สำนักงานที่ปรึกษากฎหมายและวิศวกรรม  รังสรรค์ วงษ์บุญ
Office of Law and Engineering Consultants
The only thing necessary for the triumph of evil is for good men to do nothing.
 
HOME Yes I Know 'who & why'

รายการก่อสร้างที่พบบ่อยในงานก่อสร้างทั่วๆไป
บทกำหนดทั่วไปสำหรับการก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ภาควิศวกรรมโครงสร้าง
โดยคณะกรรมการวิชาการวิศวกรรมโยธา วสท.
ผู้จัดทำ ทศพล ต๊ะวิชัย - จิตต์ทวี จาตุรันต์ - ธนชิต ปรีมงคล

หมวด 1 เสาเข็ม

1001 ทั่วไป    ก.  “กรณีทั่วไปและกรณีพิเศษ” ที่ระบุไว้ในภาคอื่น ให้นำมาใช้กับหมวดนี้ด้วย
1002  ขอบข่ายของงาน
  • ผู้รับเหมาจะต้องเป็นผู้จัดหาวัสดุ และอุปกรณ์ทุกชนิดตลอดจนแรงงาน โรงงาน และสิ่งอื่นใดที่จำเป็นสำหรับการตอกเสาเข็มในตำแหน่งที่ระบุไว้ในแบบรวมทั้งการทดสอบด้วย
  • ผู้รับเหมาจะต้องตอกเสาเข็มซึ่งสามารถรับน้ำหนักปลอดภัย..xxx..ตัน จำนวน. xxx...ต้น และ.xxx...ตัน จำนวน.xxx..ต้น ฯลฯ ความยาวของเสาเข็มขึ้นยู่กับสภาพดิน
    ณ สถานที่ก่อสร้างจริง แต่ไม่ว่ากรณีใดจะต้องไม่สั้นกว่า..
    xxx..เมตร
 1003 งานเกี่ยวกับเสาเข็ม
  •  ก. สภาพของสถานที่ก่อสร้าง
    1. ผู้เข้าประกวดราคาจะหาเอกสารแสดงผลการเจาะสำรวจดินของที่ก่อสร้าง เพื่อใช้ประกอบในการออกแบบได้ที่สำนักงานผู้แทนผู้ว่าจ้าง
      • ผู้เข้าประกวดราคาอาจจัดให้มีการสำรวจสถานที่ก่อสร้างเพิ่มเติมเองอีกก็ได้เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องได้รับอนุญาตจากผู้แทนผู้ว่าจ้างเสียก่อน
      • ก่อนยื่นซองประกวดราคาผู้เข้าประกวดราคาจะต้องไปดูสถานที่เสียก่อนจนเป็นที่แน่ว่ารู้ตำแหน่งแน่นอนของสถานที่ก่อสร้างตลอดจนขนาดและลักษณะของงานแล้ว และจะเรียกร้องให้จ่ายเงินเพิ่มโดยอ้างว่าได้รับข้อมูลไม่เพียงพอหรือไม่ละเอียดพอไม่ได้
    2. การรื้อถอนสิ่งกีดขวางต่างๆ ที่อยู่ใต้ดินซึ่งเกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติงาน (เช่น เสาเข็มหัก เป็นต้น) อันเป็นเหตุให้ตอกเสาเข็มไม่ได้ หรือเป็นอุปสรรคต่อการวางแนวเสาเข็ม งานไม้ งานดินถม การกลบดินรอบเสาเข็มและงานอื่นๆ ซึ่งจำเป็นต้องทำเพื่อให้งานเสร็จสมบูรณ์ ต้องเป็นหน้าที่ของผู้รับเหมาที่จะต้องทำโดยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเองทั้งสิ้น
    3. การรื้อถอนสิ่งกีดขวางทางธรรมชาติซึ่งอยู่ใต้ดิน ผู้รับเหมาจะได้รับค่าชดเชยก็ต่อเมื่อผู้แทนผู้ว่าจ้าง เห็นว่าผู้รับเหมาได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อขจัดสิ่งกีดขวางดังกล่าวนั้น
    4. จะไม่มีการคิดค่าเสียหายในกรณีที่ปั้นจั่นต้องตั้งทิ้งไว้ไม่ว่าจะเกิดอุปสรรคใดๆ
       
  • ข. Criteria ในกรณีที่ไม่ได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับขนาด และรูปร่างของเสาเข็มไว้ในแบบ ผู้รับเหมาอาจเลือกเสาเข็มชนิดใดก็ได้ที่สามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้เท่าที่กำหนด แต่จะต้องสอดคล้องกับ Criteria ดังต่อไปนี้ และต้องได้รับความเห็นชอบจากวิศวกรผู้ออกแบบก่อน
    1. น้ำหนักบรรทุกใช้งานของเสาเข็มหนึ่งต้น (ไม่รวมน้ำหนักเสาเข็ม) เมื่อคิดความสามารถรับน้ำหนักทั้งหมดของกลุ่มเสาเข็มแต่ละกลุ่มแล้วจะต้องมีค่าเกินกว่าน้ำหนักบรรทุกใช้งานที่คำนวณไว้ซึ่งรองรับด้วยแป้นหัวเสาเข็มตามที่ปรากฏในแบบ
    2. Load Factor ของเสาเข็มแต่ละต้นหมายถึงน้ำหนักบรรทุกสูงสุดตามที่หาได้ด้วยวิธีการทดสอบ หารด้วยน้ำหนักบรรทุกใช้งาน และจะต้องไม่น้อยกว่า 2.5 หากปรากฏจากผลการทดลองว่า Load Factor มีค่าไม่ถึง 2.5 ผู้รับเหมาจะคิดน้ำหนักบรรทุกใช้งานได้เพียงเศษ 1 ส่วน 2.5 หรือ 40 % ของน้ำหนักบรรทุกสูงสุดเท่านั้น และจะต้องจัดหาและตอกเสาเข็มเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นไปตามกำหนดนี้โดยผู้รับเหมาต้องเป้ผู้ออกค่าใช้จ่ายเองทั้งสิ้น
    3. หน่วยแรงอัดโดยตรงของคอนกรีตในเสาเข็มเมื่อรับน้ำหนักบรรทุกใช้งานจะต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของกำลังอัดของแท่งกระบอกคอนกรีต
    4. ระยะทรุดตัวสูงสุดของเสาเข็มเมื่อรับน้ำหนักสองเท่าของน้ำหนักบรรทุกใช้งานเป็นเวลา 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 12 มิลลิเมตร
    5. ระยะห่างระหว่างเสาเข็มให้เป็นไปตามที่ปรากฏในแบบ
    6. ในกรณีที่ใช้เสาเข็มเดี่ยวรองรับใต้เสาโดยตรง
      • ผู้รับเหมาจะต้องแสดงโดยการคำนวณให้ผู้แทนผู้ว่าจ้างเป็นที่พอใจว่า เมื่อเกิดการเฉศูนย์สูงสุดของเสาเข็มดังกล่าวเท่าที่ยอมให้ในบทกำหนดหน่วยแรงสูงสุดในเสาเข็มที่ตอกแล้วนั้นจะต้องมีค่าไม่เกินหน่วยแรงสูงสุดที่จะยอมให้ในบทกำหนดนี้
      • ในกรณีที่หน่วยแรงในเสาเข็มมีค่าเกินค่าที่ยอมให้ดังกล่าว ผู้รับเหมาจะต้องตอกเสาเข็มเพิ่มเติมให้เท่าที่จำเป็นเพื่อให้เป็นไปตามกำหนดนี้ โดยจะเรียกร้องเงินเพิ่มมิได้
         
  • ค. ระบบเสาเข็ม
    1. ในการคำนวณออกแบบเสาเข็มที่ใช้ในงานนี้ ได้กำหนดให้เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ต้นละ..xxx..ตัน ฯลฯ ถ้าไม่มีการกำหนดรายละเอียดอย่างอื่นเกี่ยวกับเสาเข็มไว้ในแบบแล้วผู้ยื่นซองประกวดราคาอาจเสนอใช้เสาเข็มระบบใดก็ได้ที่สามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้เท่าที่กำหนด
    2. ในซองประกวดราคาที่ยื่นนี้ จะต้องมีบทกำหนดรายละเอียดพร้อมทั้งกำหนดวิธีการและแบบซึ่งแสดงรายละเอียดของระบบที่ตนเสนอ ตลอดจนข้อมูลอย่างอื่นให้เพียงพอที่ผู้แทนผู้ว่าจ้างจะสามารถพิจารณาระบบที่เสนอได้ถูกต้อง ทั้งนี้จะต้องไม่มีสิ่งใดที่จะขัดแย้งกับบทกำหนดนี้
    3. ระบบเสาเข็มซึ่งเคยใช้ได้ผลดีเป็นเวลานานแล้วเท่านั้นที่จะได้รับพิจารณา การตัดสินของฝ่ายผู้ว่าจ้างเกี่ยวกับความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาเข็มแต่ละระบบให้ถือเป็นเด็ดขาด
    4. ในกรณีที่ผู้รับเหมานำเสาเข็มซึ่งมีความสามารถรับน้ำหนักได้สูงกว่าที่กำหนดมาใช้ ผู้รับเหมาจะเรียกร้องเงินเพิ่มมิได้
    5. ข้อกำหนด ฯลฯ ซึ่งเสนอมาจะต้องรวมรายละเอียดต่างๆ ตามข้อข้างล่างนี้ ใบเสนอใดที่ไม่มีรายละเอียดต่างๆ ดังกล่าวจะไม่ได้รับการพิจารณา
      • ชนิด ขนาด และระยะความยาวสูงสุดของเสาเข็ม
      • ข้อกำหนดเกี่ยวกับวัสดุทุกชนิดที่จะนำมาใช้เกี่ยวกับสัญญานี้
      • แบบใช้งานแสดงรายละเอียดต่างๆ ของเหล็กเสริมและองค์ประกอบต่างๆ ของเสาเข็มที่เสนอขอใช้
      • วิธีการทำและตอกเสาเข้มตลอดจนการทดสอบด้วยวิธีบรรทุกน้ำหนัก
      • วิธีการป้องกันการไหลเข้ามาของดินและ/หรือน้ำ ในระยะก่อนหรือขณะเทคอนกรีต และขณะถอนปลอก ในกรณีที่ใช้เสาเข็มชนิดเจาะ
      • วิธีเทคอนกรีต และวิธีป้องกันการแยกแยะ
      • ระยะลึกของปลายเสาเข็ม
      • การทดสอบในที่ เพื่อหาระยะจมลึกที่ต้องการของเสาเข็ม
      • สูตรหรือวิธีประมาณค่าความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาเข็มในเรื่องที่เกี่ยวกับระยะตั้ง ระยะจมลึก และคุณสมบัติเกี่ยวกับกำลังของดิน โดยระบุค่าหน่วยแรงใช้งานต่างๆ ตลอดจนความสามารถในการับน้ำหนักสูงสุดของเสาเข็ม
1004 เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก
  •  ก. ทั่วไป   คอนกรีต เหล็กเสริม และไม้แบบสำหรับทำเสาเข็มคอนกรีตจะต้องเป็นไปตามแบบและตามบทกำหนดนี้เกี่ยวกับคอนกรีต โดยมีข้อเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
     
  • ข. การหล่อ
    1. เสาเข็มแต่ละต้น จะต้องหล่อครั้งเดี่ยวต่อเนื่องกัน จะมีร่องรอยไม่ได้
    2. จะต้องหล่อเสาเข็มบนพื้นราบในแบบหล่อ ซึ่งต้องออกแบบแล้วเสนอต่อวิศวกรและ/หรือผู้แทนผู้ว่าจ้างก่อนที่จะลงมือสร้างแบบหล่อนั้นๆ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วจึงจะสร้างได้
       
  • ค. เหล็กรองปลายเสาเข็ม
    1. เหล็กรองปลายเสาเข็มจะต้องทำด้วยเหล็กหล่อชนิดแข็งเย็นเป็นโลหะที่สะอาดสีเทา เหนียว ปราศจากทราย รูพรุน โพรง หรือการชำรุด (ตำหนิ) อื่นๆ โดยมีแถบเหล็กกล้าละมุนยึดเหล็กปลายนั้นกับเหล็กเสริมคอนกรีตตามที่ปรากฎในแบบ จะต้องยึดเหล็กรองปลายเสาเข็มให้อยู่ ณ จุดซึ่งอยู่ในแนวแกนของเสาเข็มพอดี
       
  • ง. การจับยึดโยกย้าย
    1. สำหรับเสาเข้มคอนกรีตเริมเหล็ก
      • หลังจากที่เสาเข็มมีกำลัง 2/3 ของกำลังแท่งกระบอกคอนกรีตที่อายุ 28 วันแล้วก็อาจยกย้ายและนำไปกองได้
      • และหลังจากที่เสาเข็มมีกำลังเท่ากับกำลังแท่งกระบอกคอนกรีตที่อายุ 28 วันแล้ว ก็อาจนำไปตอกได้
      • ผู้รับเหมาจะต้องระมัดระวังอย่างมากในการยกและโยกย้ายเสาเข็มโดยจะต้องใช้ลวดสลิงจับที่รูซึ่งจัดไว้สำหรับยกโดยเฉพาะ
    2. เสาเข็มแต่ละต้น
      • จะต้องทำเครื่องหมายแสดงวันที่ที่หล่อคอนกรีตให้ชัดเจน และ
      • ต้องจัดกองเสาเข็มให้สามารถหยิบเอาเสาเข็มที่ได้อายุเพื่อนำไปตอกโดยไล่เรียงกันอย่างสะดวก
      • การกองเสาเข็มจะต้องได้รบความเห็นชอบจากผู้แทนผู้ว่าจ้างเสียก่อน
         
  • จ. การยืดความยาวของหัวเสาเข็ม
    1. ในกรณีที่จำเป็นต้องเพิ่มความยาวของเสาเข็ม จะต้องขจัดฝ้ากากปูนหัวเสาเข็มที่ตอกลงไปแล้วออกให้หมด และทำผิวให้หยาบ จากนั้นให้เชื่อมคอนกรีตเก่าและใหม่เข้าด้วยกันโดยใช้แท่งเหล็กเดือย และ Epoxy Compound หรือ Bonding Compound อื่นๆ ซึ่งได้รับความเห็นชอบแล้ว ทั้งนี้กำลังของรอยต่อจะต้องไม่น้อยกว่ากำลังส่วนอื่นๆ ของเสาเข็ม
    2. การต่อและเพิ่มความยาวเสาเข็มด้วยวิธีอื่น จะต้องอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิดของวิศวกร หรือผู้แทนผู้ว่าจ้าง
       
  • ฉ. การตัดและสกัดหัวเสาเข็ม
    1. หลังจากได้ตอกเสาเข็มจนถึงระยะที่ตั้งไว้ หรือปลายเสาเข็มถึงระดับที่ต้องการจนเป็นที่พอใจของผู้แทนผู้ว่าจ้างแล้ว แต่ปรากฏว่าหัวเสาเข็มยังโผล่อยู่เหนือระดับซึ่งจำเป็นต้องตัดออกและลากไปทิ้ง จะต้องสกัดคอนกรีตรอบเหล็กเสริมที่หัวเสาเข็มออกที่ระดับเหนือระดับที่ฉาบผิวคอนกรีต 3 เซนติเมตร
       
  • ช. เสาเข็มหล่อเหล็กสำเร็จ
    1. ผู้รับเหมาอาจใช้เสาเข็มชนิดหล่อสำเร็จ เช่นเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงได้ ในกรณีนี้ผู้รับเหมาจะต้องแจ้งต่อผู้แทนผู้ว่าจ้างให้ทราบถึงผู้ผลิตพร้อมด้วยรายละเอียดของเสาเข็มที่เสนอขอใช้ตลอดจนลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าการผลิตเสาเข็มได้สอดคล้องกับบทกำหนดนี้อย่างเคร่งครัดสำหรับการจับยึดโยกย้าย การยืดตามยาว การตัดและสกัดเสาเข็มให้เป็นไปตาม ข้อ 1004 ง. จ. และ ฉ.
1005 การลอยตัว
  •  ทันทีที่ตอกเสาเข็มต้นหนึ่งเสร็จเรียบร้อย จะต้องทำระเบียนเกี่ยวกับระดับหัวเสาเข็มที่ตอกลงไปนั้น และหลังจากตอกต้นข้างเคียงเสร็จหมดแล้ว จะต้องทำการตรวจสอบระดับหัวเสาเข็มอีกครั้งหนึ่ง หากปรากฏว่าเสาเข็มต้นใดลอบตัวขึ้นมา จะต้องตอกกลับลงสู่ระดับเดิมหรือจนกระทั่งถึงระยะที่ตั้งไว้อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้แล้วแต่ผู้แทนผู้ว่าจ้างจะกำหนดโดยทางฝ่ายผู้รับเหมาจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดแต่ฝ่ายเดียว
1006 การรับรองตำแหน่งเสาเข็ม
  • ผู้แทนผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ตรวจสอบตำแหน่งเสาเข็มในระหว่างที่งานดำเนินไป และจะเป็นผู้รับรองขั้นสุดท้าย
  • ภายในสามวันนับแต่การตอกเสาเข็มต้นสุดท้ายได้เสร็จสิ้นลง ผู้รับเหมาจะต้องไม่เคลื่อนย้ายปั้นจั่น และอุปกรณ์อื่นๆ ออกจากสถานที่ก่อสร้างจนกว่าจะได้รับผลการรับรองดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว นอกจากผู้รับเหมาจะเสี่ยงเอง
1007 เสาเข็มทดสอบ
  • ผู้รับเหมาจะต้องทำการทดสอบเสาเข็มขนาด....ตัน จำนวน....ต้น และขนาด....ตัน จำนวน....ต้น

  • เสาเข็มทดสอบ (ซึ่งจะกำหนดตำแหน่งให้ก่อนการทดสอบ) จะต้องสอดคล้องกับบทกำหนดเกี่ยวกับการตอกเสาเข็มนี้ทุกประการ และจะต้องตอกด้วยอุปกรณ์อย่างเดียวกับที่ใช้ตอกเสาเข็มต้นอื่นๆ ในงานเดียวกันนี้ และ

  • จะต้องทำการทดสอบตามที่ระบุในหัวข้อ “การทดสอบบรรทุกน้ำหนัก”

  • วิธีการทดสอบให้เป็นไปตามข้อ 1008 ก. หรือตามที่วิศวกรจะเป็นผู้กำหนด

1008 การทดสอบบรรทุกน้ำหนัก
  • หลังจากที่ได้ตอกเสาเข็มทดสอบแล้ว ผู้รับเหมาจะต้องจัดทำการทดสอบการบรรทุกน้ำหนักตามที่ปรากฏในบทกำหนดนี้ และจะต้องเสนอรายละเอียดของเครื่องมือที่จะใช้ในการทดสอบ
  • เครื่องมือที่ใช้จะต้องสามารถเพิ่มน้ำหนักบรรทุกได้ โดยไม่ทำให้เกิดความสั่นสะเทือนต่อเสาเข็มทดสอบ
  • ผู้รับเหมาจะต้องเป็นผู้จัดหาเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับใช้อ่านค่าน้ำหนักบรรทุกที่กดลงบนเสาเข็ม และอ่านค่าการทรุดตัวของเสาเข็มเมื่อเพิ่มน้ำหนักบรรทุกแต่ละครั้งได้อย่างละเอียดทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบเสียก่อน
  • เครื่องมือที่ใช้จะต้องมีสมรรถนะใช้งานอย่างน้อยสามเท่าของค่าน้ำหนักบรรทุกที่ออกแบบไว้สำหรับเสาเข็มที่จะทดสอบที่ระบุไว้ในแบบ
  • จุดที่ใช้เทียบในการวัดการทรุดตัวของเสาเข็มจะต้องอยู่ห่างจากเสาเข็มให้เพียงพอที่จะไม่มีโอกาสเกิดการกระทบกระเทือนใดๆ ได้ (ควรใช้เสาเข็มที่ตอกถาวรซึ่งมีขนาดและชนิดเดียวกับเสาเข็มทดสอบ ถ้าทำได้)
  • การวัดการทรุดตัวของเสาเข็มเมื่อรับน้ำหนักบรรทุกจะต้องกระทำโดยใช้เครื่องมือที่มีความละเอียดสูง เช่นมาตรคู่ตรึงติดกับคานและตรวจสอบระดับโดยผู้แทนผู้ว่าจ้าง
  • จะต้องทำหัวเสาเข็มทดสอบให้ได้ระดับหรือหล่อคอนกรีตครอบไว้เพื่อให้พื้นที่ที่จะรองรับน้ำหนักกดอยู่ในระนาบราบ จากนั้นจะต้องวางแผ่นเหล็กบนหัวเสาเข็มอีกทีหนึ่ง
  • จะต้องทดสอบการบรรทุกน้ำหนักของเสาเข็มทดสอบหลังจากได้ตอกไปแล้วระหว่าง 3 ถึง 15 วัน

     
  • ก. วิธีการทดสอบการบรรทุกน้ำหนักของเสาเข็ม
    1. การทดสอบให้กระทำเป็น 2 ชุด คือชุดแรกให้บรรทุกน้ำหนักถึงค่าที่กำหนดไว้แล้วลดลงเหลือศูนย์ และชุดที่ 2 ให้บรรทุกน้ำหนักใหม่จากศูนย์จนถึงจุดประลัย หรือ 2.5 เท่า ดังรายละเอียดต่อไปนี้
       
      • (1) ชุดที่ 1 ให้บรรทุกน้ำหนักให้เท่ากับที่คำนวณออกแบบไว้ โดยให้เพิ่มน้ำหนักเป็นขั้นๆ ดังนี้ 20%, 50%, 75%, และ 100% ในแต่ละขั้นของน้ำหนักที่เพิ่มให้ใช้อัตราเพิ่มประมาณ 1 มิลลิเมตรต่อนาที อ่านค่าทรุดตัวของเสาเข็มที่ 1,2,4,8,15,30,60,90,120,180,240, นาที และทุกๆ 2 ชั่วโมง ให้ละเอียดถึง 0.01 มิลลิเมตรเป้นอย่างน้อย การเพิ่มน้ำหนักแต่ละขั้นจะกระทำได้ต่อเมื่ออัตราการทรุดตัวลดลงถึง 0.30 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง แต่ต้องมีเวลาของการบรรทุกน้ำหนักชั้นนั้นๆ ไม่น้อยกว่า 60 นาที

        ที่น้ำหนักทดสอบ 100% ต้องรักษาน้ำหนักที่บรรทุกไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง จากนั้นให้ลดน้ำหนักทดสอบทุกๆ ชั่วโมง และเป็นขั้นๆ ดังนี้ 40%, 25%, 0% โดยบันทึกค่าคืนตัว (Rebound) ของเสาเข็มที่1,2,4,8,15,30,45, และ 60 นาที และที่น้ำหนัก 0% ให้บันทึกต่อไปทุกๆ ชั่วโมงจนกระทั่งค่าของการคืนตัวคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง
         

      • (2) ชุด 2 ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานวิธีการมดสอบการบรรทุกน้ำหนักของ ว.ส.ท. โดยให้กดเสาเข็มทดสอบด้วยวิธีใช้แม่แรงกดในอัตราสม่ำเสมอคือ 0.75 ถึง 1 มิลลิเมตร ต่อนาที และให้บันทึกเวลา ระยะที่จม และแรงกดเป็นช่วงเท่าๆ กันของการเคลื่อนไหวของหัวเสาเข็ม ให้ปรับอัตราการกดแม่แรงโดยอ่านค่าที่ได้ในช่วงเวลาเท่าๆ กัน การบรรทุกน้ำหนักจะต้องดำเนินตั้งแต่น้ำหนักบรรทุกเท่ากับศูนย์ไปจนกระทั่งเสาเข็มประลัย หรือจนกระทั่งถึงขีดสูงสุดของอุปกรณ์ที่ใช้บรรทุกน้ำหนักแล้วแต่อย่างใดอย่างหนึ่งจะเกิดขึ้นก่อน เสาเข็มจะเรียกว่าประลัยเมื่อการทรุดตัวได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหรือน้ำหนักกดตกลงอย่างมากในขณะที่อัตราการทรุดตัวของเสาเข็มคงที่ ในกรณีที่ผู้ว่าจ้างไม่ต้องการทดสอบเสาเข็มถึงจุดประลัย ก็ให้ยุติการทดสอบขั้นที่ 2 นี้ได้เมื่อบรรทุกน้ำหนักได้ 2.5 เท่าของค่าที่คำนวณออกแบบไว้เป็นเวลาอีก 24 ชั่วโมง
         
      • (3) เมื่อการทดสอบสิ้นสุดลง ให้นำน้ำหนักบรรทุกออกให้หมด และหากวิศวกรเห็นว่าเสาเข็มทดสอบหรือเสาเข็มสมออยู่ในสภาพไม่ดีพอ วิศวกรอาจสั่งให้ถอนนออกหรือให้ตัดจนระดับหัวเสาเข็มอยู่ต่ำกว่าระดับดินและฐานรากแล้วแต่กรณี
         
      • (4) หากปรากฏจากผลการทดสอบว่า เสาเข็มที่ทดสอบรบน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยได้น้อยกว่าที่คำนวณออกแบบไว้ ผู้รับเหมาจะต้อง ใช้เสาเข็มที่ยาวกว่านั้นตามคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรจากวิศวกร โดยจะเรียกร้องเงินเพิ่มจากผู้ว่าจ้างไม่ได้
         
  • ข. รายงาน

 หลังจากที่การทดสอบการบรรทุกน้ำหนักได้เสร็จสิ้นแล้ว ผู้รับเหมาจะต้องส่งรายงานผลการทดสอบเข็มนั้นจำนวน 5 ชุดต่อวิศวกร โดยลงรายละเอียดดังต่อไปนี้

                        (1) รายละเอียดของเสาเข็ม และระเบียนการตอกซึ่งรวมถึงจำนวนครั้งที่ตุ้มตอกต่อเมตรตลอดความยาวเสาเข็ม และระยะที่เสาเข็มจมลงในการตอก 10 ครั้ง สามชุดสุดท้าย

                        (2) รายละเอียดเกี่ยวกับตุ้มและอัตราการปฏิบัติงานจริงๆ ในระหว่างการตอกเสาเข็มทดสอบนี้

                        (3) ตารางแสดงค่าน้ำหนักบรรทุกและการทรุดตัวที่อ่านได้ในระหว่างการบรรทุก และการลดน้ำหนักที่กระทำบนเสาเข็ม

                        (4) กราฟและผลการทดลองในรูปของเวลา-น้ำหนักบรรทุก-การทรุดตัว

                        (5) หมายเหตุเกี่ยวกับสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นในระหว่างการตอกหรือการบรรทุกน้ำหนักของเสาเข็ม

                        (6) รายงานผลการทดสอบเสาเข็ม จะต้องได้รับการลงนามรับโดยวิศวกร

  • ค. การยกเลิกการทดสอบเสาเข็ม

ในกรณีที่การทดสอบเสาเข็มจำเป็นต้องหยุดชะงักด้วยเหตุผลดังนี้

                        (1) แม่แรงหรือมาตรวัดชำรุด

                        (2) การยึดกับเสาเข็มสมอไม่เพียงพอหรือไม่มั่นคงพอ

                        (3) หัวเสาเข็มร้าวหรือชำรุด หรือ

                        (4) การตั้งระดับพื้นฐานไม่ถูกต้อง

            ให้ยกเลิกการทดสอบ และผลการทดสอบนั้นๆ เสียและดำเนินการทดสอบการบรรทุกน้ำหนักอีกชุดหนึ่งตามคำแนะนำของวิศวกรหรือผู้แทนผู้ว่าจ้าง โดยผู้รับเหมาจะต้องออกค่าใช้จ่ายในการนี้เองทั้งสิ้น

  • ง. ความประลัยของเสาเข็ม

             (1) เสาเข็มจะถือว่าประลัยเมื่อเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้

                                    (ก) ส่วนหนึ่งส่วนใดของเสาเข็มโก่ง แตก หรือบิดเบี้ยวจากรูปเดิมหรือแนวหรือตำแหน่งเดิม

                                    (ข) ระยะทรุดตัวสูงสุดที่หัวเสาเข็มเกิน 12 มิลลิเมตร เมื่อรับน้ำหนักได้ 2 เท่าของน้ำหนักบรรทุกใช้งานเป็นเวลา 24 ชั่วโมง หรือระยะทรุดคงตัวหลังจากการคืนตัวเมื่อลดน้ำหนักบรรทุกออกหมดแล้วมีค่าเกิน 6 มิลลิเมตร

                                    (ค) เมื่อมีการกระทบกระเทือนต่อระดับ มาตรวัด หรือระดับพื้นฐาน

            (2) เสาเข็มทดสอบที่นำไปใช้งานจริงๆ ต้นใดที่ประลัยแล้ว ผู้รับเหมาจะต้องตอกเพิ่มให้สองต้นที่มีความสามารถรับน้ำหนักเท่ากับต้นที่ประลัยแล้วตามข้อแนะนำของผู้แทนผู้ว่าจ้าง โดยผู้รับเหมาต้องออกค่าใช้จ่ายเองทั้งสิ้น และผู้รับเหมาจะต้องจัดการทดสอบเสาเข็มเพิ่มเติมอีก 2 ต้น โดยค่าใช้จ่ายทั้งหมดเป็นของผู้รับเหมา ทั้งนี้ให้เป็นไปตามข้อแนะนำของผู้แทนผู้ว่าจ้าง นอกจากนั้นผู้รับเหมาจะต้องจัดการตอกเสาเข็มเพิ่มเติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเสาเข็มและงานฐานรากที่ต้องเพิ่มขึ้นเนื่องจากการที่เสาเข็มประลัย ทั้งนี้ให้เป็นไปตามข้อแนะนำของผู้แทนผู้ว่าจ้าง โดยจะเรียกร้องเงินเพิ่มมิได้

  • จ. ความสามารถในการรับน้ำหนักปลอดภัยของเสาเข็ม

ค่าน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยที่ยอมให้ของเสาเข็มทดสอบให้คิดตามเกณฑ์ต่อไปนี้

            (1) ร้อยละ 40 ของน้ำหนักบรรทุกซึ่งทำให้เกิดการทรุดตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยที่น้ำหนักบรรทุกไม่เปลี่ยนแปลง หรือ ณ จุดที่น้ำหนักบรรทุกทดสอบค่อยๆ ลดลงหรือยู่คงที่ในขณะที่เสาเข็มทรุดตัวในอัตราสม่ำเสมอ

            (2) ร้อยละ 40 ของน้ำหนักบรรทุก ณ จุดที่การทรุดตัวทั้งหมดมีค่าเท่ากับ 0.25 มิลลิเมตรต่อตัน (1000 กิโลกรัม) ของน้ำหนักบรรทุกที่กระทำอยู่

            (3) ร้อยละ 40 ของน้ำหนักบรรทุกที่จุดตัดกันระหว่างเส้นสัมผัสสองเส้น ซึ่งลากจากส่วนที่เป็นเส้นตรงของกราฟระหว่างน้ำหนักบรรทุกกับระยะทรุดตัว ทั้งนี้แล้วแต่ว่าค่าไหนจะน้อยกว่ากัน

1009 การยกย้าย  
เมื่อมีการยกหรือขนย้ายเสาเข็มคอนกรีต ผู้รับเหมาจะต้องจัดหาอุปกรณ์ที่จะไม่ทำให้เกิดการโก่งมากเกินไปหรือทำให้คอนกรีตร้าว
เสาเข็มที่ชำรุดในขณะยกหรือตอกจะต้องเปลี่ยนใหม่ ในการยกย้ายจะต้องระมัดระวังอยู่เสมอมิให้ขอบแตก
1010 อุปกรณ์ตอกเสาเข็ม

            ก. ให้ตอกเสาเข็มโดยใช้ตุ้มปล่อยธรรมดา แต่หากจะใช้ตุ้มซึ่งใช้ไอน้ำ หรือลม หรืออื่นๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวิศวกรก่อน

            ข. ถ้าลักษณะการตอกซึ่งอาจทำให้เสาเข็มชำรุดเสียหายได้ จะต้องป้องกันหัวเสาเข็มโดยใช้หมวกครอบตามแบบซึ่งได้รับอนุญาตแล้ว

            ค. น้ำหนักของตุ้มที่ตอกจะใช้ต้องได้รับความเห็นชอบจากวิศวกรก่อน

            ง. จะต้องกำหนดระยะยกของตุ้มไม่ให้มากเกินไปจนอาจทำให้เสาเข็มเสียหายได้ และไม่ว่ากรณีใดจะสูงเกิน 2.00 เมตร ไม่ได้

1011 การตอก

           ก. จะนำเสาเข็มคอนกรีตที่ยังมีกำลังไม่ถึงตามที่กำหนดมาตอกก่อนไม่ได้ วิศวกรจะต้องได้รับแจ้งอย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนเริ่มการตอก และจะตอกเสาเข็มให้ถึงความลึกตามที่กำหนด และจะต้องตอกตามลำดับซึ่งวิศวกรเห็นชอบแล้ว การตอกเสาเข็มทุกต้นจะต้องกระทำต่อเนื่องกันโดยไม่มีการหยุดชะงักจนกว่าเสาเข็มจะจมถึงความลึกหรือได้จำนวน Blow Counts ตามที่ต้องการ

            ข. ต้องใช้อุปกรณ์และวิธีการยกเสาเข็มซึ่งดีพอที่จะวางเสาเข็มได้ตำแหน่ง และแนวที่ถูกต้อง วัสดุรองหัวเสาเข็มจะต้องเลือกใช้ และออกแบบที่จะทำให้การสูญเสียพลังงานเหลือน้อยที่สุด

            ค. การตอกเสาเข็มจะต้องตอกให้ตรงศูนย์ ระยะมากที่สุดที่ปลายเสาเข็มจะผิดจากเส้นดิ่งจากหัวสาเข็มจะต้องไม่เกิน 0.1% ของความยาวเสาเข็ม หากเสาเข็มต้นมดตอกออกนอกเส้นดิ่งเกิน 0.1% ของความยาวเสาเข็ม จะต้องดัดแปลงแบบฐานรากใหม่เพื่อให้สามารถรับแรงแนวดิ่ง และแรงแนวราบที่จะเกิดขึ้นได้ การดัดแปลงนี้ผู้รับเหมาจะต้องเป็นผู้กระทำโดยจะเรียกเงินเพิ่มจากเจ้าของอีกไม่ได้

            ง. ไม่ว่าในกรณีใดก็ตามระยะมากที่สุดที่ยอมให้เสาเข็มตอกผิดจากตำแหน่งที่กำหนดไว้ต้องไม่เกิน 5 เซนติเมตร โดยวัดขนานกับแกนโคออร์ดิเนททั้ง 2 แกน ณ ระดับหัวเสาเข็มใช้งาน หากเกินนี้จะต้องทำการดัดแปลงแบบใหม่ โดยผู้รับเหมาต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการนี้ทั้งสิ้น

1012 ระเบียนการตอกเสาเข็ม

            ก. ในระหว่างการตอกเสาเข็ม ผู้ตรวจงานและผู้รับหมาจะต้องเก็บระเบียนการตอกและการจัดตำแหน่งเสาเข็มทุกต้นไว้คนละฉบับ และจะต้องส่งระเบียนเป็นผลงานประจำวันให้กับวิศวกรภายใน 24 ชั่วโมง

            ข. ระเบียนจะต้องประกอบด้วยข้อมูลต่อไปนี้

                        (1) วันที่ตอก

(2) ชนิดของเสาเข็ม

                        (3) จำนวนเสาเข็ม

                        (4) ความลึกที่ตอก

                        (5)  ลำดับการตอกในแต่ละกลุ่ม

                        (6) จำนวนครั้งที่ตอกสำหรับ 10 เซนติเมตร สามชุดสุดท้ายหรือระยะที่จมของเสาเข็ม เมื่อตอก 10 ครั้ง สามชุดสุดท้าย

                        (7) ชนิดละน้ำหนักของตุ้มที่ใช้ตอก

                        (8) ชนิดและสภาพของวัสดุที่ใช้รองหัวเสาเข็ม

                        (9) ระยะตกของตุ้มหรือพลังงานที่ใช้ตอกตุ้ม

                        (10) ความยาวที่ต้องต่อหรือตัดออก

                        (11) ความยาวจริง

                        (12) ความยาวที่โผล่ในฐานราก

                        (13) รายละเอียดของการติดขัดในการตอก

                        (14) รายละเอียดในการตอกใหม่

            ค. เมื่อเสร็จการตอก ผู้รับจ้างจะต้องส่งแบบระเบียนความลึกสุดท้ายของเข็มทุกต้นเทียบกับระดับที่ใช้อ้างอิงต่อวิศวกร

1013 เสาเข็มเสีย

            ก. วิธีการที่ใช้ในการตอกเสาเข็มจะต้องไม่ทำให้คอนกรีตแตกร้าว หรือบิ่นมากจนเกินไป การฝืนเสาเข็มให้เข้าสู่ตำแหน่งที่ถูกต้อง หากวิศวกรเห็นว่ามากเกินไปก็อาจไม่ยอมให้กระทำได้ หากปรากฏว่าเสาเข็มต้นใดผลิตขึ้นมาไม่ถูกต้องตามข้อกำหนด หรือเสียหายในขณะตอกเนื่องจากการชำรุดของตัวเสาเข็มเอง หรือจากการตอกไม่ถูกวิธี หรือตอกผิดตำแหน่ง หรือตอกจมต่ำกว่าระดับที่ระบุในแบบหรือกำหนดโดยวิศวกรก็ตามให้ถือว่าเสาเข็มนั้นเสีย และจะต้องตอกเสาเข็มเพิ่มอีก 1 หรือหลายต้นเป็นการทดแทนทั้งนี้แล้วแต่วิศวกรและ/หรือผู้แทนผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้กำหนด โดยผู้รับเหมาจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น

            ข. หากผู้แทนผู้ว่าจ้างเห็นว่าจำเป็นต้องมีการดัดแปลงเสาเข็ม แป้นหัวเสาเข็ม หรือคานอันเป็นเหตุมาจากการก่อสร้างที่ไม่ถูกต้อง ผู้รับเหมาจะต้องเป็นผู้จ่ายค่าต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นนี้ทั้งหมดและจะต้องปฏิบัติตามข้อแก้ไขดัดแปลงตามที่วิศวกรและ/หรือผู้แทนผู้ว่าจ้างกำหนดทุกประการ

            ค. หากปรากฏว่าเสาเข็มมีรอยแตกซึ่งมองเห็นด้วยตาเปล่า หรือชำรุดใดๆ ซึ่งวิศวกรลงความเห็นว่าจะกระทบกระเทือนต่อกำลังหรืออายุของเสาเข็มแล้ว ให้ถือว่าเสาเข็มนั้นเสีย

1014 การตัดเสาเข็ม

            ก. ให้ตัดเสาเข็มคอนกรีตที่ระดับซึ่งจะทำให้หัวเสาเข็มโผล่เข้าไปในแป้นหัวเสาเข็ม หรือฐานรากตามที่ระบุในแบบ ในการตัดเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงชนิดหล่อสำเร็จจะต้องพยายามมิให้ส่วนที่อยู่ใต้รอยตัดแตก หรือชำรุดเสียหาย หากเกิดการชำรุดเสียหายดังกล่าวขึ้น จะต้องทดแทนหรือซ่อมแซมตามที่วิศวกรจะเป็นผู้กำหนด

            ข. ในกรณีที่ตอกหรือตัดเสาเข็มที่ระดับต่ำกว่าระระดับล่างสุดของแป้นหัวเสาเข็ม จะต้องต่อเสาเข็มคอนกรีตขึ้นมาเพื่อให้ได้ระดับที่ต้องการโดยหล่อเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือวิธีอื่นตามข้อแนะนำของวิศวกร

            ค. ส่วนของเสาเข็มที่ตัดออกให้ถือเป็นสมบัติของผู้รับเหมา และหากวิศวกรอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรก็อาจทิ้งส่วนของเสาเข็มที่ตัดออกนี้ไว้ในสถานที่ก่อสร้างได้ มิฉะนั้นจะต้องนำออกไปให้พ้นจากสถานที่ก่อสร้าง

1015 การจ่ายเงิน

            จะไม่มีการจ่ายเงินสำหรับเสาเข็มที่ตอกไปโดยพละการ เสาเข็มเสีย ไม่แข็งแรง หรือเสาเข็มที่ตอกไม่ดี

1016 เสาเข็มเจาะหล่อในที่ระบบแห้ง

            ก. รูเจาะ

                        (1) ผนังภายในรูเจาะจะต้องผนึกแน่น จะปล่อยให้วัสดุหลุดลงไปในก้นรูไม่ได้

                        (2) ก้นรูเจาะจะต้องแห้ง สะอาด แน่น และปราศจากวัสดุที่ร่วน หรือวัสดุที่ทำให้อ่อนตัวจนมีกำลังเฉือนต่ำกว่าค่าของตัวอย่างซึ่งเป็นค่าที่ใช้ในการคำนวณหาความลึกของรูที่เจาะ ก้นรูจะต้องได้ระดับพอสมควร

                        (3) จะต้องทำความสะอาดก้นรู้ด้วยวิธีใดๆ ก็ตามที่ได้รับอนุมัติแล้ว และจะต้องได้รับการตรวจและเห็นชอบจากผู้แทนผู้ว่าจ้างเสียก่อน จึงจะได้รับอนุญาตให้เทคอนกรีตได้

                        (4) ผู้รับเหมาจะต้องจัดหาอุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยทุกชนิด ตลอดจนอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อให้ผู้แทนผู้ว่าจ้างหรือผู้แทนสามารถเข้าไปตรวจสอบงานด้วยความปลอดภัย

            ข. คอนกรีตในคอนกรีตเสาเข็ม

                        (1) คอนกรีตที่ใช้ในเสาเข็มจะต้องมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดว่าด้วยคอนกรีตและนอกเหนือจากเกณฑ์กำหนดต่างๆ สำหรับคอนกรีตธรรมดาแล้ว คอนกรีตในเสาเข็มจะต้องสอดคล้องตามข้อต่างๆ ต่อไปนี้ด้วยคือ

                                    ก. ก้นรูจะต้องแห้งสนิทเมื่อจะเทคอนกรีต ยกเว้นในกรณีที่น้ำดินมีปริมาณมากจนไม่อาจจะกำจัดได้หมด

                                    ข. หลังจากที่รูเจาะได้รับการตรวจสอบและอนุมัติแล้ว และทันทีก่อนที่จะเทคอนกรีตจะต้องเทมอร์ต้าปูนทรายในอัตราส่วน 1:11/2 โดยน้ำหนักลงในรูเจาะจนได้ความลึกไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร

                                    ค. การเทคอนกรีตในเจาะให้กระทำโดยวิธีใช้กรวยที่มีท่อปล่อยมีขนาดพอเหมาะ และยาวไม่น้อยกว่า 2 เมตร หรือใช้ปล่องเท หรือวิธีอื่น โดยต้องระวังอย่างยิ่งที่จะไม่ให้เกิดการแยกแยะขัน ห้ามมิให้ปล่อยคอนกรีตจากปากรูเจาะโดยตรงเป็นอันขาด

                                    ง. ขณะเทคอนกรีตเสาเข็มหรือขณะถอนปลอก ห้ามมิให้น้ำผิวดินหรือเศษสิ่งของใดๆ หล่นเข้าไปในรูเจาะได้ ต้องระวังน้ำใต้ดินมิให้ไหลเข้าไปในรูเจาะด้วย ยกเว้นในกรณีที่น้ำนั้นมีปริมาณมากจนเกินกว่าที่จะเอสออกได้ทัน

                                    จ. เมื่อรูเจาะได้รับการตรวจสอบและอนุมัติแล้วให้ดำเนินการเทคอนกรีตทันทีและไม่ว่ากรณีใดต้องเทภายใน 2 ชั่วโมง หากปรากฏว่าเกิดการล่าช้าจนเป็นเหตุให้รูที่เจาะอ่อนตัวหรือเสียหาย ผู้รับเหมาจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในงานต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากการล่าช้านี้ตามแต่ผู้ว่าจ้างจะเห็นสมควรให้แก้ไข

                                    ฉ. การเทคอนกรีตเสเข็มนี้แต่ละต้นจะต้องเทต่อเนื่องกันจะหยุดชะงักไม่ได้

                                    ช. คอนกรีตเสาเข็มจะต้องใช้ส่วนผสมที่ถูกต้อง โดยมีค่าการยุบตัวระหว่าง 10 ถึง 15 เซนติเมตร

                                    ซ. จะต้องเสริมกรงเหล็กดังกล่าวให้อยู่ตรงกลางรูเจาะ และยึดให้แน่นหนาเพื่อที่ขณะเทคอนกรีตกรงเหล็กจะไม่ขยับเขยื้อน

                                    ฌ. จะต้องยึดกรงเหล็กดังกล่าวให้อยู่ตรงกลางรูเจาะ และยึดให้แน่นหนาเพื่อที่ขณะเทคอนกรีตเหล็กจะไม่ขยับเขยื้อน

                                    ฎ. ในระหว่างการทำเสาเข็มหรือเมื่อทำเสาเข็มเสร็จแล้ว ผู้แทนผู้ว่าจ้างอาจจะเลือกเสาเข็มใช้งาน 6 ต้น หรือมากกว่านั้นหากปรากฏจากระเบียนว่าเสาเข็มมีประวัติที่แสดงว่าเสาเข็มนั้นๆ อาจมีความสามารถในการรับน้ำหนักต่ำกว่าที่กำหนด ซึ่งวิศวกรผู้ออกแบบจะเป็นผู้ชี้ขาดให้ผู้รับเหมาเจาะเอาแก่นคอนกรีตขนาดผ่าศูนย์กลาง 3.8 เซนติเมตร (11/2 นิ้ว ) เพื่อนำไปทดสอบ โดยเริ่มที่ระดับหัวเสาเข็มเจาะลงไปจนสุดความลึกของแก่น จากนั้นผู้รับเหมาจะต้องอุดรูที่เจาะนั้นด้วยน้ำซีเมนต์อัด (Grout) หรือวัสดุอื่นที่มีคุณภาพเทียบเท่าโดยใช้แรงดันช่วย ผู้แทนผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้เลือกชิ้นตัวอย่างขนาดยาว 7.62 ซม. (3 นิ้ว) 2 ชิ้นจากเสาเข็มแต่ละต้น  เพื่อนำไปทดสอบ Unconfined Compressive strength ณ ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองแล้ว และชิ้นตัวอย่างแต่ละชิ้นจะต้องมีกำลังอัดเสรีไม่น้อยกว่า 210 กก/ซม.2 เสาเมต้นใดที่มีค่า Recovery ของแก่นน้อยกว่าร้อยละ 100 หรือแก่นที่มี Unconfined Compressive strength น้อยกว่า 210 กก/ซม.2 จะถือว่า เสาเข็มนั้นได้ทำขึ้นโดยไม่ถูกต้อง และจะต้องทิ้งไปหรือซ่อมแซมตามข้อแนะนำของผู้แทนผู้ว่าจ้าง ทั้งนี้ ผู้รับเหมาจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการนี้ทั้งหมด ยิ่งกว่านั้นผู้รับเหมาจะต้องเจาะเอาแก่นจากเสาเข็มอีก 2 ต้นแล้วนำไปทดสอบตามที่กำหนดข้างต้นโดยคำแนะนำของผู้แทนผู้ว่าจ้าง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดตกเป็นของผู้รับเหมาแต่ฝ่ายเดียว สำหรับขนาดแก่นอาจใช้ขนาดใหญ่กว่านี้ได้ แต่จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้แทนผู้ว่าจ้างก่อน

            ค. ปลอก

            (1) เสาเข็มซึ่งหล่อในที่มีน้ำมากพอที่จะกระทบกระเทือนต่อการเจาะรูหรือต่อความมั่นคงของรูที่เจาะ หรือเจาะในชั้นดินซึ่งเป็นโคลนเม็ดโตๆ  หรือดินเหนียวที่ไม่คงตัว จะต้องใช้ปลอก (Casing) ชั่วคราวตอกให้ลึกมากพอที่จะป้องกันน้ำในดิน หรือเพื่อให้เป็นที่รองรับด้านข้างป้องกันการทะลายของผนังรูเจาะ และเพื่อให้การเจาะดำเนินไปด้วยความสะดวก

 

            (2) ผู้รับเหมาจะต้องรับผิดชอบต่อการป้องกันการพังทะลายของดินส่วนที่ขุดก่อนที่จะเทคอนกรีตและก่อนทีคอนกรีตจะก่อตัว และไม่มีการชดเชยเงินให้ในกรณีที่ต้องว่าจ้างการตอกปลอกชั่วคราวและ/หรือถาวรที่จำเป็นในการนี้หรือการอื่นใด หรือปลอกเหล็กที่ต้องทิ้งไว้ในดินไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม

            (3) ไม่ว่าจากเหตุผลใดก็ตาม หากปรากฏว่ามีความจำเป็นที่จะต้องใช้ปลอกชั่งคราวซึ่งมีขนาดใหญ่ว่าที่กำหนดไว้ จะต้องเทคอนกรีตในปลอกนั้นจนเต็มพื้นที่หน้าตัดของปลอกชั่วคราวนั้นแต่การจ่ายเงินจะถือจากขนาดที่กำหนดเดิมเป็นเกณฑ์

            (4) ในกรณีที่ดินข้างใต้เกิดพังทะลายลงบางส่วน หรือทั้งหมดในรูเจาะส่วที่มิได้ใช้ปล่อยเหล็กในระหว่างการขุดหรือเมื่อขุดเสร็จแล้ว ผู้รับเหมาจะต้องแจ้งให้ผู้แทนผู้ว่าจ้างทันที และจะต้องปฏิบัติตามข้อแนะนำของผู้แทนผู้ว่าจ้างในการซ่อมแซมแก้ไข ค่าใช้จ่ายใดๆ ที่เกิดจากการพังทลายดังกล่าวจะตกอยู่กับผู้รับเหมาแต่ผู้เดียว

            ง. ระเบียนสำหรับเสาเข็มหล่อในที่แบบแห้ง

            ผู้รับเหมาจะต้องทำระเบียนของเสาทุกต้นและจะต้องจัดทำให้ผู้แทนผู้ว่าจ้าง 2 ชุดภายหลังงานเสาเข็มนั้นเสร็จไม่เกิน 48 ชั่วโมง ในการทำรพเบียนจะต้องใช้แบบฟอร์มที่ได้รับอนุมัติให้ใช้ได้เท่านั้น และจะต้องบันทึกข้อมูลต่างๆ ของเสาเข็มแต่ละต้นดังต่อไปนี้

            (1) วัน เดือน ปี

            (2) หมายเลขเสาเข็ม

            (3) ระดับดิน

            (4) ระดับตัดเสาเข็ม

            (5) ระดับของดินทรายแน่น

            (6) ระดับปลายของรูเจาะหรือส่วนล่างสุดที่ผายออก

            (7) เส้นผ่าศูนย์กลางของรูเจาะ

            (8) ความเบี่ยงเบนที่ระดับตัดเสาเข็ม และระดับก้นฐานรากของศูนย์กลางเสาเข็มจากตำแหน่งที่ถูกต้อง

            (9) ความยาวของปลอก

            (10) ระดับดินข้างเคียงก่อนและหลังการถอนปลอก

            (11) ปูมแสดงระดับน้ำใต้ดินและรายละเอียดของชั้นดินที่เจาะลงไป

            (12) รายละเอียดของอุปสรรคและความล่าช้า

            (13) ผลการทดสอบใดๆ ของดินในรูเจาะ (ถ้ามี)

            (14) รายละเอียดของปรากฏการณ์ใดๆ ที่ผิดปกติระหว่างงานทำเสาเข็ม

            (15) ข้อมูลอื่นๆ ซึ่งทางผู้แทนผู้ว่าจ้างต้องการ

1017 เสาเข็มเจาะในที่ระบบเปียก

            ก. รูเจาะ

            1. ผนังภายในของรูเจาะจะต้องผนึกแน่น จะปล่อยให้วัสดุเช่นดินข้างผนังทะลายหรือหลุดร่วงลงไปก้นรูไม่ได้ ในส่วนที่อยู่ในชั้นดินอ่อนมากจะต้องใช้ปลอกเหล็กชั่วคราวกันดินพังและขุดดินโดยไม่ต้องใช้น้ำช่วย เมื่อขุดถึงชั้นดินแข็งไม่จำเป็นต้องใช้ปลอกเหล็กแล้ว ก็อาจใช้น้ำหรือน้ำผสมสารเช่น Betonies เพื่อป้องกันดินผนังรูเจาะ

            2. ก้นรูเจาะจะต้องปราศจากตะกอนที่มีปริมาณมากจนทำให้คอนกรีตส่วนที่จะเป็นปลายเสาเข็มมีกำลังต่ำกว่าที่กำหนด

            3. ก่อนที่จะได้รับอนุญาตให้เทคอนกรีต รุเจาะจะต้องได้รับการตรวจสอบตำแหน่งความเฉศูนย์ ความดิ่ง ความลึก ตลอดจนความสะอาดของรูก้นเสียก่อน

            4. คุณสมบัติของน้ำผสมสารป้องกันผนังรูเจาะพังทลาย :-

                 ชนิด เช่น Betonies ปริมาณ 2-6% โดยน้ำหนัก

                 ความแน่น 1.05-1.2 ตัน/ม3

                 ค่า Viscosity 30-90 วินาที (March’s Cone Test)

                 ปริมาณทรายในน้ำผสมสารต้องไม่เกิน 5%

            5. ผู้รับเหมาจะต้องจัดหาอุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยทุกชนิด ตลอดจนอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อให้ผู้แทนผู้ว่าจ้างสามารถเข้าไปตรวจงานด้วยความปลอดภัย

            ข. งานคอนกรีตเสริมเหล็กเสาเข็ม

            คอนกรีตที่ใช้ในเสาเข็มจะต้องมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดว่าด้วยคอนกรีต ยกเว้นค่าการยุบ และนอกเหนือจากเกณฑ์ที่กำหนดต่างๆ สำหรับคอนกรีตธรรมดาแล้ว คอนกรีตในเสาเข็มจะต้องสอดคล้องตามข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้ด้วยคือ

                        ก. การเทคอนกรีตในรูเจาะให้กระทำโดยวีใช้กรวยต่อกับท่อเท (Termite pipe) ที่มีขนาดพอเหมาะ ขณะจะเทคอนกรีตครั้งแรก ปลายของท่อจะต้องอยู่ชิดกับก้นรูเจาะให้มากที่สุดเท่าที่คอนกรีตจะไหลออกได้สะดวก เมื่อเทคอนกรีตไปจำนวนหนึ่งแล้วปลายท่อจะต้องจมลึกอยู่ในคอนกรีตมากพอที่จะทำให้คอนกรีตที่เทตามลงไปใหม่ไม่ขึ้นไปอยู่ผิวบน ท่อเทแต่ละท่อนจะต้องต่อกันสนิทแน่นไม่ให้น้ำไหลผ่านทางข้างรอยต่อได้

                        ข. ก่อนเทคอนกรีต จะต้องใช้วัสดุ เช่น ลูกยาง โพ้น หรือวัสดุอื่นที่เหมาะสมปิดปากท่อ เพื่อป้องกันไม่ให้คอนกรีตผสมกับน้ำในรูเจาะ แต่คอนกรีตในท่อค่อยๆ ดันวัสดุที่ปิดนั้นลงไปออกที่ปลายท่อ แล้วกลับขึ้นมาอยู่ที่ผิวบนของคอนกรีต

                        ค. เมื่อรูเจาะได้รับการตรวจและอนุมัติแล้ว ให้รีบนำกรงเหล็กลงเข้าที่ และดำเนินการเทคอนกรีตทันที หากปรากฏว่าเกิดการล่าช้าจนเป็นเหตุให้ผนังรูเจาะเสียหาย หรือเกิดการตกตะกอนมากเกินไป ผู้รับเหมาจะต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในงานต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากการล่าช้านี้ตามแต่ผู้แทนผู้ว่าจ้างจะเห็นสมควรให้แก้ไข

                        ง. การเทคอนกรีตเสาเข็มแต่ละต้น จะต้องเทต่อเนื่องกันจนหยุดชะงักไม่ได้

                        จ. คอนกรีตเสาเข็มจะต้องใช้ส่วนผสมที่ถูกต้องและใช้สารผสมที่เหมาะสม โดยมีค่าการยุบประมาณ 15-20 เซนติเมตร

                        ฉ. จะต้องเสริมกรงเหล็กในคอนกรีตตามแบบที่กำหนด โดยผู้รับเหมาจะต้องเสนอแบบแสดงรายละเอียด (Shop Drawing) เช่น การต่อ การเชื่อม และเหล็กคั่น (Starter) ให้วิศวกรผู้ออกแบบพิจารณาอนุมัติก่อน

                        ช. จะต้องยึดกรงเหล็กดังกล่าวให้อยู่ตรงกลางรูเจาะ และยึดให้แน่นหนา เพื่อที่ขณะเทคอนกรีตกรงเหล็กจะไม่ขยับเขยื้อน

                        ซ. ในการทำเสาเข็มแต่ละต้น จะต้องห่างจากเสาเข็มที่เพิ่งทำเสร็จอย่างน้อย 6 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของเสาเข็มต้นที่ใหญ่กว่า หรือทิ้งระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง

                        ฌ. น้ำผสมสาร เช่น Bentonite หลังจากใช้งานแล้ว อาจนำมาใช้อีกได้โดยการนำไปความสะอาดตามกรรมวิธีที่วิศวกรอนุมัติ และ/หรือเพิ่มปริมารสารเพื่อให้ได้คุณสมบัติตามที่กำหนด

                        ญ. ในระหว่างการทำเสาเข็ม หรือเมื่อทำเสาเข็มแล้ว ผู้แทนผู้ว่าจ้างอาจจะเลือกเสาเข็มใช้งาน 6 ตัน หรือมากกว่านั้นหากปรากฏระเบียนว่าเสาเข็มมีเสาเข็มมีประวัติที่แสดงว่าเสาเข็มนั้นๆ อาจมีความสามารถในการรับน้ำหนักต่ำกว่าที่กำหนด ซึ่งวิศวกรผู้แบบจะเป็นผู้รับเหมาเจาะเอาแก่นคอนกรีตขนาดผ่าศูนย์กลาง 3.8 เซนติเมตร (1 ½ นิ้ว) เพื่อนำไปทดสอบ โดยเริ่มที่ระดับหัวเสาเข็มเจาะลงไปจนสุดความลึกของแก่น จากนั้นผู้รับเหมาจะต้องอุดรูที่เจาะนั้นด้วยซีเมนต์อัด (Grout) หรือวัสดุอื่นที่มีคุณเทียบเท่าโดยใช้แรงดันช่วย ผู้แทนผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้เลือกชิ้นตัวอย่างขนาดยาว 7.62 ซม. (3 นิ้ว) 2 ชิ้นจากเสาเข็มแต่ละต้น เพื่อนำไปทดสอบ Unconfined Compressive Strength ณ ห้องปฏิบัติการที่ได้รับรองแล้วและชิ้นตัวอย่างแต่ละชิ้นจะต้องมีกำลังอัดเสรีไม่น้อยกว่า 210 กก./ซม.2 เสาเข็มต้นใดที่มีค่า Recovery ของแก่นน้อยกว่าร้อยละ 100 หรือแก่นที่มี Unconfined Compressive Strength น้อยกว่า 210 กก./ซม.2 จะถือว่าเสาเข็มนั้นได้ทำขึ้นโดยไม่ถูกต้อง และจะต้องทิ้งไปหรือซ่อมแซมตามข้อแนะนำของผู้แทนผู้ว่าจ้าง ทั้งนี้ผู้รับเหมาจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการนี้ทั้งหมด ยิ่งกว่านั้นผู้รับเหมาจะต้องเจาะเอาแก่นจากเสาเข็มอีก 2 ต้นแล้วนำไปทดสอบตามที่กำหนดข้างต้นโดยคำแนะนำของผู้แทนผู้ว่าจ้าง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดตกเป็นของผู้รับเหมาแต่ฝ่ายเดียว สำหรับขนาดแก่นอาจใช้ขนาดใหญ่กว่านี้ได้ แต่จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้แทนผู้ว่าจ้างก่อน

            นอกจากนั้นผู้ว่าจ้างอาจทำการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มทุกวัน โดยวิธี Seismic Test หากพบว่าเสาเข็มต้นใดมีข้อบกพร่อง เช่นมีทรายคั่นส่วนหนึ่งส่วนใดเป็นโพรง มีรอยร้าว มีความยาวน้อยกว่ากำหนด หรือบางส่วนเป็นคอคอด เป็นต้น ผู้รับเหมาจะต้องดำเนินการแก้ไขตามที่วิศวกรผู้ออกแบบพิจารณาเห็นสมควร โดยผู้รับจ้างจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการนี้เองทั้งสิ้น

          ค. ปลอกเหล็ก

            (1) เสาเข็มซึ่งเจาะในชั้นดินอ่อนมากๆ หรือในชั้นดินซึ่งเป็นเม็ดโตๆ หรือดินเหนียวที่ไม่คงตัวจะต้องใช้ปลอกเหล็ก (Casing) ชั่วคราว ตอกให้ลึกพอที่จะป้องกันการพังทะลายของผนังรุเจาะ และเพื่อให้การเจาะดำเนินไปด้วยความสะดวก

            (2) ผู้รับเหมาจะต้องับผิดชอบต่อการป้องกันการพังทะลายของดินส่วนที่ขุดก่อนที่จะเทคอนกรีตและก่อนที่คอนกรีตจะก่อตัว และไม่มีการชดเชยเงินให้ในกรณีที่ต้องว่าจ้างการตอกปลอกชั่วคราวและ/หรือถาวรที่จำเป็นในการนี้หรือการอื่นใด หรือปลอกเหล็กที่ต้องทิ้งไว้ในดินไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม

            (3) ไม่ว่าจากเหตุใดก็ตาม หากปรากฏว่ามีความจำเป็นที่จะต้องใช้ปลอกชั่วคราวซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าที่กำหนดไว้ จะต้องเทคอนกรีตในปล่องนั้นจนเต็มพื้นที่หน้าตัดของปลอกชั่วคราวนั้น แต่การจ่ายเงินจะถือจากขนาดที่กำหนดเป็นเกณฑ์

            (4) ในกรณีที่ดินข้างใต้เกอดพังทะลายบางส่วน หรือทั้งหมดในรูเจาะส่วนที่มิได้ใช้ปลอกเหล็กในระหว่างการขุดหรือเมื่อขุดเสร็จแล้ว ผู้รับเหมาจะต้องแจ้งให้ผู้แทนผู้ว่าจ้างในทันที และจะต้องปฏิบัติตามข้อแนะนำของผู้แทนผู้ว่าจ้างการซ่อมแซมแก้ไข ค่าใช้จ่ายใดๆ ที่เกิดจากการพังทะลายดังกล่าวจะตกอยู่กับผู้รับเหมาแต่ผู้เดียว

            ง. ระเบียนสำหรับเสาเข็มเจาะในที่ระบบเปียก

            (1) วัน เดือน ปี

            (2) เวลาเริ่มต้น ระยะเวลาฝังปลอกเหล็ก ทำรูเจาะ เสริมกรงเหล็ก เทคอนกรีต และอื่นๆ

            (3) หมายเลขกำกับเสาเข็ม

            (4) ระดับดิน

            (5) ระดับตัดเสาเข็ม

            (6) ชนิดและระยะลึกของดินชั้นต่างๆ และระดับของชั้นดินหรือทรายแน่น

            (7) ระดับปลายเสาเข็ม

            (8) เส้นผ่าศูนย์กลางของรูเจาะ

            (9) ความเบี่ยงเบนที่ระดับตัดเสาเข็มของศูนย์กลางเสาเข็มจากตำแหน่งที่ถูกต้อง

            (10) ความยาวของปลอกเหล็ก

            (11) ระดับดินข้างเคียงก่อนและหลังการถอนปลอก

            (12) รายละเอียดของอุปสรรคและความล่าช้า

            (13) ปริมาตรคอนกรีตที่ใช้จริง และที่ได้จากการคำนวณเป็นระยะๆ และปริมาตรทั้งหมด

            (14) จำนวนตัวอย่างคอนกรีต และตำแหน่งที่เก็บในเสาเข็ม

            (15) คุณสมบัติต่างๆ ของน้ำผสมสารที่ใช้ในการป้องกันการทะลายของผนังรูเจาะที่ใช้กับเสาเข็มแต่ละต้น

            (16) รายละเอียดของปรากฏการณ์ใดๆ ที่ผิดปกติในระหว่างงานทำเสาเข็ม

            (17) ข้อมูลอื่นๆ ซึ่งทางผู้แทนผู้ว่าจ้างต้องการ

1018 ความปลอดภัย

            เพื่อความปลอดภัยขณะปฏิบัติงาน ผู้รับเหมาควรปฏิบัติตาม “ข้อกำหนดการตอกเสาเข็มในมาตรฐานความปลอดภัยงานก่อสร้างอาคาร” ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ

1019 ความรับผิดชอบ

            ผู้รับเหมาจะต้องหามาตรการป้องกันการเสียหายอันอาจเกิดขึ้นจากการตอกหรือทำเสาเข็มต่ออาคารข้างเคียงทุกชนิดและจะต้องส่งมาตรการเหล่านั้นพร้อมทั้งลำดับการตอกเสาเข็มให้วิศวกรผู้ออกแบบพิจารณาก่อน หากปรากฏว่าเกิดการเสียหายดังกล่าวขึ้นผู้รับเหมาจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบทั้งสิ้น 


หมวด 2-งานแบบหล่อ      

2001 ทั่วไป

             ก.  “กรณีทั่วไปและกรณีพิเศษ” ที่ระบุไว้ในภาคอื่น ให้นำมาใช้กับหมวดนี้ด้วย

2002 คำนวณออกแบบ

          ก. การวิเคราะห์

            ผู้รับเหมาจะต้องเป็นฝ่ายคำนวณออกแบบงานหล่อ โดยจะต้องคำนึงถึงการโก่งตัวขององค์อาคารต่างๆ อย่างระมัดระวัง และต้องได้รับอนุมัติจากวิศวกรก่อน จึงจะนำไปใช้ก่อสร้างได้

            ข. ค้ำยัน

            (1) เมื่อใช้ค้ำยัน การต่อหรือวิธีการค้ำยันซึ่งได้จดสิทธิบัตรไว้ จะต้องปฏิบัติตามข้อแนะนำของผู้ผลิตเกี่ยวกับความสามารถในการรับน้ำหนักอย่างเคร่งครัด ผู้คำนวณออกแบบจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิตอย่างเคร่งครัดในเองการยึดโยง และน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยสำหรับความยาวระหว่างที่ยึดของค้ำยัน

            (2) ห้ามใช้การต่อแบบทาบในสนามเกินกว่าอันสลับอันสำหรับค้ำยันใต้แผ่นพื้น หรือไม่เกินทุกๆ สามอันสำหรับค้ำยันใต้คาน และไม่ควรต่อค้ำยันเกินกว่าหนึ่งแห่งนอกจากจะมีการยึดทะแยงที่จุดต่อทุก ๆแห่ง การต่อค้ำยันดังกล่าวจะต้องกระจายให้สม่ำเสมอทั่วไปเท่าที่จะทำได้ รอยต่อจะต้องไม่อยู่ใกล้กับกึ่งกลางของตัวค้ำยัน โดยไม่มีที่ยึดด้านข้างหรือกึ่งกลางระหว่างจุดยึดด้านข้างทั้งนี้เพื่อป้องกันการโก่ง

            (3) จะต้องคำนวณออกแบบรอยต่อให้ต้านทานการโก่งและการดัดเช่นเดียวกับองค์อาคารที่รับแรงอัดอื่นๆ วัสดุที่ใช้ต่อค้ำยันไม้จะต้องไม่สั้นกว่าหนึ่งเมตร

            ค. การยึดทะแยง

            ระบบแบบหล่อจะต้องคำนวณออกแบบให้ถ่ายแรงทางข้างลงสู่พื้นดินในลักษณะปลอดภัยตลอดเวลาจะต้องจัดให้มีการยึดทะแยง ทั้งในระนาบดิ่งและระนาบราบตามต้องการเพื่อให้มีสติฟเนสสูงและเพื่อป้องกันการโก่งขององค์อาคารเดี่ยวๆ

            ง. ฐานรากสำหรับงานแบบหล่อ

          จะต้องคำนวณออกแบบฐานรากซึ่งจะเป็นแบบวางบนดิน ฐานแผ่หรือเสาเข็มให้ถูกต้องเหมาะสม

            จ. การทรุดตัว

            แบบหล่อจะต้องสร้างให้สามารถปรับระดับทางแนวดิ่งได้ เพื่อเป็นการชดเชยกับการทรุดตัวที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้เกิดการทรุดตัวน้อยที่สุดเมื่อรับน้ำหนักเต็มที่ ในกรณีที่ใช้ไม้ ต้องพยายามให้มีจำนวนรอยต่อทางแนวราบน้อยที่สุดโดยเฉพาะจำนวนรอยต่อซึ่งแนวเสี้ยนบรรจบบนแนวเสี้ยนด้านข้างซึ่งอาจใช้ลิ่มสอดที่ยอดหรือก้นของค้ำยันอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่จะใช้ทั้งสองปลายไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถปรับแก้การทรุดตัวที่ไม่สม่ำเสมอทางแนวดิ่งได้ หรือเพื่อสะดวกในการถอดแบบ

2003 รูปแบบ

            ก. การอนุมัติโดยวิศวกร

          ในกรณีที่กำหนดไว้ก่อนที่จะลงมือสร้างแบบหล่อ ผู้รับเหมาจะต้องส่งรูปแบบแสดงรายละเอียดของงานหล่อแบบหล่อเพื่อให้วิศวกรอนุมัติก่อน หากแบบดังกล่าวไม่เป็นที่พอใจของวิศวกรผู้รับเหมาจะต้องจัดการแก้ไขตามที่กำหนดให้เสร็จก่อนที่จะเริ่มงาน การที่วิศวกรอนุมัติในแบบที่เสนอหรือแก้ไขมาแล้ว มิได้หมายความว่าผู้รับเหมาจะหมดความรับผิดชอบที่จะต้องทำการก่อสร้างให้ดีและดูแลรักษาให้แบบหล่ออยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา

            ข. สมมติฐานในการคำนวณออกแบบ

          ในแบบสำหรับแบบหล่อจะต้องแสดงค่าต่างๆ ที่สำคัญตลอดจนสภาพการบรรทุกน้ำหนักรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกจร อัตราการบรรทุก ความสูงของคอนกรีตที่จะปล่อยลงมา น้ำหนักอุปกรณ์เคลื่อนที่ซึ่งอาจต้องทำงานบนแบบหล่อ แรงดันฐาน หน่วยแรงต่างๆ ที่ใช้ในการคำนวณออกแบบและข้อมูลที่สำคัญอื่นๆ

            ค. รายการต่างๆ ที่ต้องปรากฏในรูปแบบ

          รูปแบบสำหรับงานแบบหล่อจะต้องมีรายละเอียดต่างๆ ดังต่อไปนี้

            (1) สมอ ค้ำยันและการยึดโยง

            (2) การปรับแบบหล่อในที่ระหว่างเทคอนกรีต

            (3) แผ่นกั้นน้ำ  ร่องลิ้น และสิ่งที่จะต้องสอดไว้

            (4) นั่งร้าน

            (5) รูน้ำตา หรือรูที่เจาะไว้สำหรับเครื่องจี้ ถ้ากำหนด

            (6) ช่องสำหรับทำความสะอาด

            (7) รอยต่อในขณะก่อสร้าง รอยต่อสำหรับควบคุม และรอยต่อขยายตัวตามที่ระบุไว้ในแบบ

            (8) แถบมนสำหรับทำมุมที่ไม่ฉาบ (เปลือย)

            (9)การยกท้องคาน และพื้นกันแอ่น

            (10) การเคลือบผิวแบบหล่อ

            (11)รายละเอียดในการค้ำยัน ปกติจะไม่ยอมให้มีการค้ำยันซ้อน นอกจากวิศวกรจะอนุญาต

2004 การก่อสร้าง

          ก. ทั่วไป

(1) แบบหล่อจะต้องได้รับการตรวจก่อนจึงจะเรียงเหล็กเสริมได้

(2) แบบหล่อจะต้องแน่นพอควรเพื่อป้องกันไม่ได้มอร์ต้าไหลออกจากคอกรีต

            (3) แบบหล่อจะต้องสะอาดปราศจากฝุ่น มอร์ต้า และสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าถึงก้นแบบจากภายในได้ จะต้องจัดช่องไว้สำหรับให้สามารถขจัดสิ่งที่ไม่ต้องการต่างๆ ได้

            (4) ห้ามนำแบบหล่อซึ่งชำรุดจาการใช้งานหลังสุดจนถึงขั้นที่อาจทำลายผิวหน้าหรือคุณภาพคอนกรีตได้มาใช้อีก

            (5) ให้หลีกเลี่ยงการบรรทุกน้ำหนักบนคอนกรีตซึ่งเทได้เพียงหนึ่งสัปดาห์ ห้ามโยนของหนัก ๆ เช่น มวลรวมไม้ กระดาน เหล็กเสริม หรืออื่น ๆ ลงบนคอนกรีตใหม่ ๆ หรือแม้กระทั่ง การกองวัสดุ

            (6) ห้ามโยนหรือกองวัสดุก่อสร้างบนแบบหล่อในลักษณะที่จะทำให้แบบหล่อนั้นชำรุดหรือเป็นการเพิ่มน้ำหนักมากเกินไป

ข. ฝีมือ

            ให้ระมัดระวังเป็นพิเศษในข้อต่อไปนี้เพื่อให้ใจว่าจะได้งานที่มีฝีมือดี

(1)   รอยต่อของค้ำยัน

(2)   การสลับจุดร่วมหรือรอยต่อในแผ่นไม้อัด และการยึดโยง

(3)   การรองรับค้ำยันที่ถูกต้อง

(4)   จำนวนเหล็กเส้นสำหรับยึดหรือจับและตำแหน่งที่เหมาะสม

(5)   การขันเหล็กเส้นสำหรับยึด หรือที่จับให้ตึงพอดี

(6)   การแยกทานใต้ชั้นโคลนจะต้องมีอย่างพอเพียง

(7)   การต่อค้ำยันกับจุดร่วมจะต้องแข็งแรงพอที่จะต้านแรงยกหรือแรงบิด ณ จุดร่วมนั้น ๆ

ได้

(8)   การเคลือบผิวแบบหล่อจะต้องกระทำก่อนเรียงเหล็กเสริม และจะต้องไม่ใช้ในปริมาณ

มากเกินไปจนเปื้อนเหล็ก

(9)   ราบละเอียดของรอยต่อสำหรับควบคุม และรอยต่อขณะก่อสร้าง

ค. ความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้

(1) ความคลาดเคลื่อนจากแนวสายดิ่งในแต่ละชั้น = 10 มม. 

(2) ความคลาดเคลื่อนจากระดับหรือจากความลาดที่ระบุในแบบในช่วง 10 เมตร = 15 มม.

(3) ความคลาดเคลื่อนของแนวอาคารจากแนวที่กำหนดในแบบ และตำแหน่งเสาผนังและ ฝาประจันที่เกี่ยวข้องในช่วง 10 เมตร = 20 มม.

(4) ความคลาดเคลื่อนของขนาดของหน้าตัดเสาและคาน และความหนาของแผ่นพื้นและผนัง  ลด = 5 มม.  เพิ่ม = 10 มม.

(5) ฐานราก

            (i) ความคลาดเคลื่อนจากขนาดในแบบ ลด = 20 มม. เพิ่ม = 50 มม.

            (ii) ตำแหน่งผิด หรือ ระยะเฉศูนย์ = 50 มม.

            (iii) ความคลาดเคลื่อนในความหนา ลด = 50 มม. เพิ่ม = 100 มม.

(6) ความคลาดเคลื่อนของขั้นลูกตั้ง = 2.5 มม. ลูกนอน = 5 มม.

ง. งานปรับแบบหล่อ

(1) ก่อนเทคอนกรีต

            (i) จะต้องติดตั้งอุปกรณ์สำหรับให้ความสะดวกในการจัดการเคลื่อนตัวของแบบหล่อขณะเทคอนกรีตไว้ที่แบบส่วนที่มีที่รองรับ

            (ii) หลังจากตรวจสอบขั้นสุดท้ายก่อนเทคอนกรีต จะต้องยึดลิ่มที่ใช้ในการจัดแบบหล่อให้ได้ที่แน่นหนา

            (iii) จะต้องยึดแบบหล่อกับค้ำยันข้างใต้ให้แน่นหนา พอที่จะไม่เกิดการเคลื่อนตัวทั้งทางด้านข้าง และด้านขึ้นลงของส่วนหนึ่งส่วนใดของระบบหล่อทั้งหมดขณะเทคอนกรีต

            (iv) จะต้องเผื่อระดับและมุมมนไว้สำหรับรอยต่อต่าง ๆ ของแบบหล่อ การทรุดตัว การหดตัวของไม้ การแอ่นเนื่องจากน้ำหนักบรรทุกคงที่ และการหดตัวทางอีลาสติคขององค์อาคารในแบบหล่อ ตลอดจนการยกท้องคานและพื้นซึ่งกำหนดไว้ในแบบก่อสร้าง

            (v) จะต้องจัดเตรียมวิธีปรับระดับ หรือแนวของค้ำยันในกรณีที่เกิดการทรุดตัวมากเกินไป เช่น ใช้ลิ่มหรือแม่แรง

            (vi) ควรจัดทำทางเดินสำหรับอุปกรณ์ที่เคลื่อนที่ได้ โดยทำเสาหรือขารองรับตามแต่จะต้องการและต้องวางบนแบบหล่อ หรือองค์อาคารที่เป็นโครงสร้างโดยตรง ไม่ควรวางบนเหล็กเสริมนอกจากจะทำที่รองรับเหล็กนั้นเป็นพิเศษ แบบหล่อจะต้องพอเหมาะกับที่รองรับของทางเดินดังกล่าวโดยยอมให้เกิดการการแอ่น ความคลาดเคลื่อนหรือการเคลื่อนตัวทางข้างไม่เกินค่าที่ยอมให้

(2) ระหว่างและหลังการเทคอนกรีต

            (i) ในระหว่างและภายหลังการเทคอนกรีต จะต้องตรวจสอบระดับการยกท้องคานพื้นและการได้ดิ่งของระบบแบบหล่อโดยใช้อุปกรณ์ตามข้อ (1) (i) หากจำเป็นให้รีบดำเนินการแก้ไขทันที ในระหว่างกาก่อสร้างหากปรากฏว่าแบบหล่อเริ่มไม่แข็งแรงและแสดงให้เห็นว่าเกิดการทรุดตัวตัวมากเกิน หรือเกิดการโก่งตัวบิดเบี้ยวแล้ว ให้หยุดงานทันที หากเห็นว่าส่วนใดชำรุดตลอดไปก็ให้รื้อออก และเสริมแบบหล่อให้แข็งแรงยิ่งขึ้น

            (ii) จะต้องมีผู้คอยเฝ้าสังเกตแบบหล่ออยู่ตลอดเวลา เพื่อที่เมื่อเห็นว่าสมควรจะแก้ไขส่วนใดจะไดดำเนินการได้ทันที ผู้ที่ทำหน้าที่นี้ต้องปฏิบัติงานโดยถือความปลอดภัยเป้นหลักสำคัญ

            (iii) การถอดแบบหล่อและที่รองรับ หลังจากเทคอนกรีตแล้วจะต้องคงที่รองรับไว้กับที่เป็นเวลาไม่น้อยกว่าที่กำหนดข้างล่างนี้ ในกรณีที่ใช้ปูนซีเมนต์ชนิดให้กำลังสูงเร็วอาจลดระยะเวลาดังกล่าวลงได้ตามความเห็นชอบของวิศวกร

                 ค้ำยันใต้คาน  21 วัน , ค้ำยันใต้แผ่นพื้น 21 วัน , ผนัง 48 ชั่วโมง , เสา 48 ชั่วโมง , ข้างคานและส่วนอื่น ๆ  48 ชั่วโมง

อย่างไรก็ดี วิศวกรอาจสั่งให้ยืดเวลาการถอดแบบออกไปอีกได้หากเห็นเป็นการสมควร ถ้าปรากกว่ามีส่วนหนึ่งส่วนใดของงานเกิดชำรุดเนื่องจากถอดแบบเร็วกว่ากำหนด ผู้รับเหมาจะต้องทุบส่วนนั้นทิ้งและสร้างขึ้นใหม่แทนทั้งหมด

2005 วัสดุสำหรับงานแบบหล่อ

            ผู้รับเหมาอาจเลือกใช้วัสดุใดก็ได้ที่เหมาะสมในการทำแบบหล่อ แต่ผิวคอนกรีตที่ได้จะต้องตรงตามข้อ 2006 “การแต่งผิวคอนกรีต” ทุกประการ

2006 การแต่งผิวคอนกรีต

          (1) คอนกรีตสำหรับอาคาร

                        ก. การสร้างแบบหล่อจะต้องกระทำพอที่เมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้วจะอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง และต้องมีขนาดและชนิดของผิวตรงตามที่กำหนดทั้งในบทกำหนด และ/หรือ รูปแบบทางวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม

                        ข. สำหรับแผ่นพื้นหลังคารวมทั้งกันสาดและดาดฟ้า ห้ามขัดมันผิวเป็นอันขาด  นอกจากในแบบจะระบุไว้

            (2) การแต่งผิวถนนในบริเวณอาคาร

            การแต่งผิวถนนอาจใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรกลก็ได้ ในทันทีที่แต่งผิวเสร็จให้ตรวจสอบระดับด้วยไม้ตรงยาว 3 เมตร ส่วนที่เว้าให้เติมด้วยคอนกรีตที่มีส่วนผสมเดียวกันสำหรับส่วนที่โค้งให้ตัดออกแล้วแต่งผิวใหม่

2007 การแก้ไขผิวที่ไม่เรียบร้อย

            ก. ทันทีที่ถอดแบบจะต้องทำการตรวจสอบ หากพบว่าผิวคอนกรีตไม่เรียบร้อยจะต้องแจ้งให้วิศวกรทราบทันที เมื่อวิศวกรให้ความเห็นชอบวิธีการแก้ไขแล้ว ผู้รับเหมาต้องดำเนินการซ่อมในทันที

            ข. หากปรากฏว่ามีการซ่อมแซมผิวคอนกรีตก่อนได้รับการตรวจสอบโดยผู้แทนผู้ว่าจ้างคอนกรีตส่วนนั้นอาจถือเป็นคอนกรีตเสียได้

2008 งานนั่งร้าน

          เพื่อความปลอดภัย ผู้รับเหมาควรปฏิบัติตาม “ข้อกำหนดนั่งร้านงานก่อสร้างอาคาร” ในมาตรฐานความปลอดภัยของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ


หมวด 3-เหล็กเสริมคอนกรี

3001 ทั่วไป

            ก. “กรณีทั่วไปและกรณีพิเศษ” ที่ระบุไว้ในภาคอื่น ให้นำมาใช้กับหมวดนี้ด้วย

            ข. ข้อกำหนดในหมวดนี้คลุมถึงงานทั่วไปเกี่ยวกับการจัดหา กาตัด การดัด และการเรียงเหล็กเสริมตามชนิดและขั้นที่ระบุไว้ในแบบและในกำหนดนี้ งานที่ทำจะต้องตรงตามแบบบทกำหนดและตามคำแนะนำของวิศวกรอย่างเคร่งครัด

            ค. รายละเอียดเกี่ยวกับเหล็กเสริมคอนกรีต ซึ่งมิได้ระบุในแบบและบทกำหนดนี้ ให้ถือปฏิบัติตาม “มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก” ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ที่ 1001-16 ทุกประการ

3002 วัสดุ

            คุณภาพของเหล็กที่เสริมคอนกรีตจะต้องตรงตามเกณฑ์กำหนดของสำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ทั้งขนาด น้ำหนัก และคุณสมบัติอื่นๆ

            ผู้รับเหมาจะต้องจัดส่งตัวอย่างเหล็กเสริมไปทดสอบยังสถาบันที่เชื่อถือได้ และผู้รับเหมาต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการทดสอบและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รายงานผลการทดสอบให้จัดส่งสำเนารวม 3 ชุด

3003 การเก็บรักษาเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต

            จะต้องเก็บเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตไว้เหนือพื้นดินและอยู่ในอาคาร หรือทำหลังคาคลุม เมื่อจัดรียงเหล็กเส้นเข้าที่พร้อมจะเทคอนกรีตแล้ว เหล็กนั้นจะต้องสะอาดปราศจากฝุ่น น้ำมัน สี สนิมขุม และสะเก็ด

3004 วิธีก่อสร้าง

            ก. การตัดและประกอบ

                        (1) เหล็กเสริมจะต้องมีขนาดและรูปร่างตรงตามที่กำหนดในแบบ และในการตัดและดัดจะต้องไม่ทำให้เหล็กชำรุดเสียหาย

                        (2) ของอ หากในแบบไม่ได้ระบุถึงรัศมีของการงอเหล็ก ให้งอตามเกณฑ์กำหนดต่อไปนี้

                                    (i) ส่วนที่งอเป็นครึ่งวงกลมโดยมีส่วนที่ยื่นออกไปอย่างน้อย 4 เท่า ของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กนั้น แต่ระยะยื่นต่ออกไปอีกอย่างน้อย 4 เท่า ของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กนั้น แต่ระยะยื่นนี้ต้องไม่น้อยกว่า 6 ซม. หรือ

                                    (ii) ส่วนที่งอเป็นมุมฉากโดยมีส่วนที่ต่อ ออกไปถึงปลายสุดของเหล็กอีกอย่างน้อย 12 เท่าของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กนั้น หรือ

                                    (iii) เฉพาะเหล็กเสริมลูกตั้งและเหล็กปลอก ให้งอ 90 องศา หรือ 135 องศา โดยมีส่วน ที่ยื่นถึงปลายขออีกอย่างน้อย 6 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กแต่ต้องไม่น้อยกว่า 6 ซม.

                        (3) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่เล็กที่สุดสำหรับของอ เส้นผ่าศูนย์กลางของการงอเหล็กให้วัดด้านในของเหล็ก สำหรับมาตรฐานขนาดผ่าศูนย์กลางที่ใช้ต้องไม่เล็กกว่าค่าที่ให้ไว้ในตารางข้างล่างนี้

ตารางที่ 3001

ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่เล็กที่สุดสำหรับของอเหล็กข้องอ

ขนาดของเล็ก

ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่เล็กที่สุด

9 ถึง 15 มม.

5 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กนั้น

19 ถึง 25 มม.

6 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กนั้น

            ข. การเรียงเหล็กเสริม

                        (1) ก่อนเรียงเข้าที่จะต้องทำความสะอาดเหล็กมิให้มีสนิมขุม สะเก็ด และวัสดุเคลือบต่างๆ ที่จะทำให้การยึดหน่วงเสียไป

                        (2) จะต้องเรียงเหล็กเสริมอย่างประณีตให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องพอดี และผูกยึดให้แน่นหนาระหว่างเทคอนกรีต หากจำเป็นก็อาจใช้เหล็กเสริมพิเศษช่วยในการติดตั้งได้

                        (3) ที่จุดตัดกันของเหล็กเส้นทุกแห่งจะต้องผูกให้แน่นด้วยลวดเบอร์ 16  S.W.G.(annealed-iron wire) โดยพันสองรอบและพับปลายลวดเข้าในสวนที่จะเป็นเนื้อคอนกรีตภายใน

                        (4) ให้รักษาระยะห่างระหว่างแบบกับเหล็กเสริมให้ถูกต้องโดยใช้เหล็กแขวน ก้อนมอร์ต้า เหล็กยึด หรือวิธีอื่นใดซึ่งวิศวกรให้ความเห็นชอบแล้ว ก้อนมอร์ต้าให้ใช้ส่วนผสมซีเมนต์ 1 ส่วน ต่อทรายที่ใช้ผสมคอนกรีต 1 ส่วน

                        (5) หลังจากผูกเหล็กเสร็จแล้วจะต้องให้วิศวกรตรวจก่อนเทคอนกรีตทุกครั้ง หากผูกทิ้งไว้นานเกินควร จะต้องทำความสะอาดและให้วิศวกรตรวจอีกครั้งก่อนเทคอนกรีต

3005 การต่อเหล็กเสริม

                 ก. ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องต่อเหล็กเสริมนอกจุดที่กำหนดในแบบ หรือที่ระบุในตาราง 3002 ทั้งตำแหน่งและวิธีต่อจะต้องได้รับความเห็นชอบจากวิศวกร

                 ข. ในรอยต่อแบบทาบ ระยะทาบต้องไม่น้อยกว่า 48 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเส้น ในกรณีของเหล็กเส้นกลมธรรมดาและ 36 เท่าสำหรับเหล็กข้ออ้อย แล้วให้ผูกมัดด้วยลวดผูกเหล็กเบอร์ 16 S.W.G.

                 ค. สำหรับเหล็กเสริมที่โผล่ทิ้งไว้เพื่อจะเชื่อมต่อกับเหล็กของส่วนที่จะต่อเติมภายหลัง จะต้องหาทางป้องกันมิให้เสียหาย และผุกร่อน

                 ง.การต่อเหล็กเสริมโดยวิธีเชื่อม จะต้องให้กำลังของรอยเชื่อมไม่น้อยกว่าร้อยละ 125 ของกำลังของเหล็กเส้นนั้น ก่อนเริ่มงานเหล็กจะต้องทำการทดสอบกำลังของรอยต่อเชื่อมโดยสถาบันที่เชื่อถือได้ และผู้รับเหมาเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ผู้รับเหมาจะต้องส่งสำเนาผลการทดสอบอย่างน้อย 3 ชุดไปยังสำนักงานวิศวกร

                 จ. ณ หน้าตัดใดๆ จะมีรอยต่อของเหล็กเสริมเกินร้อยละ 25 ของจำนวนเหล็กเสริมทั้งหมดไม่ได้

                 ฉ. รอยต่อทุกแห่งจะต้องได้รับการตรวจและอนุมัติโดยวิศวกรก่อนเทคอนกรีต รอยต่ออึ่งไม่ได้รับการอนุมัติให้ถือว่าเป็นรอยต่อเสีย อาจถูกห้ามใช้ก็ได้

3006 คุณสมบัติของเหล็กเส้น

                 ก.เหล็กเส้นกลมธรรมดาให้ใช้เหล็กที่มีมาตรฐานตาม SR 24 ของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยมีจุดคลากไม่น้อยกว่า 2400 กก./ซม.2

                 ข. เหล็กข้ออ้อยให้ใช้เหล็กที่มีมาตรฐานตาม SD., ของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยมีจุดคลากไม่น้อยกว่า......กก./ซม.2

ตารางที่ 3002 รอยต่อในเหล็กเส้น

ชนิดขององค์อาคาร

ชนิดของรอยต่อ

ตำแหน่งของรอยต่อ

แผ่นพื้น และผนัง

ต่อทาบ ต่อเชื่อม (สำหรับเหล็กเส้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 19 มิลลิเมตร) ตามที่ได้รับอนุมัติเหล็กบนต่อที่กลางคานเหล็กล่างต่อที่หน้าเสาถึงระยะ จากศูนย์กลางเสา

เสา

ต่อเชื่อม (สำหรับเหล็กเส้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 19 มิลลิเมตร )

เหนือระดับพื้นหนึ่งเมตร จนถึงระดับกึ่งกลางความสูง
ฐานราก ห้ามต่อ  

หมวด 4-คอนกรีต

4001 ทั่วไป

            ก. “สภาวะทั่วไปและพิเศษ” ในภาคอื่นให้คลุมถึงหมวดนี้ด้วย

            ข. งานคอนกรีตในที่นี้หมายถึงงานคอนกรีตสำหรับโครงสร้าง ซึ่งต้องเสร็จสมบูรณ์และเป็นไปตามแบบและบทกำหนดอย่างเคร่งครัด และเป็นปามข้อกำหนดและสภาวะต่างๆ ของสัญญา

            ค. หากมิได้ระบุในแบบและ / หรือบทกำหนดนี้ รายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับองค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก และงานคอนกรีตทั้งหมดให้เป็นไปตาม “มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก” ของวิวกรรสถานแห่งประเทศไทย ฯ ที่ 1001-16 ทุกประการ

4002 วัสดุ

            วัสดุต่างๆ ที่เป็นส่วนผสมของคอนกรีตจะต้องเป็นตามบทกำหนดและเกณฑ์กำหนดอื่นๆ ดังนี้ คือ

            ก. ปูนซีเมนต์ จะต้องเป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ มอก. 15-2514 ชนิดที่เหมาะสมกับงาน และต้องเป็นปูนซีเมนต์ที่แห้งไม่จับตัวเป็นก้อน

            ข. น้ำที่ใช้ผสมคอนกรีตจะต้องสะอาดใช้ดื่มได้

            ค. มวลรวม

                        (1) มวลรวมที่ใช้สำหรับคอนกรีตจะแข็งแกร่ง มีความคงตัว เฉื่อย ไม่ทำปฏิกิริยากับด่างในปูนซีเมนต์

                        (2) มวลรวมหยาบ และมวลรวมละเอียดให้ถือเป็นวัสดุคนละอย่าง มวลรวมหยาบแต่ละขนาด หรือหลายขนาดผสมกันจะต้องมีส่วนขนาดคละตามเกณฑ์กำหนดของข้อกำหนด ASTM ที่เหมาะสม

            ง. สารผสมเพิ่ม สำหรับคอนกรีตส่วนที่มิใช่ฐานรากทั้งหมดให้ใช้สารผสมเพิ่มชนิดเพิ่มความสามารถได้ ส่วนที่เป็นโครงสร้างห้องใต้ดินทั้งหมดให้ผสมตัวยากันน้ำซึมชนิดทนแรงและกันน้ำได้โดยใช้ตามคำแนะนำของผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด นอกจากที่กล่าวนี้ห้ามใช้สารผสมเพิ่มชนิดอื่นหรือปูนซีเมนต์ที่ผสมสารเหล่านั้น นอกจากจะได้รับอนุมัติจากวิศวกรก่อน

            จ. การเก็บวัสดุ

                        (1) ให้เก็บปูนซีเมนต์ไว้ในอาคาร ถังเก็บหรือไซโลที่ป้องกันความชื้น และความสกปรกได้ และในการส่งให้ส่งในปริมาณเพียงพอที่จะไม่ทำให้งานคอนกรีตต้องชะงักหรือล่าช้า ไม่ว่ากรณีใดจะต้องแยกวัสดุที่ส่งมาแต่ละครั้งให้เป็นสัดส่วนไม่ประปนกัน

                         (2) การส่งมวลรวมหยาบให้ส่งแยกขนาดไปยังสถานที่ก่องสร้าง นอกจากจะได้รับอนุมัติจากวิศวกรให้เป็นไปอย่างอื่น

                        (3) การกองมวลรวม จะต้องกองในลักษณะที่จะป้องกันมิให้ปะปนกับมวลรวมกองอื่นซึ่งมีขนาดต่างกัน เพื่อให้เป็นไปตามนี้ อาจจะต้องทำการทดสอบว่าส่วนนาดคละ ตลอดจนความสะอาดของมวลรวมตรงตามเกณฑ์กำหนดหรือไม่ โดยเก็บตัวอย่าง ณ ที่ทำการผสมคอนกรีต

                        (4) ในการเก็บสารผสมเพิ่ม ต้องระวังอย่าให้เกิดความแปดเปื้อน การระเหย หรือเสื่อมคุณภาพ สำหรับสารผสมเพิ่มชนิดที่อยู่ในรูปสารลอยตัวหรือสารละลายที่ไม่คงตัว จะต้องจัดหาอุปกรณ์สำหรับกวนเพื่อให้ตัวยากระจายสม่ำเสมอถ้าเป็นสารผสมเพิ่มชนิดเหลว จะต้องป้องกันมิให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิมากนัก เพราะจะทำให้อุณหภูมิของสารนั้นเกิดความเปลี่ยนแปลงได้

40003 คุณสมบัติองคอนกรีต

ก. องค์ประกอบ คอนกรีตต้องประกอบด้วยปูนซีเมนต์ ทราย มวลรวมหยาบ น้ำและสาร

ผสมเพิ่มตามแต่จะกำหนด ผสมให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียวกันโดยมีความข้นเหลวที่พอเหมาะ

ข. ความข้นเหลว คอนกรีตที่จะใช้กับทุกส่วนของงานจะต้องผสมให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันโดยมีความข้นเหลวที่พอเหมาะที่จะสามารถทำให้แน่นได้ภายในแบบหล่อ และรอบเหล็กเสริมหลังจากอันแน่นโดยการกระทุ้งด้วยมือ หรือโดยวิธีสั่นที่ได้รับการเห็นชอบแล้ว จะต้องไม่มีน้ำที่ผิวคอนกรีตมากเกินไป และจะต้องมีผิวหน้าเรียกปราศจากโพรง การแยกแยะ รูพรุน เมื่อแข็งตัวแล้วจะต้องมีกำลังที่ต้องการตลอดจนความทนทานต่อการแตกสลาย ความคงทน ความทนต่อการขัดสีความสามารถในการกันน้ำ รูปลักษณะและคุณสมบัติอื่นๆ ตามที่กำหนด

    ค. กำลังอัดคอนกรีตสำเร็จในแต่ละส่วนของอาคารจะต้องมีกำลงอัดตามที่แสดงไว้ในตารางที่ 4001 กำลังอัดสูงสุดให้คิดที่อายุ 28 วันเป็นหลักสำหรับปูนซีเมนต์ชนิดที่ 1 ธรรมดา แต่ถ้าใช้ปูนซีเมนต์ชนิดที่ 3 ซึ่งให้กำลังสูงเร็วให้คิดเฉลี่ยที่ 7 วัน  ทั้งนี้ให้ใช้แท่งกระบอกคอนกรีตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 เซนติเมตร และสูง 30 เซนติเมตร

    ง. ขนาดใหญ่สุดของมวลรวมหยาบ ขนาดระบุใหญ่สุดของมวลรวมหยาบจะต้องเป็นไปตามตารางที่ 4003

ตารางที่ 4001   การแบ่งประเภทคอนกรีตและเกณฑ์กำหนดเกี่ยวกับกำลังอัด

ชนิดของการก่อสร้าง ประเภท ค่าต่ำสุดของกำลังอัดของแท่งกระบอกคอนกรีตหลังเทแล้ว 28 วัน-กก./ซม.2
ฐานรากและเสาคาน คานซอย ผนังคอนกรีต เสริมเหล็กหนาตั้งแต่ 15 ซม. ขึ้นไป แผ่นพื้นและถังเก็บน้ำ 210
ผนังคอนกรีตเสริมเหล็กที่บางกว่า 10 ซม. และครีบ ค.ส.ล. 180
ผนังทั่วไป บ่อเกราะบ่อซึม และคอนกรีตหยาบ 1:3:5  
     

จ. การยุบ การยุบของคอนกรีตซึ่งมีน้ำหนักปกติซึ่งหาโดย “วิธีทดสอบค่าการยุบของคอนกรีตซึ่งใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์” (ASTM C 143) จะต้องเป็นไปตามค่าที่ให้ไว้ในตาราง 4002 ข้างล่างนี้

ตารางที่ 4002  ค่าการยุบสำหรับงานก่อสร้างชนิดต่างๆ

ชนิดของการก่อสร้าง ค่าการยุบตัว ซม.
สูงสุด ต่ำสุด

ฐานราก

4 2

แผ่นพื้น คาน ผนัง ค.ส.ล.

6 3
เสา 10 5
ครีบ ค.ส.ล. และผนังบางๆ 10 5
     

ตารางที่ 4003  ขนาดใหญ่สุดของมวลรวมหยาบที่ใช้กับคอนกรีต

ชนิดของงานก่อสร้าง

ขนาดใหญ่สุด ซม.

ฐานราก เสา และคาน

4

ผนัง ค.ส.ล. หนาตั้งแต่ 15 ซม.ขึ้นไป

4
ผนัง ค.ส.ล. หนาตั้งแต่ 10 ซม.ลงมา 2
แผ่นพื้น ครีบ ค.ส.ล. และผนังกั้นห้อง ค.ส.ล. 2
   

4004 การคำนวณออกแบบส่วนผสม

            ก. ห้ามมิให้นำคอนกรีตมาเทส่วนที่เป็นโครงสร้างใดๆ จนกว่าส่วนผสมของคอนกรีตที่จะนำมาใช้นั้นได้รับความเห็นชอบจากวิศวกรแล้ว

            ข. ก่อนเทคอนกรีตอย่างน้อย 35 วัน ผู้รับเหมาจะต้องเตรียมส่วนผสมคอนกรีตต่างๆ ในห้องปฏิบัติการเพื่อให้วิศวกรตรวจให้ความเห็นชอบก่อน

            ค. การที่วิศวกรให้ความเห็นชอบต่อส่วนผสมที่เสนอมาหรือที่แก้ไข (หากมี) นั้นมิได้หมายความว่าจะลดความรับผิดชอบของผู้รับเหมาที่มีต่อคุณสมบัติของคอนกรีตที่ได้จากส่วนผสมนั้น

            ง. การจัดปฏิภาคส่วนผสม

                        (1) จะต้องหาอัตราส่วน น้ำ : ต่อซีเมนต์ ที่เหมาะสม โดยการทดลองขั้นตอนตามวิธีการต่อไปนี้

                        (i) จะต้องทดลองทำส่วนผสมคอนกรีตที่มีอัตราส่วนและความข้นเหลวที่เหมาะสมกับงานโดยเปลี่ยนอัตราส่วน น้ำ : ซีเมนต์ อย่างน้อย 3 ค่า ซึ่งจะให้กำลังต่างๆ กัน โดยอยู่ในขอบข่ายของค่าที่กำหนดสำหรับงานนี้ และจะต้องคำนวณออกแบบสำหรับค่าการยุบสูงสุดเท่าที่ยอมให้

                        (ii) จากนั้นให้หาปฏิภาคของวัสดุผสม แล้วทำการทดสอบตามหลักและวิธีการทีให้ไว้ในเรื่อง “ข้อแนะนำวิธีการเลือกปฏิภาคส่วนผสมสำหรับคอนกรีต” (ACI 211)

                        (iii) สำหรับอัตราส่วนน้ำ : ซีเมนต์แต่ละค่า ให้หล่อชิ้นตัวอย่างอย่างน้อย 3 ชิ้นสำหรับแต่ละอายุเพื่อนำไปทดสอบ โดยเตรียมและบ่มตัวอย่างตาม “วิธีทำและบ่ชิ้นตัวอย่างคอนกรีตสำหรับใช้ทดสอบแรงอัดและแรงดัด” (ASTM C 192) และทดสอบอายุที่ 7 วันและ 28 วัน การทดสอบให้ปฏิบัติตาม “วิธีทดสอบกำลังอัดของแท่งกระบอกคอนกรีต” (ASTM C39)

                         (iv) ให้นำผลที่ได้จากการทดสอบไปเขียนเป็นกราฟแสดงความสำพันธ์ระหว่างอัตราส่วนน้ำ : ซีเมนต์ที่จะใช้ดังนี้

                        คอนกรีตประเภท ก. อัตราส่วนน้ำ : ซีเมนต์สูงสุดที่ยอมให้ จะต้องได้มาจากค่าที่แสดงโดยกราฟที่ให้กำลังต่ำสุดเกินร้อยละ 10 ของกำลังที่กำหนด

                        (v) สำหรับคอนกรีตโครงสร้างทั่วไป ปริมาณปูนซีเมนต์จะต้องไม่น้อยกว่า 300กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตรของคอนกรีต

                        (2) การใช้อัตราส่วนน้ำ : ซีเมนต์ค่าที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในกรณีที่ใช้มวลรวมหยาบชนิดเม็ดเล็ก เช่นในผนังบางๆ หรือในที่ที่เหล็กแน่นมากๆ จะต้องพยายามรักษาค่าอัตราส่วนน้ำ : ซีเมนต์ให้คงที่ เมื่อได้เลือกอัตราส่วนน้ำ : ซีเมนต์ที่เหมาะสมได้แล้วให้หาปฏิภาคส่วนผสมของคอนกรีตตามวิธีในข้อ 4 ง. เรื่อง  "การหาปฏิภาคของวัสดุผสม” ดังอธิบายข้างต้น

4005 การผสมคอนกรีต

            ก. คอนกรีตผสมเสร็จ การผสมและการขนส่งคอนกรีตผสมเสร็จให้ปฏิบัติตาม “บทกำหนดสำหรับคอนกรีตผสมเสร็จ” (ASTM C 94)

            ข. การผสมด้วยเครื่อง ณ สถานที่ก่อสร้าง

                        (1) การผสมคอนกรีตต้องใช้เครื่องสมชนชนิดหนึ่ง ได้รับความเห็นชอบจากวิศวกรแล้วที่เครื่องผสมจะต้องมีแผ่นป้ายแสดงความจุและจำนวนรอบต่อนาทีที่เหมาะสม และผู้รับเหมาจะต้องปฏิติตามข้อแนะนำเหล่านี้ทุกประการ เครื่องผสมจะต้องสามารถผสมมวลรวม ซีเมนต์ และน้ำให้เข้ากันโดยทั่วถึงภายในเวลาที่กำหนด และจะต้องสามารถปล่อยคอนกรีตออกได้โดยไม่เกิดการแยกแยะ

                        (2) ในการบรรจุวัสดุเข้าเครื่อง จะต้องบรรจุน้ำส่วนหนึ่งเข้าเครื่องก่อนซีเมนต์และมวลรวม แล้วค่อยๆ เติมน้ำส่วนที่เหลือเมื่อผสมไปแล้วประมาณหนึ่งในสี่ของเวลาผสมที่กำหนดจะต้องมีที่ควบคุมมิให้ปล่อยคอนกรีตก่อนจะถึงเวลาที่กำหนด และจะต้องสามารถปล่อยคอนกรีตออกให้หมดก่อนที่จะวัสดุใหม่

                        (3) เวลาที่ใช้ในการผสมคอนกรีตซึ่งมีปริมาณตั้งแต่ 1 ลูกบาศก์เมตร หรือส่วนของลูกบาศก์เมตรที่เพิ่มขึ้น

4006 การผสมต่อ

            ก. ให้ผสมคอนกรีตเฉพาะเท่าที่ต้องการใช้เท่านั้น ห้ามนำคอนกรีตที่ก่อตัวแล้วมาผสมต่อเป็นอันขาด แต่ให้ทิ้งไป

            ข. ห้ามมิให้เติมน้ำเพื่อเพิ่มค่าการยุบเป็นอันขาด การเติมน้ำจะกระทำได้ ณ สถานที่ก่อสร้างหรือที่โรงผสมคอนกรีต กลางโดยความเห็นชอบจากวิศวกรเท่านั้น แต่ไม่ว่าในกรณีใดจะเพิ่มน้ำในระหว่าการขนส่งไม่ได้

4007 การเตรียมการเทคอนกรีตในอากาศร้อน

            ในกรณีที่จะเทคอนกรีตในอากาศร้อนจัด หรือจะเทองค์อาคารขนาดใหญ่เช่นคานขนาดใหญ่ ฐานรากหนาๆ จะต้องหาวิธลดอุณหภูมิของคอนกรีตลดให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ อาทิ ทำหลังคาคลุมโม่ผสมคอนกรีต กองวัสดุ ถังเก็บน้ำ ในบางกรณีอาจจะต้องใช้น้ำแข็งช่วย ซึ่งวิศวกรจะเป็นผู้กำหนด

4008 การขนส่ง และการเท

            ก. การเตรียมการก่อนการเท

                        (1) จะต้องขจัดคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว และวัสดุแปลกปลอมอื่นๆ ออกจากด้านในของอุปกรณ์ที่ใชัในการลำเลียงออกให้หมด

                        (2) แบบหล่อจะต้องเรียบร้อย จะต้องขจัดน้ำส่วนที่เกินและวัสดุแปลกปลอมใดๆ ออกให้หมด เหล็กเสริมผูกเข้าที่เสร็จเรียบร้อย วัสดุต่างๆ ที่จะฝังในคอนกรีตต้องเข้าที่เรียบร้อย และการเตรียมการต่างๆ ทั้งหมดได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงจะดำเนินการเทคอนกรีตได้

            ข. การลำเลียง วิธีการขนส่งและเทคอนกรีต จะต้องได้รับความเห็นชอบจากวิศวกรก่อน ในการผสมคอนกรีตจากเครื่องผสมจะต้องระมัดระวังมิให้เกิดการแยกแยะ หรือการแยกตัว หรือการสูญเสียของวัสดุผสม และจะต้องกระทำในลักษณะที่จะทำให้ได้คอนกรีตที่มีคุณภาพตามที่กำหนด

            ค. การเท

                        (1) ผู้รับเหมาจะเทคอนกรีตส่วนหนึ่งส่วนใดของโครงสร้างยังมิได้จนกว่าจะได้รับอนุมัติจากวิศวกรเรียบร้อยแล้ว และเมื่อได้รับอนุมัติแล้วถ้าผู้รับเหมายังไม่เริ่มเทคอนกรีตภายใน 24 ชั่วโมง จะต้องได้รับอนุมัติจากวิศวกรอีกครั้งจึงจะเทได้

                        (2) การเทคอนกรีตจะต้องกระทำต่อเนื่องกันไปตลอดทั้งพื้นที่ รอยต่อขณะก่อสร้างจะต้องอยู่ในตำแหน่งซึ่งกำหนดไว้ในแบบหรือได้รับวามเห็นชอบแล้ว การเทคอนกรีตจะต้องกระทำในอัตราที่คอนกรีตซึ่งเทไปแล้วจะต่อกับคอนกรีตที่จะเทใหม่ยังคงสภาพเหลวพอที่จะเทต่อกันได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งทำต่อเนื่องกันไปตลอดทั้งพื้นที่ รอยต่อขณะก่อสร้างจะต้องอยู่ในตำแหน่งซึ่งกำหนดไว้ในแบบหรือได้รับวามเห็นชอบแล้ว การเทคอนกรีตจะต้องกระทำในอัตราที่คอนกรีตซึ่งเทไปแล้วจะต่อกับคอนกรีตที่จะเทใหม่ยังคงสภาพเหลวพอที่จะเทต่อกันได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งห้ามมิให้เทคอนกรีตต่อกับคอนกรีตซึ่งเทไว้แล้วเกิน 30 นาทีแต่จะต้องทิ้งไว้ประมาณ 20 ชั่วโมงจึงจะเทต่อได้

                        (3) ห้ามมิให้นำคอนกรีที่แข็งตัวบ้างแล้วบางส่วนหรือแข็งตัวทั้งหมด หรือที่มีวัสดุแปลกปลอมมาเทปะปนกันเป็นอันขาด

                        (4) เมื่อเทคอนกรีตลงในแบบหล่อแล้ว จะต้องอัดคอนกรีตนั้นให้แน่นภายในเวลา 30 นาที นับตั้งแต่ปล่อยคอนกรีตออกจากเครื่องผสมนอกจากจะมีเครื่องกวนพิเศษสำหรับการนี้โดยเฉพาะหรือมีเครื่องผสมติดรถซึ่งจะกวนอยู่ตลอดเวลาในกรณีเช่นนั้นให้เพิ่มเวลาได้เป็น 2 ชั่วโมงนับตั้งแต่บรรจุซีเมนต์เข้าเครื่องผสม ต้องเทภายใน 30 นาที นับตั้งแต่ปล่อยคอนกรีตออกจากเครื่อง

กวน

(5) จะต้องเทคอนกรีตให้ใกล้ตำแหน่งสุดท้ายมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อหลีกเลี่ยง

การเกิดการแยกแยะอันเนื่องจากการโยกย้ายและการไหตัวของคอนกรีต ต้องระวังอย่าใช้วิธีการใดๆ ที่จะทำให้การเกิดการแยกแยะ ห้ามปล่อยคอนกรีตเข้าที่จากระยะสูงเกินกว่า 2 เมตร นอกจากจะได้รับอนุมัติจากวิศวกร

                        (6) ในกรณีที่ใช้คอนกรีตเปลือยโดยมีมอร์ต้าเป็นผิว จะต้องใช้เครื่องมือที่เหมาะสมดันหินให้ออกจากข้างแบบ เพื่อให้มอร์ต้าออกมาอยู่ที่ผิวให้เต็มโดยไม่เป็นโพรงเมื่อถอดแบบ การทำให้คอนกรีตแน่นให้ใช้วิธีสั่นด้วยเครื่อง หรือกระทุ้งเพื่อให้คอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมและสิ่งที่ฝังจนทั่วและเข้าไปอัดตามมุมต่าง ๆ จนเต็มโดยขจัดกระเปาะอากาศ และกระเปาะหินอันจะทำให้คอนกรีตเป็นโพรงเป็นหลุมบ่อหรือเกิดระนาบที่ไม่แข็งแรงออกให้หมดสิ้น เครื่องสั่นจะต้องมีความเฉื่อยอย่างน้อย 7000 รอบต่อนาที และผู้ที่ใช้งานจะต้องมีความชำนาญเพียงพอห้ามมิให้ทำการสั่นคอนกรีตเกินขนาดและใช้เครื่องสั่นเป็นตัวเขยื้อนคอนกรีตให้เคลื่อนที่จากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งภายในแบบหล่อเป็นอันขาด ให้จุ่มและถอนเครื่องสั่นลงตรงๆ ที่หลายๆ จุด ห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตร ในการจุ่มแต่ละครั้งจะต้องทิ้งระยะเวลาให้เพียงพอที่จะทำให้คอนกรีตแน่นตัว แต่ต้องไม่เกินไปจนเป็นเหตุให้เกิดการแยกแยะ โดยปรกติจุดหนึ่ง ๆ ควรจุ่มอยู่ระหว่าง 5 ถึง 15 นาที วินาที ในกรณีที่หน้าตัดของคอนกรีตบางเกินไปจนไม่อาจแหย่เครื่องสั่นลงไปได้ก็ให้ใช้เครื่องสั้นแนบกับข้างแบบ หรือใช้วิธีอื่นที่ได้รับการเห็นชอบแล้ว สำหรับองค์อาคารสูงๆ และหน้าตัดกว้าง เช่น เสาขนาดใหญ่ควรใช้เครื่องสั่นชนิดเกาะติดกับข้างแบบ แต่ทั้งนี้แบบหล่อต้องแข็งแรงพอที่จะสามารถรับความสั่นได้โดยไม่ทำให้รูปร่างขององค์อาคารผิดไปจากที่กำหนด จะต้องมีเครื่องสั่นคอนกรีตสำรองอย่างน้อย หนึ่งเครื่องปรำจำ ณ สถานที่ก่อสร้างเสมอในขณะเทคอนกรีต

4009 รอยต่อและสิ่งที่ฝังในคอนกรีต

ก. รอยต่อขณะก่อสร้างของอาคาร

(1) ในกรณีมิได้ระบุตำแหน่งและรายละเอียดของรอยต่อนี้ในแบบ จะต้องจัดทำ

และวางในตำแหน่งซึ่งจะทำให้โครงสร้างเสียความแข็งแรงน้อยที่สุด และให้เกิดรอยร้าวเนื่องจากการหดตัวน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจะต้องได้รับความเห็นชอบก่อน

                        (2) ผิวบนของผนังและเสาคอนกรีตจะต้องอยู่ในแนวราบ คอนกรีตซึ่งเททับเหนือรอยต่อขณะก่อสร้างที่อยู่ในแนวราบ จะต้องไม่ใช่คอนกรีตส่วนแรกที่ออกจากเครื่องผสม และจะต้องอัดแน่นให้ทั่วโดยอัดให้เข้ากับคอนกรีตซึ่งเทไว้ก่อนแล้ว

                        (3) ในกรณีของผิวทางแนวตั้ง ให้ใช้ปูนทรายในอัตราส่วน 1: 1 ผสมน้ำข้นๆ ไล้ที่ผิวให้ทั่วก่อนที่จะเทคอนกรีตลงไป

                        (4) ให้เดินเหล็กเสริมต่อเนื่องผ่านรอยต่อไป และจะต้องใส่สลักและเดือยเอียงตามแต่วิศวกรจะเห็นสมควร จะต้องจัดให้มีสลักตามยาวลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตรสำหรับรอยต่อในผนังทั้งหมด และระหว่างผนังกับแผ่นพื้นหรือฐานราก

                        (5) ในกรณีที่เทคอนกรีตเป็นชั้นๆ จะต้องยึดเหล็กที่โผล่เหนือแต่ละชั้นให้แน่นหนาเพื่อป้องกันการเลื่อนตัว

                        (6) ในขณะคอนกรีตยังไม่ก่อตัวให้ขจัดฝ้าน้ำปูน และวัสดุที่หลุดร่วงออกให้หมดโดยไม่จำเป็นต้องทำผิวหยาบอีก แต่หากไม่สามารถปฏิบัติตามนี้ได้ ก็ให้ขจัดออกโดยใช้เครื่องมือหลังจากเทคอนกรีตแล้ว 24 ชั่วโมงขึ้นไป แล้วให้ล้างผิวที่ทำให้หยาบนั้นด้วยสะอาดทันทีก่อนที่จะเทคอนกรีตใหม่ ให้พรมน้ำผิวคอนกรีตที่รอยต่อทุกแห่งให้ชื้นแต่ไม่ให้เปียกโชก

                        (7) ถ้าหากต้องการหรือได้รับการยินยอม อาจเพิ่มความยึดหน่วงได้ตามวิธีต่อไปนี้

                                    (ก) สารผสมเพิ่มที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว

                                    (ข) ใช้สารหน่วงซึ่งได้รับความเห็นชอบแล้ว เพื่อทำให้การก่อตัวของมอร์ต้าที่ผิวช้าลงแต่ห้ามใส่มากจนไม่ก่อตัวเลย

                                    (ค) ทำผิวคอนกรีตให้หยาบวิธีที่ได้รับการรับลองแล้ว โดยวิธีนี้จะทำให้มวลรวมโผล่โดยสม่ำเสมอ ปราศจากฝ้าน้ำปูนหรือเม็ดมวลรวมที่หลุดร่วงหรือคอนกรีตที่ชำรุด

            ข. วัสดุฝังในคอนกรีต

(1) ก่อนเทคอนกรีตจะต้องฝังปลอก ไส้ สมอ และวัสดุฝังอื่นๆ ที่จะต้องทำงาน

ต่อไปภายหลังให้เรียบร้อย

(2) ผู้รับเหมาซึ่งทำงานเกี่ยวข้องกับคอนกรีต จะต้องได้รับแจ้งล่วงหน้า เพื่อให้มี

โอกาสที่จะจัดวางสิ่งซึ่งจะฝังได้ทันก่องเทคอนกรีต

(3) จะต้องจัดวางแผ่นกั้นน้ำ ท่อร้อยสายไฟ และสิ่งซึ่งจะฝังอื่นๆ เข้าที่ให้ถูก

ตำแหน่งอย่างแน่นอน และยึดให้ดีเพื่อมิให้เกิดการเคลื่อนตัว สำหรับช่องว่างในปลอกไส้และร่องสมอ จะต้องอุดด้วยวัสดุที่จะเอาออกได้ง่ายเป็นการชั่วคราว เพื่อป้องกันมิให้คอนกรีตไหลเข้าไปในช่องว่างนั้น

            ค. รอยต่อสำหรับพื้นถนน

                        รอยต่อทางยาวตลอดจนรอยต่อสำหรับกันกานหดและการยืดตัวจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่กำหนดไว้ในแบบ ในกรณีที่ไม่สามารถเทคอนกรีตได้เต็มในช่วงจะต้องทำรอยต่อขณะก่อสร้างขึ้นในช่วงหนึ่งๆ จะมีรอยต่อขณะก่อสร้างเกินหนึ่งรอยไม่ได้ และรอยต่อดังกล่าวจะต้องอยู่ภายในช่วงกลางแบ่งสามส่วนของช่วง

                        ความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้ สำหรับรอยต่อต่างๆ จะยอมให้มีความผิดพลาดมากที่สุดได้ไม่เกินค่าต่อไปนี้

                        ระยะทางแนวราบ 6 มิลลิเมตร

                        ระยะทางแนวดิ่ง 3 มิลลิเมตร

4010 การซ่อมผิวที่ชำรุด

            ก. ห้ามปะซ่อมรูร้อยเหล็กยึดและเนื้อที่ชำรุดทั้งหมดก่อนที่วิศวกรหรือผู้แทนผู้ว่าจ้างจะได้ตรวจสอบแล้ว

            ข. สำหรับคอนกรีตที่เป็นรูพรุนเล็กๆ และชำรุดเล็กน้อย หากวิศวกรลงความเห็นว่าพอที่จะซ่อมแซมให้ดีได้ จะต้องสกัดคอนกรีตที่ชำรุดออกให้หมดจนถึงคอนกรีตดี เพื่อป้องกันมิให้น้ำในมอร์ต้าที่จะปะซ่อมนั้นถูกดูดซึมไป

            จะต้องทำให้บริเวณที่จะปะซ่อมและเนื้อที่บริเวณโดยรอบเป็นระยะออกมาอย่างน้อย 15 เซนติเมตร มอร์ต้าที่ใช้เป็นตัวประสานจะต้องประกอบด้วยส่วนผสมของซีเมนต์ 1 ส่วนต่อทรายละเอียดซึ่งผ่านตะแกรงเบอร์ 30 1 ส่วน ให้ละเลงมอร์ต้านี้ให้ทั่วพื้นที่ผิว

ค. ส่วนผสมสำหรับใช้อุดให้ประกอบด้วยซีเมนต์ 1 ส่วนต่อทรายที่ใช้ผสมคอนกรีต 2½ ส่วนโดยปริมาตรชื้นและหลวม สำหรับคอนกรีตเปลือยภายนอกให้ผสมซีเมนต์ขาเข้ากับซีเมนต์ธรรมดา บ้างเพื่อให้ส่วนผสมที่ปะซ่อมมีสีกลมกลืนกับสีคอนกรีตข้างเคียง ทั้งนี้ โดยวิธีทดลองหาส่วนผสมเอาเอง

ง. ให้จำกัดปริมาณของน้ำให้พอดีเท่าที่จำเป็นในการยกย้ายและการปะซ่อมเท่านั้น

จ. หลังจากที่น้ำซึ่งค้างบนผิวได้ระเหยออกจากพื้นที่ที่จะปะซ่อมหมดแล้ว ให้ละเลงชั้นยึดหน่วงลงบนผิวนั้นให้ทั่ว เมื่อชั้นยึดหน่วงเริ่มเสียน้ำ ให้ฉาบมอร์ต้าที่ใช้ปะซ่อมทันที ให้อัดมอร์ต้าให้แน่นโดยทั่วถึงและปาดออกให้เนื้อนูนกว่าคอนกรีตโดยรอบเล็กน้อย และจะต้องทิ้งไว้เฉยๆอย่างน้อย1ชั่วโมงเพื่อให้เกิดการหดตัวขั้นต้นก่อนที่จะตกแต่งขั้นสุดท้าย บริเวณที่ปะซ่อมแล้วให้รักษาความชื้นอย่างน้อย 7วัน สำหรับพื้นคอนกรีตเปลือยที่ต้องการรักษาลายไม้แบบ ห้ามใช้เครื่องมือที่เป็นโลหะฉาบเป็นอันขาด

ฉ. ในกรณีที่รูพรุนนั้นกว้างมากหรือลึกจนมองเห็นเหล็ก และหากวิศวกรลงความเห็นว่าจะอยู่ในวิสัยที่ซ่อมได้ ก็ให้ปะซ่อมได้โดยใช้มอร์ต้าชนิดที่ผสมตัวยากันการหดและผสมด้วยผงเหล็กแทนปูนทรายธรรมดา โดยให้ปฏิบัติตามข้อแนะนำของผู้ผลิตโดยเคร่งครัด

ช. ในกรณีที่โพรงใหญ่และลึกมาก หรือก่อให้เกิดข้อเสียหายใดๆ เช่น คอนกรีตมีกำลังต่ำกว่ากำหนดและวิศวกรมีความเห็นว่าอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้อาคารได้ ผู้รับเหมาจะต้องดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องเหล่านั้นตามวิธีที่วิศวกรได้เห็นชอบด้วยแล้ว หรือหากวิศวกรเห็นว่าการชำรุดมากจนไม่อาจแก้ไขให้ดีได้อาจสั่งให้ทุบทิ้งแล้วสร้างขึ้นใหม่โดยผู้รับเหมาจะต้องเป็นคนออกค่าใช้จ่ายในการนี้ทั้งสิ้น

4011 การบ่มและการป้องกัน

            หลังจากได้เทคอนกรีตแล้ว และอยู่ในระยะกำลังแข็งตัว จะต้องป้องกันคอนกรีตจากอันตรายที่อาจเกิดจากแสงแดด ลมแห้ง ฝน น้ำไหล การเสียดและจากการบรรทุกน้ำเกินสมควรสำหรับคอนกรีตซึ่งใช้ปูนซีเมนต์ชนิดที่ 1 จะต้องรักษาให้ชื้นต่อเนื่องกันเป็นเวลาอย่างน้อย 7 วัน โดยวิธีคลุมด้วยกระสอบหรือผ้าใบเปียกหรือขัง หรือพ่นน้ำ หรือโดยวิธีที่เหมาะสมอื่นๆ ตามที่วิศวกรเห็นชอบ สำหรับผิวคอนกรีตในแนวตั้งเช่น เสา ผนัง และด้านข้างของคาน ให้หุ้มกระสอบหรือผ้าใบให้เลื่อมซ้อนกันและรักษาให้ชื้นโดยให้สิ่งที่คลุมนี้แนบติดกับคอนกรีต

            ในกรณีที่ใช้ปูนซีเมนต์ชนิดให้กำลังสูงเร็ว ระยะเวลาการบ่มชื้นให้อยู่ในวินิจฉัยของวิศวกร

4012 การทดสอบ

            ก. การทดสอบแท่งกระบอกคอนกรีต ชิ้นตัวอย่างสำหรับการทดสอบอาจนำมาจากทุกๆ รถหรือตามแต่วิศวกรจะกำหนด ทุกวันจะต้องเก็บชิ้นตัวอย่างไม่น้อยกว่า 6 ชิ้นสำหรับทดสอบ 7 วัน 3 ก้อน และ 28 วัน 3 ก้อน วิธีเก็บ เตรียม บ่ม และทดสอบชิ้นตัวอย่างให้เป็นไปตาม “วิธีทำและบ่มชิ้นตัวอย่างคอนกรีตรับแรงอัดและแรงดัดในสนาม” (ASTM C 31) และ “วิธีทดสอบสำหรับกำลังอัดของแท่งกระบอกคอนกรีต” (ASTM C 39) ตามลำดับ

            ข. รายงาน ผู้รับเหมาจะต้องส่งรายงานผลการทดสอบกำลังอัดคอนกรีตรวม 3 ชุด สำหรับผู้แทนผู้ว่าจ้าง 1 ชุด และสำนักงานวิศวกรและสถาปนิก 2 ชุด

            รายงานจะต้องรวบรวมข้อมูลต่างๆ ดังต่อไปนี้

                        (1) วันที่หล่อ

                        (2) วันที่ทดสอบ

                        (3) ประเภทของคอนกรีต

                        (4) ค่าการยุบ

                        (5) ส่วนผสม

                        (6) หน่วยน้ำหนัก

                        (7) กำลังอัด

                                    (i) ณ จุดเริ่มร้าว

                                    (ii) ณ จุดประลัย

            ค. การทดสอบแนว ระดับ ความลาด และความไม่สม่ำเสมอของพื้นถนนคอนกรีตในบริเวณอาคารเมื่อคอนกรีตพื้นถนนแข็งตัวแล้ว จะต้องทำการตรวจสอบแนวระดับความลาดตลอดจนความไม่สม่ำเสมอต่างๆ อีกครั้งหนึ่ง หาก ณ จุดใดผิวถนนสูงกว่าบริเวณข้างเคียงเกิน 3 มิลลิเมตร จะต้องขัดออก แต่ถ้าสูงกว่านั้นผู้รับเหมาจะต้องทุบพื้นช่วงนั้นออกแล้วหล่อใหม่โดยต้องออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด

            ง. การทดสอบความหนาของพื้นคอนกรีตในบริเวณอาคาร

                ผู้ว่าจ้างหรือผู้แทนอาจกำหนดให้มีการทดสอบความหนาของพื้นถนนคอนกรีตโดยวิธีเจาะเอาแก่นไปตรวจตามวิธีของ ASTM C 174 ก็ได้ หากปรากฏว่าความหนาเฉลี่ยน้อยกว่าที่กำหนดเกิน 3 มิลลิเมตร วิศวกรจะเป็นผู้ตัดสินว่าถนนนั้นมีกำลังพอที่จะรับน้ำหนักบรรทุกตามที่คำนวณออกแบบไว้ได้หรือไม่ วิศวกรลงความเห็นว่าพื้นถนนนั้นไม่แข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักบรรทุกที่คำนวณออกแบบไว้ได้ ผู้รับเหมาจะต้องทุบออกแล้วเทคอนกรีตใหม่โดยจะเรียกเงินเพิ่มจากผู้ว่าจ้างมิได้

4013 การประเมินผลการทดสอบกำลังอัด

            ก. ค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบชิ้นตัวอย่างสามชิ้นหรือมากกว่าซึ่งบ่มในห้องปฏิบัติการจะต้องไม่ต่ำกว่าค่าที่กำหนด และจะต้องไม่มีค่าใดต่ำกว่าร้อยละ 80 ของค่ากำลังอัดที่กำหนด

            ข. หากกำลังอัดมีค่าต่ำกว่าที่กำหนดก็อาจจำเป็นต้องเจาะเอาแก่นคอนกรีตไปทำการทดสอบ

            ค. การทดสอบแก่นคอนกรีตจะต้องปฏิบัติตาม วิธีเจาะและทดสอบแก่นคอนกรีตที่เจาะและคานคอนกรีตที่เลื่อยตัดมา” (ASTM C 24) การทดสอบแก่นคอนกรีตต้องกระทำในสภาพผึ่งแห้งในอากาศ

            ง. องค์อาคารหรือพื้นที่คอนกรีตส่วนใดที่วิศวกรพิจารณาเห็นว่าไม่แข็งแรงพอ ให้เจาะแก่นอย่างน้อยสองก้อนจากแต่ละองค์อาคารหรือพื้นที่นั้นๆ ตำแหน่งที่จะเจาะแก่นให้วิศวกรเป็นผู้กำหนด

            จ. กำลังของแก่นที่ได้จากแต่ละองค์อาคารหรือพื้นที่จะต้องมีค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือสูงกว่าร้อยละ 90 ของกำลังที่กำหนดจึงจะถือว่าใช้ได้

            ฉ. จะต้องอุดรูซึ่งเจาะเอาแก่นออกมาตามวิธีในข้อ 4010

            ช. หากผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าคอนกรีตมีความแข็งแรงไม่พอ จะต้องทุบคอนกรีตนั้นทิ้งแล้วหล่อใหม่โดยผู้รับเหมาเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น

            ซ. ชิ้นตัวอย่างแท่งกระบอกคอนกรีต อาจใช้ลูกบาศก์ ขนาด 15 X 15 X 15 ซม. แทนได้โดยให้เปรียบเทียบค่ากำลังอัดตามมาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กของ ว.ส.ท.        


หมวด 5-เหล็กรูปพรรณ

5001 ทั่วไป

            ก. “กรณีทั่วไปและกรณีพิเศษ” ที่ระบุไว้ในภาคอื่น ให้นำมาใช้กับหมวดนี้ด้วย

            ข. บทกำหนดส่วนนี้คลุมถึงเหล็กรูปพรรณทุกชนิด

            ค. รายละเอียดเกี่ยวกับรูปพรรณ ซึ่งมิได้ระบุในแบบและบทกำหนดนี้ ให้ถือปฏิบัติตาม “มาตรฐานสำหรับอาคารเหล็กรูปพรรณ” ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ทุกประการ

5002 วัสดุ

            เหล็กรูปพรรณทั้งหมดจะต้องมีคุณสมบัติสอดคล้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ มอก. 116-2517 หรือ ASTM หรือ JIS ที่เหมาะสม

5003 การกองเก็บวัสดุ

            การเก็บเหล็กรูปประพรรณทั้งที่ประกอบแล้วและยังไม่ได้ประกอบ จะต้องเก็บไว้บนยกพื้นเหนือพื้นดิน จะต้องรักษาเหล็กให้ปราศจากฝุ่น ไขมัน หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ และจะต้องระวังรักษาอย่าให้เหล็กเป็นสนิม

5004 การต่อ

            รายละเอียดในการต่อให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในแบบทุกประการ

5005 รูและช่องเปิด

            การเจาะหรือการตัดหรือกดทะลุให้เป็นรูต้องกระทำตั้งฉากกับผิวของเหล็กและห้ามขยายรูด้วยความร้อนเป็นอันขาด ในเสาที่เป็นเหล็กรูปพรรณซึ่งต่อกับคาน ค.ส.ล. จะต้องเจาะรูไว้เพื่อให้เหล็กเสริมในคานคอนกรีตสามารถลอดได้ รูเจาะต้องเรียบร้อยปราศจากรอยขาดหรือแหว่ง ขอบรูซึ่งคมและยื่นเล็กน้อยอันเกิดจากการเจาะตัวสว่านในขจัดออกให้หมดด้วยเครื่องมือโดยลบมุม 2 มิลลิเมตร ช่องเปิดอื่นๆ เหนือจากรูสลักเกลียวจะต้องเสริมแหวนเหล็กหนาไม่น้อยกว่าความหนาขององค์อาคารที่เสริมนั้น รูหรือช่องเปิดภายในของแหวนจะต้องเท่ากับช่องเปิดขององค์อาคารที่เสริมนั้น

5006 การประกอบและยกติดตั้ง

            ก. แบบขยาย ก่อนที่จะทำการประกอบเหล็กรูปพรรณทุกชิ้น ผู้รับเหมาจะต้องส่งแบบขยายต่อผู้แทนผู้ว่าจ้างเพื่อรับความเห็นชอบ

                        (1) จะต้องจัดทำแบบที่สมบูรณ์แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการตัดต่อประกอบ และการติดตั้งรู สลักเกลียว รอยเชื่อม และรอยต่อที่จะกระทำในโรงงาน

                        (2) สัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล

                        (3) จะต้องมีสำเนาเอกสารแสดงบัญชีวัสดุ และวิธีการยกติดตั้งตลอดจนการยึดโยงชั่วคราว

            ข. การประกอบและยกติดตั้ง

                        (1) ให้พยายามประกอบที่โรงงานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

                        (2) การตัดเฉือน ตัดด้วยไฟ สกัด และกดทะลุ ต้องกระทำอย่างละเอียดและประณีต

                        (3) องค์อาคารที่วางทาบกันจะต้องวางให้แนบสนิทเต็มหน้า

                        (4) การติดตัวเสริมกำลังและองค์อาคารยึดโยงให้กระทำอย่างประณีต สำรับตัวเสริมกำลังมีติดแบบอัดแน่นต้องอัดให้สนิทจริงๆ

                        (5) รายละเอียดให้เป็นไปตาม “มาตรฐานสำหรับอาคารเหล็กรูปพรรณ” ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ที่ 1003-18 ทุกประการ

                        (6) ห้ามใช้วิธีเจาะรูด้วยไฟ จะต้องแก้แนวต่างๆ ให้ตรงตามแบบ รูที่เจาะไว้ไม่ถูกต้อง ฯลฯ จะต้องอุดให้เต็มด้วยวิธีเชื่อมและเจาะรูใหม่ให้ถูกตำแหน่ง

                        (7) ไฟที่ใช้ตัดควรมีเครื่องมือกลเป็นตัวนำ

                        (8) การเชื่อม

                                    (i) ให้เป็นไปตามมาตรฐาน AWS สำหรับการเชื่อมในงานก่อสร้างอาคาร

                                    (ii) ผิวหน้าที่จะทำความสะอาดปราศจากสะเก็ดร่อน ตะกรันสนิม ไขมัน สี และวัสดุแปลกปลอมอื่นๆ ที่จะทำให้เกิดผลเสียต่อการเชื่อมได้

                                    (iii) ในระหว่างการเชื่อมจะต้องยึดชิ้นส่วนที่จะเชื่อมติดกันให้แน่นเพื่อให้ผิวแนบสนิทสามารถทาสีอุดได้โดยง่าย

                                    (iv) หากสามารถปฏิบัติได้ ให้พยายามเชื่อมในตำแหน่งราบ

                                    (v) ให้วางลำดับการเชื่อมให้ดี เพื่อหลีกเลี่ยงการบิดเบี้ยวและหน่วยแรงตกค้างในระหว่างการเชื่อม

                                    (vi) ในการเชื่อมแบบชน จะต้องเชื่อมในลักษณะที่จะให้ได้การ Penetration โดยสมบูรณ์ โดยมิให้มีกระเปาะตะกรันขังอยู่ ในกรณีนี้อาจใช้วิธีลบมุมตามขอบ หรือ Backing Plate ก็ได้

                                    (vii) ชิ้นส่วนที่จะเชื่อมแบบทาบ จะต้องวางให้ชิดกันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และไม่ว่ากรณีใดจะต้องห่างกันไม่เกิน 6 มิลลิเมตร

                                    (viii) ช่างเชื่อม จะต้องใช้ช่างเชื่อมที่มีความชำนาญเท่านั้น และเพื่อเป็นการพิสูจน์ถึงความสามารถจะมรการทดสอบความชำนาญของช่างเชื่อมทุกๆ คน

 5007 งานสลักเกลียว

            (1) การตอกสลักเกลียวจะต้องกระทำด้วยความประณีต โดยไม่ทำให้เกลียวเสียหาย

            (2) ต้องแน่ใจว่าผิวรอยต่อเรียบ และผิวที่รองรับจะต้องสัมผัสกันเต็มหน้าก่อนจะทำการขันเกลียว

            (3) เมื่อขันสลักเกลียวแน่นแล้วให้ทุบปลายเกลียวเพื่อมิให้แป้นสลักเกลียวคลายตัว

5008 การต่อและประกอบในสนาม

            (1) ให้ปฏิบัติตามที่ระบุไว้ในแบบขยาย และคำแนะนำในการยกติดตั้งโดยเคร่งครัด

            (2) ค่าผิดพลาดที่ยอมให้ให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานสากล

            (3) จะต้องทำนั่งร้านค้ำยัน ยึดโยง ฯลฯ ให้พอเพียงเพื่อยึดโครงสร้างให้แน่นหนาอยู่ในแนวและตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานจนกว่างานประกอบจะเสร็จเรียบร้อยและแข็งแรงดีแล้ว

            (4) หมุด...ให้ใช้สำหรับยึดชิ้นส่วนต่างๆ เข้าหากันโดยไม่ให้เหล็ก (โลหะ) เกิดการบิดเบี้ยวชำรุดเท่านั้น

            (5) ห้ามใช้วิธีตัดด้วยแก๊สเป็นอันขาด นอกจากจะได้รับอนุมัติจากวิศวกร

(6) สลักเกลียวยึดและสมอ ให้ตั้งโดยใช้แบบนำเท่านั้น

(7) แผ่นรองรับ

            ก. ใช้ตามแบบที่กำหนดในแบบขยาย

            ข. ให้รองรับและปรับแนวด้วยลิ่มเหล็ก

            ค.หลังจากได้ยกติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้อัดมอร์ต้าชนิดที่ไม่หดตัวและใช้ผงเหล็กเป็นมวลรวมใต้แผนรองรับให้แน่นแล้วติดขอบลิ่มให้เสมอกับขอบของแผ่นรองรับโดยทิ้ง ส่วนที่เหลือไว้ในที่

5009 การป้องกันเหล็กมิให้ผุกร่อน

            ก. เกณฑ์กำหนดทั่วไป

            งานนี้หมายรวมถึงการทาสีและการป้องกันการผุกร่อนของงานเหล็กให้ตรงตามบทกำหนดและแบบ และให้เป็นไปตามข้อกำหนดของสัญญานี้ทุกประการ

            ข. ผิวที่จะทาสี

                        (1) การทำความสะอาด

                                    (i) ก่อนจะทาสีบนผิวใดๆ ยกเว้นผิวที่อาบโลหะ จะต้องขัดผิวให้สะอาดโดยใช้เครื่องมือขัด เช่นจานคาร์บอรันดัม หรือเครื่องมือชนิดอื่นที่เหมาะสม จากนั้นให้ขัดด้วยแปรงลวดเหล็กและกระดาษทราย เพื่อขจัดเศษโลหะที่หลุดร่อนออกให้หมด แต่ต้องพยายามหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องขัดด้วยลวดเป็นระยะเวลานาน เพราะอาจทำให้เนื้อโลหะไหม้ได้

                                    (ii) สำหรับรอยเชื่อมและผิวเหล็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนจากการเชื่อม จะต้องเตรียมผิวสำหรับทาสีใหม่เช่นเดียวกับผิวทั่วไปตามวิธีในข้อ (i)

                                    (iii) ทันทีก่อนที่จะทาสีครั้งต่อไป ให้ทำความสะอาดผิวซึ่งทาสีไว้ก่อนหรือผิวที่ฉาบไว้จะต้องขจัดสีที่ร่อนหลุดและสนิมออกให้หมด และจะต้องทำความสะอาดพื้นที่ส่วนที่ถูกน้ำมันและไปมันต่างๆ แล้วปล่อยให้แห้งสนิทก่อนจะทาสีทับ

                        (2) สีรองพื้น

                        หากมิได้ระบุเป็นอย่างอื่นงานเหล็กรูปพรรณทั้งหมดให้ทาสีรองพื้นด้วยสีสนิม แล้วทาสีกันสนิมทับอีกสองชั้น


หมวด 6–การขุด ถม บดอัด และแต่งระดับลาดเอียง

6001 ทั่วไป

            ก. “กรณีทั่วไปและกรณีพิเศษ” ที่ระบุไว้ในภาคอื่น ให้นำมาใช้กับหมวดนี้ด้วย

6002 การขุดดินสำหรับฐานราก

            หลุมฐานรากให้ขุดกว้างกว่าตัวฐานรากเพื่อให้สามารถวางและถอดไม้แบบได้ ต้องค้ำยันด้านข้างของหลุมให้ดีตลอดเวลาอย่าให้ดินพังลงมา และต้องระวังอย่าให้มีน้ำในหลุม ต้องปรับดินก้นหลุมให้ได้ระดับอย่างดี

6003 วัสดุที่ขุดได้

            วัสดุที่ขุดได้ให้ถือเป็นของผู้รับเหมา ยกเว้นโบราณวัตถุและของมีค่าอื่นๆ เมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว ผู้รับเหมาอาจใช้วัสดุที่ขุดขึ้นมานั้นกลบกลับลงไปได้ ส่วนที่เหลือให้เกลี่ยในบริเวณที่จะไม่มีกานบดอัด เช่น บริเวณที่จะเทแผ่นพื้นคอนกรีตวางบนดิน

6004 ต้นไม้

            การตัดต้นไม้ใดๆ ในบริเวณก่อสร้างจะกระทำมิได้ นอกจากจะได้รับอนุมัติจากผู้แทนผู้ว่าจ้างเท่านั้น และเมื่อตัดแล้วต้องนำต้นไม้นั้นออกไปนอกบริเวณสถานที่ก่อสร้าง บริเวณที่จะทำถนนคอนกรีตจะต้องปราศจากหญ้า ใบไม้ และกิ่งไม้

 
   
   

rangsonw@gmail.com

   
Use examples to explain your points, always backup a comment with a fact.
         
    ปรับปรุงแก้ไข พฤหัสบดี, 22 มิถุนายน 2549 08:31:15