สำนักงานที่ปรึกษากฎหมายและวิศวกรรม  รังสรรค์ วงษ์บุญ
Office of Law and Engineering Consultants
The only thing necessary for the triumph of evil is for good men to do nothing.
 
       

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

HOME

Yes I Know 'who & why'


คำศัพท์พื้นฐานที่ควรรู้เมื่อต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการวางแผน ตรวจสอบ และควบคุมโครงการก่อสร้าง
จากหนังสือ Managing Construction Projects : A Guide to Processes and Procedures by International Labour Office, Geneva
แปลโดย พิชัย ธานีรณานนท์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานัครินทร์
และ จากเอกสารสัญญาบางส่วนของสนามบิน
สุวรรณภูมิ


Accumulated payments : การชำระเงินสะสมทั้งหมดที่ลูกค้าได้ชำระไปจนถึงวันที่พิจารณา

Approvals : การอนุมัติ หรือ การยอมรับโดยหน่วยราชการ หรือ หน่วยงานอื่นๆ(ที่มีอำนาจ)ว่าโครงการก่อสร้างที่เสนอขึ้นมาตามลำดับนั้น เป็นไปตามกฎระเบียบของทางราชการ

approximate bill of quantities รายการวัสดุและสิ่งของโดยประมาณที่คิดจากแบบร่าง  และใช้ค่าโดยประมาณของปริมาณต่างๆ

full bill of quantities รายการวัสดุและสิ่งของที่สมบูรณ์โดยคิดจากแบบที่ใช้งานจริง หรือ แบบที่ใช้ในการประมูลงาน และใช้ค่าจริงๆทั้งปริมาณ และ ราคา
 

Briefing stage : ขั้นตอนการสรุปงาน  ขั้นตอนแรกในกระบวนการก่อสร้าง เป็นขั้นตอนที่เจ้าของงานซึ่งอาจมีคนเดียวหรือหลายคนได้ร่างความต้องการอย่างคร่าวๆเพื่อส่งให้ที่ปรึกษา
จัดทำข้อเสนอ
(proposals) หรือข้อแนะนำต่างๆ(recommendations) เพื่อให้เขาสามารถตัดสินใจได้ว่าจะดำเนินโครงการในรูปแบบใด

Briefing team : กลุ่มสรุปงานซึ่งประกอบด้วย ผู้ใช้ประโยชน์จากการก่อสร้าง, ผู้ออกแบบ และผู้เชี่ยวชาญ และในบางกรณี อาจรวมผู้รับเหมาและผู้ส่งของ ,

Builder : ผู้ก่อสร้าง มีความหมายเหมือน Constructor
 

Capital project : โครงการที่ต้องการเงินลงทุน

Cash flow : กระแสเงิน
การหมุนเวียนของเงินทุนเพื่อใช้ในการชำระเงินที่จำเป็นในระหว่างการดำเนินโครงการ
พร้อมกับแสดงเงินทั้งหมดที่ได้รับ 

Certificate (final  certificate) : ใบรับรองสุดท้าย
แบบฟอร์มที่ระบุเงินที่จะต้องค้างอยู่(รวมถึงเงินที่หักเก็บไว้) ซึ่งลูกค้าหรือเจ้าของโครงการจะต้องจ่ายให้กับผู้รับเหมา หลังจากที่ข้อบกพร่องต่างๆในด้านวัสดุหรือฝีมือ
เกิดขึ้นภายหลังการส่งมอบงานงวดสุดท้ายและอยู่ในระหว่างช่วงรับประกันจุดบกพร่อง ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้องแล้ว

Certificate (interim certificate) : ใบรับรองระหว่างงาน
แบบฟอร์มซึ่งระบุจำนวนเงินที่ลูกค้าหรือเจ้าของโครงการจะต้องจ่ายให้กับผู้รับเหมาสำหรับงานที่ทำเสร็จในระหว่างช่วงเวลาที่กำหนด ซึ่งปกติจะเป็นหนึ่งเดือน
จำนวนเงินที่ระบุไว้จะเท่ากับราคางานที่ประเมิน ลบออกด้วยเงินที่จะต้องหักไว้

Certificate of practical completion : ใบรับรองว่างานเสร็จในระดับที่ใช้การได้
แบบฟอร์มซึ่งจะออกให้กับผู้รับเหมา(โดยผู้จัดการโครงการ)หลังจากการตรวจงานได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เมื่อสิ้นสุดระยะก่อสร้าง เพื่อแสดงว่า งานได้เสร็จเรียบร้อย
เมื่อได้ออกแบบฟอร์มไปแล้ว  ลูกค้าหรือเจ้าของโครงการจะจ่ายเงินส่วนหนึ่ง(ปกติจะเป็นครึ่งหนึ่ง)ของเงินที่หักไว้ ให้แก่ผู้รับเหมา จากนั้นระยะเวลาการรับประกันจุดบกพร่องก็จะเริ่มต้น

Chainage : เสมียนงาน ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของทีมจัดการโครงการ
เป็นผู้ควบคุมดูแลงานประจำอยู่ในสถานที่ก่อสร้าง มีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบคุณภาพของงานก่อสร้าง

Client : ลูกค้า หรือ เจ้าของงาน เป็นคำที่ใช้กันมากในสหรัฐ

Commissioning team : ทีมส่งมอบงาน ประกอบด้วย ผู้ใช้,ผู้ออกแบบ,ผู้เชี่ยวชาญ,ผู้รับเหมาและผู้ส่งของ

Competitive tendering : การประกวดราคา
การประมูลงานก่อสร้างประเภทหนึ่ีงซึ่งเจ้าของงานหรือผู้แทนจะส่งใบเชิญไปให้ผู้รับเหมาเพื่อเชื้อเชิญให้เข้าร่วมเสนอราคา

conceptual report  หรือ  inception report  รายงานการออกแบบขั้นต้น
เป็นรายงานความก้าวหน้า หรือ ปัญหา ที่เกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนการออก TOR(Term of Reference หรือ ขอบเขตการจ้าง) หรือ Design Criteria กับขั้นตอนการออกแบบขั้นต้น หรือ
Preliminary Design  

Construction team : ทีมก่อสร้าง ประกอบด้วยทีมของผู้ใช้,ผู้ออกแบบ,ผู้เชี่ยวชาญ,ผู้รับเหมาและผู้ส่งของ 

Consultant : ที่ปรึกษา
บุคคลผู้ให้คำปรึกษาระดับมืออาชีพหรือระดับผู้เชี่ยวชาญ

Contract : สัญญา
ข้อตกลงระหว่างสองกลุ่มคนหรือมากกว่า

Contract, conditions of : เงื่อนไขของสัญญา
เงื่อนไขใด ๆ หรือข้อบังคับที่มาก่อนที่เขียนไว้ในสัญญา, ซึ่งระบุหน้าที่, สิทธิและความรับผิดของกลุ่มบุคคลที่อยู่ในสัญญา

Contract period : ระยะสัญญา
เวลาที่ระบุไว้ในสัญญา สำหรับการทำงานก่อสร้างให้เสร็จเรียบร้อย

standard form of contract รูปแบบมาตรฐานของสัญญา
เงื่อนไขที่เป็นมาตรฐาน , การจัดรูปแบบและโครงร่างของเอกสารสัญญา ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป

Contructor/builder : ผู้ก่อสร้าง
บุคคลหรือองค์กรเอกชน (ปกติจะเป็นผู้รับเหมาหรือแรงงานของหน่วยงานเอง)ซึ่งรับผิดชอบงานก่อสร้างในสนาม

Contingencies : เงินพิเศษ
เงินที่เผื่อไว้สำหรับค่าใช้จ่ายซึ่ง เกิดขึ้นจากสถานการณ์ที่ไม่ทราบล่วงหน้า

Co-ordinating committee : คณะกรรมการประสานงาน มีความหมายเหมือน Steering committee.

Cost : ค่าใช้จ่าย
สำหรับลูกค้าหรือเจ้าของโครงการ หมายถึง ค่าใช้จ่าย หรือ ราคาที่เขาจ่ายให้ผู้รับเหมา
แต่สำหรับผู้รับเหมา หมายถึง ราคาที่เขาจ่ายเพื่อซื้อทรัพยากรต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำโครงการ

Cost control : การควบคุมค่าใช้จ่าย
มาตรการเชิงรุกที่มีขึ้นเพื่อทำให้ค่าใช้จ่ายของโครงการก่อสร้างไม่เกินงบประมาณโครงการ

Cost diary : บันทึกค่าใช้จ่าย
บันทึกของเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของโครงการ

Cost forecast : การพยากรณ์ค่าใช้จ่าย
ประมาณการค่าใช้จ่ายสุดท้ายที่นาจะเป็นของ
การก่อสร้าง


Feasibility study : การศึกษาความเป็นไปได้
การศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมด้านการเงิน, ด้านเทคนิคหรือด้านอื่น ๆ ของโครงการที่ได้รับการเสนอ
 

Final account : บัญชีขั้นสุดท้าย
ใบสรุปค่าก่อสร้างสุดท้ายของโครงการของผู้รับเหมาโดยไม่รวมค่าจ้างและค่าดอกเบี้ย
บัญชีนี้รวมค่าใช่จ่ายที่ประหยัดได้ และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่ผิดไปจากเอกสารสัญญา หรือ การแก้ไขรายการที่มีราคาแพงหรือรายการชั่วคราว

Final cost (or price) : ค่าใช้จ่ายหรือราคาสุดท้าย
ค่าใช้จ่ายที่แท้จริงหรือราคาของโครงการที่เจ้าของโครงการหรือลูกค้าต้องจ่าย ซึ่งรวมถึงค่าก่อสร้าง,ค่าจ้างที่ปรึกษา,ค่าใช้จ่ายในการเริ่มโครงการ,
การเคลื่อนย้ายและการเข้าไปในสถานที่ก่อสร้าง,ดอกเบี้ย,เงินเดือนและค่าใช้จ่ายประจำของบุคลากรของลูกค้า และ อื่นๆที่เกี่ยวข้อง

Fixed price contract : สัญญาแบบราคาตายตัว
สัญญาซึ่งกำหนดงานของที่ปรึกษาหรือผู้รับเหมาไว้อย่างชัดเจน และ ได้มีการเจรจาตกลงในเรื่องของราคาหรือค่าจ้าง ที่ตายตัว
สำหรับสัญญาแบบนี้ราคาจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะด้วยกรณีใดๆจากภายนอก
 

Funds : เงินทุน
เงินที่มีสำรองไว้สำหรับทำโครงการ

inception report  หรือ  conceptual report   รายงานการออกแบบขั้นต้น
เป็นรายงานความก้าวหน้า หรือ ปัญหา ที่เกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนการออก TOR(Term of Reference หรือ ขอบเขตการจ้าง) หรือ Design Criteria กับขั้นตอนการออกแบบขั้นต้น
หรือ Preliminary Design  

Index costs : ค่าใช้จ่ายตามดัชนี
ค่าใช้จ่ายที่เผื่อไว้โดยโยงเข้ากับดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจซึ่งเกิดจากการขึ้นของราคาที่มีสาเหตุจากเงินเฟ้อโดยทั่วไปในระหว่างการทำโครงการ
ดัชนีชี้วัดอาจจะมีหลายตัวก็ได้ เช่น อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย อัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมัน ฯนฯ

Infrastructure : โครงสร้างพื้นฐาน
ถนนหนทาง,โครงสร้างด้านการสุขาภิบาล,ด้านการติดต่อสื่อสาร และระบบน้ำและไฟฟ้า,ซึ่งจำเป็นสำหรับการส่งเสริมความเป็นอยู่ของชุมชน

Instructions : คำแนะนำ
คำชี้แนะต่างๆที่ออกให้กับผู้รับเหมาในระหว่างขั้นตอนการก่อสร้างของโครงการ รวมทั้ง การเปลี่ยนแปลงจาก หรือ การขยายความของข้อมูลที่มีอยู่ในเอกสารสัญญาเดิม

Interim evaluation : การประเมินราคาค่าก่อสร้างที่แล้วเสร็จบางส่วนในระหว่างการก่อสร้างทั้งหมดตามสัญญา

Invoice : ใบเก็บเงิน
ใบแสดงรายการสินค้าหรือบริการที่ได้ส่งมอบแล้ว
 

Liquidated damages : เงินชดใช้ค่าเสียหาย
จำนวนเงินที่ระบุไว้ในสัญญาซึ่งผู้รับเหมาจะต้องจ่ายให้กับลูกค้าหรือเจ้าของโครงการ ถ้าเขาไม่สามารถทำงานให้เสร็จได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา
จำนวนเงินนี้มีไว้เพื่อชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับลูกค้าหรือเจ้าของโครงการ   ไม่ใช่ค่าปรับ

Lump sum : เงินก้อน
การชำระเงินตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้โดยไม่มีรายละเอียดว่าเกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายใดบ้าง

Minutes : รายงานการประชุม
สรุปโดยย่อของข้อเสนอต่างๆ และการตัดสินใจต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการประชุม และการกระทำที่จะต้องดำเนินการ

Negotiated contract : สัญญาแบบเจรจาตกลงกัน
สัญญาแบบหนึ่งซึ่งราคาของงานก่อสร้างจะถูกกำหนดโดยการเจรจาตกลงกันระหว่างลูกค้าหรือเจ้าของโครงการและผู้รับเหมา

Nominated subcontractor/Supplier : ผู้รับเหมาย่อย/ผู้ส่งของที่ได้รับการเสนอชื่อ
ผู้รับเหมาย่อยหรือผู้ส่งของที่ได้รับการคัดเลือกก่อนการแต่งตั้งผู้รับเหมาหลัก หรือ ผู้ที่จะถูกคัดเลือก

Operational estimate: ประมาณการระดับปฏิบัติการ
รูปแบบของประมาณการของค่าใช้จ่ายซึ่งคำนวณจากแผนปฏิบัติการจริงที่ละเอียดของงานก่อสร้าง

Owner: เจ้าของกิจการ  อีกชื่อหนึ่งที่ใช้เรียกคือ ลูกค้า ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในทวีปอเมริกาเหนือ

Parastatal: รัฐวิสาหกิจ หมายถึงองค์กรหรือบริษัทที่รัฐเป็นเจ้าของ แต่มีความเป็นอิสระในการบริหาร จัดการ

Payment report: รายงานการจ่ายเงิน
รายงานซึ่งสรุปการจ่ายเงินที่ได้ทำไปแล้ว และสถานการณ์งานปัจจุบันของโครงการซึ่งเกี่ยวกับงบประมาณของโครงการ

Periodic cost forecast: การพยากรณ์ค่าใช้จ่ายเป็นระยะ ๆ
ประมาณค่าใช้จ่ายในปัจจุบันและอนาคตทีทำขึ้นเป็นระยะตลอดระยะเวลาที่ดำเนินโครงการ

Prime cost item: รายการที่กำหนดราคาเอาไว้ล่วงหน้า
รายการของงานที่รวมกันอยู่ในรายการวัสดุและสิ่งของซึ่งได้ติดราคาไว้ก่อนที่จะทำการประมูล
โดยทั่วไปจะหมายถึง รายการที่จะทำโดยผู้รับเหมารายย่อยหรือจัดหาโดย ผู้ส่งของ ซึ่งได้รัยการคัดเลือกแล้ว หรือ ได้รับการเสนอชื่อโดยลูกค้าก่อนการประมูล

Procurement: การจัดหา
การจัดซื้อ จัดหา จัดจ้าง ทรัพยากรใดๆจากภายนอกที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการทั้งหมด หรือ บางส่วน ของโครงการ
 

Production information: ข้อมูลด้านการผลิตงาน หรือ ข้อมูลรายละเอียดของโครงการก่อสร้าง
แบบ,ข้อกำหนด,ตารางต่างๆ และรายการวัสดุและสิ่งของซึ่งจัดเตรียมโดยทีมออกแบบ และอธิบายถึงสิ่งที่จะต้องทำการก่อสร้าง
 

Project budget : งบประมาณโครงการ
เป็นจำนวนเงินที่ตั้งโดยเจ้าของงาน เพื่อใช้สำหรับทำโครงการทั้งหมด, รวมถึงการจัดหาที่ดิน,
การก่อสร้าง, อุปกรณ์, บริการระดับมืออาชีพ, ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายพิเศษ

Project management : การจัดโครงการ 
เป็นกระบวนการวางแผน, ดำเนินการและควบคุมโครงการจากเริ่มต้นถึงสิ้นสุดในเวลาที่กำหนดให้ ภายใต้ค่าใช้จ่ายที่กำหนดให้ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่กำหนด โดยใช้ทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรเทคนิคที่มีอยู่

Project management team : ทีมจัดการโครงการ
ทีมซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญต่างๆ อาทิ นักวางแผน,นักบริหาร,และผู้ดูแลควบคุม,ทำงานภายใต้การกำกับของผู้จัดการโครงการ ผู้ซึ่งรับผิดชอบในการจัดการโครงการ

Project manager : ผู้จัดการโครงการ
บุคคลผู้มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดการโครงการตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนด

Provisional item : รายการเฉพาะการ  โดยมากจะหมายถึงค่าใช้จ่ายของงานซึ่งอาจจะต้องทำเพราะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ แต่ไม่สามารถกำหนดได้แน่นอนก่อนที่งานจะเริ่มต้น
ว่าจำนวนที่แน่นอนจะเป็นเท่าใด

Quality control : การควบคุมคุณภาพ
กิจกรรมและวิธีการที่มุ่งในการทำให้วัสดุ,วิธีการ, ฝีมือและโครงการที่เสร็จ,เป็นไปตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้

Quantity surveyor : ผู้สำรวจปริมาณ
บุคคลผู้ประมาณปริมาณและค่าใช้จ่ายของวัสดุและรายการงานที่จำเป็นสำหรับการก่อสร้างอาคาร รวมทั้งการให้คำปรึกษาแก่เจ้าของงานในเรื่องที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้วย

Resident architect/engineer : สถาปนิก/วิศกรประจำ
บุคคลซึ่งมักจะถูกว่าจ้างในโครงการขนาดใหญ่, ให้ทำหน้าที่เป็นตัวแทน ของสถาปนิก, วิศกรหรือลูกค้า 

Resource plan : แผนทรัพยากร
แผนซึ่ง สรุปปริมาณที่มีอยู่และการแบ่งสรร ของทรัพยากร, และทำให้การจัดตารางการใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล

Retention money : เงินหักเก็บ
เงินที่หักออกจากราคางานที่เสร็จของผู้รับเหมาหลักและผู้รับเหมาย่อย และเก็บไว้โดยลูกค้าหรือเจ้าของโครงการ
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสิ่งบกพร่องในด้านวัสดุ และฝีมือของงานที่ทำเสร็จ

Scale of fees : ระดับของค่าจ้าง
ระดับของการจ่ายเงินสำหรับการตีราคางานต่าง ๆ โดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งได้รับความเห็นชอบโดยสมาคมวิชาชีพแล้ว
เพื่อเป็นพื้นฐานในการที่จะมั่นใจได้ว่าจะได้บริการที่มีคุณภาพ

Schedule of payments/rates : ตารางการจ่ายเงิน/อัตราการจ่ายเงิน
แผนการจ่ายเงิน
โดยการคิดราคางานที่ทำเสร็จ จำนวนครั้งและจำนวนเงินที่จะชำระจะต้องตกลงกันก่อนที่การก่อสร้างจะเริ่มต้น
ส่วนวิธีการชำระเงินจะต้องตกลงกันว่าจะจ่ายกันอย่างไร อาจเป็นเงินสด หรือ เช็ค ฯ

Sketch plans : แบบร่าง
แบบซึ่งเขียนด้วยมือ เพื่อใช้ในการหาวิธีที่จะทำแผนผังบริเวณ, การออกแบบและการก่อสร้างของอาคารซึ่งจะปรากฏในแบบรายละเอียดต่อไป

Specification : ข้อกำหนด
คำอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ, ส่วนประกอบและวัสดุต่าง ๆ ของโครงการ และมาตรฐานงานฝีมือที่ต้องการ

Steering committee : คณะกรรมการอำนวยการ
คณะกรรมการชั่วคราวซึ่งอาจจะตั้งขึ้นโดยลูกค้าหรือเจ้าของงาน เพื่อทำหน้าที่ควบคุม - กำกับดูแลงานและกิจกรรมต่างๆ ของผู้จัดการโครงการ

Target cost contract : สัญญาแบบกำหนดเป้าค่าใช้จ่าย
สัญญาที่กำหนดให้ลูกค้าหรือเจ้าของโครงการกับผู้รับเหมาร่วมกันรับผิดชอบในผลต่างของราคาค่าก่อสร้างจริง กับ ราคาที่ได้ประมาณการเอาไว้ก่อนเริ่มโครงการ

Tender : ประมูล
เป็นข้อเสนอของผู้รับเหมาที่จะทำงานก่อสร้างตามที่ระบุไว้ในแบบและสัญญาให้แล้วเสร็จภายในวงเงินที่กำหนดไว้

Tender documents : เอกสารการประมูล
ชุดเอกสารซึ่งจะใช้เป็นพื้นฐานของการประมูล และเป็นเอกสารที่จะส่งให้ผู้สนใจที่จะ้เข้าร่วมประมูล
เอกสารนี้โดยปกติจะรวมคำอธิบายเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการ,ข้อกำหนดต่าง ๆ,รายการปริมาณวัสดุและสิ่งของ,แบบแปลน และแบบด้านข้าง และแบบสำหรับใช้งาน

Tenderers : ผู้ยื่นประมูล
กลุ่มบุคคลซึ่งยื่นตอบ คำเชิญให้เข้าร่วมประูมูลในเรื่องที่เกี่ยวกับราคาและเงื่อนไขต่างๆ

Time plan/schedule : แผนเวลา/ตารางเวลา
แผนของงานที่จะต้องทำซึ่งมีเวลาเป็นตัวกำหนด แผนดังกล่าวจะแสดงลำดับก่อนหลัง, และเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของกิจกรรมต่างๆ ในโครงการ

Two-stage tendering : การประมูลแบบสองขั้นตอน
วิธีประมูล ลักษณะหนึ่งซึ่งใช้ในกรณีที่การคัดเลือกผู้รับเหมาก่อนยื่นซองประกวดราคาเป็นสิ่งที่จำเป็นและควรทำ
ส่วนรายการปริมาณวัสดุและสิ่งของและราคาจะถูกใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการเจรจาตกลงเรื่องราคาในภายหลัง

Type designs/drawings : แบบ/แบบวาด ประเภทมาตรฐาน
ข้อเสนอในการออกแบบที่เป็นมาตรฐานสำหรับงานอาคารประเภทหนึ่งโดยเฉพาะหรือสำหรับส่วนหนึ่งของอาคาร
บางครั้งอาจเรียกว่า Typical design or typical drawing

Variation หรือ variation order ข้อแตกต่างที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง
การเพิ่มหรือลดงานที่จะต้องดำเนินการจากที่มีอยู่ตามสัญญาเดิมเมื่อเริ่มโครงการ 
ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงจะต้องผ่านการเจรจาตงลงกันระหว่างผู้รับเหมากับตัวลูกค้าเอง หรือ เจ้าของโครงการ หรือ ที่ปรึกษาของเขา

Work plan: แผนงาน
ข้อความที่แสดงถึงลำดับและความเกี่ยวพันของงานทั้งหมดที่จะต้องดำเนินการ
, โดยผู้ใด และ เวลาที่เหมาะสมของการดำเนินการ

Working drawings หรือ contract drawing แบบสำหรับใช้งาน
เป็นแบบ
ซึ่งมีไว้สำหรับให้ผู้รับเหมาหรือผู้รับเหมาย่อยใช้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารสัญญา และ จะบรรจุข้อมูลที่ละเอียดและจำเป็นทั้งหมดสำหรับการก่อสร้างในสนามไว้
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แบบสำหรับผลิตงาน
(production drawings) ก็ได้

 
   
   

Use examples to explain your points, always backup a comment with a fact.

rangsonw@gmail.com

ปรับปรุงแก้ไข อาทิตย์, 28 มกราคม 2550 17:33:05