4.

ผิววัสดุอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวถึง ให้ผู้รับจ้างขออนุมัติผู้คุมงานก่อนดำเนินการใดๆ

5.

ผู้รับจ้างต้องส่งผลการทดสอบซิลิโคนยาแนวงานโครงสร้างกับวัสดุที่จะยาแนวจากห้องปฏิบัติการของผู้ผลิตซิลิโคนยาแนวที่ผู้คุมงานรับรองก่อนที่จะเริ่มดำเนินการ ผลการทดสอบขั้นต่ำต้องประกอบด้วย

-  การทดสอบความเข้ากันได้ (COMPATABILITY TEST) ของวัสดุทั้งหมดที่ใช้ร่วมกัน ได้แก่ กระจก อลูมิเนียมโฟมหนุน (BACKER ROD) (ถ้ามี) ยางหนุน (SETTING BLOCK) (ถ้ามี) เทปโฟม (SPACER) กับซิลิโคนยาแนวที่ใช้

-  การทดสอบการยึดเกาะ (ADHESION-IN-PEEL TEST) ตามมาตรฐาน ASTM C 794 บนผิวกระจกและอลูมิเนียมที่ใช้งานจริงสำหรับโครงการนี้

-  ข้อแนะนำจากห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับความจำเป็นในการใช้สารรองพื้น (PRIMER) ชนิดของสารรองพื้นและข้อแนะนำ ชนิดของสารละลายในการทำความสะอาด

6.

ซิลิโคนที่ใช้จะต้องบรรจุในกล่องที่แข็งแรงเพียงพอต่อการขนส่ง มีป้ายบอกชื่อผู้ผลิต ชนิดของผลิตภัณฑ์ และหมายเลขการผลิต จะต้องจัดเก็บซิลิโคนยาแนวตามคำแนะนำของผู้ผลิต

7.

จัดให้มีการรับประกันผลงานซิลิโคนยาแนวเป็นเวลา 10 ปี โดยผู้ผลิตซิลิโคนยาแนว

3.5

อุปกรณ์ประกอบ (HARDWARE) ให้ดูรายละเอียดใน HARDWARE SCHEDULE ในแบบขยายทั่วไป สำหรับลูกกุญแจ ให้ดำเนินการเหมือน หมวดงานประตู หน้าต่าง

4.

การติดตั้ง

4.1

งานอลูมิเนียมทั้งหมด จะต้องติดตั้งโดยช่างผู้ชำนาญงานโดยเฉพาะ และให้เป็นไปตามแบบขยาย และรายละเอียดต่างๆ ตาม SHOP DRAWINGS วงกบและกรอบบานของงานอลูมิเนียมจะต้องได้ดิ่ง และฉากถูกต้องตามหลักวิชาช่างที่ดี

4.2

ตะปูเกลียวสำหรับยึดงานอลูมิเนียมติดกับปูน จะต้องใช้ร่วมกับพุกชนิดที่ทำด้วยไนล่อน ระยะที่ยึดจะต้องไม่เกินกว่า 50 เซนติเมตร กาวยึดจะต้องมั่นคงแข็งแรง ตะปูเกลียวที่ใช้ในส่วนที่มองเห็นให้ใช้ชนิดสแตนเลส สำหรับส่วนที่มองไม่เห็นให้ใช้ชนิดที่ชุบ CAD PLATED ได้

4.3

รอยต่อรอบๆวงกบประตุ หน้าต่าง ทั้งภายในและภายนอก ส่วนที่แนบติดกับปูนคอนกรีต หรือวัสดุอื่นใด จะต้องอุดด้วย ONE PART SILICONE SEALANT และรองรับด้วย JOINT BACKING ชนิด POLYETHELENE  โดยจะต้องทำความสะอาดรอยต่อให้สะอาดปราศจากคราบน้ำมัน และสิ่งสกปรกเสียก่อน ในกรณีจำเป็นจะต้องให้ PRIMER ช่วยในการอุดยาแนว ผู้รับจ้างจะต้องปฏิบัติตามกรรมวิธีของผู้ผลิตวัสดุอุดยาแนวอย่างเคร่งครัด โดยเป็นค่าใช้จ่ายของผู้รับจ้างเอง แล้วแต่งแนวให้เรียบร้อย ขนาดของรอยต่อจะต้องกว้างไม่น้อยกว่า 6 มม. แต่ไม่เกิน 10 มม.

4.4

การสัมผัสกันระหว่างอลูมิเนียมกับโลหะอื่นๆ จะต้องทาด้วย ALKALI-RESISTANT BITUMINOUS PAINTS หรือ ZINC-CHROMATE PRIMES หรือ ISOLATOR TAPE ตลอดบริเวณที่โลหะทั้งสองสัมผัสกันเสียก่อน  

4.5

ยางอัดกระจก ให้ทำมาจากวัสดุ NEOPRENE หรือ EPDM โดยให้ใช้สำหรับประตูหน้าต่างภายในอาคารเท่านั้นส่วนยางรองกระจกให้ใช้ยาง NEOPRENE ความแข็ง 85 DUROMETER ขนาดและจำนวนเหมาะสมกับขนาดของกระจก

4.6

เมื่อประกอบกระจกเข้ากรอบบานเรียบร้อยแล้ว ให้อัดด้วย POLYETHELENE BACKER ROD แล้วอุดยาแนวด้วยซิลิโคนเพื่อป้องกันน้ำทั้ง 2 ด้าน

4.7

 WEATHER STRIP ให้ทำมาจากวัสดุประเภท POLYETHELENE มีความสูงของใบ (WOOL PILE) ที่ใช้ต้องมาก กว่าช่องห่างประมาณ 15% ตลอดแนว

4.8

ภายหลังการติดตั้งประตู หน้าต่างอลูมิเนียม พร้อมอุปกรณ์ประกอบทั้งหมด จะต้องได้รับการปรับให้อยู่ในลักษณะที่เปิด – ปิด ได้สะดวกไม่ติดขัด

บทที่  2  รายละเอียดประกอบแบบงานสถาปัตยกรรม
20. งานผนังห้องน้ำสำเร็จรูป

1.

ขอบเขตของงาน

ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาแรงงาน วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งจำเป็นต่างๆ ในงานติดตั้งผนังห้องน้ำสำเร็จรูป ตามที่ระบุในแบบก่อสร้าง และทดสอบจนเสร็จเรียบร้อยใช้งานได้ดี งานผนังห้องน้ำสำเร็จรูป หมายรวมถึง ประตู มือจับ บานพับ ที่ใส่กระดาษชำระ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

2.

ข้อกำหนดทั่วไป

2.1

ผู้รับจ้างต้องส่งรายละเอียด ข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ ข้อมูลทางเทคนิค ข้อแนะนำการติดตั้ง และข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับสินค้าของตน ตามที่ผู้ควบคุมงานต้องการเพื่อพิจารณาอนุมัติ

2.2

ผู้รับจ้างต้องส่งตัวอย่างวัสดุ ผลิตภัณฑ์พร้อมตัวอย่างสี และอุปกรณ์ทั้งหมดที่จะใช้จริงในโครงการนี้ให้ผู้ควบคุมงานพิจารณาอนุมัติ

2.3

ผู้รับจ้างจะต้องจัดทำ SHOP DRAWINGS และมาเสนอผู้ควบคุมงานจำนวน 3 ชุดเพื่อตรวจสอบ และพิจารณาอนุมัติ โดย SHOP DRAWINGS จะต้องแสดงรายละเอียด ดังต่อไปนี้

1.

ตำแหน่งบริเวณที่จะใช้

2.

หน้าตัด และความหนาของวัสดุผนังสำเร็จรูป

3.

อุปกรณ์ประกอบทั้งหมด เช่น มือจับ กลอน บานพับ ขอแขวนกันกระแทก ที่ใส่กระดาษชำระ ฯลฯ

4.

กรรมวิธีในการติดตั้ง การยึดติดกับโครงสร้างต่างๆ ทั้งพื้น และผนัง

5.

การใส่โลหะเสริมความความแข็งแรงของงานติดตั้งผนัง และเพื่อยึดอุปกรณ์ต่างๆ

6.

รอยต่อ และการใช้วัสดุอุดยาแนวเพื่อป้องกันน้ำ

7.

รายละเอียดอื่นๆ ตามที่ผู้คุมงานต้องการ

2.4

เมื่อ SHOP DRAWINGS ได้รับการพิจารณาอนุมัติแล้ว ผู้รับจ้างต้องจัดทำสำเนา SHOP DRAWINGS ที่ได้รับอนุมัติแจกจ่ายให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไว้ใช้ทำงานก่อสร้างด้วย

2.5

การป้องกันผิววัสดุ งานโลหะทั้งหมดเมื่อทำการติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้รับจ้างจะต้องพ่นวัสดุปกคลุมผิว หรือติด PLASTIC TAPE เพื่อป้องกันผิวของวัสดุไว้ให้ปลอดภัยจากน้ำปูน หรือสิ่งสกปรกอื่นใดที่อาจทำความเสียหายให้กับงานผนังห้องน้ำสำเร็จรูป

2.6

การทำความสะอาด

ผู้รับจ้างจะต้องทำความสะอาดผิวของงานผนังห้องน้ำสำเร็จรูป ทั้งด้านนอก และด้านในให้สะอาดปราศจากคราบน้ำมัน คราบน้ำปูน สี รอยดินสอ หรือสิ่งสกปรกอื่นใดก่อนส่งมอบงาน  โดยผู้รับจ้างจะต้องไม่ให้เครื่องมือ  และสารละลายใดๆทำความสะอาดอันอาจเกิดความเสียหายแก่งานผนังห้องน้ำสำเร็จรูปได้

2.7

การรับประกัน

ผู้รับจ้างต้องจัดทำเอกสารรับประกันคุณภาพวัสดุ  อุปกรณ์ที่นำมาติดตั้ง  และคุณลักษณะผลงานว่าถูกต้องสมบูรณ์ไม่รั่วซึม  และจะยังคงสภาพการใช้งานได้ดีอย่างน้อย  ปี นับจากวันส่งมอบงาน ความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นก่อนการรับมอบงาน  หรือภายในระยะเวลาของการรับประกัน อันมีผลเนื่องจากการผลิต การขนส่ง  การติดตั้งผู้รับจ้างทั้งสิ้น

3.

วัสดุ

3.1

ผนังกั้นระหว่างห้องน้ำย่อย  ผนังด้านหน้า และประตูเป็นไม้อบแห้งผสมน้ำยากันความชื้น  หนา 2 มม.กรุทับด้วยไม้อัดหนา  4 มม. ทั้ง 2 ด้านโพลีเอสเตอร์เรซินกันน้ำ หรือนำเสนออนุมัติ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติการกันน้ำ  และความคงทนถาวรในการใช้งาน

3.2

อุปกรณ์ยึดทั้งหมด , กลอน , บานพับ , ขอแขวนกันกระแทก , ที่ใส่กระดาษชำระ เป็น STANLESS STEEL

บทที่  2  รายละเอียดประกอบแบบงานสถาปัตยกรรม
21. งานกำจัดปลวก

1.

ขอบเขตของงาน

ผู้รับจ้างจะต้องจัดหาแรงงาน , วัสดุ , อุปกรณ์ , และสิ่งจำเป็นอื่นๆ ในการติดตั้งระบบป้องกัน  และกำจัดปลวก จนเสร็จเรีบยร้อย

2.

ข้อกำหนดทั่วไป

2.1

ผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชอบ และประสานงานกับบริษัทผู้ติดตั้ง ระบบป้องกันและกำจัดปลวก ที่ได้รับใบอนุญาตมีไว้ครอบครอง  ซึ่งวัตถุอันตราย  และใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุมีพิษ

2.2

ผู้รับจ้างจะต้องจัดทำ SHOP DRAWING  แสดงวิธี  และระบบป้องกัน  และกำจัดปลวก  นำเสนอ เพื่อขออนุมัติผู้ควบคุมงานก่อสร้าง

2.3

เพื่อผลงานสูงสุดในการปฏิบัติงาน ผู้รับจ้างจะต้องให้ความสำคัญในการผสมน้ำยาตามอัตราส่วน  และวิธีการที่บ่งไว้ในเอกสารกำกับยาของบริษัทผู้ผลิต

2.4

ผู้รับจ้างจะต้องรับประกันผลงานเป็นระยะเวลา  ปี และออกใบรับประกัน [WARRANTY  CERTIFICATE]  ให้เมื่อปฏิบัติงานเสร็จสมบูรณ์แล้ว และให้บริการตรวจเช็คโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ทุก ๆ 6 เดือน ตลอดระยะเวลารับประกัน  หากมีการพบปลวกขึ้นในพื้นที่ซึ้งผู้รับจ้างรับผิดชอบ  ผู้รับจ้างจะต้องส่งให้เจ้าหน้าที่มาทำการแก้ไข  และให้บริการพิเศษ โดยไม่คิดค่าบริการใด ๆ ทั้งสิ้น

2.5

ให้ผู้รับจ้างนำเสนอคุณสมบัติของน้ำยาที่สามารถป้องกันปลวกได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และมีความปลอดภัยต่อสัตว์เลือดอุ่น

3.

ระบบป้องกันและกำจัดปลวก

3.1

SOIL TREATMENT SYSTEM

ให้ผู้รับจ้างดำเนินการฉีดพ่นน้ำยากำจัดปลวก  โดยรอบอาคารหลังจากที่ได้รับการปรับพื้นที่ภายนอกรอบ ๆ ตัวอาคารแล้ว  ให้ดำเนินการอัดน้ำยาลงใต้ดินลึกประมาน 1 – 15 ฟุต  ห่างจากฐานอาคารประมาณ 20 .. และทิ้งระยะห่างต่อจุดประมาณ 1 . ตามแนวยาว โดยใช้น้ำยาผสมเสร็จประมาณ 5 ลิตร ต่อ 1 จุด หลังจากนั้นให้ทำการฉีดเคลือบพ่นน้ำยาเคลือบผิวหน้าดินตลอดระยะห่าง 1 . รอบ ๆ ฐานอาคารเพื่อให้น้ำยาซึมลงไปประสานกับน้ำยาที่อัดไว้ใต้ผิวดิน  โดยใช้น้ำยาผสมเสร็จในปริมาฯ เฉลี่ย 15 ลิตร
ต่อทุก ๆ
 7 เมตร

3.2

SPRINKLER  CHEMICAL  PIPE  TREATMENT  SYSTEM

เป็นระบบวางท่ออัดน้ำยาใต้พื้นอาคารระหว่างการก่อสร้าง  ( ยกเว้นอาคารที่มีชั้นใต้ดิน  ให้ดำเนินการเฉพาะข้อ  3.1) โดยให้ดำเนินการในช่วงการก่อสร้างก่อนเทคอนกรีตชั้นล่างท่อที่นำมาใช้ให้เป็นท่อ  PVC  ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงอุตสาหกรม สามารถทนแรงอัดได้สูง  และมีความทนทานเป็นพิเศษขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในไม่น้อยกว่า 1/2 นิ้ว โดยมีระยะวาล์วฉีดน้ำยาบนท่อทุกๆ ระยะ 0.50  เมตร และมีหัวอัดรอบอาคารเป็นช่วงๆ โดยมีหัวอัด 1 จุดทุกๆ ความยาว 10 – 15  เมตรของท่อ
 

บทที่  2  รายละเอียดประกอบแบบงานสถาปัตยกรรม
22. งานก่อสร้าง ติดตั้ง แผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูป

1.

ขอบเขตของงาน

1.1

ผู้รับจ้างจะต้องทำการก่อสร้าง  แผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูป ( PRE  CAST CONCRETE  WALL PANELS ) ให้ได้ขนาดตามรูปแบบสถาปัตยกรรมด้วยความประณีต 
และถูกต้องตามหลักวิชาการสากล  โดยโรงงานที่ได้มาตรฐานหรือสถานที่อื่นใดที่จะทำให้งานทำแผ่นผนังออกมาเรียบร้อย

1.2

ผู้รับจ้างจะต้องทำการขนส่งแผ่นผนังเข้าพื้นที่ก่อสร้างโดยให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยไม่แตกหักและทำการติดตั้งกับตัวอาคารให้ได้ระดับ  และรูปแบบตามแบบสถาปัตยกรรม

2.

แบบติดตั้งหน้างาน ( SHOP DRAWING )

2.1

ก่อนทำการผลิตแผ่น  ผู้รับจ้างจะต้องทำแบบรายละเอียดการผลิต  และติดตั้งเพื่อเสนอขออนุมัติกับผู้ออกแบบและผู้ควบคุมงานก่อสร้างก่อนทุกครั้ง

2.2

ผู้รับจ้างจะต้องประสานงานกับระยะที่ถูกต้องในการก่อสร้างจริงทุกครั้งที่จัดทำแบบ แบบรายละเอียดการผลิตและติดตั้ง

2.3

ผู้รับจ้างจะต้องเสนอรายละเอียดรอยต่อ  ตำแหน่งจุดยึด  รูปแบบการยึดและการรับน้ำหนักแผ่นผนัง  พร้อมแนบรายการคำนวณประกอบการขออนุมัติทุกครั้ง

2.4

สถาปนิก  หรือ  ตัวแทนของผู้ว่าจ้างอาจเสนอให้ทำแผ่นตัวอย่างเหมือนจริงประกอบการพิจารณาซึ่งผู้รับจ้างจะต้องรับจัดทำเพื่อเสนอให้ผู้ว่าจ้างอนุมัติ

3.

คุณสมบัติของแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูป

3.1

ชนิดของผนังคอนกรีตสำเร็จรูป

1.

ผิวคอนกรีตเปลือย

2.

ผิวบุกระเบื้อง

3.

ผิวบุแกรนิต

3.2

ข้อกำหนดวัสดุใช้งานผลิตผนังคอนกรีตสำเร็จรูป

1.

คอนกรีต      คอนกรีตที่ใช้สำหรับผลิตแผ่นผนังสำเร็จรูป จะต้องมีกำลังอัดไม่น้อยกว่า  120    กก./ตร.ซม  ในช่วงถอดแบบเคลื่อนย้ายแผ่นผนังฯ  และมีกำลังไม่น้อยกว่า  280  กก./ตร.ซม  ที่มีอายุ  28  วัน

2.

เหล็กเสริม     เหล็กเส้นกลม   SR 24  (  Fy  =  2400  กก./ตร.ซม ) , เหล็กข้ออ้อย   SD  30  (  Fy  =  3000 กก.ตร.ซม )
WIRE  MESH  (  Fy  =  5500  กก/  ตร.ซม  )

3.

กระเบื้อง       ขนาด 45x95 มม. Grade A มีร่องลึกที่ด้านหลังกระเบื้อง ค่า Tolerance ที่ยอมให้ +0.5 มม. ทั้งด้านกว้าง และด้านยาว กระเบื้องต้องไม่โก่ง หรือบิดตัว เฉดสีของกระเบื้องต้องเป็นสีเดียวกัน ความหนา 7 มม.

4.

แกรนิต         ความหนาของหินแกรนิตไม่น้อยกว่า 25 มม. ขนาด และเฉดสี เป็นไปตามรูปแบบทางสถาปัตย์ และต้องขออนุญาตจากตัวแทนผู้ว่าจ้าง

5.

วัสดุอุดรอยต่อ           วัสดุอุดรอยต่อภายนอกอาคารเป็น Poiyurethane วัสดุอุดรอยต่อภายในอาคารเป็น Acrylic โดยต้องขออนุมัติจากตัวแทนผู้ว่าจ้างก่อน

3.3

 ค่าพิกัดความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้ในการผลิต

1.

แบบหล่อคอนกรีต
ความเรียบร้อยของพื้นแบบหล่อ              +3 มม. ระดับของพื้นแบบหล่อ                          +3 มม.
ความยาว                                           +3 มม. ความกว้าง                                          +3 มม.
เส้นทะแยงมุม                                     +3 มม. ความยาวเส้นทะแยงมุมที่ต่างกัน              +3 มม.
ระดับของแบบข้าง                                +3 มม. ตำแหน่งของชิ้นส่วนยึดติดตั้ง                  +5 มม.
ความฉากของแบบข้าง                          +1 มม.

2.

แผ่นผนังสำเร็จรูป
 ความยาว                                            +4 มม. ความกว้าง                                           +4 มม.
 เส้นทะแยงมุม                                      +4 มม. ความหนา                                            +3 มม.,0 มม.
 ตำแหน่งชิ้นส่วนยึดติดตั้ง                       +5 มม. การบิด                                               +3 มม.
การแอ่นตัว                                          L / 360 มม. การผิดรูป                                            +3 มม.
ความของแผ่น (วัดที่ความหนา)                +2 มม. ความเรียบของแผ่น                               +3 มม.
ตำแหน่งช่องเปิด                                   +3 มม.

3.4

 ระบบการผลิตแผ่นสำเร็จรูป

1.

แผ่นผนังสำเร็จผิวบุกระเบื้อง (Precast Concrete with Tile)
-  แผ่นสำเร็จรูป จะต้องถูกผลิตทั้งชิ้นขึ้นมาจากโรงงาน
-  กระเบื้องจะต้องถูกยึดเกาะด้วยคอนกรีต ของแผ่นผนังสำเร็จรูปโดยตรง ห้ามใช้วัสดุอื่นเป็นตัวยึดประสาน
-  แรงยึดเกาะระหว่างกระเบื้อง และคอนกรีต (
Direct  Pull) ต้องไม่น้อยกว่า 9 กก./ตร.ชม. ที่   อายุ 28 วัน
-  การวางเหล็กเสริมลงในแบบหล่อ ซึ่งเรียงแผ่นกระเบื้องไว้จะต้องกระทำด้วยระมัดระวัง มิให้กระเบื้องถูกกระทบกระเทือนจนขยับออกไปจากที่ อีกทั้งเหล็กเสริมจะต้องมีลูกปูนหนุนให้ได้ความหนาคอนกรีตหุ้มตามแบบ
-  การเทคอนกรีตลงในแบบหล่อซึ่งมีกระเบื้อง และเหล็กเสริมจัดไว้แล้ว จะต้องระมัดระวังมิให้กระเบื้องหรือเหล็กเสริมเคลื่อนออกไปจากตำแหน่งที่ยึดไว้
-  แผ่นผนังสำเร็จรูป จะต้องมีความหนา และความแข็งแรงเพียงพอ ทำให้ไม่แอ่นตัวมากเกินไปจนแผ่นกระเบื้องหลุดร่อน หรือแตกร้าว ขณะยกเคลื่อนย้ายแผ่นผนังสำเร็จรูป
-  ร่องระหว่างกระเบื้องแต่และแผ่นจะต้องมีระหว่างเท่าๆ กัน โดยมีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน + 0.5 มม.และมีเนื้อคอนกรีตอมกระเบื้องครึ่งหนึ่งของความหนาของ
กระเบื้อง
-  ความลึกของร่องระหว่างกระเบื้องประมาณ 3 มม.

2.

ผนังสำเร็จผิวบุแกรนิต (Precast Concrete With Granite)
-  ผนังสำเร็จรูป จะต้องถูกผลิตเสร็จทั้งชิ้นจากโรงงาน
-  ผิวด้านหลังของแกรนิต จะต้องถูกทาด้วย
Epoxy เพื่อป้องกันการซึมทะลุแผ่นหิน
-  การยึดเกาะระหว่างแผ่นหินแกรนิต กับคอนกรีต จะต้องใช้ Shear-Connector ชนิด Stainless Steel แบบ Spring Type ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 มม. ขดเป็นรูป
สปริงยึดติดที่ด้านหลังแผ่นหิน ระยะห่างของ
Shear-Connector ไม่เกิน 60 ซม. ทุกด้าน
-  การหล่อคอนกรีตผนังสำเร็จรูป ให้หล่อคอนกรีตกับหินแกรนิตโดยตรง เพื่อให้การยึดเกาะเป็นไปโดยดี และไม่มีโพรง หรือช่องว่างระหว่างหินแกรนิต กับ คอนกรีต
-  แผ่นผนังสำเร็จรูป จะต้องมีความหนา และความแข็งแรงเพียงพอ ทำให้ไม่แอ่นตัวมากเกินไปจนแผ่นหลุนร่อน หรือแตกร้าวขณะยกเคลื่อนย้ายแผ่นผนังสำเร็จรูป
-  ร่องระหว่างแผ่นหินแกรนิตจะต้องมีระยะห่างเท่าๆ กัน โดยมีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน + 1.0 มม. และต้องอุดด้วย
Polysulfide ก่อนการเทคอนกรีตหล่อแผ่นผนังสำเร็จรูป

3.

ผนังสำเร็จผิวเปลือย (Precast Concrete Exposed Surface)
-  ผนังสำเร็จรูป จะต้องถูกผลิตทั้งชิ้นมาจากโรงงาน
-  ผิวของผนังสำเร็จรูป จะต้องสะอาด ปราศจากน้ำมัน และความเรียบ
-  ลักษณะของรอยต่อต้องมีรูปแบบตามลักษณะการใช้งาน และพิจารณาถึงการป้องกันน้ำรั่วซึมเป็นสำคัญ

            บริษัทจะจัดส่งแบบรายระเอียดและรายการคำนวณของจุดยึด พร้อมทั้งตัวอย่างอุปกรณ์ 1 ชุด ให้วิศวกรผู้ออกแบบพิจารณาอนุมัติก่อนเริ่มงาน    

3.5

ค่าพิกัดความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้ของการติดตั้ง

1.

การติดตั้งแผ่นผนังสำเร็จรูป

-แนวระนาบของแผ่น    

± 5 มม.

-ระดับของแผ่น     

± 5 มม.

-ความกว้างของรอยต่อ

± 5 มม.

2.

ตำแหน่ง Fixing Plate ที่ฝังในโครงสร้างอาคาร

-ระดับในแนวดิ่ง

± 10 มม.

-ระยะในแนวราบในทิศทางที่ขนานกับขอบพื้น

± 10 มม.    มีการลดระดับ Plate ลงจากพื้นหรือไม่

 -ระยะในแนวราบในทิศทางที่ตั้งฉากกับขอบพื้น 

± 20 มม.

2.

 

3.6

การตรวจสอบผลงาน

วิศวกร สถาปนิกผู้ออกแบบ และผู้ควบคุมงาน สามารถตรวจสอบผลงานที่สามารถแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน เพื่อให้แน่ใจคุณภาพของงานดังนี้

1.

ตรวจสอบความสามารถ และคุณภาพของโรงงานก่อนดำเนินการผลิต

2.

 สุ่มตรวจสอบคุณภาพ ขณะทำการผลิตในโรงงาน

3.

ตรวจสอบคุณภาพ ขณะทำการผลิตในโรงงาน

4.

ตรวจสอบขั้นสุดท้าย ภายหลังจากการทาสีจริงเรียบร้อยแล้ว

4.

การติดตั้ง

4.1

ผู้รับจ้างจะต้องทำการติดตั้งแผ่นผนังให้ได้ดิ่ง และได้ระดับตามรูปแบบสถาปัตยกรรม โดยช่างผู้ชำนาญการติดตั้งแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปโดยเฉพาะ

4.2

ระหว่างการก่อสร้างติดตั้งผู้รับจ้างจะต้องเสนอกรรมวิธีในการป้องกันความเสียหายของแผ่นผนังคอนกรีตจากการก่อสร้างส่วนอื่น หากมีความเสียหายใดๆ เกิดขึ้น ผู้รับจ้างต้องทำการซ่อมแซมให้กลับสู่สภาพดีดังเดิม

5.

การประกันผลงาน

5.1

รับประกันผลงานการติดตั้ง                                                 2 ปี

5.2

รับประกันความเรียบร้อยของตัวแผ่นไม่แตกร้าว                       2 ปี

6.

มาตรฐาน

การออกแบบ  การผลิต  ติดตั้งแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูป (PRE-CATS CONCRETE WELL PANEL) ให้ใช้มาตรฐานของ บริษัท เยนเนอรัล เอนยิเนียริ่ง  จำกัด หรือเทียบเท่า

 

รายการวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง ส่วนนี้จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ในโครงการทั้งหมด และ ความหมายของคำว่าเทียบเท่าว่าจะสามารถใช้ยี่ห้อใดได้บ้างประมาณ 3 ยี่ห้อ
พร้อมทั้งผู้แทนจำหน่ายวัสดุชนิดนั้นๆว่าจะสามารถซื้อได้จากที่ใด เช่น น้ำยากันซึมผสมปูนฉาบสามารถใช้ยี่ห้อ SIKALITE ของบริษัทซิก้า ประเทศไทยจำกัด หรือ  LONGCHARIA ของบริษัท ยูเนี่ยน แอทโซซิเอทส์ จำกัด หรือ DMCO ของบริษัทแม๊กซิม เคมิเคิล จำกัด เป็นต้น  วัสดุต่างๆก็กำหนดในทำนองเดียวกัน
 

005

บทที่ 3 รายละเอียดประกอบแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง

สารบัญ

 

 

 

 

1.

งานดิน

คส -02

 

2.

งานเสาเข็มเจาะแห้ง         

คส -06

 

3.

งานไม้แบบ      

คส -12

 

4.

เหล็กเสริมคอนกรีต

คส -17

 

5.

คอนกรีต  

คส -20

 

6.

งานโลหะและเหล็กรูปพรรณ

คส -30

 

7.

พื้นคอนกรีตอัดแรงในที่ 

คส -33

บทที่  3   รายละเอียดประกอบแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง
1. งานดิน

1.

งานขุดดิน

1.1

ขอบข่ายของงาน

ผู้รับจ้างจะต้องจัดหา คนงาน เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ ที่ดีเพื่อขุดที่บริเวณทำการก่อสร้างให้ได้ตามแบบไห้ได้ตามข้อกำหนดโดยงานขุดนี้ไห้รวมถึงการขุดทำถนน ขุดเพื่อฝั่งท่อ ขุดเพื่อทำงานฐานรากต่างๆ และขุดเพื่อทำความสะอาดที่ให้ได้ตามข้อกำหนด และตามแบบ และให้รวมถึงการติดตั้ง และรื้อถอนสิ่งก่อสร้างชั่วคราว เพื่อช่วยให้การขุดปลอดภัย เช่น คันดินกันน้ำ เข็มกันพัง เครื่องสูบน้ำ เป็นต้น
 

1.2

การขุด

1.

ก่อนทำการขุดใดๆ ผู้รับจ้างจะต้องแจ้งรายละเอียดข้อมูล และขั้นตอนการทำงานให้แก่ผู้ควบคุมงานทราบล่วงหน้า โดยให้มีเวลาเพียงพอที่จะตรวจสอบและวัดสภาพระดับของดินเดิม เพื่อประโยชน์ในการคิดปริมาณงาน ห้ามรบกวนดินที่อยู่ข้างเคียงอาคารเดิมหรือสิ่งก่อสร้างเดิมให้เสียสภาพ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากวิศวกร หรือผู้ควบคุมงาน

2.

การขุดจะต้องขุดให้ได้ขนาดความกว้าง ความลึก ที่สามารถทำการก่อสร้างโครงสร้าง ก่อสร้างท่อ ก่อสร้างถนน มีที่สำหรับค้ำยัน ทำฐานรองรับที่สูบน้ำ และระบายน้ำ ผิวหน้าดินที่ขุดแล้วจะต้องแห้งคงสภาพ ดินชั้นล่างที่แปรสภาพเป็นดินอ่อนเหลว ไม่เหมาะที่จะรับน้ำหนักงานขั้นต่อไปได้ ซึ่งอาจเกิดเนื่องจากขุดลึกน้อยไป หรือสูบน้ำออกไม่แห้ง หรือเนื่องจากวิธีก่อสร้างอื่นใด ผู้รับจ้างจะต้องนำออกไปให้หมด แล้วถมกลับใหม่ให้ได้ระดับด้วยวัสดุดังที่กล่าวไว้ในข้อกำหนด “งานถม”

3.

เครื่องจักรเครื่องมือที่ใช้ในการขุด จะต้องสามารถทำงานขุดได้ตามข้อกำหนดเครื่องจักรที่ใช้ขุดดินเหนียวจะต้องมีบุ้งกี๋ที่มีใบมีดเรียบ วัสดุที่ขุดขึ้นมาแล้ว และไม่ได้นำออกไปทิ้งที่อื่น จะต้องกองในที่ที่ไม่กีดขวางการทำงาน และผู้รับจ้างจะต้องระมัดระวัง ไม่กองดินที่ขุดขึ้นมานี้ใกล้กับหลุมบ่อ หรือร่องดินที่ขุดมากเกินไป เพราะจะทำให้ดินพังทลาย 

4.

เมื่อขุดได้ขนาดและระดับแล้ว ผู้รับจ้างจะต้องแจ้งให้ผู้ควบคุมงานทราบ เพื่อตรวจสอบก่อนถมวัสดุรองพื้นหรือวางสิ่งก่อสร้างอื่นใดลงไปในพื้นผิวที่ขุดแล้ว จนกว่าจะได้รับความเห็นชอบจากผู้ควบคุมงาน

1.3

การขุดดินเพื่อวางท่อ  

1.

ร่องดินที่จะวางท่อจะต้องขุดไห้ได้ระดับรูปร่างตรงและเอียงตามแบบท่อ ในที่นี้ให้รวมถึง ท่อที่ฝังดินทุกชนิดเช่น ท่อระบายน้ำ ท่อรับน้ำ และท่อส่งน้ำ ท่อประปา ท่อน้ำโสโครก ท่อร้อยสายไฟ ฯลฯ

2.

จะต้องใช้เครื่องจักรที่เหมาะสมในการขุดร่องดิน ผิวดินที่ขุดแล้วหากปรากฏว่าอ่อนเหลว จนไม่สามารถบดอัดได้ ให้กำจัดออกให้หมด โดยจะต้องใช้วัสดุหมายเลข 2 หรือตามวิศวกรเห็นชอบ ถมคืนให้ได้ตามแบบที่กำหนด

3.

ผิวดินที่ขุดแล้วจะต้องกำจัดน้ำออกให้แห้งอยู่ตลอดเวลา

1.4

การขุดหลุมเพื่อทำฐานรากและโครงสร้างอย่างอื่น
หลุมฐานรากให้ขุดกว้างกว่าตัวฐานเพื่อให้สามารถวาง   และถอดไม้แบบได้   ต้องค้ำยันด้านข้างของหลุมให้ดีตลอดเวลา  อย่าให้ดินพังลงมา   และต้องระวังอย่าให้มีน้ำในหลุม
ต้องปรับก้นหลุมให้ได้ระดับอย่างดี

1.5

ระบบป้องกันการพังทลายของดินในการขุด
เว้นเสียแต่ว่าได้รับอนุญาตจากผู้ควบคุมงานให้กระทำเป็นอย่างอื่น   เพื่อป้องกันการพังทลายของดินข้างเคียงบริเวณที่ขุด  ผู้รับจ้างจะต้องหาวิธีที่ดีที่สุด   และอย่างน้อยจะต้องดำเนินการให้อยู่ภายใต้ข้อกำหนดดังต่อไปนี้:-

สภาพการคงตัวของดินเหนียวหรือดินอ่อนทั่วไป   จะมีผลโดยตรงต่อส่วนประกอบดังต่อไปนี้คือ   ความลึกของการขุดน้ำหนักข้างเคียงที่ทับอยู่  ( รวมทั้งอาคารและการจราจรข้างเคียง )   ฝนตก  และ/หรือน้ำท่วม   การตอกเข็ม  การก่อสร้างข้างเคียง  เช่น  กองวัสดุและเครื่องจักรก่อสร้าง   อัตราความเร็วของการขุด   เมื่อเริ่มทำการก่อสร้างหรือทำการขุดผู้รับจ้างจะต้องวางแผนงานให้ดี   และจะต้องพิจารณาในหัวข้อต่อไปนี้:-

1.

สำหรับการขุดหลุมเพื่อทำฐานรากและโครงสร้างอย่างอื่น

  • การขุดหลุมธรรมดาโยไม่มีเข็มกันพังให้ขุดได้ลึกไม่เกิน 3.50  เมตร

  • อาจจะต้องใช้ความลาดเอียงสูงสุดในการขุดคือ 2 ส่วน  ในแนวนอนต่อ 1 ส่วน  ในแนวตั้ง  เมื่อขุดเกือบถึงความลึกที่ 3.50  เมตร

  • การขุดใด ๆ ที่เกิน  3.50  เมตร   จะต้องป้องกันโดยเข็มกันพัง

  • ห้ามกองวัสดุหรือดินที่ขุดขึ้นมาในระยะ 5  เมตร จากขอบหลุมของดินที่ขุด

  • การตอกเข็มควรตอกบนระดับคันดินเดิม  แต่ถ้าจำต้องขุดลงไปตอกห้ามขุดลึกเกิน 3.50  เมตร 

2.

สำหรับการขุดร่องดินเพื่อวางท่อ

  • ร่องดินจะขุดให้กว้างได้ตามที่แบบกำหนดไว้เท่านั้น

  • ร่องดินที่ขุดลึกไม่เกิน 1.50  เมตร  ผู้รับจ้างเสนอวิธีขุดใด ๆ ก็ได้  โดยไม่ต้องใช้เข็มกันพัง  แต่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ควบคุมงานก่อน

  • ร่องดินที่ขุดลึกกว่า 1.50  เมตร  จะต้องมีเข็มกันพังและค้ำยัน

  • ห้ามกองวัสดุหรือดินที่ขุดขึ้นมาในระยะ 5  เมตร   จากขอบร่องดินที่ขุดโดยไม่มีเข็มกันพัง

1.6

การสูบน้ำและการระบายน้ำ

1.

เมื่อระดับความลึกของการขุดดิน   ต่ำกว่าระดับน้ำหรือมีน้ำท่วมขังผู้รับจ้างจะต้องส่งแบบแสดงกำหนดการหรือขั้นตอนในการระบายน้ำออกจากบริเวณดินขุด  
ให้ผู้ควบคุมงานตรวจเห็นชอบก่อนที่จะการขุด   แบบดังกล่าวนี้จะต้องแสดงวิธี   การระบายน้ำ   สูบน้ำ   การติดตั้งปั๊มน้ำ  ตำแหน่งปั๊มน้ำ   ตำแหน่งคันดินกั้นน้ำ  
ซึ่งจะต้องแสดงทั้งรูปแปลนและรูปตัด  ห้ามสร้างคันดินกั้นน้ำในระยะ  5  เมตร   จากขอบบริเวณที่ขุดและพื้นที่ที่อยู่ภายในคันดินจะต้องทำให้ลาดเอียง   เพื่อป้องกันน้ำ
ขังเมื่อได้รับความเห็นชอบ   จากผู้ควบคุมงานแล้ว   ผู้รับจ้างจะต้องใช้เครื่องจักร   เครื่องมือ    วิธีการ   ขั้นตอน   ตามที่ได้รับความเห็นชอบแล้วเท่านั้น   การอนุมัติแบบ
ของผู้ควบคุมงาน

2.

ระดับดิน   ที่ถมจะต้องได้ตามที่ได้ระบุในแบบ   และต้องถมสูงเผื่อการทรุดตัวโดยธรรมชาติของดินด้วย   และเผื่อระดับดินถมหน้าดินปลูกหญ้าด้วย  หากตามแบบระบุ
ให้เป็นบริเวณที่มีการปลูกหญ้า

3.

การถมรองพื้นเพื่อวางท่อ   เมื่อขุดได้ระดับตามที่ต้องการแล้ว  ก่อนวางท่อทุกชนิดต้องถมด้วยวัสดุหมายเลข 2  แต่ต้องบดด้วยเครื่องบดอัดที่เหมาะสมให้อย่างน้อย  93%   ของความแน่น   ซึ่งวัดโดย   ASTM  D 1557  Method   โดยถมดินเป็นชั้น ๆ  ชั้นละไม่เกิน  20  ซม.

4.

การถมร่องดินและหลุมที่ขุดออกแล้วให้กลับคืนสภาพ   โดยทั่วไปการถมแบบนี้ให้รวมถึงการถมกลับท่อ   การถมกลับกำแพงโครงสร้างเสา  และฐานราก  ฯลฯ 
การถมกลับท่อให้ใช้วัสดุหมายเลข 2  ถมขึ้นมาเป็นชั้น ๆ  อย่างน้อยให้ถึงระดับหลังท่อ   แล้วจึงใช้วัสดุหมายเลข 1  ถมต่อไปจนถึงระดับที่ต้องการ   ยกเว้นท่อซึ่งอยู่ใน
ถนนให้ถมด้วยวัสดุหมายเลข 2  จนถึงขั้นรองพื้นทาง

5.

การถมบริเวณที่ขุดลึกกว่าระดับที่ต้องการใต้พื้น   หรือฐานรากของโครงสร้างจะต้องถมกลับด้วยวัสดุหมายเลข 2  หรือคอนกรีตหยาบ

2.

ชนิดวัสดุ
ถ้าไม่ระบุไว้นอกเหนือจากข้อกำหนดนี้   ชนิดของวัสดุโดยทั่วไปให้แบ่งประเภทดังต่อไปนี้

หมายเลข  1  :-  เป็นทรายเม็ดปนดิน   ซึ่งมีมวลละเอียดผ่านตะแกรงเบอร์  200  ไม่เกิน  20%  โดยปราศจากสารอินทรีย์  รากไม้  เศษขยะ  เศษวัชพืช   หรือเศษวัสดุอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถทำการบดอัดได้

หมายเลข   2   :-   เป็นทรายหยาบซึ่งมีมวลละเอียดที่ผ่านตะแกรงเบอร์  200  ไม่เกิน  2%  และจะต้องปราศจากวัสดุหมายเลข  1, 3  หรือ 4 เจือปน

หมายเลข   3    :-   เป็นดินลูกรัง  ซึ่งมวลหยาบค้างบนตะแกรงเบอร์  10  จะต้องแกร่งมีค่าเปอร์เซนต์  ความสูญไม่เกิน  50%  เมื่อทดสอบโดยวิธี  Los  Angeles  abrasion  test  และมีมวลที่ผ่านตะแกรงเบอร์  40  ค่า  liquid  limit  ต้องไม่เกิน  25  และค่า  plasticity  index  ต้องไม่เกิน  6  เมื่อทดสอบตามวิธี  ASTM  D423  และ  D424  ลักษณะของดินลูกรังจะต้องปราศจากสารอินทรีย์   รากไม้   เศษขยะ  เศษวัชพืช

หมายเลข   4   :-   เป็นหินคลุกมีค่าความสูญเสียโดยวิธี  Los  Angeles  abrasion  test   ของมวลที่ค้างบนตะแกรงเบอร์  10  ไม่เกิน  40ลักษณะของหินจะต้องเป็นหินล้วน ปราศจากหินผุ   รากไม้   เศษขยะ  เศษวัชพืช

บทที่  3   รายละเอียดประกอบแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง
2. งานเสาเข็มเจาะแห้ง

1.

ขอบเขตของงาน
ผู้รับจ้างจะต้องเป็นผู้จัดหา วัสดุ แรงงาน และอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็น เพื่อทำการเจาะดินลงเหล็กเสริมและหล่อเสาเข็ม เพื่อทำเสาเข็มเจาะให้ได้คุณภาพ ขนาด ความยาว ตำแหน่ง และจำนวนตามที่ระบุในแบบ

2.

รายละเอียดประกอบการเสนอราคางานเสาเข็มเจาะ
ผู้รับจ้างจะต้องจัดส่งรายละเอียดประกอบการเสนอราคางานเสาเข็มดังต่อไปนี้

2.1

ชนิดเครื่องมือที่ใช้และวิธีการทำงานเจาะเสาเข็ม

2.2

รายการคำนวณที่ยืนยันถึงการรับน้ำหนักปลอดภัยของเสาเข็ม และอัตราส่วนความปลอดภัยที่ใช้ในการคำนวณ

2.3

แผนการทำงานเสาเข็ม

3.

การดำเนินงานทั่วไป
ก่อนดำเนินการใดๆผู้รับจ้างจะต้องตรวจสอบให้แน่นใจว่า ระดับดินในสถานที่ก่อสร้างถูกต้อง ตามแบบก่อสร้างหรือไม่ประการใด

ผู้รับจ้างอาจจัดทำการสำรวจสถานที่ก่อสร้างเพิ่มเติ่มเองก็ได้ เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้างเสียก่อน และจะต้องไปดูสถานที่ก่อนจนเป็นที่แน่นใจว่า รู้ตำแหน่งแนนนอนของสถานที่ก่อสร้างตลอดจนขนาดและลักษณะของงานแล้ว และจะเรียกร้องค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม โดยอ้างว่าได้รับข้อมูลไม่เพียงพอไม่ได้

การรื้อถอนสิ่งกีดขวางต่างๆที่อยู่ใต้ดินฃึ่งเกิดขึ้นระระหว่างปฏิบัติงาน เช่น เสาเข็มหัก เป็นต้น อันเป็นเหตุให้ทำงานเสาเข็มไม่ได้หรือเป็นอุปสรรคต่อการวางแนวของเสาเข็ม ตลอดจนงานไม้ งานถมดิน การกลบดินรอบเสาเข็ม และงานอื่นๆฃึ่งจำเป็นต้องทำเพื่อให้งานเสร็จสมบูรณ์ เป็นหน้าที่ของผู้รับจ้างที่ต้องทำ โดยผู้รับจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเองทั้งสิ้น

ผู้รับจ้างจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง ต่อทรัพย์สินหรือบุคคลใดๆเนื่องจากการทำงานเสาเข็มนี้ทั้งสิ้นจะไม่มีการคิดค่าเสียหายใดๆจากผู้ว่าจ้าง ในกรณีที่เครื่องจักรต้องติดตั้งค้างไว้ไม่ว่าเกิดอุปสรรคใดๆ

เมื่องานเสาเข็มเสร็จแล้ว ผู้รับจ้างต้องจัดส่ง As Built Drawing แสดงจำนวนจริงของเสาเข็ม พร้อมรายละเอียดอื่นๆที่จำเป็นส่งให้กับผู้ว่าจ้าง

4.

ระบบเสาเข็ม
การคำนวณกำลังรับน้ำหนักปลอดภัยของเสาเข็ม ได้ทำการคำนวณโดยยึดถือข้อมูลลักษณะของชั้นดินเป็นหลัก ผู้รับจ้างต้องคำณวนเพื่อยืนยันกำลังรับน้ำหนักปลอดภัย และอัตราส่วนความปลอดภัย ของเสาเข็มแต่ละขนาดตามที่ได้ปรากฏอยู่ในแบบ เพื่อขออนุมัติการก่อสร้าง ผู้รับจ้างจะต้องเป็นผู้ที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเจาะเสาเข็มเพิ่มเติมรวมทั้งค่าใช้จ่ายการขยายฐานรากหรือคานรัดฐานรากในกรณีที่ผลการทดสอบเสาเข็ม แสดงว่ากำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มไม่ได้ตามที่ออกแบบไว้

5.

เสาเข็มเจาะ
คอนกรีตที่ใช้ทำเสาเข็มเจาะจะต้องมีกำลังอัดประลัยไม่น้อยกว่า 210 กก/ตร.ซม. เมื่อทดสอบด้วยแท่งคอนกรีตรูปทรงกระบอก โดยมีปริมาณซีเมนต์ไม่น้อยกว่า 350 กก./ลบ.ม. ของคอนกรีต

ต้องใส่สารเคมีเพื่อหน่วงเวลาการแข็งตัวของคอนกรีต เพื่อไม่ให้คอนกรีตแข็งตัวก่อน 4 ชั่วโมง หรือตามความเหมาะสมกับระยะเวลาที่ใช้ในการเทคอนกรีต ผู้รับจ้างจะต้องเสนอผลการทดลองของสารเคมีดังกล่าว ให้วิศวกรผู้ควบคุมงานอนุมัติก่อนนำมาใช้

เหล็กเสริมที่จะนำมาใช้ต้องได้มาตราฐาน มอก. โดยใชเกรด SR24 สำหรับเหล็กเส้นกลม และเกรด SD30 สำหรับเหล็กข้ออ้อย โดยมีขนาดและปริมาณตามที่ระบุและกำหนดในแบบ

6.

วิธีการทำเสาเข็มเจาะ
อุปกรณ์ประกอบด้วย ขาหยั่งเหล็ฏ 3 ขา ปลายบนติดรอกเดี่ยว (Tripod) เครื่องกว้านลม (Air winch ) เป็นเครื่องจักรกลหลักในการเจาะ ยก ดึง หรือถอนปลอกเหล็ก หรืออาจจะทำการเจาะเสาเข็มโดยรถเจาะ (Drilling Crane)ก็ได้

จัดเครื่องมือเข้าศูนย์กลางของเสาเข็มเจาะในกระเช้า ( Boring tackle) เจาะนำเป็นรูลึกประมาณ 1.00 เมตร

ตอกปลอกเหล็ก ( Casing ) โดยปกติจะทำเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 1.00-1.20 เมตร ต่อกันด้วยเกลียวลงในรูเจาะ อย่าทำให้ปลอกเหล็กเอียง จนกระทั่งถึงชั้นดินปานกลาง
(
Medium stiff clay) โดยมีความลึกของปลอกเหล็กไม่ต่ำกว่า 14.00 เมตร จากผิวดิน

เจาะเอาดินออกจากรูเสาเข็มเจาะ โดยใช้กระเช้าชนิดมีล้นปลาย หรือเจาะโดยการใช้ดอกสว่าน หรือ Bucket ให้ทำการเจาะเอาดินออกจนถึงระดับที่กำหนดไว้ในแบบ หรือจนถึงระดับที่ได้รับอนุมัติจากวิศวกรผู้ออกแบบ

ตรวจสอบรูเจาะและก้นหลุมเพื่อมิให้มีการพังทลายของดิน หรือมีเศษวัสดุ ดิน ตกค้างอยู่ที่ก้นหลุมเจาะ ในกรณีที่มีเศษวัสดุหรือดินอยู่ ต้องนำขึ้นมาให้หมด

หย่อนโครงเหล็กที่ผูกเตรียมไว้ลงในหลุมเจาะ ตามแบบการเสริมเหล็กในเสาเข็ม

เทคอนกรีตลงไปในหลุมเจาะโดยกรวย (Hopper) ปลายกรวยควรเป็นท่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 150-200 มม. ยาว 1.00 ม. เพื่อให้คอนกรีตหย่อนสู่ก้นหลุมตรง ๆ ไม่ปะทะผนังเข็มเจาะการเทคอนกรีตจะต้องไม่ทำให้เกิดการแยกตัว (Segregation) คอนกรีตที่ใช้ในเสาเข็มเจาะจะต้องให้มีความสามารถในการเทได้สูง โดยมี Slump ระหว่าง 10-15 ซม.

เมื่อเทคอนกรีตจนกระทั่งได้ระดับที่ต้องการแล้ว ก่อนจะถอนปลอกเหล็ก (Casing) ขึ้น จะต้องทำการอัดลมเข้าไปในรูเจาะเพื่อทำให้คอนกรีตยุบตัวอัดแน่นขึ้น

7.

ข้อควรระวังในการทำเสาเข็มเจาะ
การใส่ปลอกเหล็ก จะต้องระมัดระวังให้ได้แนวดิ่งมากที่สุด มิฉะนั้นเสาเข็มจะเอียงตามแนวเอียงของปลอกเหล็ก

การต่อปลอกเหล็กแต่ละท่อน จะต้องต่อให้แน่นพอสมควร มิฉะนั้นน้ำใต้ดิน (ถ้ามี) อาจจะซึมเข้าระหว่างรอยต่อของเกลียว จะทำให้คุณภาพของคอนกรีตไม่ดีเท่าที่ควร

ระหว่างเจาะเอาดินขึ้นจะต้องตรวจสอบอยู่เสมอ ว่าผนังหลุมเจาะ หรือยุบเข้าไปหรือไม่ ควรสังเกตเสมอว่าการเจาะดินทุกครั้ง ควรจะได้ความลึกเพิ่มขึ้น และชนิดของดินควรจะเปลี่ยนไปตามความลึก โดยเทียบได้จาก Boring log หรือเสาเข็มต้นแรก ๆ ที่ทำแล้ว ถ้าเจาะดินแล้วความลึกไม่เพิ่มขึ้นหรือชนิดดินไม่เปลี่ยนแปลง ก็อาจแสดงว่าดินข้าง ๆ ได้พังลงมาเป็นกระเปะ จะต้องรีบแก้ไขโดยตอกปลอกเหล็กให้ลึกลงไปอีก

จะต้องเจาะดินโดยระมัดระวัง การเจาะถึงชั้นทราย หรือดินปนทราย อันจะทำให้เกิดการซึมของน้ำใต้ดินเข้าหลุมเจาะอันจะทำให้เกิดการพังทลายของดินได้

ดินที่นำขึ้นมาจากหลุมเจาะ ควรนำออกนอกบริเวณก่อสร้างเร็วที่สุด อย่าปล่อยทิ้งเพราะทำให้เพิ่มน้ำหนักจร (Surcharge) ต่อการเจาะเสาเข็มต้นถัดไป

อย่าทิ้งรูเจาะไว้นานเกินควร โดยไม่เทคอนกรีต จะทำให้ผิวดินกระทบความชื้นในอากาศนานเกินควร และสูญเสียแรงเฉือน (Skin Friction) ได้

ก้นหลุมมักจะมีเศษดินหล่นอยู่บ้าง ซึ่งไม่มีทางจะเก็บให้หมดได้ จึงควรกระทุ้ง (Compact) ให้แน่นก่อน โดยใช้คอนกรีตที่มีอัตราส่วนผสมของน้ำต่อซีเมนต์น้อย ๆ รอบก้นหลุมประมาณ 0.25 เมตร แล้วกระทุ้งจนแน่น จะช่วยให้เสาเข็มรับน้ำหนักได้ดียิ่งขึ้น

เหล็กเสริมที่ใส่ในรูเจาะ มักจะยุบตัวลงตามปริมาตรของ Casing ที่ถอนขึ้น และการอัดตัวแน่นของคอนกรีตภายหลังการอัดลมขณะจะถอนปลอกเหล็กเสมอ ดังนั้น จะต้องสังเกตการทำเสาเข็มต้นแรก ๆ  ว่าจะเผื่อความสูงไว้เท่าไร

ไม่ควรใช้คอนกรีตค่อนข้างแข็ง ควรให้เหลวกว่าคอนกรีตธรรมดา Slump ประมาณ10-15 ซม. เพื่อให้คอนกรีตเกิด Self Compaction เวลาเทผ่านกรวยและไหลไปเต็มรูเจาะ จะต้องเทคอนกรีตผ่านกรวย เพื่อให้คอนกรีตหล่นลงตรง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดการแยกตัว ควรเทคอนกรีตแบบหล่นอิสระ (Free Fall) จากปากหลุมเจาะโดยผ่านกรวยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแยกตัว (Segregation)

ก่อนถอนปลอกเหล็ก ทุกครั้งจะต้องอัดลม เพื่อให้คอนกรีตแน่นตัว

ไม่ควรทำเสาเข็มเจาะต้นที่ใกล้กว่าระยะ 3.00 เมตร จากเสาเข็มที่เพิ่งทำเสร็จ เพราะอาจจะทำคอนกรีตขณะกำลังแข็งตัวเสียกำลัง นอกจากหลัง 24 ชั่วโมง ภายหลังเสาเข็มเจาะต้นที่อยู่ติดกันเสร็จ

ต้องเทคอนกรีตเผื่อให้หัวเสาเข็มสูงกว่าระดับที่ต้องการไม่น้อยกว่า 15 ซม. เพื่อสกัดออกภายหลัง เนื่องจากคอนกรีตบริเวณหัวเสาเข็มมักสกปรก และมีเศษวัสดุหรือดินหล่นลงไปหลังถอนปลอกเหล็กออกหมดแล้ว

8.

รายงานการทำเสาเข็มเจาะ
ผู้รับจ้างจะต้องส่งรายงานเกี่ยวกับเสาเข็มแต่ละต้น ให้ตัวแทนผู้ว่าจ้างหรือผู้ควบคุมงานภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากหล่อเสร็จ ข้อมูลในรายงานจะต้องประกอบด้วย

8.1

วัน เดือน ปี ที่เจาะและหล่อคอนกรีต

8.2

หมายเลขกำกับเสาเข็ม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเสาเข็ม

8.3

ระดับดินเดิม

8.4

ระดับตัดหัวเสาเข็ม (Pile cut off)

8.5

ระดับปลายเสาเข็ม (Pile Tip)

8.6

สภาพดินก้นหลุม

8.7

ความเอียงจากแนวดิ่งโดยประมาณ

8.8

ความคลาดเคลื่อนในแนวราบที่ระดับทำงานโดยประมาณ

8.9

ความยาวปลอกเหล็กชั่วคราว

8.10

รายละเอียดเหล็กเสริมตัวเสาเข็ม

8.11

รายละเอียดอุปสรรคและความล่าช้าของงาน

8.12

ปริมาณคอนกรีตที่ใช้เท

8.13

เวลาที่ใช้ในการเจาะ

8.14

เวลาที่ใช้ในการใส่โครงเหล็กเสริม

8.15

เวลาที่ใช้ในการเทคอนกรีต      

9.

ค่าผิดพลาดที่ยอมให้ในระหว่างการทำเสาเข็มเจาะ
ระยะคลาดเคลื่อนในแนวราบที่ระดับพื้นดินต้องไม่เกิน 7.00 ซม. โดยวัดขนานกับแนวแกนทั้งสองแกน ความผิดพลาดในแนวดิ่งไม่เกิน 1:100 ของความยาวเข็มในกรณีใดก็ตามความคลาดเคลื่อนของกลุ่มเข็มในฐานรากที่มีเข็มตั้งแต่ 2 ต้น จะต้องไม่เกิน 5.00 ซม. โดยวัดที่ระดับพื้นดิน

10.

ความถูกต้องสมบูรณ์ของเสาเข็มแต่ละต้น
จะถือว่าเสาเข็มเจาะแต่ละต้นที่เจาะและหล่อคอนกรีตแล้วถูกต้องสมบูรณ์เมื่อ

10.1

กำลังอัดของคอนกรีตที่ใช้หล่อเสาเข็ม ที่เก็บตัวอย่างไว้ก่อนหรือระหว่างการเทไม่ต่ำกว่าข้อกำหนด

10.2

ความผิดพลาดของเสาเข็มไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ข้างต้น

10.3

ความลึกของปลายเสาเข็มได้ระดับดินตามแบบ หรือตามที่ได้รับอนุมัติจากวิศวกรผู้ออกแบบ

10.4

คอนกรีตของเสาเข็ม จะต้องอยู่ในสภาพที่ดี ตั้งแต่ปลายเสาเข็มจนถึงระดับตัดหัวเสาเข็ม

10.5

ผลการทดสอบ Sonic Integrity Test แสดงว่าเสาเข็มอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

10.6

กำลังรับน้ำหนักปลอดภัย ของเสาเข็มไม่น้อยกว่าที่ออกแบบไว้    

หากเสาเข็มต้นใดเสีย ผู้รับจ้างจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ โดยอาจทำเสาเข็มใหม่ ขยายฐานรากหรือใส่คานเสริม เพื่อให้ฐานรากอาคารสามารถรับน้ำหนักได้อย่างปลอดภัย ตามคำแนะนำของวิศวกรผู้ออกแบบ โดยค่าใช้จ่ายเป็นของผู้รับจ้างเอง คำวินิจฉัยเสาเข็มต้นใดถูกต้องสมบูรณ์หรือไม่ ให้ถือคำวินิจฉัยของวิศวกรผู้ออกแบบเป็นที่สิ้นสุด

11.

การตรวจสอบเสาเข็มระหว่างทำและทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว
 ระหว่างการทำเสาเข็มเจาะ เมื่อรูเจาะได้ระดับตามความต้องการแล้ว ให้ผู้รับจ้างสุ่มทดสอบความกว้าง ความดิ่ง ของรูเจาะ โดยเครื่อง Drilling Monitor

หลังจากการทำเสาเข็มเสร็จแล้ว และผู้รับจ้างงานอาคารได้ตัดเสาเข็มตามระดับที่กำหนดไว้แล้ว ผู้รับจ้างจะต้องทำการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มโดยวิธี Sonic Integrity Test เป็นจำนวน 100% ของจำนวนเสาเข็มและจะต้องส่งผลทดสอบให้วิศวกรผู้ควบคุมงานพิจารณาภายใน 7 วัน ในกรณีทำการทดสอบแล้วพบว่าเสาเข็มเสียหายเนื่องจากเป็นการทำงานผิดพลาดจากผู้รับจ้างงานเสาเข็มเจาะ ผู้รับจ้างจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการแก้ไขระบบฐานรากทั้งหมด

12.

ช่วงห่างของเวลาและระยะเวลาของการเจาะเสาเข็มเจาะต้นถัดไป
ระยะห่างของการเจาะเสาเข็มต้นที่ถัดไป จะต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า 6 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง เสาเข็มต้นที่เสร็จแล้วใหม่ ๆ หากต้องการเจาะต้นที่ถัดไปในระยะใกล้กว่านี้ จะต้องให้เสาเข็มต้นที่เสร็จแล้วเวลาผ่านไปไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง โดยให้พิจารณาว่าการทำงานใด ๆ ก็ตาม จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับเสาเข็มที่ได้ทำไปแล้ว ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของวิศวกรผู้ควบคุมงาน

13.

การประสานงานกับผู้รับจ้างก่อสร้างอาคาร
หลังจากแล้วเสร็จงาน และผู้รับจ้างก่อสร้างอาคารเริ่มทำการเปิดหน้าดินเพื่อหล่อฐานราก ผู้รับจ้างจะต้องประสานงานในการตรวจสอบตำแหน่งเสาเข็ม และทำการส่งมอบเส้นแนวหลัก (Base Line) ที่ใช้ในการวางผังอาคารแก่ผู้รับจ้างก่อสร้างอาคาร ภายใต้การควบคุมของผู้ควบคุมงานผู้รับจ้างจะต้องประสานงานและให้ความร่วมมือกับผู้รับจ้างก่อสร้างอาคาร ในระหว่างการเปิดหน้าดิน เพื่อการตรวจสอบตำแหน่งเสาเข็ม ตรวจสอบสภาพหัวเสาเข็ม ในกรณีที่พบความเสียหายหรือการคลาดเคลื่อนของตำแหน่งเสาเข็ม จากการทำงานผิดพลาดของผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างจะต้องทำการแก้ไขตามคำแนะนำของวิศวกรผู้ออกแบบ โดยค่าใช้จ่ายเป็นของผู้รับจ้าง

บทที่  3   รายละเอียดประกอบแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง
3. งานไม้แบบ

1.

ทั่วไป
 “กรณีทั่วไปและกรณีพิเศษ” ที่ระบุไว้ในหมวดอื่น ให้นำมาใช้ในหมวดนี้ด้วย

2.

การคำนวณการออกแบบ

2.1

การวิเคราะห์
ผู้รับจ้างจะต้องเป็นฝ่ายคำนวณออกแบบงานไม้แบบ โดยต้องคำนึงถึงการโก่งตัวขององค์อาคารต่างๆอย่างระมัดระวัง

2.2

ค้ำยัน

1.

เมื่อใช้ค้ำยัน การต่อหรือวิธีการค้ำยันซึ่งได้จดทะเบียนสิทธิบัตรไว้ จะต้องปฎิบัติตามข้อแนะนำของผู้ผลิตเกี่ยวกับความสามารถในการรับน้ำหนักอย่างเคร่งครัด ในเรื่องการยึดโยงและน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยสำหรับความยาวระหว่างที่ยึดของค้ำยัน

2.

ให้ใช้การต่อแบบทาบในสนามเกินกว่าอันสลับอันสำหรับค้ำยันใต้แผ่นพื้นหรือไม่เกินทุกๆสามอันสำหรับค้ำยัน ใต้คานและไม่ควรต่อค้ำยันเกินกว่าหนึ่งแห่ง นอกจากจะมีการยึดทแยงที่จุดต่อทุกแห่ง การต่อค้ำยันดังกล่าว จะต้องกระจายให้สม่ำเสมอทั่วไปเท่าที่จะทำได้ รอยต่อจะต้องไม่อยู่กึ่งกลางของตัวค้ำยันโดยไม่มีที่ยึดด้านข้างทั้งนี้เพื่อป้องกันการโก่ง

2.3

การยึดทะแยก
ระบบไม้แบบจะต้องออกแบบให้ถ่ายแรงทางข้างลงสู่พื้นดิน ในลักษณะปลอดภัยตลอดเวลา จะต้องจัดให้มีการยึดทะแยกทั้งในระนาบดิ่ง และระนาบราบตามต้องการ เพื่อให้มีความแข็งแรงสูง และเพื่อป้องกันการโก่งขององค์อาคารเดี่ยวๆ

2.4

ฐานรากสำหรับงานไม้แบบ
แบบหล่อจะต้องสร้างให้สามารถปรับระดับทางแนวดิ่งได้ เพื่อเป็นการชดเชยกับการทรุดตัวที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้เกิดการทุดตัวน้อยที่สุด เมื่อรับน้ำหนักเต็มที่ ในกรณีที่ใช้ไม้ ต้องพยายามให้มีจำนวนรอยต่อทางราบน้อยที่สุด โดยเฉพาะจำนวนรอยต่อซึ่งแนวเสี้ยนด้านข้างอาจใช้ลิ่มสอดที่ยอด หรือก้นของค้ำยันอย่างใดอย่างหนึ่งแต่จะใช้ทั้งสองปลายไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถปรับแก้การทรุดตัวที่ไม่สม่ำเสมอ

3

แบบ

3.1

การอนุมัติโดยวิศวกร หรือผู้ควบคุมงาน
ในกรณีที่กำหนดไว้ก่อนที่จะลงมือสร้างแบบหล่อ ผู้รับจ้างจะต้องส่งแบบแสดงรายละเอียดของงานแบบหล่อเพื่อให้วิศวกรหรือผู้ควบคุมงานอนุมัติก่อน หากแบบดังกล่าวไม่เป็นที่พอใจของวิศวกรหรือผู้ควบคุมงาน ผู้รับจ้างจะต้องจัดการแก้ไขตามที่กำหนดก่อนที่จะเริ่มงาน การที่วิศวกรหรือผู้ควบคุมงานอนุมัติแบบที่เสนอหรือแก้ไขมาแล้ว มิได้หมายความว่า ผู้รับจ้างจะหมดความรับผิดชอบที่จะต้องทำการก่อสร้างให้ดี และดูแลรักษาให้แบบหล่อ อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา

3.2

สมมุติฐานในการคำนวณออกแบบ
ในแบบสำหรับแบบหล่อจะต้องแสดงค่าต่าง ๆ ที่สำคัญ  ตลอดจนสภาพการบรรทุกน้ำหนัก  รวมทั้ง
น้ำหนักบรรทุก อัตราการบรรทุก  ความสูงของคอนกรีตที่จะปล่อยลงมา  น้ำหนักอุปกรณ์เคลื่อนที่ซึ่งอาจต้องทำงานบนแบบหล่อความดันฐาน  หน่วยแรงต่าง ๆ ที่ใช้ในการคำนวณออกแบบและข้อมูลที่สำคัญอื่น ๆ         

3.3

รายการต่าง ๆ ที่ต้องปรากฏในแบบ
แบบสำหรับงานแบบหล่อจะต้องมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1.

สมอ ค้ำยันและการยืดโยง

2.

การปรับแบบหล่อในที่ระหว่างเทคอนกรีต

3.

แผ่นกั้นน้ำ  ร่องลิ้น และสิ่งที่จะสอดไว้

4.

นั่งร้าน

5.

รูตาน้ำ  หรือรูที่เจาะไว้สำหรับเครื่องจี้  ถ้ากำหนด

6.

ช่องทำความสะอาด

7.

รอยต่อในขณะก่อสร้าง  รอยต่อสำหรับควบคุม และรอยต่อขยายตัวตามที่ระบุในแบบ

8.

แถบมนสำหรับมุมที่ไม่ฉาบ (เปลือย)

9.

การยกท้องคานและพื้น

10.

การเคลือบผิวแบบหล่อ

11.

รายละเอียดในการค้ำยันปกติจะไม่ยอมให้มีการค้ำยันซ้อน  นอกจากวิศวกรหรือผู้ ควบคุมงานจะอนุญาต          

4.

การก่อสร้าง

4.1

ทั่วไป

1.

แบบหล่อจะต้องได้รับการตรวจก่อนที่จะเรียงเหล็กเสริมได้

2.

แบบหล่อจะต้องแน่นสนิท  เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำปูนไหลออกจากคอนกรีต

3.

แบบหล่อจะต้องสะอาด  ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าถึงก้นแบบจากภายในได้  จะต้องจัดช่องไว้สำหรับขจัดสิ่งที่ไม่ต้องการต่าง ๆ ออกก่อนเทคอนกรีต

4.

ห้ามนำแบบหล่อซึ่งชำรุดจนถึงขั้นทำลายผิวหน้าหรือคุณภาพคอนกรีตได้มาใช้อีก

5.

ให้หลีกเลี่ยงการบรรทุกน้ำหนักบนคอนกรีตซึ่งเทได้เพียงหนึ่งสัปดาห์  ห้ามโยนของหนัก ๆ เช่น  มวลรวม  ไม้กระดาน  เหล็กเสริมหรืออื่น ๆ ลงบนคอนกรีตใหม่ ๆ หรือแม้กระทั่งการกองวัสดุ

6.

ห้ามโยนหรือกองวัสดุก่อสร้างบนแบบหล่อในลักษณะที่จะทำให้แบบหล่อนั้นชำรุดหรือเป็นการเพิ่มน้ำหนักมากเกินไป

1.2

ฝีมือ
ให้ระมัดระวังเป็นพิเศษในข้อต่อไปนี้  เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้งานที่มีฝีมือดี

1.

รอยต่อของค้ำยัน

2.

การสลับจุดร่วม  หรือรอยต่อในแผ่นไม้อัด และการยืดโยง

3.

การรองรับค้ำยันที่ถูกต้อง

4.

 จำนวนเหล็กเส้นสำหรับยืด  หรือที่จับ และตำแหน่งที่เหมาะสม

5.

การขันเหล็กสำหรับยึด หรือที่จับให้ตึงพอดี

6.

การแบกทานใต้ชั้นดิน จะต้องมีอย่างพอเพียง

7.

การต่อค้ำยันกับจุดร่วมจะต้องแข็งแรงพอที่จะต้านแรงยก หรือแรงบิดนั้นได้

8.

รายละเอียดรอยต่อสำหรับควบคุม และรอยต่อขณะก่อสร้าง

1.3

งานปรับแบบหล่อ

1.

ก่อนเทคอนกรีต

1.1

จะต้องติดตั้งอุปกรณ์สำหรับให้ความสะดวกในการจัดการเคลื่อนตัวของแบบหล่อขณะเทคอนกรีตไว้ที่แบบส่วนที่มีที่รองรับ

1.2

สอบขั้นสุดท้ายก่อนเทคอนกรีต จะต้องยึดลิ่มที่ใช้ในการจัดแบบหล่อให้ได้ที่ให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง

1.3

จะต้องยึดแบบหล่อกับค้ำยันข้างใต้ให้แน่นหนาพอที่จะไม่เกิดการเคลื่อนตัวทั้งทางด้านข้าง และด้านขึ้นลงของส่านหนึ่งส่วนใด ของระบบแบบหล่อทั้งหมดในการหล่อคอนกรีต

1.4

จะต้องเผื่อระดับและมุมไว้สำหรับรอยต่อต่างๆของแบบหล่อ การทรุดตัว การหดตัวของไม้ การแอ่นเนื่องจากการบรรทุกคงที่และการหดตัว ทางอีลาสติกขององค์อาคารในแบบหล่อ ตลอดจนการยกท้องคาน และพื้นซึ่งกำหนดไว้ในแบบก่อสร้าง

1.5

จะต้องจัดเตรียมวิธีปรับระดับ หรือแนวของค้ำยัน ในกรณีที่เกิดการทรุดตัวมากเกินไป เช่นใช้ลิ่มหรือแม่แรง

1.6

ควรจัดทำทางเดินของอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ โดยทำเสาหรือขารองรับตามแต่ต้องการ แล้วค่อยวางบนแบบหล่อ หรือองค์อาคารที่เป็นโครงสร้างโดยตรง ห้ามวางบนเหล็กเสริม นอกจากจะทำที่รองรับเหล็กนั้นเป็นพิเศษ แบบหล่อจะต้องพอเหมาะกับที่รองรับของทางเดินดังกล่าว โดยยอมให้เกิดการแอ่น ความคลาสดเคลื่อน หรือการเคลื่อนตัวทางข้างไม่เกินค่าที่ยอมให้                                                                                        

2.

ระหว่างและหลังการเทคอนกรีต

2.1

ในระหว่างและหลังเทคอนกรีต จะต้องตรวจสอบการยกท้องคานและพื้นและการได้ดิงของระบบแบบหล่อโดยใช้อุปกรณ์ตามข้อ (1.1) หากจำเป็นให้รีบดำเนินการแก้ไขทันทีในระหง่างการก่อสร้าง หากปรากฏว่าแบบหล่อเริ่มไม่แข็งแรงและแสดงให้เห็นว่าเกินการทรุดตัวมากเกินไปหรือเกิดการโก่งบิดเบี้ยวแล้วให้หยุดงานทันทีหากเห็นว่าสวนใดชำรุดให้รื้อออก และเสริมแบบหล่อให้แข็งแรงยิ่งขึ้น

2.2

จะต้องมีผู้สังเกตแบบหล่ออยู่ตลอดเวลา เพื่อที่เมื้อเห็นสมควรจะแก้ไขส่านใดจะได้ดำเนินการได้ทันที ผู้ที่ทำหน้าที่จะต้องปฏิบัติงานโดยถือความปลอดภัยเป็นสำคัญ

2.3

การถอดแบบหล่อที่รองรับ หลังเทคอนกรีตแล้ว จะคงที่รองรับไว้กับที่เป็นเวลาไม่น้อยกว่าที่กำหนดให้ด้านล่างนี้ ในกรณีที่ใช้คอนกรีตชนิดที่ให้กำลังสูงเร็ว อาจลดเวลาดังกล่าวลงได้ตอมความเห็นชอบของวิศวกรหรือผู้ควบคุมงาน

ค้ำยันใต้คาน                   21  วัน
ค้ำยันใต้แผ่นพื้น              21  วัน   
ผนัง                             48   ชั่วโมง 
เสา                              48   ชั่วโมง
ข้างคานและส่วนอื่นๆ        48   ชั่วโมง

อย่างไรก็ดีวิศวกร หรือผู้ควบคุมงานอาจสั่งให้ยืดเวลาการถอดแบบออกไปอีกได้หากเห็นสมควร

5.

วัสดุสำหรับงานแบบหล่อ
ผู้รับจ้างอาจเลือกใช้วัสดุใดทำแบบหล่อก็ได้ การสร้างแบบหล่อจะต้องทำพอดีที่ เมื้อเทคอนกรีตแข็งแล้ว จะอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องแล้วต้องมีขนาดแล้วผิวตรงตามที่กำหนด

6.

การแก้ไขผิวที่ไม่เรียบ

6.1

ทันทีที่ถอดแบบจะต้องทำการตรวจสอบ หากพบว่าคอนกรีตไม่เรียบร้อยจะต้องแจ้งให้วิศวกรหรือผู้ควบคุมงานทราบทันที และผู้รับจ้างต้องดำเนินการซ่อมทันที                               

6.2

 หากปรากฏว่ามีการซ่อมแซมผิวคอนกรีต ก่อนได้รับการตรวจสอบ โดยผู้ควบคุมงานคอนกรีตส่วนนั้นอาจถือเป็นคอนกรีตเสียได้

7.

ความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้

7.1

ความคลาดเคลื่อนจากแนวสายดิ่ง
ในแต่ละชิ้น หรือในช่วง 5.00 เมตร 5ม.ม.

7.2

ความคลาดเคลื่อนจากระดับหรือจากความลาดที่ระบุในแบบ
ในช่วง 10.00 เมตร   15 ม.ม.

7.3

ความคลาดเคลื่อนจากแนวอาคารที่กำหนดในแบบ และตำแหน่งเสา ผนัง ฝาประจัน ที่เกี่ยวข้อง
ในช่วง 10.00 เมตร   10 ม.ม.

7.4

ความคลาดเคลือนของขนาดหน้าตัดเสาและ คาน และความหนาของแผ่นพื้นและผนัง
ลด     5  ม.ม. 
เพิ่ม  10  ม.ม.

7.5

ฐานราก

1.

ความคลาดเคลื่อนจากขนาดในแบบ
ลด    20   ม.ม.
เพิ่ม   50   ม.ม.

2.

ตำแหน่งผิดหรือระยะเฉศูนย์   10  ม.ม.

3.

ความคลาดเคลื่อนในความหนา
ลด    10   ม.ม.
เพิ่ม   50   ม.ม.

 7.6

ความคลาดเคลื่อนของขั้นบันได
ลูกตั้ง     2.5   มม.
ลูกนอน   5.0  มม.

ทั้งนี้ความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้นี้ จะต้องไม่เป็นความคลาดเคลื่อนที่เกิดสะสม

บทที่  3   รายละเอียดประกอบแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง
4. เหล็กเสริมคอนกรีต

1.

ทั่วไป

1.1

“กรณีทั่วไปและกรณีพิเศษ” ที่ระบุไว้ในหมวดอื่นให้นำมาใช้กับหมวดนี้ด้วย

1.2

ข้อกำหนดในหมวดนี้ คลุมถึงงานทั่วไปเกี่ยวกับการจัดหา การตัด การดัด และการเรียงเหล็กเสริมตามชนิดและจำนวนที่ระบุไว้ในแบบ หรือตามคำแนะนำของวิศกร และผู้ควบคุมงาน

1.3

รายละเอียดเกี่ยวกับเหล็กคอนกรีต ซึ่งไม่ระบุแบบและบทกำหนดนี้ให้ถือปฏิบัติตาม “มาตรฐานการก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก” ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ทุกประการ

2.

คุณสมบัติของเหล็กเสริม
เหล็กเสริมสำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็ก จะต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานอุตสาหกรรม ของกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับหลังสุด ดังนี้

2.1

สำหรับเหล็กกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 และ 9 ม.ม. ให้ใช้คุณภาพ SR 24

2.2

สำหรับเหล็กข้ออ้อย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 ถึง 25 ม.ม. ให้ใช้คุณภาพ SD 40

3.

วิธีการก่อสร้าง

3.1

การตัดและประกอบ

1.

เหล็กเสริมต้องมีขนาดและรูปร่างตรงตามที่กำหนดในแบบและในการตัดและตัดจะต้องไม่ทำให้เหล็กชำรุดเสียหาย

2.

ของอสำหรับเหล็กกลม หากในแบบไม่ได้ระบุถึงรัศมีของการงอเหล็ก ให้งอตามเกณฑ์ที่กำหนด  ดังต่อไปนี้
(2.1) ส่วนที่งอเป็นครึ่งวงกลม ขนาด 5 เท่า ของเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กเสริมนั้น โดยมี ส่วนที่ยื่นต่อออกไปอีกอย่าน้อย 4 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กเสริมนั้น
(2.2) ส่วนที่งอเป็นมุมฉาก โดยมีสวนที่ยื่นต่อออกไปถึงปลายสุดของเหล็กอีกอย่างน้อย 12 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเสริมนั้น
(2.3) เฉพาะเหล็กลูกตั้งและเหล็กปลอกให้งอ 90 องศา หรือ 135 องศา โดยมีส่วนที่ยื่นถึงปลายขออีกอย่างน้อย 6 เท่า ของเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กเสริมนั้น แต่ต้องไม่น้อยกว่า 6 ซม.

3.

ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่เล็กที่สุดสำหรับของอ
เส้นผ่าศูนย์กลางของการงอเหล็กให้วัดด้านในของเหล็กที่งอ สำหรับมาตรฐานของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใช้ต้องไม่เล็กกว่าค่าที่ให้ไว้ในตารางที่ 4.1
 

                                    ตารางที่ 4.1 ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางที่เล็กที่สุดสำหรับของอ    

               ขนาดของเหล็ก

          ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่เล็กที่สุด

               6 ถึง 15 ม.ม.

       5 เท่า ของเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กนั้น

               19 ถึง 25 ม.ม.

       6 เท่า ของเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กนั้น

           

 

3.2

การเรียงเหล็กเสริม

1.

ก่อนเรียงเข้าที่จะต้องทำความสะอาดเหล็กมิให้มีสนิมขุม  สะเก็ด  และวัสดุเคลือบต่าง ๆ  ที่จะทำให้การยึดหน่วงเสียไป

2.

จะต้องเรียงเหล็กเสริมอย่างประณีต  ให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องพอดีและผูกติดให้แน่น  หากจำเป็นก็อาจใช้เหล็กเสริมพิเศษช่วยให้การติดตั้งได้

3.

ที่จุดตัดของเหล็กเส้นทุกแห่งจะต้องผูกให้แน่นด้วยลวดเหล็ก  เบอร์  16  S.W.G. (ANNEALED-IRONWIRE)  โดยพันสองรอบและพับปลายลวดเข้าในส่วนที่จะเป็นเนื้อคอนกรีตภายใน

4.

ให้รักษาระยะห่างระหว่างแบบกับเหล็กเสริมให้ถูกต้อง  โดยใช้เหล็กแขวน  ก้อนลูกปูนต้องแข็งแรงพอที่จะเป็นเนื้อคอนกรีตภายใน

5.

หลังจากผูกเหล็กแล้ว  จะต้องให้วิศวกรหรือผู้แทนวิศวกรตรวจสอบก่อนการเทคอนกรีตทุกครั้ง   หากผูกทิ้งไว้นานเกินควรจะต้องทำความสะอาด  และให้วิศวกร  หรือผู้ควบคุมงานตรวจอีกครั้งก่อนการเทคอนกรีต 

4.

การต่อเหล็กเสริม

4.1

ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องต่อเหล็กเสริมนอกจากจุดที่กำหนดในแบบ  หรือที่ระบุไว้ในตารางที่ 4.2       ทั้งตำแหน่งและวิธีการต่อจะต้องได้รับความเห็นชอบจากวิศวกร  หรือผู้ควบคุมงาน

ตารางที่ 4.2  รอยต่อของเหล็กเสริม
 
ชนิดขององค์อาคาร

ตำแหน่งของรอยต่อ

แผ่นพื้นและอาคาร เหล็กบนต่อที่กลางคาน
เหล็กล่างต่อที่หน้าเสาถึงระยะ
L / 5 จากศูนย์กลางเสา 
เสาและผนัง เหนือระดับพื้นหนึ่งเมตรถึงระดับกึ่งกลางความสูงระหว่างชั้น

4.2

เหล็กเสริมที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า  28  . จะต้องต่อด้วยการเชื่อมหรือวิธีการอื่นที่มิใช่การต่อทาบ  ผู้รับจ้างจะต้องเสนอวิธีการ  อุปกรณ์  และเครื่องมือที่ใช้ในการต่อ  ให้วิศวกรผู้ควบคุมงานพิจารณาอนุมัติก่อนใช้ดำเนินการก่อสร้าง 

4.3

ในรอยต่อแบบทาบ  ระยะทาบสำหรับเหล็กเส้นกลมธรรมดาต้องไม่น้อยกว่า  48  เท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเหล็กเสริมนั้น  และ  36  เท่าสำหรับเหล็กข้ออ้อย  และให้ผูกมัดด้วยลวดเหล็กเบอร์  16  S.W.G

4.4

สำหรับเหล็กเสริมที่โผล่ทิ้งไว้   เพื่อเชื่อมต่อกับเหล็กของส่วนที่จะต่อเติมภายหลัง  จะต้องหาทางป้องกันมิให้เสียหายและผุกร่อน 

4.5

การต่อเหล็กเสริมโดยวิธีการเชื่อม  จะต้องให้กำลังของรอยเชื่อมไม่น้อยกว่าร้อยละ  125  ของกำลัง  ของเหล็กเสริมนั้นก่อนเริ่มงานเหล็กจะต้องทำการทดสอบกำลังของรอยเชื่อม  โดยสถาบันที่เชื่อถือได้ 

4.6

ณ  จุดตัดใด ๆ  จะต้องมีรอยต่อของเหล็กเสริมเกินร้อยละ  50  ของจำนวนเหล็กเสริมทั้งหมดไม่ได้ 

4.7

รอยต่อทุกแห่งต้องได้รับการตรวจสอบและอนุมัติโดยวิศวกร  หรือผู้ควบคุมการเทคอนกรีตรอยต่อซึ่งไม่ได้รับการอนุมัติให้ถือว่าเป็นรอยต่อเสีย  อาจถูกห้ามก็ได้

5.

การเก็บรักษาเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต
จะต้องเก็บเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตไว้เหนือพื้นดินและอยู่ในอาคาร  หรือทำหลังคาคลุมเมื่อจัดเหล็กเสริมเข้าที่พร้อมจะเทคอนกรีตแล้ว  เหล็กนั้นจะต้องสะอาดปราศจากฝุ่น  น้ำมัน  สี  สนิมขุม  หรือสะเก็ด 

6.

การเก็บตัวอย่างทดสอบ
ทุกครั้งที่มีการนำเหล็กเส้นเข้ามาในหน่วยงานก่อสร้าง  ผู้รับจ้างจะต้องแจ้งให้วิศวกร  หรือผู้ควบคุมงานทราบถึงแหล่งผู้ผลิต  พร้อมทั้งจัดเก็บตัวอย่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางละ  ตัวอย่าง  ส่งให้สถาบันที่เชื่อถือได้  ทำการทดสอบคุณสมบัติ  หลังจากทราบผลการทดสอบแล้ว   ให้ผู้รับจ้างส่งสำเนาผลการทดสอบให้วิศวกร  หรือผู้แทนวิศวกรพิจารณาอนุมัติก่อนการนำไปใช้  หากผลการทดสอบปรากฏผลไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด  ผู้รับจ้างจะต้องขนย้ายเหล็กเส้นที่ต่ำกว่ามาตรฐานทั้งหมดออกจากหน่วยงานโดยทันที่ 

บทที่  3   รายละเอียดประกอบแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง
5. คอนกรีต

1.

ทั่วไป

1.1

“สภาวะทั่วไปและพิเศษ”   ในหมวดอื่นให้ครุมถึงหมวดนี้ด้วย

1.2

งานคอนกรีตในที่นี้   หมายถึงงานคอนกรีตสำหรับโครงสร้างที่ต้องเสร็จสมบูรณ์  และเป็น ไปตามแบบและบทกำหนดอย่างเคร่งครัด  และเป็นไปตามที่กำหนดและสภาวะต่างๆ ของสัญญา     

1.3

หากมิได้ระบุในแบบหรือบทกำหนดนี้  ร่ายระเอียดต่างๆเกี่ยวกับองค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กและงานคอนกรีตทั้งหมดให้เป็นไปตาม  “มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริม เหล็ก” ของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยทุกประการ

2.

วัสดุ
วัสดุต่างๆ  ดังต่อไปนี้จะต้องเป็นไปตามกำหนดและเกณฑ์กำหนด  ดังต่อไปนี้คือ

2.1

ปูนซีเมนต์จะต้องเป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์   มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ปอร์ตแลนด์ (มอก.15เล่ม 1-2515) และต้องเป็นปูนซีเมนต์ที่แห้งสนิทไม่จับตัวเป็นก้อน

2.2

น้ำที่ใช้ผสมคอนกรีตจะต้องสะอาดปราศจากสิ่งเจือปน  และไม่มีความเป็น  กรด  ด่าง  มากเกินควร

2.3

มวลรวม
(1)   มวลรวมที่ใช้สำหรับคอนกรีตจะต้องต้องแข็งแกร่ง  มีความคงตัว  เฉื่อย  ไม่ทำปฎิกิริยากับด่างในปูนซีเมนต์
(2)   มวลรวมหยาบและมวลรวมละเอียดให้ถือเป็นวัสดุคนละอย่าง  มวลรวมหยาบแต่ละขนาดผสมกันจะต้องมีส่วนขนาดคละตรงตามเกณฑ์กำหนดของข้อกำหนด  ASTM  C35

2.4

สารผสมเพิ่ม
สำหรับคอนกรีตหรืส่วนี่ไม่ใช้ฐานรากทั้งหมด  ให้ใช้สารผสมเพิ่มความสามารถได้  สำหรับโครงการส่วนที่อยู่ใต้ดินภังเก็บน้ำยากันซึมชนิดทนแรงได้  โดยใช้ตามคำแนะนำของผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด  นอกจากที่กล่าวนี้ห้ามใช้สารผสมเพิ่มชนิดอื่น  หรือปูนซีเมนต์ผสมสารเหล่านั้น  นอกจากได้รับความเห็นชอบจากวิศวกร

2.5

การเก็บวัสดุ

1.

ให้เก็บปูนซีเมนต์ไว้ในอาคาร ถึงเก็บหรือไซโลที่ป้องกันความชื้นและความสกปรกได้และการส่งให้ส่งไปในปริมาณเพียงพอที่จะไม่ทำให้งานคอนกรีตต้องชะงักหรือล่าช้าไม่ว่ากรณีใดๆ จะต้องแยกวัสดุที่ส่งมาแต่ละครั้งให้เป็นสัดส่วนไม่ปะปนกัน        

2.

การส่งมวลรวมหยาบ ให้ส่งแยกขนาดไปยังสถานที่ก่อสร้าง

3.

การกองมวลรวม  จะต้องกองในลักษณะที่จะป่องกันมิให้ปะปนกับมวลรวมกองอื่น  ซึ่งมีขนาดต่างกันเพื่อให้เป็นไปตามนี้  อาจจะต้องทำการทดสอบว่า ส่วนขนาดคละตลอดจนความสะอาดของมวลรวมตนงตามเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ โดยเก็บตัวอย่าง ณ ที่ทำการผสมคอนกรีต

4.

ในการเก็บสารผสมเพิ่ม ต้องระวังอย่าให้เกิดการแปดเปื้อน การระเหย หรือเสื่อมคุณภาพ สำหรับสารผสมเพิ่มชนิดที่อยู่ในรูปสารลอยตัว  หรือสารละลายที่ไม่ลงตัว  จะต้องจัดหาอุปกรณ์ สำหรับกวนเพื่อให้ตัวยา  กระจายโดยสม่ำเสมอ  ถ้าเป็นสารผสมเพิ่มชนิดเหลวจะต้องป้องกันมิให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้

3.

คุณสมบ้ติของคอนกรีต

3.1

องค์ประกอบ

คอนกรีตต้องประเภทด้วยปูนซิเมนต์  ทราย มวลรวมหยาบ น้ำ และสารผสมพิ่มตามแต่กำหนด ผสมให้เข้ากันเป็นอย่างดี

3.2

ความข้นเหลว

คอนกรีตที่จะใช้กับทุกส่วนของงานจะต้องผสมให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน  โดยมีความข้นเหลวที่พอจะเหมาะที่จะสามารถทำให้แน่นได้ภายในแบบหล่อ และรอบเหล็กเสริม และหลังจากอัดแน่น โดยการกระทุ้งด้วยมือหรือด้วยวิธีสั่นที่ได้รับการเห็นชอบแล้ว จะต้องไม่มีน้ำที่ผิวคอนกรีตมากเกินไป และจะต้องมีผิวเรียบ ปราศจากโพรง การแยกแยะ รูพรุน และเมื่อแข็งตัวแล้วจะต้องมีกำลังตามที่ต้องการ ตลอดจนความทนทานต่อการแตกสลาย ความคงทนต่อการขัดสี  ความสามารถในการกันน้ำ รูปลักษณะ  และคุณสมบัติอื่นๆ  ตามที่กำหนด           

3.3

กำลังอัด
คอนกรีตสำหรับโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมดจะต้องมีกำลังอัดประลัยไม่น้อยกว่า
280 ksc จากการทดสอบก้อนตัวอย่างรูปทรงกระบอกมาตรฐานที่อายุ 28 วัน

3.4 การยุบ

การยุบของคอนกรีตซึ่งมีน้ำหนักปกติซึ่งหาโดย  “วิธีทดสอบค่าการยุบของคอนกรีตซึ่งใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (ASTM C143) จะต้องเป็นไปตามค่าที่ให้ไว้ในตารางที่ 5.1 ข้างล่างนี้

ตารางที่   5.1  ค่าการยุบสำหรับงานก่อสร้างต่าง ๆ

ชนิดขององค์อาคาร

ค่าการยุบ,ซม.
สูงสุด

ต่ำสุด

ฐานราก  พื้น  คาน  บันได  คสล.

10

4

เสา  ผนัง  คสล.

10 5

ผนัง  และครีบ  คสลบาง ๆ

10 6
3.5 ขนาดใหญ่สุดของมวลหยาบ
ขนาดใหญ่สุดของมวลหยาบจะต้องเป็นไปตามตารางที่
5.2 ข้างล่างนี้

ตารางที่  5.2  ขนาดใหญ่สุดของมวลรวมหยาบที่ใช้กับคอนกรีต

ชนิดขององค์อาคาร

ขนาดใหญ่สุด  ซม.

เสา   คาน   ผนัง   คสล.

4

พื้น  ผนัง  และครีบ  คสลบาง ๆ

2

4.

การคำนวณออกแบบส่วนผสม

4.1

 ห้ามมิให้นำคอนกรีตมาเทส่วนที่เป็นโครงสร้างใด ๆ จนกว่าส่วนผสมของคอนกรีตที่จะนำมาใช้นั้น ได้รับความเห็นชอบจากวิศวกร หรือ ผู้ควบคุมงานแล้ว

4.2

ก่อนเทคอนกรีตอย่างน้อย 35 วัน ผู้รับจ้างจะต้องเตรียมส่วนผสมต่าง ๆ และทำแท่งคอนกรีตตัวอย่าง แล้วนำไปทดสอบ เพื่อให้วิศวกร หรือผู้ควบคุมงานตรวจให้ความเห็นชอบก่อน

4.3

การที่วิศวกร หรือ ผู้ควบคุมงานให้ความเห็นชอบต่อส่วนผสมที่ได้เสนอมา หรือที่แก้ไขนั้นมิได้หมายความว่าจะลดความรับผิดชอบของผู้รับจ้าง ที่มีต่อคุณสมบัติของคอนกรีตที่ได้จากส่วนนั้น

4.4

การจัดปฏิภาคส่วนผสม

1.

จะต้องหาอัตราส่วน น้ำ : ซีเมนต์ที่เหมาะสมโดยการทดลองขั้นต้นดังวิธีการต่อไปนี้
1.1 จะต้องทดลองทำส่วนผสมคอนกรีตที่มีอัตราส่วน และความข้นเหลวที่เหมาะสมกับงาน โดยเปลี่ยนอัตราส่วน น้ำ : ซีเมนต์ อย่างน้อย 3 ค่า ซึ่งจะให้กำลังต่าง ๆ กัน โดยอยู่ในขอบข่ายตามที่กำหนด
1.2 จากนั้นให้หาปฏิภาคของวัสดุผสม แล้วทำการทดสอบตามหลักวิธีการที่ให้ไว้ในเรื่อง “ข้อแนะนำวิธีการเลือกปฏิภาคส่วนผสมคอนกรีต” ACI 211
1.3 สำหรับอัตราส่วน น้ำ : ซีเมนต์ แต่ละค่าให้หล่อชิ้นตัวอย่าง อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง สำหรับแต่ละอายุเพื่อนำไปทดสอบโดยเตรียมและบ่มตัวอย่างตาม “วิธีทำและบ่มชิ้นตัวอย่างคอนกรีตสำหรับใช้ทดสอบแรงอัด และแรงดัด” (ASTM  C192) และทดสอบที่อายุ 7 วัน และ 28 วัน การทดสอบให้ปฏิบัติตาม “วิธีทดสอบกำลังอัดคอนกรีต” (ASTM  C39)
1.4 ให้นำผลที่ได้จากการทดสอบไปเขียนเป็นกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วน น้ำ : ซีเมนต์ ที่ใช้ดังนี้ คอนกรีตโครงสร้าง อัตราส่วนน้ำ ซีเมนต์สูงสุดที่ยอมให้ จะต้องได้มาจากค่าที่แสดงโดยกราฟที่ให้ค่ากำลังต่ำสุดเกินร้อยละ 10 ของกำลังที่กำหนด
1.5  สำหรับคอนกรีตโครงสร้างทั่วไป ปริมาณปูนซีเมนต์จะต้องไม่น้อยกว่า 350 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตรของคอนกรีต

2.

 การใช้อัตราส่วน น้ำ : ซีเมนต์ ค่าที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในกรณีที่ใช้มวลรวมทรายหยาบชนิดเม็ดเล็ก เช่น ในผนังบาง ๆ หรือในที่เหล็กแน่นมาก ๆ จะต้องพยายามหาค่าอัตราส่วน น้ำ : ซีเมนต์ ให้คงที่เมื่อได้เลือกอัตราส่วนที่เหมาะสมได้แล้ว ให้หาปฏิภาคส่วนผสมของคอนกรีตตามวิธีในข้อ (1) เรื่อง “การหาปฏิภาคของวัสดุผสม” ดังอธิบายข้างต้น

5.

การผสมคอนกรีต

5.1

คอนกรีตผสมเสร็จ
การผสมและการขนส่งคอนกรีตผสมเสร็จให้ปฏิบัติตาม บทกำหนดสำหรับคอนกรีตผสมเสร็จ
( ASTM C94 )

5.2

การผสมด้วยเครื่อง ณ สถานที่ก่อสร้าง

1.

การผสมคอนกรีตต้องใช้เครื่องผสมชนิดซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากวิศวกร หรือ ผู้แทนวิศวกรแล้ว ที่เครื่องผสมจะต้องมีแผ่นป้ายแสดงความจุและจำนวนรอบต่อ
นาทีที่เหมาะสม และ ผู้รับเหมาจะต้องปฏิบัติตามข้อแนะนำเหล่านี้ทุกประการ  เครื่องผสมจะต้องสามารถผสมมวลรวม ซีเมนต์ และ น้ำ ให้เข้ากันได้โดยทั่วถึงภายในเวลา
ที่กำหนด และ ต้องสามารถปล่อยคอนกรีตออกได้โดยไม่เกิดการแยกแยะ

2.

ในการบรรจุวัสดุผสมเข้าเครื่องจะต้องบรรจุน้ำส่วนหนึ่งเข้าเครื่องก่อนซีเมนต์และมวลรวม แล้วค่อยเติมน้ำส่วนที่เหลือเมื่อผสมไปแล้วประมาณ 1 ใน 4 ของเวลาผสมที่
กำหนด จะต้องมีที่ควบคุมมิให้สามารถปล่อยคอนกรีตก่อนถึงเวลาที่กำหนด และ จะต้องปล่อยคอนกรีตออกให้หมดก่อนที่จะบรรจุวัสดุใหม่

3.

เวลาที่ใช้ในการผสมคอนกรีตซึ่งมีปริมาณตั้งแต่ 1 ลบ.ม.ลงมา จะต้องไม่น้อยกว่า 2 นาทีและให้เพิ่มอีก 20 วินาที สำหรับทุกๆ 1 ลบ.ม. หรือ ส่วนของลูกบาศก์เมตรที่
เพิ่มขึ้น

6.

การผสมคอนกรีตต่อ

6.1

ให้ผสมคอนกรีตเฉพาะเท่าที่ต้องการเท่านั้น ห้ามนำคอนกรีตก่อตัวแล้วมาผสมต่อเป็นอันขาด แต่ให้ทิ้งไป

6.2

 ห้ามมิให้ เติมน้ำเพื่อเพิ่มการยุบตัวเป็นอันขาด การเติมน้ำจะกระทำได้ ณ สถานที่ก่อสร้าง หรือที่โรงผสมคอนกรีตกลาง โดยความเห็นชอบของวิศวกร หรือผู้แทนวิศวกรเท่านั้น

7.

การเตรียมการเทคอนกรีตในอากาศร้อน
ในกรณีที่จะเทคอนกรีตในอากาศร้อนจัด หรือจะเทองค์อาคารขนาดใหญ่ เช่น คานขนาดใหญ่ ฐานรากหนา ๆ จะต้องหาวิธีลดอุณหภูมิของคอนกรีตลงให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ อาทิ การทำหลังคาคลุมโม่ผสมคอนกรีต กองวัสดุ ในบางกรณีอาจจะต้องใช้น้ำแข็งช่วย

8.

การขนส่งและการเท

8.1

การเตรียมการก่อนเท

1.

จะต้องขจัดคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว และวัสดุแปลกปลอมอื่น ๆ ออกจากด้านในของอุปกรณ์ที่ใช้ในการลำเลียงออกให้หมด

2.

แบบหล่อจะต้องเสร็จเรียบร้อย จะต้องขจัดน้ำส่วนที่เกินและวัสดุแปลกปลอมใด ๆ ออกให้หมด เหล็กเสริมผูกเข้าที่เรียบร้อย วัสดุต่าง ๆ ที่จะฝังในคอนกรีตต้องเข้าที่เรียบร้อย การเตรียมการต่าง ๆ ทั้งหมดจะต้องได้รีบความเห็นชอบจากวิศวกร หรือผู้แทนวิศวกรแล้ว จึงดำเนินการเทคอนกรีตได้

8.2

การลำเลียง
วิธีการขนส่งและเทคอนกรีตจะต้องได้รับความเห็นชอบจากวิศวกรหรือผู้แทนวิศวกรก่อน ในการขนส่งคอนกรีตจากเครื่องผสม จะต้องระมัดระวัง มิให้เกิดการแยกแยะหรือการแยกตัว หรือการสูญเสียของวัสดุผสม และต้องกระทำในลักษณะที่จะทำให้ได้รับคอนกรีตที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด

8.3

การเท

1.

ผู้รับจ้างจะเทคอนกรีตส่วนหนึ่งส่วนใดของโครงสร้างยังมิได้ จนกว่าจะได้รับอนุมัติจากวิศวกร หรือ ผู้ควบคุมงานเรียบร้อยแล้ว และเมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ผู้รับเหมายังไม่เริ่มเทคอนกรีตภายใน 24 ชั่วโมง จะต้องได้รับอนุมัติจากวิศวกร  หรือ ผู้ควบคุมงานอีกครั้ง จึงจะเทคอนกรีตได้

2.

การเทคอนกรีตจะต้องทำต่อเนื่องกันตลอดพื้นที่ รอยต่อขณะก่อสร้างจะต้องอยู่ที่ตำแหน่ง ซึ่งกำหนดไว้ในแบบหรือได้รับความเห็นชอบแล้ว การเทคอนกรีตจะต้องกระทำในอัตราที่คอนกรีตซึ่งเทไปแล้วจะต่อกับคอนกรีตที่จะเทใหม่ยังคงสภาพเหลว พอที่จะต่อกันได้หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งห้ามมิให้คอนกรีตต่อ      กับ คอนกรีตซึ่งเทไว้แล้วเกิน30นาที แต่จะต้องทิ้งไว้ประมาณ20ชั่วโมง จึงจะเทคอนกรีตต่อไปได้

3.

ห้ามมิให้นำคอนกรีตที่แข็งตัวแล้วบ้างบางส่วน หรือแข็งตัวทั้งหมด หรือมีวัสดุแปลกปลอมมาเทปะปนกันเป็นอันขาด

4. เมื่อเทคอนกรีตลงในแบบหล่อแล้วจะต้องแต่งคอนกรีตนั้นให้แน่นภายในเวลา30นาทีนับตั้งแต่ปล่อยคอนกรีตออกจากเครื่องผสม นอกจากจะมีเครื่องกวนพิเศษสำหรับการนี้โดยเฉพาะ หรือมีเครื่องผสมติดรถซึ่งเครื่องผสมจะกวนอยู่ตลอด ในกรณีเช่นนั้นให้เพิ่มเวลาได้เป็น1ชั่วโมง นับตั้งแต่บรรจุซีเมนต์เข้าเครื่องผสม ทั้งนี้จะต้องเทและแต่งให้เสร็จภายใน30นาที นับตั้งแต่ปล่อยคอนกรีตออกมาจากเครื่องกวน
5. จะต้องเทคอนกรีตให้ใกล้ตำแหน่งสุดท้ายมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิด การแยกแยะ อันเนื่องจากการโยกย้าย และการไหลตัวของคอนกรีต ต้องระวังอย่าใช้วิธีใดๆที่จะทำให้คอนกรีตเกิดการแยกแยะ ห้ามปล่อยคอนกรีตเข้าที่จากระยะสูงเกินกว่า2เมตร นอกจากจะได้รับการอนุมัติจากวิศวกร
6.

ในกรณีที่ใช้คอนกรีตเปลือยโดยมีมอร์ต้าเป็นผิว จะต้องใช้เครื่องมือที่เหมาะสมดันหินให้ออกจากข้างแบบเพื่อให้มอร์ต้าออกมาอยู่ที่ผิวให้เต็ม โดยไม่เป็นโพรงเมื่อถอดแบบ การทำให้คอนกรีตแน่นให้ใช้วิธีสั่น ด้วยเครื่องหรือกระทุ้งให้คอนกรีตหุ้มเสริมเหล็กและสิ่งที่ฝังจนทั่ว และเข้าไปอัดตามมุมต่างๆจนเต็ม โดยขจัดกระเปาะอากาศและขจัดกระเปาะหิน อันจะทำให้คอนกรีตเป็นโพรงเป็นหลุม เป็นบ่อ หรือเกิดระนาบที่ไม่แข็งแรงออกให้หมดสิ้น เครื่องสั่นจะต้องมีความถี่อย่างน้อย7000รอบต่อนาที และผู้ที่ใช้งานจะต้องมีความชำนาญเพียงพอ ห้ามมิให้มีการสั่นคอนกรีตเกินขนาด และใช้เครื่องสั่นเป็นตัวเขยื้อนคอนกรีตให้เคลื่อนที่ จากตำแหน่งหนึ่งภายในแบบหล่อเป็นอันขาด ให้จุ่มและถอดเครื่องสั่นขึ้นลงตรงๆที่หลายๆจุดห่างกันประมาณ 50 ซม. ในการสั่นแต่ละครั้งจะต้องทิ้งระยะเวลาให้เพียงพอที่จะทำให้คอนกรีตแน่นตัว แต่ต้องไม่เกินไปจนเป็นเหตุให้เกิดการแยกแยะ โดยปกติจุดหนึ่งควรจุ่มอยู่ระหว่าง 5 ถึง 15 วินาที ในกรณีที่หน้าตัดของคอนกรีตบางเกินไปจนไม่อาจแหย่เครื่องสั่นลงไปได้ ก็ให้ใช้เครื่องสั่นแนบกับข้างแบบ แต่ทั้งนี้แบบหล่อต้องแข็งแรงพอที่จะรับความสั่นได้ โดยไม่ทำให้รูปร่างขององค์อาคารผิดไปจากที่กำหนด จะต้องมีเครื่องสั่นคอนกรีตสำรองอย่างน้อยเครื่องหนึ่งประจำ ณ สถานที่ก่อสร้างเสมอในขณะเทคอนกรีต 

9.

รอยต่อและสิ่งที่ฝังในคอนกรีต

9.1

รอยต่อขณะก่อสร้างของอาคาร

1.

ในกรณีที่มิได้ระบุตำแหน่งและรายละเอียดของรอยต่อนี้ในแบบ จะต้องจัดทำแลวางในตำแหน่งซึ่งจะทำให้โครงสร้างเสียความแข็งแรงน้อยที่สุด และให้เกิดรอยร้าวเมื่อเกิดการหดตัวน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจะต้องได้รับความเห็นชอบจากวิศวกรหรือผู้ควบคุมงานก่อน

2.

ผิวบนของผนังและเสาคอนกรีตจะอยู่ในแนวราบ คอนกรีตซึ่งเททับเหนือรอยต่อขณะก่อสร้างที่อยู่ในแนวราบ จะต้องไม่ใช่คอนกรีตส่วนแรกที่ออกจากเครื่องผสม และจะต้องอัดแน่นให้ทั่ว โดยอัดเข้ากับคอนกรีตซึ่งเทไว้ก่อนแล้ว

3.  ในกรณีของผิวทางแนวตั้งให้ใช้ปูนทรายในอัตราส่วน1:1ผสมน้ำข้นๆ ไล้ที่ผิวให้ทั่วก่อนจะเทคอนกรีตใหม่ลงไป
4. ให้เดินเหล็กเสริมต่อเนื่องผ่านรอยต่อไป และจะต้องใส่สลักและเดือยเอียงตามแต่วิศวกรจะเห็นสมควร จะต้องจัดให้มีสลักลึกอย่างน้อย10เซนติเมตรสำหรับรอยต่อในผนังทั้งหมด และระหว่างผนังกับแผ่นพื้นหรือฐานราก
5.  ในกรณีที่เทคอนกรีตเป็นชั้นๆ จะต้องยึดเหล็กที่โผล่เหนือเหล็กแต่ละชั้น ให้แน่นหนาเพื่อป้องกันการเคลื่อนตัวของเหล็กเสริมขณะเทคอนกรีต และในขณะคอนกรีตกำลังก่อตัว
6. ในขณะคอนกรีตยังไม่ก่อตัว ให้ขจัดน้ำฝ้าปูน และวัสดุที่หลุดร่วงออกให้หมดโดยไม่จำเป็นต้องทำให้ผิวหยาบอีก แต่หากไม่สามารถปฏิบัติตามนี้ได้ ก็ให้ขจัดออก โดยใช้เครื่องมือหลังจากเทคอนกรีตแล้ว24ชั่วโมงขึ้นไป แล้วให้ล้างผิวที่ทำให้หยาบนั้นด้วยน้ำสะอาดทันที ก่อนที่จะเทคอนกรีตใหม่ ให้พรมน้ำผิวคอนกรีตที่รอยต่อทุกแห่งให้ชื้น แต่ไม่ให้เปียกโชก
7. ถ้าหากต้องการหรือได้รับความยินยอมจากวิศวกร หรือผู้ควบคุมงาน อาจเพิ่มความยึดหน่วงได้ตามวิธีต่อไปนี้
ก.  ใช้สารผสมเพิ่มเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว
ข. ใช้สารหน่วงที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว เพื่อทำการก่อตัวของมอร์ต้าที่ผิวให้ช้าลง แต่ห้ามใส่มากจนไม่ก่อตัวเลย
ค. ทำผิวคอนกรีตให้หยาบตามวิธีที่ได้รับการรับรองแล้ว โดยวิธีทำให้มวลรวมโผล่สม่ำเสมอ ปราศจากฝ้า น้ำปูน หรือเม็ดมวลรวมที่หลุดร่วง หรือผิวคอนกรีตที่ชำรุด

9.2

วัสดุฝังในคอนกรีต

1.

ก่อนเทคอนกรีตจะต้องฝังปลอก ไส้ สมอ และวัสดุฝังอื่นๆที่จะต้องทำงานต่อในภายหลังให้เรียบร้อย

2.

ผู้รับเหมาช่วงซึ่งทำงานเกี่ยวข้องกับงานคอนกรีต จะต้องรับแจ้งล่วงหน้า เพื่อให้มีโอกาสที่จะจัดวางสิ่งซึ่งจะฝังให้ทันก่อนเทคอนกรีต

3. จะต้องจัดวางแผ่นกันน้ำ ท่อร้อยสายไฟ และสิ่งจะฝั่งอื่นๆเข้าที่ให้ถูกตำแหน่งอย่างแน่นอน และยึดให้แข็งแรงพอที่จะไม่ให้เกิดการเคลื่อนตัวได้ สำหรับช่องว่างในปลอกไส้ หรือร่องสมอ จะต้องอุดด้วยวัสดุที่จะเอาออกได้ง่ายเป็นการชั่วคราว เพื่อป้องกันมิให้คอนกรีตไหลไปในช่องว่างนั้น

9.3

รอยต่อสำหรับพื้นถนน
รอยต่อทางยาวตลอดจนรอยต่อสำหรับกันการหดและการยึดตัว จะต้องอยู่ในตำแหน่งที่กำหนดไว้ในแบบ ในกรณีที่ไม่สามารถเทคอนกรีตได้เต็มช่วง จะต้องทำรอยต่อขณะก่อสร้างขึ้น ในช่วงหนึ่งจะมีรอยต่อขณะก่อสร้างเกินหนึ่งรอยไม่ได้ และรอยต่อดังกล่าวจะต้องอยู่ในช่วงกลางแบ่งสามส่วนของช่อง

10.

การซ่อมผิวที่ชำรุด

10.1

ห้ามปะซ่อมรูร้อยเหล็กยึด  และที่ชำรุดทั้งหมดก่อนที่วิศวกร หรือผู้แทนวิศวกรจะได้ตรวจสอบแล้ว

10.2

สำหรับคอนกรีตที่เป็นรูพรุนเล็ก ๆ และชำรุดเล็กน้อย  หากวิศวกรลงความเห็นว่าพอที่จะซ่อมแซมให้ดีได้  จะต้องสกัดคอนกรีตที่ชำรุดออกให้หมดจนถึงคอนกรีตดี  เพื่อป้องกันมิให้น้ำในมอร์ต้าที่จะปะซ่อมนั้นถูกดูดซึมไป และจะต้องทำคอนกรีตบริเวณที่จะปะซ่อมและเนื้อที่บริเวณโดยรอบเป็นระยะออกมาอย่างน้อย 15 ชม.  มอร์ต้าที่ใช้เป็นตัวประสานจะต้องประกอบด้วยส่วนผสมของซีเมนต์หนึ่งส่วนต่อทรายละเอียด  ซึ่งผ่านตะแกรงเบอร์ 30 หนึ่งส่วน  ให้ละเลงมอร์ต้านี้ให้ทั่วพื้นที่ผิว

10.3

ส่วนผสมสำหรับการใช้อุด ให้ประกอบด้วยซีเมนต์ 1 ส่วน ต่อทรายที่ใช้ผสมคอนกรีต 2.5 ส่วน  โดยปริมาตรชื้นหลวม  สำหรับคอนกรีตเปลือยภายนอกให้ผสมซีเมนต์ขาวเข้ากับซีเมนต์ธรรมดาบ้าง  เพื่อให้ส่วนผสมที่ปะซ่อมมีสีกลมกลืนกับสีของคอนกรีตข้างเคียง  ทั้งนี้โดยใช้วิธีทดลองหาส่วนผสมเอาเอง
10.4 ให้จำกัดปริมาณของน้ำให้พอดีเท่าที่จำเป็นในการยกย้าย  และการปะซ่อมเท่านั้น
10.5 หลังจากที่น้ำซึ่งค้างบนผิวได้ระเหยออกจากพื้นที่  ที่จะปะซ่อมแล้ว  ให้ละเลงชั้นยึดหน่วงลงบนผิวนั้นให้ทั่ว  เมื่อชั้นยึดเหนี่ยวนี้เริ่มเสียน้ำ  ให้ฉาบมอร์ต้าที่ใช้ปะซ่อมทันที  ให้อัดมอร์ต้าให้แน่นโดยทั่วถึง  และปาดออกให้เนื้อนูนกว่าคอนกรีตโดยรอบเล็กน้อย  และจะต้องทิ้งไว้เฉย ๆ อย่างน้อย 1 ชั่วโมง  เพื่อให้เกิดการหดตัวข้างต้นก่อนที่จะตบแต่งขั้นสุดท้าย  บริเวณที่ปะซ่อมแล้วให้รักษาให้ชื้นอย่างน้อย 7 วัน  สำหรับผิวคอนกรีตเปลือยต้องรักษาลายไม้แบบ  ห้ามใช้เครื่องมือที่เป็นโลหะฉาบเป็นอันขาด
10.6 ในกรณีที่รูพรุนนั้นกว้างมาก หรือลึกจนมองไม่เห็นเหล็ก  และหากวิศวกร หรือผู้แทนวิศวกรลงความเห็นว่าอยู่ในวิสัยที่จะซ่อมแซมได้  ก็ให้ปะซ่อมได้โดยใช้มอร์ต้าชนิดที่ผสมตัวยากันการหดตัว  และผสมด้วยผงเหล็กเป็นวัสดุแทนปูนทรายธรรมดา  โดยให้ปฏิบัติตามข้อแนะนำของผู้ผลิตโดยเคร่งครัด
10.7

 ในกรณีที่โพรงใหญ่และลึกมาก  หรือเกิดข้อเสียหายใด ๆ เช่นคอนกรีตมีกำลังต่ำกว่ากำหนด  และวิศวกรหรือผู้ควบคุมงานมีความเห็นว่า  อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้อาคารได้  ผู้รับจ้างจะต้องดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องเหล่านั้น  ตามที่วิศวกรได้เห็นชอบด้วยแล้ว  หรือหากวิศวกร หรือผู้ควบคุมงานเห็นว่าเป็นการชำรุดจนไม่อาจแก้ไขให้ดีได้  อาจสั่งให้ทุบทิ้งแล้วสร้างขึ้นใหม่  โดยผู้รับจ้างต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการนี้ทั้งสิ้น

11.

การบ่มและการป้องกัน

หลังจากเทคอนกรีตแล้ว  และอยู่ในระยะแข็งตัว  จะต้องป้องกันคอนกรีตนั้นจากอันตรายที่เกิดจากแสงแดด  ลมแห้ง  ฝน  น้ำไหล  การเสียดสี  และจากการบรรทุกน้ำหนักเกินสมควร  สำหรับคอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ชนิดที่ 1 จะต้องรักษาให้ชื้นต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 7 วัน  โดยวิธีคลุมด้วยกระสอบ  หรือผ้าใบ หรือขังน้ำ หรือพ่นน้ำ  หรือโดยวิธีที่เหมาะสมอื่น ๆ ตามที่วิศวกร หรือผู้แทนวิศวกรเห็นชอบ  สำหรับผิวคอนกรีตในแนวตั้ง  เช่น เสา  ผนัง หรือด้านข้างของคาน  ให้หุ้มกระสอบ หรือผ้าใบให้เหลื่อมซ้อนกัน  และรักษาให้ชื้นโดยให้สิ่งที่คลุม แนบติดกับคอนกรีต  ในขณะที่ใช้ปูนซีเมนต์ชนิดที่ให้ความสูงเร็ว  ระยะเวลาการบ่มชื้นให้อยู่ในวินิจฉัยของวิศวกร หรือผู้ควบคุมงาน

12.

การทดสอบ

12.1

การทดสอบแท่งกระบอกคอนกรีต

ชิ้นตัวอย่างสำหรับทดสอบอาจนำมาจากทุกรถ  หรือตามแต่วิศวกร หรือผู้ควบคุมงานจะกำหนด  ทุกครั้งที่เทคอนกรีตจะต้องเก็บชิ้นตัวอย่างไม่น้อยกว่า 6 ชิ้น  สำหรับทดสอบที่ 7 วัน 3 ก้อน  และที่ 28 วัน 3 ก้อน  วิธีเก็บ  เตรียม  บ่ม และทดสอบชิ้นตัวอย่างให้เป็นไปตาม “วิธีทำการบ่มชิ้นตัวอย่างคอนกรีตรับแรงอัดและแรงดัด”  (ASTM C31) และ “วิธีทดสอบสำหรับกำลังอัดของแท่งกระบอกคอนกรีต”  (ASTM C39)   

12.2

รายงาน

ผู้รับจ้างจะต้องส่งรายงานผลการทดสอบกำลังอัดของคอนกรีตรวม 3 ชุด  สำหรับผู้ว่าจ้าง 1 ชุด  และวิศวกร 1 ชุด  รายงานจะต้องรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1.

วันที่หล่อ

2.

วันที่ทดสอบ

3. ประเภทของคอนกรีต
4. ค่าการยุบ
5. ส่วนผสม
6. หน่วยน้ำหนัก
7. กำลังอัด
7.1 ณ จุดเริ่มร้าว
7.2 ณ จุดประลัย      

12.3

การทดสอบแนวระดับ  ความลาด  และความไม่สม่ำเสมอของพื้นคอนกรีต  ในบริเวณอาคารเมื่อคอนกรีตแข็งตัวจะต้องทำการตรวจสอบแนว  ระดับ  ความลาด  ตลอดจน ความไม่สม่ำเสมอต่าง ๆ อีกครั้ง  หาก ณ จุดใดพื้นคอนกรีตสูงกว่าบริเวณข้างเคียงเกินกว่า 3 มิลลิเมตร   จะต้องขัดออก  แต่ถ้าสูงกว่านั้น  ผู้รับจ้างจะต้องทุบพื้นช่วงนั้นออก แล้วหล่อใหม่โดยต้องออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด
12.4

การทดสอบความหนาของพื้นคอนกรีตในบริเวณอาคาร

ผู้ว่าจ้าง  วิศวกร  หรือผู้ควบคุมงาน  อาจกำหนดให้การทดสอบความหนาของพื้นคอนกรีต  โดยวิธีเจาะเอาแก่นไปตรวจตามวิธีของ ASTM C174 ก็ได้  หากปรากฎว่า
ความหนาเฉลี่ยน้อยกว่าที่กำหนดเกิน 3 มิลลิเมตร  วิศวกรจะเป็นผู้ตัดสินว่าพื้นน้ำมีกำลังพอจะรับน้ำหนักบรรทุกตามที่คำนวณออกแบบไว้ได้หรือไม่  หากวิศวกรออก
ความเห็นว่าพื้นน้ำไม่แข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักบรรทุก  ตามที่คำนวณออกแบบไว้ได้  ผู้รับจ้างจะต้องทุบออกแล้วเทคอนกรีตใหม่  โดยจะเรียกร้องค่าใช้จ่ายเพิ่มจาก
ผู้ว่าจ้างไม่ได้

13.

การประเมินผลการทดสอบกำลังอัด

13.1

ค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบชิ้นตัวอย่างสามชิ้นตัวอย่างหรือมากกว่าซึ่งบ่มในห้องปฏิบัติงาน  จะต้องไม่ต่ำกว่าค่าที่กำหนด  และจะต้องไม่มีค่าใดๆต่ำกว่าร้อยละ 80 ของกำลังอัดตามที่กำหนด

13.2

หากกำลังอัดมีค่าต่ำกว่าที่กำหนด  อาจจำเป็นต้องเจาะเอาแก่นคอนกรีตไปทำการทดสอบ

13.3

การทดสอบแก่นคอนกรีตจะต้องปฏิบัติตามวิธีเจาะและทดสอบแก่นคอนกรีตที่เจาะและคานคอนกรีตที่เลื่อยตัดมา (ASTM C24) การทดสอบแก่นคอนกรีตต้องกระทำในสภาพผึ่งแห้งในอากาศ
13.4 องค์อาคารหรือพื้นคอนกรีตส่วนใดที่วิศวกร  หรือผู้ควบคุมงานพิจารณาเห็นชอบว่าไม่แข็งแรงพอให้เจาะแก่นอย่างน้อยสามก้อน  จากแต่ละองค์อาคารหรือพื้นที่นั้นๆ  ตำแหน่งที่เจาะแก่นวิศวกรหรือผู้ควบคุมงานเป็นผู้กำหนด
13.5 กำลังของแก่นที่ได้จากแต่ละองค์อาคาร  หรือพื้นที่จะต้องมีค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือสูงกว่าร้อยละ 90 ของกำลังที่กำหนด  จึงจะถือว่าใช้ได้
13.6 จะต้องอุดรูซึ่งเอาแก่นออกมาตามวิธีในข้อ 15.14
13.7 หากผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าคอนกรีตมีความแข็งแรงไม่พอ  ผู้รับเหมาจะต้องเสนอวิธีแก้ไข  โดยได้รับความเห็นชอบจากวิศวกรหรือผู้ควบคุมงาน  สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการนี้  ผู้รับเหมาจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งสิ้น  และจะเป็นหตุยืดเวลาการก่อสร้างมิได้
13.8 ชิ้นส่วนตัวอย่างแท่งคอนกรีต  อาจใช้ลูกบาศก์ขนาด 15*15*15 เซนติเมตรแทนได้  โดยเปรียบเทียบค้ากำลังอัดตามมาตรฐาน  สำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก   ของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ

14.

น้ำยาผสมคอนกรีต และวัสดุอุดซ่อมคอนกรีต
คอนกรีตที่จำเป็นจะต้องมีสารเคมีผสม  เพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้เหมาะสมกับการใช้งาน  ให้ใช้ตามระบุท้ายนี้

14.1

น้ำยาผสมคอนกรีตเพื่อหน่วงเวลาการก่อต่ว  DARATARD, PLASTOCRETE – VZ, FEBFLOW RETARDING

14.2

น้ำยาผสมคอนกรีตเพื่อเร่งการก่อตัว DAREX WADA, PLASTOCRETE - HL, FEBFLOW ACCELERATING, FEBSILP 200

14.3

น้ำยาผสมคอนกรีตเพื่อป้องกันการรั่วซึม HTDRATILE WR LIQUID, PLASTORCREET – N, FEBPROOF RMC

14.4

งานคอนกรีตที่จำเป็นต้องซ่อม  เพื่อให้ได้คุณภาพของคอนกรีตสามารถรับแรงตามที่ออกแบบไว้  หรือเป็นฐานสำหรับรองรับแท่นเครื่อง  หรือแผ่นเหล็กรองเสา  คาน ให้ใช้วัสดุตามที่ระบุท้ายนี้

1.

ประเภท NON SHRINK GROUT ได้แก่ SIKA GROUT, EMBCO 167, FEBEXPAN, DARARELD – C

2.

สาร EPOXY ได้แก่ THIOPXY 64, SIKADUR 32, FEBWELD     

หากผู้รับจ้างประสงค์จะใช้วิธีอื่นที่มีคุณสมบัตเทียบเท่าที่กำหนดให้ผู้รับจ้างจัดส่งเอกสารรายละเอียดพร้อมผลการทดสอบให้วิศวกร  หรือผู้ควบคุมงานตรวจสอบและอนุมัติก่อนนำไปใช้  การใช้วัสดุดังกล่าวข้องต้น  ผู้รับจ้างจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิตทุกประการโดยเคร่งครัด

บทที่  3   รายละเอียดประกอบแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง
6. งานโลหะและเหล็กรูปพรรณ

1.

ทั่วไป

1.1

 “กรณีทั่วไปและกรณีพิเศษ”ที่ระบุไว้ในหมวดอื่นให้นำมาใช้กับหมวดนี้ด้วย

1.2

บทกำหนดส่วนนี้คลุมถึงเหล็กรูปพรรณทุกชนิด

1.3

รายละเอียดเกี่ยวกับเหล็กรูปพรรณซึ่งมิได้ระบุในแบบและบทกำหนดนี้ให้ถือปฏิบัติตาม “มาตรฐานสำหรับอาคารเหล็กรูปพรรณ” ของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย

2. วัสดุ
เหล็กรูปพรรณทั้งหมดจะต้องมีคุณสมบัติสอดคล้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมที่ มอ..116-2517 หรือASTMหรือJISที่เหมาะสม
3. การกองเก็บวัสดุ
การเก็บเหล็กรูปพรรณทั้งที่ประกอบแล้วและยังไม่ได้ประกอบ จะต้องเก็บไว้บนยกพื้นเหนือพื้นดิน จะต้องรักษาเหล็กให้ปราศจากฝุ่น หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ และต้องระวังรักษาอย่าให้เหล็กเป็นสนิม
4. การต่อ
รายละเอียดในการต่อให้เป็นไปตามที่ระบุในแบบทุกประการ
5. รูและช่องเปิด
การเจาะหรือตัดหรือกดทะลุให้เป็นรู ต้องกระทำตั้งฉากกับผิวของเหล็ก และห้ามขยายรูด้วยความร้อนเป็นอันขาด ในเสาที่เป็นเหล็กรูปพรรณซึ่งติดต่อกับคานคสล. จะต้องเจาะรูไว้ให้เหล็กเสริมในคานคอนกรีตสามารถลอดได้ สภาพรูจะต้องเรียบร้อย ปราศจากรอยขาด หรือแหว่ง ขอบรูซึ่งคมและยื่นเล็กน้อยอันเกิดจากการเจาะด้วยสว่าน ให้ขจัดออกให้หมดด้วยเครื่องมือ โดยลบมุม2.. นอกจากรูสลักเกลียวจะต้องเสริมเหล็ก ซึ่งมีความหนาไม่น้อยไปกว่าความหนาขององค์อาคารที่เสริมนั้น รูหรือช่องเปิดภายในของแหวนจะต้องเท่ากับช่องเปิดขององค์อาคารที่เสริมนั้น

6.

การประกอบและยกติดตั้ง

6.1

แบบขยาย
ก่อนจะทำการประกอบเหล็กรูปพรรณทุกชิ้น ผู้รับจ้างจะต้องส่งแบบขยายต่อวิศวกรหรือผู้ควบคุมงาน เพื่อรับความเห็นชอบ

1.

จะต้องทำแบบที่สมบูรณ์แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการตัดต่อ ประกอบ และการติดตั้งรู สลักเกลียว รอยเชื่อมและรอยต่อที่จะกระทำในโรงงาน

2.

สัญลักษณ์ต่างๆที่ใช้จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล

3.

จะต้องมีสำเนาเอกสารบัญชี วัสดุ และวิธีการยกติดตั้ง ตลอดจนการยึดโยงชั่วคราว        

6.2

การประกอบและยกติดตั้ง

1.

ให้พยายามประกอบที่โรงงานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

2.

การตัดเฉือน ตัดด้วยไฟฟ้า สกัด และกดทะลุต้องกระทำอย่างละเอียดและประณีต

3.

องค์อาคารที่วางทับกัน จะต้องวางให้แนบสนิทเต็มหน้า

4. การติดตัวเสริมกำลังและองค์อาคารยึดโยง ให้กระทำอย่างประณีต สำหรับตัวเสริมกำลังที่ติดแบบอัดแน่นต้องติดให้สนิทจริงๆ
5. รายละเอียดให้เป็นไปตาม “มาตรฐานสำหรับอาคารเหล็กรูปพรรณ” ของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยที่1003 – 18ทุกประการ
6. ห้ามใช้วิธีเจาะรูด้วยไฟฟ้า จะต้องแก้แนวต่างๆให้ตรงตามแบบ รูที่เจาะไว้ไม่ถูกต้อง ฯลฯ จะต้องอุดให้เต็มด้วยวิธีเชื่อมและเจาะรูใหม่ให้ถูกต้อง
7. ไฟที่ใช้ตัด ควรมีเครื่องมือกลเป็นตัวนำ
8. การเชื่อม
8.1 ให้เป็นไปตามมาตรฐานAWS สำหรับการเชื่อมในงานก่อสร้างอาคาร
8.2 ผิวหน้าที่จะทำการเชื่อมจะต้องสะอาด ปราศจากสะเก็ดร่อน ตะกรัน สนิท ไขมัน สี และวัสดุแปลกปลอมอื่นๆที่จะทำให้เกิดผลเสียต่อการเชื่อมได้
8.3 ในระหว่างการเชื่อมจะต้องยึดชิ้นส่วนที่จะเชื่อมติดกันให้แน่นเพื่อให้ผิวแนบสนิท สามารถทาสีอุดได้โดยง่าย
8.4 หากสามารถปฏิบัติได้ให้พยายามเชื่อมในตำแหน่งราบ
8.5 ให้วางลำดับการเชื่อมให้ดี เพื่อหลีกเลี่ยงการบิดเบี้ยวและหน่วยแรงตกค้างในระหว่างขั้นตอนการเชื่อม
8.6 ในการเชื่อมแบบชน จะต้องเชื่อมในลักษณะจะให้ได้รอยเชื่อมที่สมบูรณ์ โดยมิให้มีกระเปาะตะกรันขังอยู่ ในกรณีนี้อาจใช้วิธีลบมุมตามขอบ หรือBACKING PLATEก็ได้
8.7 ชิ้นส่วนที่จะต่อเชื่อมแบบแทบ จะต้องวางให้ใกล้ชิดที่สุดเท่าที่จะทำได้และไม่ว่ากรณีใดจะต้องห่างกันไม่เกิน6มิลลิเมตร
8.8 ช่างเชื่อม จะต้องใช้ช่างเชื่อมที่มีความชำนาญเท่านั้น และเพื่อเป็นการพิสูจน์ถึงความสามารถจะมีการทดสอบความชำนาญของช่างเชื่อมทุกคน

7.

งานสลักเกลียว

7.1

การตอกสลักเกลียวจะต้องกระทำด้วยความประณีต โดยไม่ให้เกลียวเสียหาย

7.2

ต้องแน่ใจว่าผิวรอยต่อเรียบ และผิวที่รองรับจะต้องสัมผัสกันเต็มหน้าก่อนที่จะทำการขันเกลียว

7.3

ขันรอยต่อด้วยสลักเกลียวให้แน่น โดยใช้กุญแจปากตายที่ถูกขนาด

7.4 เมื่อขันสลักเกลียวแน่นแล้ว ให้ทุบปลายเกลียวเพื่อมิให้แป้นปลายสลักเกลียวคลายตัว

8.

การต่อและการประกอบในสนาม

8.1

ให้ปฏิบัติตามที่ระบุในแบบขยาย และคำแนะนำในการยกติดตั้งโดยเคร่งครัด

8.2

ค่าผิดพลาดที่ยอมให้  ให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานสากล

8.3

จะต้องทำที่นั่งร้าน  ค้ำยัน  ยึดโยง  ให้เพียงพอที่จะยึดโครงสร้างให้แน่นหนาอยู่ในแนว  และ      ตำแหน่งที่ถูกต้อง  เพื่อเพิ่มความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานจนกว่างานประกอบจะเสร็จสิ้นเรียบร้อย  และแข็งแรงดีแล้ว

8.4

หมุด  ให้ใช้สำหรับยึดชิ้นส่วนต่างๆเข้าหากัน  โดยมิให้เหล็กเกิดการบิดเบี้ยวเท่านั้น

8.5

ห้ามใช้วิธีตัดด้วยแก๊สเป็นอันขาด  นอกจากจะได้รับอนุญาติจากวิศวกรหรือผู้แทนวิศวกร

8.6

สลักเกลียวยึดและสมอ  ให้ตั้งโดยใช้แบบเท่านั้น

8.7

แผ่นรองรับ

1.

ใช้ตามที่กำหนดในแบบขยาย

2.

ให้รองรับและปรับแนวด้วยลิ่มเหล็ก

3.

หลังจากได้ยกติดตั้งเสร็จแล้ว  ให้อัดมอร์ต้าชนิดที่ไม่หดตัวและใช้ผงเหล็กเป็นมวลรวมใต้แผ่นรองรับให้แน่น  แล้วตัดขอบลิ่มให้เสมอกับขอบของแผ่นรองรับโดยทิ้งส่วนที่เหลือไว้ 

9.

การป้องกันเหล็กมิให้ผุกร่อน

9.1

เกณฑ์กำหนดทั่วไป
งานนี้หมายรวมถึงการทาสี  และป้องกันการผุกร่อนของงานเหล็กให้ตรงตามกำหนดและแบบ              และให้เป็นไปตามข้อกำหนดของสัญญานี้ทุกประการ

9.2

ผิวที่จะทาสี

1.

การทำความสะอาด
1.1 ยกเว้นที่อาบโลหะ  จะต้องขัดผิวให้สะอาดโดยใช้เครื่องมือ  เช่น  จานคาร์บอรันดัม  หรือเครื่องมือชนิดอื่นที่เหมาะสม  จากนั้นให้ขัดด้วยแปรงลวดเหล็กและกระดาษทราย  เพื่อขจัดโลหะที่หลุดกร่อนออกให้หมด  แต่ต้องพยายามหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องขัดลวดเป็นระยะเวลานาน  เพราะอาจทำให้เนื้อโลหะไหม้
1.2 สำหรับรอยเชื่อมและผิวเหล็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนจากการเชื่อม  จะต้องเตรียมผิวสำหรับทาสีจะต้องเตรียมผิวสำหรับทาสีใหม่เช่นเดียวกับผิวทั่วไปตามวิธีในข้อ ( 1.1 )
1.3 ทันทีที่ก่อนที่จะทาสีครั้งต่อไป  ให้ทำความสะอาดผิวซึ่งทาสีไว้ก่อน  หรือผิวที่ฉาบไว้จะต้องขจัดสีที่ร่อนหลุดและสนิมออกให้หมด  และจะต้องทำความสะอาดพื้นที่ส่วนที่ถูกน่ำมันและไขต่างๆ  แล้วปร่อยให้แห้งสนิทก่อนทาสีทับ

9.3

การทาสี
หากมิได้ระบุเป็นอย่างอื่น  งานเหล็กรูปพรรณที่  EXPOSE  ทั้งหมด  ให้ทาสีรองพื้นด้วยสีกันสนิมตามขั้นตอนดังนี้ 

1.

รองพื้นด้วยสี  RUST – OLEUM NO. X – 60 หนาไม่น้อยกว่า  2  ม.ม.

2.

เมื่อสีชั้นแรกแห้งแล้ว   ให้ทาชั้นที่สองด้วยสี  RUST – OLEUM NO. X – 960 หนาไม่น้อยกว่า  2  ม.ม.

3.

เมื่อสีชั้นที่สองแห้งแล้วให้ทาสีชั้นที่สามด้วยสี RUST – OLEUM NEW COLOUR HORIZONS  หนาไม่น้อยกว่า  2  ม.ม.

สำหรับสีที่หุ้มสีรองพื้น  ให้ใช้สีประเภท  SYNTHETIC ALKYL RESIN  โดยสีนั้นจะเลือกในขณะก่อสร้าง       

บทที่  3   รายละเอียดประกอบแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง
7. พื้นคอนกรีตอัดแรงในที่

1.

ทั่วไป
งานคอนกรีตอัดแรงในที่สำหรับโครงสร้างนี้เป็นระบบอัดแรงในที่โดยใช้เหล็กแรงดึงสูงประเภทไม่ยึดเกาะกับผิวคอนกรีต  ( Unbonded  system ) หรือชนิดยึดเกาะกับผิวคอนกรีตด้วยการอัดน้ำปูน ( Bonded  system )  ตามที่ระบุไว้ในแบบและเสริมด้วยเหล็กเสริมคอนกรีตเฉพาะแห่งตามรายระเอียดที่ได้ระบุไว้ในแบบก่อสร้าง

2.

คอนกรีต
ข้อกำหนดทั่วไปของงานคอนกรีตอัดแรงในที่ให้ยึดถือตาม  “หมวด  งานคอนกรีต”  โดยมีข้อกำหนดเพิ่มเติมของงานคอนกรีตอัดแรงในที่ดังนี้คือ  กำลังอัดของคอนกรีตจะต้องเป็นคอนกรีตผสมใหม่ตามอัตตราส่วนที่อนุมัติให้ใช้งานและต้องมีค่ากำลังอัดประลัยเฉลี่ยตามการทดสอบท่งคอนกรีตทรงกระบอกมาตรฐาน  15 x 30  ซม. ( ครั้งละอย่างน้อย 5 แท่ง )  ไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้นี้ขณะถ่ายแรง  ( At transfer) กำลังอัดแท่งคอนกรีตทรงกระบอกไม่น้อยกว่า 240 กก./ตร.ซม. อายุแท่งคอนกรีตตัวอย่าง 28 วัน  กำลังอัดแท่งคอนกรีตไม่น้อยกว่า  320 กก./ตร.ซม. 

การสุ่มตัวอย่าง  และทดสอบผู้รับเหมาต้องเก็บตัวอย่างแท่งคอนกรีตไว้เพื่อทำการทดสอบกำลังอัดประลัยโดยเก็บจากคอนกรีตที่นำมาเทหล่ออย่างน้อย 1 ตัวอย่างต่อปริมาตรคอนกรีต 6 ลูกบาศก์เมตร  หรือเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 10 ตัวอย่าง  ต่อการเทคอนกรีตเป็นพื้นที่ 300 ตารางเมตร  การนับอายุของคอนกรีตให้นับจากวันสุดท้ายของการเทคอนกรีตในแต่ละบริเวณพื้นที่ซึ่งจะทำการดึงเหล็กอัดแรง

3.

เหล็กแรงดึงสูงและอุปกรณ์,เหล็กเสริมทั่วไป (mild steel)
เหล็กแรงดึงสูงต้องเป็นชนิด Seven-wire stress relieved strand  มีคุณสมบัติตาม ASTM A416 – 74 ประเภท Low relaxation  ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระบุ 12.7 มม. (1/2 นิ้ว) เนื้อที่หน้าตัดเหล็ก 96.71 ตร.มม. Greade  270 มีแรงดึงประลัยไม่ต่ำกว่าเส้นละ 18,700 กิโลกรัม

เฉพาะระบบ Unbonded  system สารเคลื่อกันการกัดกร่อนจะต้องเป็นจารบีชนิดพิเศษเคลือบผิวของ Strand  เพื่อป้องกันการกัดกร่อนเนื้อลวดเหล็กและต้องมีวัสดุห่อหุ้มภายนอกเพื่อป้องกันการรั่วซึมของน้ำปูน

สมอยึดเหล็กแรงดึงสูง ( Anchorage ) ต้องมีความสามารถในการรับแรงได้ไม่น้อยกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของแรงดึงประลัยของลวดเหล็กแรงดึงสูง

วัสดุตามข้อนี้  ผู้รับเหมาต้องส่งตัวอย่างมาให้วิศวกรผู้ควบคุมงานอนุมัติก่อนจึงดำเนินการได้

รายละเอียดทั่วไปสำหรับงานคอนกรีตอัดแรงในที่ซึ่งไม่ได้ระบุในแบบหรือส่วนซึ่งจะต้องเพิ่มเติมเนื่องจากลักษณะวิธีการก่อสร้างของผู้รับเหมา  ผู้รับเหมาจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและนำเสนอรายระเอียดให้วิศวกรอนุมัติ

ข้อกำหนดสำหรับเหล็กเสริม (Mild Steel) ให้ยึดถือตาม “หมวด เหล็กเสริมคอนกรีต”

4.

ห่อหุ้มลวดคอนกรีต (sheating)
ระบบ BONDED SYSTEM ท่อหุ้มจะต้องคงรูปร่างและคงทนไม่เสียหายในขณะก่อสร้าง ไม่มีปฏิกิริยากับคอนกรึตและไม่เสื่อมสลายตัว ท่อหุ้มสามารถจะถ่ายแรงจากวัสดุซึ่ง GROUT ไปยังคอนกรีตโดยรอบได้ และต้องป้องกันการไหลข้าวของน้ำปูนจากคอนกรึตพื้นได้เป็นอย่างดี ผู้รับเหมาก่อสร้างต้องส่งค่า FRICTION COEFFCIENT และ WOBBLE COEFFCIENT เพื่อขออนุมัติ

5.

BAR CHAIR
BAR CHAIR จะต้องเป็นเหล็กและมีความแข็งแรงเพียงพอในการรับน้ำหนักของกลุ่มลวดเหล็กและน้ำหนักอื่นๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในขณะทำงานหรือเทคอนกรีต และจะต้องมีวัสดุรองที่ขาของ BAR CHAIR เพื่อมิให้ขาของ BAR CHAIR สัมผัสกับผิวของไม้แบบโดยตรง เพราะอาจทำให้เกิดสนิมบริเวณขาในภายหลัง

6.

แบบหล่อคอนกรีตและการบ่มคอนกรีต
ข้อกำหนดทั่วไปของแบบหล่อคอนกรีตอัดแรงในที่ให้ยึดถือตาม “หมวด งานแบบหล่อ” โดยมีข้อกำหนดเพิ่มเติมเฉพาะของงานคอนกรีตอัดแรงในที่ดังนี้คือ

การถอดไม้แบบ พื้นจะถอดได้ต่อเมื่อผู้ควบคุมงานได้อนุมัติแล้วโดยคอนกรีตบริเวณนั้นต้องมีกำลังอัดประลัยทดสอบไม่ต่ำกว่า 240 กก./ตร.ซม. ส่วนค้ำยันจะถอดได้ก็ต่อเมื่อ
คอนกรีตในแผ่นพื้นมีกำลังอัดสูงกว่าค่ากำลังที่กำหนดไว้เมื่ออายุ 28 วัน ลำดับขั้นตอนการถอดค้ำยันจะต้องได้รับความเห็นชอบจากวิศวกรหรือผู้ควบคุมงานเสียก่อน

ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตามจะมีน้ำหนักบรรทุกบนแผ่นพื้นมากกว่าน้ำหนักบรรทุกจรที่ออกแบบไว้ไม่ได้

7.

การเทคอนกรีตและการบ่มคอนกรีต
การเทคอนกรีตจะต้องเทให้เสร็จเรียบร้อยตามแผนงานที่กำหนดไว้โดยความเห็นชอบของผู้ควบคุมงาน รอยต่อที่หยุดเทคอนกรีตจะต้องอยู่ที่ตำแหน่ง L/4 โดย L คือ ช่วง Span

ผิวคอนกรีตทุกด้านจะต้องเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา 7 วันหลังจากการเทคอนกรีตเป็นอย่างน้อย ผิวบนของคอนกรีตจะต้องคลุมด้วยกระสอบทันทีที่การแต่งผิวหน้าเสร็จสิ้นลง ในช่วงเวลาวันที่ 8-12 หลังการเทคอนกรีต คอนกรีตจะต้องได้รับการฉีดให้เปียกอย่างสม่ำเสมอตามกำหนดของผู้ควบคุมงาน น้ำที่ใช้ในการบ่มคอนกรีตจะต้องเป็นน้ำสะอาด

การสกัดเจาะพื้นคอนกรีตอัดแรงจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากวิศวกรเสียก่อน

8.

การวาง Tendons และการติดตั้ง Anchorage

8.1

การวาง Tendons จะต้องวางในลักษณะที่แสดงไว้ในแบบทั้งตำแหน่งและระดับ ซึ่งผู้รับเหมาได้เขียนเป็น Shop drawing ให้วิศวกรอนุมัติแล้วเท่านั้นโดยยอมให้มีความคลาดเคลื่อนไปจากตำแหน่งที่ระบุไว้ไม่เกินดังนี้

แนวราบ              =          20         มม.
แนวตั้ง               =            4        มม.
Tendon ต้องวางบนที่รองรับซึ่งมีความแข็งแรงพอที่จะคงอยู่ในตำแหน่งเดิมตลอดระยะเวลาการทำงาน

8.2

Anchorage จะต้องวางตรงตำแหน่งที่ระบุไว้ โดยยึดติดแน่นกับที่ไม่เคลื่อนไปจากตำแหน่งขณะเทและเขย่าคอนกรีต  

9.

การอัดแรงคอนกรีต
ผู้รับเหมาต้องจัดหาอุปกรณ์ และเครื่องมือประกอบการอัดแรงโดยพร้อมมูล การอัดแรงจะต้องทำโดยแม่แรงที่ได้รับการอนุมัติแล้วจากวิศวกรหากเป็นแม่แรงชนิด Hydraulic จะต้องมีส่วนประกอบของ Calibration chart ซึ่งได้รับอนุมัติจากวิศวกรแล้ว

การอัดแรงคอนกรีตจะทำได้ต่อเมื่อคอนกรีตกำลังอัดประลัยไม่ต่ำกว่า 240 กก./ตร.ซม. เมื่อทดสอบด้วยก้อนตัวอย่างรูปทางกระบอก และผู้ที่ทำการอัดแรงต้องเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์มาอย่างเพียงพอ

ก่อนการทำการอัดแรง ผู้รับเหมาจะต้องเสนอแผนการอัดแรงตามลำดับของการทำงานแรงดึงของแม่แรงที่ต้องการ และระยะยึดของลวดเหล็กแรงดึงสูงให้วิศวกรผู้ออกแบบเพื่อการตรวจสอบและอนุมัติ

ในระหว่างการอัดแรง ผู้รับเหมาจะต้องบันทึกข้อมูลของการอัดแรงต่างๆ เช่น แรงดึงในแม่แรง ระยะยึดของลวดเหล็กแรงดึงสูง เป็นต้น เพื่อเสนอให้วิศวกรดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง หลังการอัดแรงที่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องจากวิศวกรแล้ว ปลายลวดเหล็กแรงดึงสูงจะต้องตัดออกด้วยใบตัด ห้ามใช้ความร้อนสูงในการตัดเด็ดขาด

ผู้รับเหมาต้องทาหรือพ่น Anchorage ด้วยสีกันสนิม ขอบพื้นคอนกรึตอัดแรงเมื่อทำการอัดแรงเสร็จเรียบร้อยแล้วต้องอุดแต่งของพื้นซึ่งเว้นร่อง Anchorage ไว้ และบริเวณที่ใช้เครื่องดึงปลายลวดอีกด้านหนึ่งให้อุดแต่งด้วยปูนซีเมนต์ผสมทรายในอัตราส่วน 1:1 ในกรณีที่จำเป็นผู้ควบคุมงานจะกำหนดให้ผู้รับจ้างใช้ Non-Shrinkage compound ผสมในปูนทรายอุดขอบพื้นด้วย

10.

การอัดน้ำปูน (เฉพาะระบบ bonded )
ก่อนดำเนินการอัดน้ำปูนะต้องมีการตรวจสอบการอุดปิดหัว anchorage ว่าไม่มีรอยรั่วละจะต้องมีการอัดลมเข้าไในท่อเพื่อทดสอบว่าท่อมีความสะอาดและไม่อุดตันดยปกติการอัดน้ำปูนจะอัดที่ความดันประมาณ 5 ก./ซม.^2 การอัดน้ำปูนจะต้องดำเนินไปจนกระทั้งความเข้มข้นของน้ำปูนที่ไหลออกใกล้เคียงกับน้ำปูนที่ไหลเข้า หลังจากนั้นจะต้องทำการรักษาระดับความดันที่ 5 กก./ซม.^2 เป็นระยะเวลา 0.5 นาที เพื่อทดสอบว่าไม่มีการรั่วไหลของน้ำปูน หากมีการติดขัดระหว่างการอัดน้ำปูนจะต้องทำการล้างน้ำปูนออกด้วยน้ำทันทีละทำการแก้ไขจุดบกพร่องลังจากนั้นให้ล้างท่อด้วยน้ำปูนอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะเริ่มอัดน้ำปูนใหมู่้รับเหมาจะต้องส่ง MIX ของ GROUT และวิธีการทดสอบขออนุมัติก่อน


rscelaw@yahoo.com

ปรับปรุงแก้ไข จันทร์, 26 ธันวาคม 2548 15:18:25