สำนักงานที่ปรึกษากฎหมายและวิศวกรรม  รังสรรค์ วงษ์บุญ
Office of Law and Engineering Consultants
The only thing necessary for the triumph of evil is for good men to do nothing.


    รายการก่อสร้าง (SPECIFICATION)โดยย่อ

ความหมายของรายการก่อสร้าง

หมายถึง เอกสารที่แสดงถึงความต้องการของเจ้าของงานโดยผ่านทางผุ้ออกแบบเพื่อให้ผู้รับเหมาก่อสร้างดำเนินการก่อสร้าง
ให้แล้วเสร็จภายใต้งบประมาณที่ได้มีการตกลงกันไว้ในสัญญาก่อสร้างที่ได้ทำไว้ก่อนหน้านั้น

ข้อควรพิจารณาในการเขียนข้อกำหนดรายการก่อสร้าง

  1. ความต้องการของเจ้าของงาน

  2. ความต้องการทางด้านเทคนิคที่จะทำให้ได้ตามความต้องการของเจ้าของงาน

  3. ข้อกำหนด มาตรฐาน กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง

ผู้ที่จะทำหน้าที่เขียนรายการก่อสร้าง

  1. มีความละเอียดรอบคอบ

  2. รอบรู้เทคนิคและวิธีการก่อสร้างเป็นอย่างดี

  3. มีความเป็นธรรมอยู่ในใจที่จะไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเอาเปรียบฝ่ายตรงข้าม

  4. ภาษาที่ใช้ในการเขียนรายการก่อสร้างจะต้องสั้น กะทัดรัด กระชับ ใช้ประโยคง่ายๆ  ภาษาง่ายๆ

  5. ต้องการอะไรให้บอกไปเลยว่า ต้องทำ  อย่าใช้คำว่า ควรทำ  หรือถ้าไม่ต้องการให้ทำก็บอกไปตรงๆเลยว่า ห้ามทำ  ไม่ควรใช้คำว่า  ไม่ควรทำ 

รายการก่อสร้างที่ดีอย่างน้อยที่สุดจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้  คือ

  1. มีความพอเพียงทางด้านเทคนิค (TECHNICALLY ADEQUATE)

  2. มีความประหยัด (ECONOMICALLY SOUND)

  3. ถ้อยคำและภาษาชัดเจน และ แน่นอน สั้น กระชับ ได้ใจความ และ ถูกต้อง(DEFINITE AND CERTAIN) 

  4. ภาษาที่ใช้ต้องถูกต้องตามหลักภาษา  หลีกเลี่ยงประโยคกำกวมที่จะต้องมีการตีความ

  5. ยุติธรรมและมีความพอเหมาะพอดี (FAIR AND JUST) ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบใคร

  6. สามารถทำได้จริงและตรงตามความต้องการของเจ้าของงาน ( REALITY )

การแบ่งหมวดหมู่ในรายการก่อสร้าง

  1. หมวดเงื่อนไขของสัญญา (CONDITION OF CONTRACT) จะพูดถึง อำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ ความผูกพันทางกฎหมายระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

    • เงื่อนไขทั่วไป (GENERAL CONDITION) มักจะเหมือนๆกันในหลายๆโครงการ ซึ่งจะประกอบด้วย  บทนิยาม และการตีความ ข้อกำหนดและ เงื่อนไขในการเสนอราคา  เกณฑ์การตัดสินให้ชนะการประมูลและการทำสัญญา  ขอบเขตของงาน  การควบคุมงาน  การควบคุมวัสดุ  การดำเนินงานและความก้าวหน้า
      การวัดผลงานและการจ่ายเงินความสัมพันธ์กันตามกฎหมายและความรับผิดชอบต่อสาธารณะ  ค่าจ้างแรงงานและเงื่อนไขการจ้างแรงงาน  เป็นต้น

    • ความต้องการพิเศษเฉพาะงาน (SPECIAL CONDITION หรือ SPECIAL REQUIREMENT)  แต่ละโครงการมักจะไม่เหมือนกัน

  2. หมวดข้อกำหนดทางด้านเทคนิค (TECHNICAL CONDITION หรือ TECHNICAL SPECIFICATION จะให้รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมหลายๆสาขา

หลักการเขียนรายการก่อสร้าง (PRINCIPLE OF SPECIFICATION WRITING)

1.     เจ้าของโครงการต้องการอะไรแน่ ระดับคุณภาพอยู่ระดับใด สอดคล้องกับงบประมาณที่มีอยู่หรือไม่
2.    เขียนความต้องการให้สั้น กะทัดรัด ชัดเจน เกี่ยวกับเงื่อนไขทั่วไป ชนิดของงานและคุณภาพของฝีมือ
3.    แยกแยะหัวข้อทั้งเงื่อนไขเพิ่มเติมทั่วไป (GENERAL PROVISION) และข้อกำหนดทางด้านเทคนิค (TECHNICAL REQUIREMENT) ให้ชัดเจน
4.   
วิเคราะห์งานแต่ละชนิดและเลือกข้อกำหนดทางด้านเทคนิคให้ตรงกับงานนั้น ๆ โดยใช้ของเก่าเปรียบเทียบ
5.    จัดลำดับความต้องการที่จะนำไปเขียนลงในแต่ละส่วนของข้อกำหนดให้สอดคล้องกับแบบก่อสร้างและสัญญา  ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายในการตรวจสอบและปฏิบัติตาม
6.     เขียนข้อกำหนดให้กระชับ  ครบถ้วนสมบูรณ์   ใช้ประโยคและถ้อยคำที่เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป
7.    ใช้ศัพท์ที่มีความหมายแน่นอน ไม่กำกวม ไม่ต้องตีความ เป็นที่เข้าใจตรงกัน  ไม่เข้าใจเป็นอย่างอื่น
8.    ต้องการอะไรให้สั่งลงไปตรง ๆ อย่าใช้คำพูดเชิงแนะนำ
9.    ไม่จำเป็นต้องระบุเหตุผลหรือให้คำอธิบายเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการ
10.   อย่าระบุให้ทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ หรือ ไม่มีเหตุผล หรือ เสียค่าใช้จ่ายสูงกว่างบประมาณที่มีอยู่
11.   อย่ากำหนดความต้องการให้ขัดแย้งกัน
12.  
ให้ระบุขนาดมาตรฐาน (SIZE) หรือ รูปแบบมาตรฐาน (PATTERN) ทุกครั้งถ้าทำได้เพราะจะได้ไม่มีปัญหาในการสั่งของหรือสั่งวัสดุ
13.  
อย่าเขียนความต้องการซ้ำ ๆ กัน  ให้ใช้การอ้างอิงแทน
14.   พยายามลดการอ้างอิงไขว้กันไปไขว้กันมา  เช่น  กรณีมีข้อสงสัยให้ไปดูข้อ 5.2  และที่ข้อ 5.2 เขียนว่า  ให้ไปดูข้อ 6.8  เป็นต้น
15.  อย่าปัดความรับผิดชอบไปให้ผู้รับเหมาถ้าเขาได้ทำตามข้อกำหนดครบถ้วน ถ้ามีัป้ญหาผู้กำหนดรายการก่อสร้างต้องรับผิดชอบ
16.   มีความยุติธรรม คิดถึงอกเขาอกเรา
17.  อย่าปิดบัง ซ่อนเร้น ความยากลำบากของงานหรือที่อาจจะเป็นอันตรายได้  จะต้องบอกผู้รับเหมาให้ทราบว่างานตอนใดมีอันตราย
18. 
ความต้องการของเจ้าของโครงการต้องการจะต้องสามารถวัดได้ และ ต้องกำหนดวิธีการวัดให้ชัดเจนด้วย อย่ากำหนดวิธีวัดโดยใช้ควารู้สึกเป็นเกณฑ์

ประเภทของข้อกำหนดทางด้านเทคนิค (TYPE OF TECHNICAL SPECIFICATION)

  1. PROPRIETARY SPECIFICATION  ระบุยี่ห้อ รุ่น หมายเลขแคตตาล็อก สี หรือ รายละเอียดต่างๆให้ชัดเจน  เช่น กระเบื้องตราช้าง เป็นต้น

  2. REFERENCE SPECIFICATION อ้างอิงมาตรฐานที่มีอยู่ ที่ใช้อยู่ ที่ทุกคนยอมรับ เช่น ให้ใช้ปูนซีเมนต์ประเภท 1 ตาม มอก.ที่ 15  เป็นต้น

  3. DESCRIPTIVE SPECIFICATION: MATERIALS , METHODS & WORKMANSHIP  ระบุวิธีการนำวัสดุไปใช้งานจริง วิธีการก่อสร้าง และระดับฝีมือช่างที่ต้องการ

  4. PERFORMANCE SPECIFICATION  ระบุผลสุดท้ายที่ต้องการเท่านั้น ส่วนวัสดุ แรงงาน วิธีการจัดซื้อ - จัดหา วิธีการก่อสร้าง ผู้รับเหมาจะต้องเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด

  5. COMBINATION SPECIFICATION  รายการก่อสร้างแบบผสมตามความต้องการเฉพาะงาน 


ตัวอย่างรายการก่อสร้างบ้านพักอาศัย
จากหนังสือประมาณราคาของวินิจ ช่อวิเชียร
รวบรวมโดยโดย  วีรพจน์ พยัพเมฆ และ ไพบูลย์ หล่ออัชฌาศัย

อาคารหลังนี้เป็นบ้านพักอาศัยสองชั้น โครงสร้างเป็น ค.ส.ล. ตามแบบและรายการ ผนังภายนอกโดยรอบก่ออิฐฉาบปูน     เรียบ และอิฐก่อประดับบางส่วน มีรายการละเอียดส่วนต่างๆ
ดังได้จำแนกตามข้างล่างนี้
1. ความประสงค์
1.1 ต้องการให้ผู้รับจ้างเหมาปลูกอาคารประเภทดังกล่าว ให้เป็นไปตามรูปแบบ ด้วยฝีมือช่างที่ดีและเรียบร้อย
1.2 งานก่อสร้างนี้ ตกลงให้ผู้รับจ้างเหมาตามข้อความใน
 ()()()
         
ก. รับจ้างเหมารวมค่าวัสดุ อุปกรณ์ และค่าแรงทั้งหมด
          ข. รับจ้างเหมาแต่เพียงค่าแรง และเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำงานก่อสร้างและติดตั้งเท่านั้น วัสดุและอุปกรณ์ต่างๆฝ่ายผู้ว่าจ้างหรือเจ้าของเป็นผู้จัดหาให้
          ค. รับจ้างเหมาเฉพาะค่าแรงบางส่วน และเหมารวมค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าแรงบางส่วนด้วย
1.3 สิ่งของที่ปรากฏในแบบแปลนหรือรายการก็ดี หรือไม่รายการก็ดีแต่เป็นการเกี่ยวข้องประกอบกันแล้ว ผู้รับจ้างจะต้องจัดหามาให้ครบ
1.4 วัสดุและอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ระหว่างเริ่มงานก่อสร้างจนถึงวันส่งงาน ให้อยู่ในอารักขาดูและรับผิดชอบของผู้รับจ้าง
1.5 สิ่งที่ปรากฏในข้อ 1.4 หากมีการขนย้ายออกนอกบริเวณ ต้องได้รับความเห็นชอบจากสถาปนิกหรือผู้ควบคุมงานเสียก่อน

2. การทำระดับปักฝัง
ผู้รับจ้างเหมาต้องจัดทำเองโดยตลอด ตอกหมุดอาคารให้ถูกต้อง ระดับดินที่กำหนดให้คือระดับดินเดิมเป็นหลัก และ ทำการก่อสร้างจากระดับนั้นสูงขึ้นตามลำดับ

3. การทำฐานราก
ฐานรากต้องหยั่งลงตามดินเดิมตามระยะที่กำหนดไว้ในแบบ เสาเข็มใช้ไม้เบญจพรรณทุบเปลือก ความยาวตามแบบทุกต้นต้องได้ความยาวที่ระบุไว้ ลำต้นตรงไม่คดงอ แตกร้าว
การหล่อฐานต้องควักดินออก 10 ซ.ม. วิดน้ำก้นหลุดให้แห้งทำ   ความสะอาดหัวเข็ม แต่งดินให้ได้ระดับเททรายหยาบกระทุ้งแน่นเสมอหัวเข็ม ก่อนเทคอนกรีตหยาบ ให้เอากระดาษ
หนาๆปูให้ทั่ว และจึงวางเหล็กตะแกรงก้นหลุม ตั้งโครงเหล็กหล่อฐานราก และเสา ค.ส.ล. ต่อไป

4. วัสดุก่อสร้าง
ปูนซีเมนต์
   ใช้ปูนซีเมนต์ตราเสือ หรือตราช้างของบริษัทปูนซีเมนต์ไทยหรือซีเมนต์ชลประทานที่มีคุณภาพทัดเทียมกัน สำหรับผสมคอนกรีต ปูนก่อและปูนผิว  ซีเมนต์นี้ต้องมี
คุณภาพดีไม่รวมจับเป็นก้อน และต้องเก็บรักษาให้เรียบร้อย ไม่ให้มีความชื้นและถูกน้ำ ในกรณีที่ต้องการถอดแบบเร็วกว่าปกติใช้ปูนซูเปอร์แทนตราเสือ

ปูนขาว   ใช้ปูนขาวหินที่เผาสุกดี เนื้อปูนขาวจะต้องละเอียด นิ่ม ไม่มีก้อนแข็งปน การเก็บรักษาเช่นเดียวกับการเก็บซีเมนต์

หิน   ใช้หินหรือกรวด ที่มีเนื้อแน่น ทนความอัดได้ดี ต้องปราศจากสิ่งอื่นเจือปน ใช้หินหรือกรวดหนึ่งและสองผสมกันอย่างละครึ่ง

ทราย   จะต้องเป็นทรายน้ำจืด ไม่มีดินและสิ่งอื่นเจือปน ทรายมุกข์หรือทรายขี้เป็ดห้ามใช้โดยเด็ดขาด จะต้องเป็นทรายที่นำมาจากแม่น้ำ ทรายผสมคอนกรีต ปูนก่อ
ใช้ทรายเม็ดใหญ่ผสมปูนผิว  ใช้ทรายเม็ดเล็ก ก่อนใช้ต้องล่อนผ่านตะแกรงเสียก่อน

อิฐ  ใช้อิฐที่เผาสุกตลอดแผ่น ไม่เปราะ บิดเบี้ยว แตกหักง่าย ขนาดต้องสม่ำเสมอกัน ก่อนใช้ต้องชุบน้ำก่อนทุกครั้งอิฐ     ที่แตกไม่เกินครึ่งแผ่นให้นำมาใช้ก่อได้ไม่เกินร้อยละ 15
ของทั้งหมด ใช้อิฐคุณภาพไม่ต่ำกว่าอิฐราชบุรีหรือนครสวรรค์

น้ำ  ที่ใช้ผสมคอนกรีต ปูนก่อ ปูนผิว ต้องเป็นน้ำสะอาดไม่มีสิ่งอื่นเจือปน ไม่เค็มและกร่อย

เหล็กเส้น ลวดผูกเหล็ก    เป็นของใหม่ไม่เคยใช้มาก่อน และปราศจากสนิมขุมหรือสิ่งเปรอะเปื้อนที่จะทำให้การเกราะยึดของคอนกรีตต้องเสียกำลังไป ต้องเป็นเหล็กที่จุดคลาก
ไม่น้อยกว่า 2500 กก./ซม.2 ของหน้าตัดเหล็กนั้น   ลวดผูกเหล็กใช้หมายเลข 18 ไม่ผุกร่อนหรอเป็นสนิมขุม

ชนิดไม้ที่ใช้    ไม้ที่ใช้ส่วนสำคัญจะต้องอบให้แห้งสนิทก่อนนำมาใช้หากปรากฏว่าหดภายหลัง ผู้รับจ้างจะต้องทำให้ใหม่ให้เรียบร้อย โดยไม่คิดมูลค่าแต่อย่างใด โดยทั่วไปต้องเป็น
ไม้คุณภาพดี ไม่มีรู ตา หรือ กระพี้ จนเสียกำลัง หรือคดงอ จนเสียรูปทรง ทั้งต้องเป็นไม้ที่มีสีและชนิดเดียวกันโดยตลอด

ไม้เนื้ออ่อน หมายถึง ไม้ยาง ไม้เหียง ไม้พรวง ไม้กราด ไม้กระบาก

ไม้เนื้อแข็ง  หมายถึงไม้ที่มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าไม้ตะเคียนทอง ในด้านกำลังและความทนทานต่อดินฟ้าอากาศ ให้ถือ      ว่าประกอบด้วยไม้ต่อไปนี้ ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้แดง ไม้ประดู่
ไม้ตะเคียนทอง ไม้เคี่ยม ไม้มะค่าแต้ ไม้หลุมพอ

ไม้สัก   ใช้ไม้สักชั้นสอง อย่างดี

ขนาดตัวไม้ ไม้ที่เลื่อยและไสกบแล้วจะมีขนาดไม่น้อยกว่า ดังต่อไปนี้

ขนาดหนา

เหลือ

ขนาดหนา

เหลือ

½’’

3/8’’

3’’

2 11/16’’

1’’

13/16’’

4’’

3 5/8’’

1 ½’’ 

1 5/16’’

5’’

4 5/8’’

2’’

1 ¾’’

6’’

5 5/8’’

2 ½’’

2 ¼’’

8’’

7 5/8’’

สลักเกลียว  รูเจาะต้องพอดีตอกสลักเกลียวเข้าไปได้ ไม่โตกว่าขนาดของสลักเกลียว 6 % ขนาดเกลียวแต่ละตัว         ต้องมีแหวนขนาดมาตราฐานรองใต้แป้นสลักเกลียวทุกๆตัว

พื้นไม้   ต้องอบหรือผึ่งให้แห้งสนิท เก็บไว้ให้พ้นจากแดดฝน และไสให้ขนาดหน้ากว้างเท่ากันหมด เว้นแต่ละบุเป็นอย่างอื่นไม้       พื้นเข้าลิ้น ร่องลิ้นต้องกว่าพอดีรับลิ้นและลึกกว่า
ความกว้างของลิ้น 3 มม. เมื่อตีพื้นเข้าที่จะต้องวางเรียงเป็นแผ่นๆแล้วอัดและ ปรับให้แนวรอยต่อระหว่างแผ่นแน่นสนิทดี

ไม้ฝา ไม้ฝาเข้าลิ้นให้ปฏิบัติอย่างไม้พื้นให้อนุโลม ไม้ฝาตีเกล็ด ให้ตีเหลื่อมกันไม่น้อยกว่า2.5 ซม. รอยต่อต่างๆ ของโครงไม้ ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของวิศวกรโดยเคร่งครัด

5. งานคอนกรีตเสริมเหล็ก

ส่วนผสมคอนกรีต  สำหรับงานฐานราก เสา คาน พื้น ใช้ส่วนผสมซีเมนต์ผสมทรายต่อหินเป็น 1:2:4 โดยปริมาตร หรือ ใช้ซีเมนต์ 350 กก. ทราย 480 ลิตร หิน 960 ลิตร
ปริมาณน้ำที่ใช้ผสมทำคอนกรีตจะต้องไม่ทำให้คอนกรีตที่ผสมเหลวเกินไป โดยมีสลั้มอยู่ระหว่าง 10-15 ซม. การตวงวัสดุให้ใช้กระบอกตวง

การผสม การเท การกันรอยแตกร้าว การผสมคอนกรีตต้องผสมบนกระบะไม้หรือเครื่องผสมก็ได้ ให้คลุกเคล้าซีเมนต์ตามส่วนโดยแห้งๆเสียก่อน จนเป็นสีเดียวกันแล้วใส่หิน
น้ำ ตามส่วนผสมคราวหนึ่งๆ ให้ใช้ให้หมดใน 30 นาที เมื่อเกินกำหนดให้เททิ้ง การเทให้เทไปกระทุ้งไปทุก         ครั้ง ภายใน 24 ชั่วโมงห้ามถูกน้ำ และบรรทุกน้ำหนักโดยเด็ดขาด เมื่อ
ครบกำหนดให้เอากระสอนชุบน้ำคลุมผิวหน้าเอาไว้ ฉีดน้ำให้เปียกเสมออย่างน้อยวันละ 4 ครั้ง ทำอยู่ 7 วัน การถอดแบบให้ถือแบบปลอดภัยดังนี้

1. ไม้ข้างคาน                  3  วัน
2. ไม้ข้างเสาเหนือพื้น        4  วัน
3. ค้ำยันต่างๆ
                  3   สัปดาห์
4. ท้องพื้น ท้องคาน          3  สัปดาห์

(คอนกรีตที่หล่อจะก่ออิฐข้างบนได้เมื่อพ้น 24 ชั่วโมงไปแล้ว)

การผูกเหล็ก  เหล็กเสริมในเสา คาน พื้น และกำแพง ค.ส.ล. จะต้องวางให้ถูกตำแหน่ง และระยะห่างตามที่กำหนดใน        แบบ ในกรณีที่มีเหล็กซ้อนหลายชั้นต้องมีเหล็กคั่นกลาง
ขนาดหน้าตัดของเหล็กที่ซ้อนกัน
(หรือขนาดที่ใหญ่กว่าหากมีขนาดไม่ เท่ากันทุกชั้น) ทุกแห่งที่เหล็กผ่านกัน เช่นเหล็กเสริมในพื้น ค.ส.ล. หรือเหล็กปลอกผ่านเหล็กยื่นในเสาหรือเหล็ก
ปลอกที่ผ่าน  เหล็กนอนในคาน จะต้องใช้ลวดผูกเหล็ก
เบอร์ 18  มัดให้แน่นอย่างน้อย 2 รอบ พับปลายไว้ภายใน ปลายเหล็กเสริมจะต้องงอทำขอมีรัศมีความโค้งภายใน 4 เท่า ของ
ขนาดเหล็ก และยาวเลยออกไปอีก 4 เท่าของขนาดเหล็ก

การต่อเหล็กเสริม อาจใช้วิธีต่อเหลื่อมทาบกันเป็นระยะไม่น้อยกว่า 40 เท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กนั้น ปลายของเหล็กที่ต่อจะต้องงอปลายทำขอเช่นเดียวกับปลาย
เหล็กเสริม แต่การต่อปลายเหล็กเสริมในเสาไม่ต้องงอทำขอ หากคานใดที่มีเหล็กจำนวนมาก ทำให้การต่อเหล็กด้วยวิธีทาบเหลื่อมแล้ว มีชาวงสำหรับเทคอนกรีตยาวเกินไป
อาจต่อด้วยวิธีการเชื่อมไฟฟ้า โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางของรอยต่อเป็น 1
½  เท่าของขนาดเหล็กที่ต่อและรอยต่อเลยไปข้างละไม่น้อยกว่า 1½ นิ้ว ทั้งสองข้าง การต่อเหล็กในคาน
และพื้น
ค.ส.ล.  ห้ามต่อบริเวณเดียวกันทั้งหมด พยายามต่อให้เยื้องกันตามหลักเกณฑ์ดังนี้

เหล็กในคานและพื้น ค.ส.ล.   เหล็กล่างห้ามต่อกลางช่วงคาน หรือ กลางช่วงพื้น แต่จะต่อได้บริเวณปลายคานหรือปลายช่วงพื้นนั้นๆ
เหล็กบนในคาน   ต่อได้บริเวณกลางคาน ห้ามต่อใกล้เสาเหล็กบนของพื้น ค.ส.ล. ห้ามต่อหมดเหล็กบนในคานหูช้างห้ามต่อตลอดความยาวที่ฝั่งในเสาหลังคาน
เหล็กในเสา  ให้ต่อได้บริเวณพื้นชั้นถัดไป โดยให้เหล็กในเสาชั้นล่างเลยขึ้นไปเหลื่อมกับเหล็กในเสาชั้นบนไม่น้อยกว่า 75 ซม.
เหล็กบนของคานหรือพื้นที่ยื่นเป็นหูช้างห้ามต่อ รวมทั้งส่วนที่ฝั่งในคาน หรือ เสา ค.ส.ล.

6. งานก่อกำแพงและฉาบปูน

แผ่นหรือ แท่งวัสดุ ที่นำมาก่อต้องปัดให้สะอาด อย่าให้มีผงหรือเศษที่แตกออกติดอยู่ และต้องทำให้ชื้นเสียก่อน เพื่อมิให้ดูดน้ำจากปูนก่อเร็วเกินไป การก่อต้องก่อให้ได้ดิ่งฉาก
ปูนก่อให้ใส่เต็มหน้า หนาไม่น้อยกว่า 2 ซม. ภายใน 24 ชั่วโมง ห้ามบรรทุกน้ำหนักและถูกน้ำ

ส่วนผสมปูนก่อ ใช้ซีเมนต์ 1 ส่วน ปูนขาว 1½ ส่วน ทรายหยาบ 4 ส่วน

ผนังที่จะฉาบปูนต้องก่อไว้แล้วไม่น้อยกว่า 3 วัน ก่อนฉาบปูนต้องทำความสะอาดกำแพงด้วยแปรง กะเทาะผิวให้ขรุขระแล้วราดน้ำให้เปียกชุ่มไว้ รอให้น้ำที่ผิวระเหยออกหมดก่อน
แล้วจึงฉาบปูน

การฉาบเสาหรือคานคอนกรีต การจับเหลี่ยมเสาหรือคาน ให้ลงปูนเค็มรองพื้นไว้ชั้นหนึ่งก่อน ทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน แล้วจึงฉาบด้วยปูนฉาบ

การฉาบปูนภายใน ให้ทำก่อนที่จะทำพื้นภายใน

ส่วนผสมปูนฉาบ   ใช้ซีเมนต์ 1 ส่วน ปูนขาว 2 ส่วน ทรายละเอียด 5 ส่วน

เสาเอ็น ใช้ขนาด 0.07 × 0.12 เมตร  เหล็กเสริม 2 Ø 9 มม.  เหล็กปลอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม. ผูกเป็นลูกโซ่ การก่อกำแพงทั่วไปที่ยาวๆ จะต้องมีเสาเอ็น แบ่งออกเป็นช่วงๆ
เสาเอ็นนี้ยึดติดคานตอนบนและตอนล่างมีเหล็กโผล่ออกมาทุกระยะ 0.30 ม. เพื่อยึดฝาที่มาชนวงกบ ประตูหน้าต่างที่ชนกำแพงอิฐครึ่งแผ่นจะต้องมีเสาเอ็นรับวงกบ
โดยฝั่งพุกไม้ในเสาห่างกันไม่เกิน 0.60 ม. แล้วยึดด้วยตะปูควง

7. การทำพื้น

พื้นชั้นล่างทั่วไป  ถมดิน ทราย และอัดกระทุ้งแน่น ปรับระดับ เทปูนทรายหนา 5 ซม. และราดแอสฟัลท์หนา 5 มม. ทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน จึงเทพื้น ค.ส.ล. ตาม

รูปแบบสำหรับพื้นส่วนที่จะต้องปูผิวทับด้วยปาเก้ไม้ ให้ผสมน้ำยากันซึมด้วย เมื่อปูปาเก้แล้วจึงติดบัวเชิงผนัง

พื้นชั้นบนทั่วไป เป็นพื้นไม้แดงหรือไม้มะค่า 1” × 4” อบไสทำรางลิ้นอัดแน่น  ขัดและปรับระดับเรียบ ติดบัวเชิงผนัง แล้วขัดมันพื้น ค.ส.ล. หลังคา ห้องครัว ห้องเก็บของ ให้ผสมน้ำยา
กันซึมแล้วขัดมัน

ห้องน้ำ ห้องส้วม     เป็นพื้น ค.ส.ล. ปูกระเบื้องโมเสด ขนาด 2” × 2” ผนังบุกระเบื้องเซรามิค สูง 1.50 ม. โดยรอบ (สี ลาย และขนาดจะกำหนดภายหลัง) ทุกห้องต้องมีระดับลดลงสู่
ท่อน้ำทิ้ง ปากท่อปิดด้วยตะแกรงกรองผงแบบมีกันกลิ่นขนาด
Ø 4”  ต่อท่อลงระบายน้ำ Ø

พื้นลานรอบอาคาร   ทำเขื่อนกันดิน (ตามแบบที่จะกำหนดภายหลัง) ก่อนถมดิน ทราย อัดแน่น ปรับระดับ และเทพื้น ค.ส.ล. หนา 0.10 ม. เสริมเหล็กตะแกรง Ø 6 มม.
ห่างกัน 20 ซม.ทำกรวดหรือทรายล้าง หรือปูด้วยกระเบื้องเคลือบ หรือเซรามิคซึ่งจะกำหนดภายหลัง

8. การทำหลังคา

โครง หลังคาใช้ไม้เนื้อแข้งล้วน ทาโซลิคนั่ม (ห้ามเจือปน) 1 ครั้ง ก่อนติดตั้งไม้ที่ต่อหรือยึดโยงกัน ต้องร้อยด้วยน๊อตสกรู Ø ½ ”  อัดแน่น หลังคามุงกระเบื้อง ตามรูปแบบ ใช้ขอเหล็ก
ยาว 20 ซม. กระเบื้องหนึ่งแผ่นใช้ขอรับ 2 ตัว และยึดด้วยตะปูเกลียวขนาด 2.5
” แผ่นละ 1ตัว การมุงกระเบื้องให้มุงซ้อนสับหว่าง ห้ามตัดชายกระเบื้อง

9. การทำฝ้าเพดาน

ฝ้าเพดานชั้นบน บุด้วยยิบซั่มบอร์ด ขนาด 4 × 8 ฟุต หนา 9 มม. ชนิดด้านหลังติด Aluminum foil
ฝ้าเพดานใต้พื้นบุด้วยกระเบื้องกระดาษแผ่นเรียบ ขนาด 4 × 8 ฟุต หนา 4 มม.
เคร่าฝ้าเพดาน ใช้ไม้ยางอาบน้ำยาไสหน้าเดียว ขนาด 1½ ” ×  3 ” Ø 0.60 ม. # บัวเพดานใชไม้เนื้อแข็ง ขนาด 1½  ” ×  2 ”  การติดตั้งให้ปรึกษาผู้ออกแบบ
ฝ้าชายคา ใช้ไม้เนื้อแข็งขนาด 1 ” ×  2 ”  ลบมุมกว้าง 4 มม. สองมุม ตีห่างข้างถึงข้าง 4 มม. ใช้ไม้เคร่า ขนาด 1½ ” ×  3 ”  Ø 0.40 ม. C/C และขอบรอบ

10. การทำประตู
– หน้าต่าง

วงกบประตู – หน้าต่างให้ทำด้วยแรงคน ในสถานที่ก่อสร้าง
กรอบหน้าต่างทั่วไป ทำด้วนไม้สักชนิดที่ 2 อย่างดี วงกบและเกล็ดไม่ใช้ไม้แดงหรือไม้มะค่า
อุปกรณ์ประตู หน้าต่าง 
: บานพับของ  SECCO บานเลื่อนใช้ของวิทโก้ กลอนและมือจับใช้ของแอลฟ่า  ลูกบิด กุญแจใช้ของเชลจ ทุกห้องติดมุ้งลวดไนลอนกรอบไม้สัก
(ขนาดและรูป จะกำหนดภายหลัง)

 

11. เครื่องสุขภัณฑ์    ผู้จ้างเหมาจัดหาซื้อมาให้ ผู้รับจ้างเหมามีหน้าที่ติดตั้งให้เสร็จเรียบร้อยบริบูรณ์

12. การทำบันได บันไดทั้งหมดเป็นบันไดไม้ ลูกกรงเหล็ก1½ ”ราวบันไดไม้สัก 1 ” × 8 ” แม่บันไดไม้แดง 2”× 8”

13. การไฟฟ้า และโทรศัพท์ ผู้รับเหมาจัดทำการเดินสาย สวิทซ์ ปลั๊ก ให้ถูกต้องตามรูปแบบและหลักวิชา ปลั๊ก สวิทซ์ สวิทซ์ตัดตอน สวิทซ์บอร์ด สวิทซ์หม้อต้มน้ำร้อนและ
เครื่องทำความเย็นให้ใช้ของ
TICINO ส่วนดวงโคมและหลอดไฟเป็นของผู้จ้างเหมาจัดหามาให้ แต่ผู้รับเหมาต้องทำการติดตั้งให้เสร็จเรียบร้อยบริบูรณ์

14. การประปา ผู้รับเหมาจัดการเดินท่อและติดตั้งตามรูปแบบ จนสามารถใช้การได้สมบูรณ์

15. การฝีมือ งานนี้ผู้รับเหมาต้องหาช่างฝีมือดี ทำงานเรียบร้อยถูกต้องตามแบบและรายการ งานช่างปูน ช่างไม้ ต้องเป็นผู้ชำนาญ ถ้าปรากฏว่าทำโดยฝีมิไม่ดี หรือใช้ของผิด
จากรายการ ผู้จ้างเหมามีสิทธิสั่งรื้อให้ทำใหม่ โดยผู้รับจ้างเหมาจะคิดราคาเพิ่มขึ้นอีกมิได้

16. สัมภาระโรงงาน ผู้รับจ้างเหมาต้องจัดกาสัมภาระ เครื่องอุปกรณ์การดำเนินงานตลอดจนสร้างโรงงานคลังเก็บวัสดุและที่พักต่างๆด้วยทุนทรัพย์ของผู้รับจ้างเอง
การที่จะปลูกโรงงานที่ใด ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของสถานที่ก่อน ก่อนส่งมอบงานให้ผู้จ้างเหมา ผู้รับจ้างเหมาต้องทำความสะอาดบริเวณ และรื้อย้ายสิ่งต่างๆออกไปให้หมดสิ้น
ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา

17. ทั่วไป หากรูปแบบและรายการขัดแย้งกัน ผู้รับจ้างเหมาต้องรีบหารือสถาปนิกหรือวิศวกรโดยด่วน ปละเมื่อได้รับสั่งงานประการใด ต้องปฏิบัติงานตามโดยถูกต้อง การเปลี่ยนแปลง
ใดๆ ถ้าเป็นงานเพิ่มเติม เห็นว่าจำเป็นต้องคิดราคาเพิ่มต้องตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษร ก่อนลงมือทำงานทุกครั้ง

                                                                                                              เขียนโดย   xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

                                                            สถาปนิก...............................................................

                                                                                            (                                       )

                                                            วิศวกร...................................................................

                                                                                            (                                       )


ตัวอย่างการวิเคราะห์ประเภทรายการก่อสร้าง

A GENERAL CONDITION เงื่อนไขทั่วไป B SPECIAL CONDITION ( REQUIREMENT) ความต้องการพิเศษเฉพาะงาน
C PROPRIETARY SPECIFICATION ระบุยี่ห้อ รุ่น หมายเลขแคตตาล็อก สี ฯลฯ D REFERENCE SPECIFICATION อ้างอิงมาตรฐานที่มีอยู่ เช่น มอก.ที่ 15
E DESCRIPTIVE SPECIFICATION: MATERIALS , METHODS & WORKMANSHIP 
ระบุวิธีการนำวัสดุไปใช้งานจริง วิธีการก่อสร้าง และระดับฝีมือช่างที่ต้องการ
F PERFORMANCE SPECIFICATION  ระบุผลสุดท้ายที่ต้องการเท่านั้น
ส่วนวัสดุ แรงงาน วิธีการจัดซื้อ - จัดหา วิธีการก่อสร้าง ผู้รับเหมาทำเองทั้งหมด
G COMBINATION SPECIFICATION  รายการก่อสร้างแบบผสมตามความต้องการเฉพาะงาน     


 

 ข้อ

รายละเอียดรายการก่อสร้าง

  A

  B

  C

  D

  E

  F

  G

1

อาคารบ้านพักอาศัยสองชั้น โครงสร้างเป็น ค.ส.ล. ตามแบบและรายการ ผนังภายนอกโดยรอบก่ออิฐฉาบปูนเรียบและอิฐก่อประดับบางส่วน

  x

 

 

 

 

 

 

2

ต้องการให้ผู้รับจ้างเหมาปลูกอาคารประเภทดังกล่าว ให้เป็นไปตามรูปแบบ ด้วยฝีมือช่างที่ดีและเรียบร้อย

 

 

 

 

 

 

 

3

ตกลงให้ผู้รับจ้างเหมารวมค่าวัสดุ อุปกรณ์ และค่าแรงทั้งหมด              

4

ตกลงให้ผู้รับจ้างเหมาแต่เพียงค่าแรง และเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำงานก่อสร้างและติดตั้งเท่านั้น              

5

วัสดุและอุปกรณ์ต่างๆฝ่ายผู้ว่าจ้างหรือเจ้าของเป็นผู้จัดหาให้              
6 ตกลงให้ผู้รับจ้างเหมาเฉพาะค่าแรงบางส่วน และเหมารวมค่าวัสดุอุปกรณ์และค่าแรงบางส่วนด้วย              
7 สิ่งของที่ปรากฏในแบบแปลนหรือรายการก็ดี หรือไม่รายการก็ดีแต่เป็นการเกี่ยวข้องประกอบกันแล้ว ผู้รับจ้างจะต้องจัดหามาให้ครบ              
8 วัสดุและอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ระหว่างเริ่มงานก่อสร้างจนถึงวันส่งงาน ให้อยู่ในอารักขาดูและรับผิดชอบของผู้รับจ้าง              
9 วัสดุ และ อุปกรณ์ ทุกชนิด หากมีการขนย้ายออกนอกบริเวณ ต้องได้รับความเห็นชอบจากสถาปนิกหรือผู้ควบคุมงานเสียก่อน              
10 การทำระดับปักฝัง ผู้รับจ้างเหมาต้องจัดทำเองโดยตลอด ระดับดินที่กำหนดให้ถือระดับดินเดิมเป็นหลัก และ ทำการก่อสร้างจากระดับนั้นขึ้นไป              
11 ตอกหมุดอาคารให้ถูกต้อง              
12 ฐานรากต้องหยั่งลงตามดินเดิมตามระยะที่กำหนดไว้ในแบบ              
13 เสาเข็มใช้ไม้เบญจพรรณทุบเปลือก ความยาวตามแบบทุกต้นต้องได้ความยาวที่ระบุไว้ ลำต้นตรงไม่คดงอ แตกร้าว              
14 การหล่อฐานต้องควักดินออก 10 ซ.ม. วิดน้ำก้นหลุดให้แห้ง  ทำความสะอาดหัวเข็ม           x    
15 แต่งดินให้ได้ระดับ  เททรายหยาบกระทุ้งแน่นเสมอหัวเข็ม              
16 ก่อนเทคอนกรีตหยาบ ให้เอากระดาษหนาๆปูให้ทั่ว แล้วจึงวางเหล็กตะแกรงก้นหลุม ตั้งโครงเหล็กหล่อฐานราก และ เสา ค.ส.ล.           x    
17 ใช้ปูนซีเมนต์ตราเสือ หรือตราช้างของบริษัทปูนซีเมนต์ไทยหรือซีเมนต์ชลประทานที่มีคุณภาพทัดเทียมกัน       x        
18 ต้องเก็บรักษาปูนซีเมนต์ให้เรียบร้อย ไม่ให้มีความชื้นและถูกน้ำ              
19 ในกรณีที่ต้องการถอดแบบเร็วกว่าปกติใช้ปูนซูเปอร์แทนตราเสือ              
20 ใช้ปูนขาวหินที่เผาสุกดี เนื้อปูนขาวจะต้องละเอียด นิ่ม ไม่มีก้อนแข็งปน การเก็บรักษาเช่นเดียวกับการเก็บซีเมนต์              
21 ใช้หินหรือกรวด ที่มีเนื้อแน่น ทนความอัดได้ดี ต้องปราศจากสิ่งอื่นเจือปน              
22 ใช้หินหรือกรวดหนึ่งและสองผสมกันอย่างละครึ่ง              
23 จะต้องเป็นทรายน้ำจืด ไม่มีดินและสิ่งอื่นเจือปน              
24 ทรายมุกข์หรือทรายขี้เป็ดห้ามใช้โดยเด็ดขาด              
25 ทรายผสมคอนกรีต ปูนก่อ ใช้ทรายเม็ดใหญ่              
26 ผสมปูนฉาบผิว  ใช้ทรายเม็ดเล็ก ก่อนใช้ต้องล่อนผ่านตะแกรงเสียก่อน              
27 ใช้อิฐที่เผาสุกตลอดแผ่น ไม่เปราะ บิดเบี้ยว แตกหักง่าย ขนาดต้องสม่ำเสมอกัน              
28 จะต้องนำอิฐชุบน้ำก่อนใช้ทุกครั้ง              
29 อิฐที่แตกไม่เกินครึ่งแผ่นให้นำมาใช้ก่อได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของทั้งหมด              
30 ใช้อิฐคุณภาพไม่ต่ำกว่าอิฐราชบุรีหรือนครสวรรค์              
31 ที่ใช้ผสมคอนกรีต ปูนก่อ ปูนผิว ต้องเป็นน้ำสะอาดไม่มีสิ่งอื่นเจือปน ไม่เค็มและกร่อย              
32 เหล็กเส้น ลวดผูกเหล็ก เป็นของใหม่ไม่เคยใช้มาก่อน และ ปราศจากสนิมขุม หรือสิ่งเปรอะเปื้อนที่จะทำให้การเกราะยึดของคอนกรีตต้องเสียกำลัง              
33 ต้องเป็นเหล็กที่จุดคลากไม่น้อยกว่า 2500 กก./ ตาราง ซม. ของหน้าตัดเหล็กนั้น              
34 ลวดผูกเหล็กใช้หมายเลข 18 ไม่ผุกร่อนหรอเป็นสนิมขุม              
35 ไม้ที่ใช้ส่วนสำคัญจะต้องอบให้แห้งสนิทก่อนนำมาใช้หากปรากฏว่าหดภายหลัง ผู้รับจ้างจะต้องทำให้ใหม่ให้เรียบร้อย โดยไม่คิดมูลค่า              
36 ไม้ที่ใช้ต้องเป็นไม้คุณภาพดี ไม่มีรู ตา หรือ กระพี้ จนเสียกำลัง หรือคดงอ จนเสียรูปทรง               
37 ไม้เนื้ออ่อน หมายถึง ไม้ยาง ไม้เหียง ไม้พรวง ไม้กราด ไม้กระบาก              
38 ไม้เนื้อแข็ง  หมายถึง  ไม้ที่มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าไม้ตะเคียนทอง              
39 ไม้ที่ทนทานต่อดินฟ้าอากาศ ให้ถือว่าประกอบด้วยไม้ต่อไปนี้ ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้ตะเคียนทอง ไม้เคี่ยม ไม้มะค่าแต้ ไม้หลุมพอ              
40 ไม้สัก   ใช้ไม้สักชั้นสอง อย่างดี              
41 ไม้ที่เลื่อยและไสกบแล้วจะมีขนาดไม่น้อยกว่าที่กำหนดตามตาราง              
42 ไม้ฝาตีเกล็ด ให้ตีเหลื่อมกันไม่น้อยกว่า2.5 ซม.              
43 รอยต่อต่างๆ ของโครงไม้ ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของวิศวกรโดยเคร่งครัด              
44 ส่วนผสมคอนกรีต  สำหรับงานฐานราก เสา คาน พื้น ใช้ส่วนผสมซีเมนต์ผสมทรายต่อหินเป็น 1:2:4 โดยปริมาตร              
  หรือ ใช้ซีเมนต์ 350 กก. ทราย 480 ลิตร หิน 960 ลิตร              
45 ปริมาณน้ำที่ใช้ผสมทำคอนกรีตจะต้องไม่ทำให้คอนกรีตที่ผสมเหลวเกินไป โดยมีสลั้มอยู่ระหว่าง 10-15 ซม.              
  การตวงวัสดุให้ใช้กระบอกตวง              
46 การผสมคอนกรีตต้องผสมบนกระบะไม้หรือเครื่องผสมก็ได้ ให้คลุกเคล้าซีเมนต์ตามส่วนโดยแห้งๆเสียก่อน จนเป็นสีเดียวกันแล้วใส่หิน และ น้ำ
ตามส่วน 
             
47 ภายใน 24 ชั่วโมงห้ามคอนกรีตถูกน้ำ และบรรทุกน้ำหนักโดยเด็ดขาด              
48 เมื่อครบกำหนดให้เอากระสอนชุบน้ำคลุมผิวหน้าเอาไว้ ฉีดน้ำให้เปียกเสมออย่างน้อยวันละ 4 ครั้ง ทำอยู่ 7 วัน ให้ถอดแบบออกได้              
49 ผสมคอนกรีตคราวหนึ่งๆ ให้ใช้ให้หมดใน 30 นาที เมื่อเกินกำหนดให้เททิ้ง              
50 การเทคอนกรีตให้เทไปกระทุ้งไปทุกครั้ง              
51 การถอดแบบให้ถือแบบปลอดภัยดังนี้ ไม้ข้างคาน 3  วัน , ไม้ข้างเสาเหนือพื้น 4  วัน              
52 คอนกรีตที่หล่อจะก่ออิฐข้างบนได้เมื่อพ้น 24 ชั่วโมงไปแล้ว              
53 การผูกเหล็กเสริมในเสา คาน พื้น และกำแพง ค.ส.ล. จะต้องวางให้ถูกตำแหน่ง และระยะห่างตามที่กำหนดในแบบ              
54 ในกรณีที่มีเหล็กเสริมซ้อนหลายชั้นต้องมีเหล็กคั่นกลาง              
55 การผูกเหล็ก จะต้องใช้ลวดผูกเหล็กเบอร์ 18  มัดให้แน่นอย่างน้อย 2 รอบ พับปลายไว้ภายใน              
56 เหล็กในคานและพื้น ค.ส.ล. เหล็กล่างห้ามต่อกลางช่วงคาน หรือ กลางช่วงพื้น แต่จะต่อได้บริเวณปลายคานหรือปลายช่วงพื้นนั้นๆ              
57 แผ่นหรือ แท่งวัสดุ ที่นำมาก่อต้องปัดให้สะอาด อย่าให้มีผงหรือเศษที่แตกออกติดอยู่ และต้องทำให้ชื้นเสียก่อน              
58 ปูนก่อให้ใส่เต็มหน้า หนาไม่น้อยกว่า 2 ซม. ภายใน 24 ชั่วโมง ห้ามบรรทุกน้ำหนักและถูกน้ำ              
59 ส่วนผสมปูนก่อ ใช้ซีเมนต์ 1 ส่วน ปูนขาว 1½ ส่วน ทรายหยาบ 4 ส่วน              
60 ผนังที่จะฉาบปูนต้องก่อไว้แล้วไม่น้อยกว่า 3 วัน              
61 ก่อนฉาบปูนต้องทำความสะอาดกำแพงด้วยแปรง กะเทาะผิวให้ขรุขระแล้วราดน้ำให้เปียกชุ่มไว้ รอให้น้ำที่ผิวระเหยออกหมดก่อนแล้วจึงฉาบปูน              
62 การฉาบเสาหรือคานคอนกรีต การจับเหลี่ยมเสาหรือคาน ให้ลงปูนเค็มรองพื้นไว้ชั้นหนึ่งก่อน ทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน แล้วจึงฉาบด้วยปูนฉาบ              
63 การฉาบปูนภายใน ให้ทำก่อนที่จะทำพื้นภายใน              
64 ส่วนผสมปูนฉาบ ใช้ซีเมนต์ 1 ส่วน ปูนขาว 2 ส่วน ทรายละเอียด 5 ส่วน              
65 เสาเอ็น ใช้ขนาด 0.07 × 0.12 เมตร  เหล็กเสริม 2 Ø 9 มม.เหล็กปลอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม. ผูกเป็นลูกโซ่              
66 การก่อกำแพงทั่วไปที่ยาวๆ จะต้องมีเสาเอ็น แบ่งออกเป็นช่วงๆ              
67 เสาเอ็นนี้ยึดติดคานตอนบนและตอนล่างมีเหล็กโผล่ออกมาทุกระยะ 0.30 ม.              
68 พื้นชั้นล่างทั่วไป ถมดิน ทราย และอัดกระทุ้งแน่น ปรับระดับ เทปูนทรายหนา 5 ซม. และราดแอสฟัลท์หนา 5 มม. ทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน จึงเทพื้น ค.ส.ล. ตาม              
69 พื้นชั้นบนทั่วไป เป็นพื้นไม้แดงหรือไม้มะค่า 1” × 4” อบไสทำรางลิ้นอัดแน่น  ขัดและปรับระดับเรียบ              
70 ห้องน้ำ-ส้วม เป็นพื้น ค.ส.ล. ปูกระเบื้องโมเสด ขนาด 2” × 2” ผนังบุกระเบื้องเซรามิค สูง 1.50 ม. โดยรอบ(สี ลาย และขนาดจะกำหนดภายหลัง)              
71 โครง หลังคาใช้ไม้เนื้อแข้งล้วน ทาโซลิคนั่ม (ห้ามเจือปน) 1 ครั้ง ก่อนติดตั้งไม้ที่ต่อหรือยึดโยงกัน ต้องร้อยด้วยน๊อตสกรู Ø ½ ”  อัดแน่น              
72 หลังคามุงกระเบื้อง ตามรูปแบบ ใช้ขอเหล็กยาว 20 ซม.กระเบื้องหนึ่งแผ่นใช้ขอรับ 2 ตัว และยึดด้วยตะปูเกลียวขนาด 2.5 ” แผ่นละ 1ตัว              
73 การมุงกระเบื้องให้มุงซ้อนสับหว่าง ห้ามตัดชายกระเบื้อง              
74 ฝ้าเพดานชั้นบน บุด้วยยิบซั่มบอร์ด ขนาด 4 × 8 ฟุต หนา 9 มม. ชนิดด้านหลังติด Aluminum foil              
75 วงกบประตู – หน้าต่างให้ทำด้วยแรงคน ในสถานที่ก่อสร้าง              
76 บานพับของ  SECCO บานเลื่อนใช้ของวิทโก้ กลอนและมือจับใช้ของแอลฟ่า  ลูกบิด กุญแจใช้ของเชลจ              
77 เครื่องสุขภัณฑ์    ผู้จ้างเหมาจัดหาซื้อมาให้ ผู้รับจ้างเหมามีหน้าที่ติดตั้งให้เสร็จเรียบร้อยบริบูรณ์              
78 บันไดทั้งหมดเป็นบันไดไม้ ลูกกรงเหล็ก1½ ”ราวบันไดไม้สัก 1 ” × 8 ” แม่บันไดไม้แดง 2”× 8”              
79 การไฟฟ้า และโทรศัพท์ ผู้รับเหมาจัดทำการเดินสาย สวิทซ์ ปลั๊ก ให้ถูกต้องตามรูปแบบและหลักวิชา              
80 ปลั๊ก สวิทซ์ สวิทซ์ตัดตอน สวิทซ์บอร์ด สวิทซ์หม้อต้มน้ำร้อนและเครื่องทำความเย็นให้ใช้ของ TICINO              
81 ดวงโคมและหลอดไฟเป็นของผู้จ้างเหมาจัดหามาให้ แต่ผู้รับเหมาต้องทำการติดตั้งให้เสร็จเรียบร้อยบริบูรณ์              
82 ระบบประปาผู้รับเหมาจัดการเดินท่อและติดตั้งตามรูปแบบ จนสามารถใช้การได้สมบูรณ์              
83 ผู้รับเหมาต้องหาช่างฝีมือดี ทำงานเรียบร้อยถูกต้องตามแบบและรายการ              
84 ช่างปูน ช่างไม้ ต้องเป็นผู้ชำนาญ              
85 ถ้าปรากฏว่าทำโดยฝีมิไม่ดี หรือใช้ของผิดจากรายการ ผู้จ้างเหมามีสิทธิสั่งรื้อให้ทำใหม่ โดยผู้รับจ้างเหมาจะคิดราคาเพิ่มขึ้นอีกมิได้              
86 ผู้รับจ้างเหมาต้องจัดกาสัมภาระ เครื่องอุปกรณ์การดำเนินงานตลอดจนสร้างโรงงานคลังเก็บวัสดุและที่พักต่างๆด้วยทุนทรัพย์ของผู้รับจ้างเอง              
87 การที่จะปลูกโรงงานที่ใด ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของสถานที่ก่อน              
88 ก่อนส่งมอบงานให้ผู้จ้างเหมา ผู้รับจ้างเหมาต้องทำความสะอาดบริเวณ และรื้อย้ายสิ่งต่างๆออกไปให้หมดสิ้นภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา              
89 หากรูปแบบและรายการขัดแย้งกัน ผู้รับจ้างเหมาต้องรีบหารือสถาปนิกหรือวิศวกรโดยด่วน และเมื่อได้รับสั่งงานใดๆ ต้องปฏิบัติงานตามโดยถูกต้อง              
90 การเปลี่ยนแปลงใดๆ ถ้าเป็นงานเพิ่มเติม เห็นว่าจำเป็นต้องคิดราคาเพิ่มต้องตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษร ก่อนลงมือทำงานทุกครั้ง              
                 
                 
                 
                 

ตัวอย่างการวิเคราะห์ประเภทรายการก่อสร้าง

A GENERAL CONDITION เงื่อนไขทั่วไป B SPECIAL CONDITION ( REQUIREMENT) ความต้องการพิเศษเฉพาะงาน
C PROPRIETARY SPECIFICATION ระบุยี่ห้อ รุ่น หมายเลขแคตตาล็อก สี ฯลฯ D REFERENCE SPECIFICATION อ้างอิงมาตรฐานที่มีอยู่ เช่น มอก.ที่ 15
E DESCRIPTIVE SPECIFICATION: MATERIALS , METHODS & WORKMANSHIP 
ระบุวิธีการนำวัสดุไปใช้งานจริง วิธีการก่อสร้าง และระดับฝีมือช่างที่ต้องการ
F PERFORMANCE SPECIFICATION  ระบุผลสุดท้ายที่ต้องการเท่านั้น
ส่วนวัสดุ แรงงาน วิธีการจัดซื้อ - จัดหา วิธีการก่อสร้าง ผู้รับเหมาทำเองทั้งหมด
G COMBINATION SPECIFICATION  รายการก่อสร้างแบบผสมตามความต้องการเฉพาะงาน     

   

rscelaw@yahoo.com

ปรับปรุงแก้ไข ศุกร์, 07 ตุลาคม 2548 14:35:37