สำนักงานที่ปรึกษากฎหมายและวิศวกรรม รังสรรค์ วงษ์บุญ
Office of Law and Engineering Consultants
Introduction to
Unit Cost
Estimating in Heavy Construction Equipment
[ 1 ] DAVID J. PRATT ,
FUNDAMENTALS OF CONSTRUCTION ESTIMATING,
DELMAR PUBLISHERS, USA. 1995.
การก่อสร้างที่ใช้มาตรฐานความปลอดภัยต่ำก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บริษัทก่อสร้างที่ใช้มาตรฐานความปลอดภัยสูงในการประมาณราคาผลต่อการยื่นซองประกวดราคาจะเป็นอย่างไร
? |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ค่าก่อสร้างที่ไม่ค่อยมีใครคิดถึงหรือมักจะถูกลืมเมื่อทำงานโดยใช้มาตรฐานงานก่อสร้างต่ำ
(HIDDEN
COST) การทำงานก่อสร้างที่มีมาตรฐานความปลอดภัยต่ำจะทำให้มี COST หรือค่าใช้จ่ายประเภทหนึ่งซึ่งเรียกว่าค่าใช้จ่ายที่ซ่อนเร้นหรือค่าใช้จ่ายที่คาดไม่ถึงเกิดขึ้นเพิ่มขึ้นมาด้วยในระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะมาจาก 1. ค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องจักรเครื่องมือเก่าที่เสียในระหว่างการทำงาน 2. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับความล่าช้าของงานหรืองานถูกขัดจังหวะ เช่น เครื่องจักรเครื่องมือเสียแต่ค่าแรงยังคงต้องจ่ายอยู่ 3. ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ค่าทนายความกรณีเกิดอุบัติเหตุคนตาย เป็นต้น 4. ค่าใช้จ่ายฉุกเฉินเกี่ยวกับการจัดส่งของและเครื่องจักรเครื่องมือสำรองในกรณีเร่งด่วน 5. ค่าเช่าเครื่องจักรเครื่องมือทดแทนของเก่าที่เสียในระหว่างการก่อสร้าง 6. ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบงานที่เพิ่มขึ้นและการบริหารจัดการ 7. ค่าใช้จ่ายในการจ้างและฝึกอบรมบุคคลากรทดแทนผู้ประสบอุบัติเหตุในงานก่อสร้าง 8. ค่าล่วงเวลาหรือค่าใช้จ่ายในการเร่งงานให้ทัน 9. ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากผลงานที่ลดลงของการกลับมาทำงานใหม่ของคนงานที่บาดเจ็บทำให้ใช้เวลาทำงานมากขึ้น 10. ธุรกิจก่อสร้างประสบการขาดทุนเนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับชื่อเสียงของบริษัทหรือผู้บริหารของบริษัททำให้สถาบันการ เงินขาดความมั่นใจที่จะปล่อยสินเชื่อต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ให้ยกตัวอย่างชนิดของงานที่มีแต่ค่าแรง และ
ค่าเครื่องจักรเครื่องมือ
ไม่มีค่าวัสดุ การแต่งไหล่ถนน โดยใช้ MOTOR GRADER |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชนิดของเครื่องจักรเครื่องมือในงานก่อสร้างและวิธีการคิดราคา
1. HAND TOOL OR SMALL TOOLS เป็นเครื่องมือขนาดเล็ก
เช่น ค้อน ไขควง ขวาน จอบ เสียม พลั่ว ฯลฯ ในการคิดราคา
2. SITE EQUIPMENT
เป็นเครื่องมือที่ต้องใช้ร่วมกันในการทำงานหลาย ๆ ชนิด
เครื่องจักรเครื่องมือในกลุ่มนี้จะต้องเก็บเอา
3. SPECIFIC EQUIPMENT
เป็นเครื่องจักรเครื่องมือที่ใช้เฉพาะงานและใช้เป็นบางเวลาที่ต้องการเท่านั้น
เมื่อเสร็จงานนั้นๆ
หลักการและวิธีการคิดราคา
SPECIFIC EQUIPMENT
นิยมบอกเป็นปริมาณงานที่ทำได้ต่อหนึ่งหน่วยเวลา
หน่วยเวลาที่ใช้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การเช่า
หรือ การซื้อเครื่องจักร อย่างใดจะให้ผลดีมากกว่ากัน การที่จะซื้อหรือเช่าเครื่องจักรจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ได้เข้ามาสู่ธุรกิจก่อสร้าง คือถ้าเพิ่งจะเข้ามาสู่ธุรกิจก่อสร้างใหม่ ๆ การเช่าจะให้ ประโยชน์มากกว่า เพราะมีเงินทุนน้อย มี CREDIT หรือ ความน่าเชื่อถือน้อย มี CONNECTION หรือสายใยความสัมพันธ์หรือการ ติดต่อกับสถาบันทางการเงินน้อย แต่ถ้าเข้ามาสู่ธุรกิจก่อสร้างเป็นระยะเวลานานพอสมควร จะมีทางเลือก 2 ทาง คือ จะเช่าหรือจะซื้อก็ได้ เพราะมีเงินทุนมากพอ มี CREDITที่เชื่อถือได้ มี CONNECTION หรือสายใยความสัมพันธ์หรือการติดต่อกับ BANKER หรือสถาบันการเงินมากพอสมควร ถ้า ต้องใช้เป็นการชั่วคราว ควรเช่าดีกว่า เช่น MOBILE CRANE ถ้าต้องใช้บ่อย ๆ ควรซื้อดีกว่า |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มีความจำเป็นประการใดหรือไม่ที่จะต้องซื้อเครื่องจักรเครื่องมือเสมอไป
แต่อย่างไรก็ตามผู้รับเหมาจะต้องตัดสินใจเอาเองว่าจะซื้อหรือจะเช่าเครื่องจักรเครื่องมือดี
หรือ ระหว่างการเช่า กับ การซื้อ วิธีไหนจะให้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อดีและข้อเสียของการเช่าหรือซื้อเครื่องจักรเครื่องมือใหม่
ข้อเสียของการเช่า คือ
การมีเครื่องจักรเครื่องมือเป็นของตัวเอง
จะทำให้ได้รับความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจเพิ่มขึ้นเพราะจำทำให้ดูว่ามีความมั่นคง
เจ้าของงานบางคนต้องการให้ผู้รับเหมาที่จะมารับงานไปทำมีเครื่องจักรเครื่องมือเป็นของตัวเอง
ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าจะทำงาน |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าของเครื่องจักรเครื่องมือในงานก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ประกอบด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิธีการคิดค่าเสื่อมราคา อายุการใช้งาน (SERVICE LIFE) หมายถึง ระยะเวลาการใช้งานของเครื่องจักรที่จะให้ผลงานออกมามากกว่าค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษา ความสัมพันธ์ของค่าเสื่อมราคากับค่าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแสดงได้ ดังนี้ ค่าเสื่อมราคา = ราคาทรัพย์สิน (CAPITAL COST) ราคาเมื่อหมดสภาพ (SALVAGE VALUE) |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิธีการที่ใช้คิดค่าเสื่อมราคา
วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาแบบ
STRAIGHT LINE
นิยมใช้กันมาก
วิธีนี้เหมาะสำหรับใช้คิดค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรที่มีการใช้งานอยู่ วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาแบบ STRAIGHT LINE ค่าเสื่อมราคาต่อปี = (ราคาซื้อครั้งแรก ราคาเมื่อหมดสภาพ) / อายุการใช้งาน
ตัวอย่าง เครื่องจักรตัวหนึ่งราคาซื้อ
150,000 อายุการใช้งาน 5
ปี หลังจากนั้นแล้วขายไปได้เงิน 50,000
อยากทราบว่าค่า วิธีทำ ค่าเสื่อมราคาต่อปี = (ราคาซื้อครั้งแรก ราคาเมื่อหมดสภาพ) / อายุการใช้งาน = (150,000 50,000) / 5 = 20,000
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับค่าเสื่อมราคาของยางรถยนต์
1.
อายุการใช้งานของยางรถยนต์สั้นกว่าอายุการใช้งานของตัวเครื่องจักรมาก |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิธีการคิดค่าซ่อมบำรุง
วิธีที่จะให้ได้ตัวเลขในการซ่อมบำรุงที่แน่นอนจะต้องหามาจากงานสนามโดยดูจากของจริงที่ได้มีการบันทึกเอาไว้
แต่ในทางปฏิบัติ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การคิดค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
จากหนังสือ ESTIMATING
CONSTRUCTION COST BY PEURIFOY
ได้แนะนำการคิดตัวเลขค่าใช้จ่ายโดยคิดจากรายละเอียดตามที่ กรณีภาวการณ์ทำงานปกติทั่วไปที่ความดัน 29.9 ของปรอท และที่อุณหภูมิ 15° C เครื่องยนต์เบนซินจะใช้น้ำมัน = 0.06 แกลลอน / 1 แรงม้า / ชั่วโมง = 0.2271 ลิตร / 1 แรงม้า / ชั่วโมง เครื่องยนต์ดีเซลจะใช้น้ำมัน = 0.04 แกลลอน / 1 แรงม้า /ชั่วโมง = 0.1514 ลิตร / 1 แรงม้า / ชั่วโมง |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การคิดค่าน้ำมันหล่อลื่น 1. ขนาดของเครื่องยนต์ เครื่องยนต์ขนาดใหญ่จะใช้น้ำมันเครื่องมากกว่า 2. ขนาดความจุของ CRANKCASE ของน้ำมันเครื่อง ถ้าใหญ่ก็จะใช้น้ำมันเครื่องมาก 3. ภาวะแวดล้อมในการใช้งาน การทำงานในบริเวณที่มีฝุ่นมากๆ ต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องบ่อย 4. ความถี่ในการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องบ่อยจะเสียค่าใช้จ่ายมาก 5. การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ การบำรุงรักษาเครื่องยนต์อย่างสม่ำเสมอหรือเครื่องไม่หลวมเครื่องจะใช้น้ำมันเครื่องน้อย ในทางปฏิบัติทางด้าน COST PLANNING จะคิดค่าน้ำมันหล่อลื่นหรือน้ำมันเครื่องประมาณ 10% ของค่าน้ำมันเชื้อเพลิง |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทำไมการกำหนดอัตราค่าจ้างแรงงานและอุปกรณ์เครื่องจักรเครื่องมือโดยละเอียด
จึงมีความสำคัญสำหรับโครงการบางโครงการเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าการหาอัตราค่าจ้างแรงงานและอัตราค่าเช่าอุปกรณ์เครื่องจักรเครื่องมือหาได้ยากและตัวเลขที่ได้ก็แตกต่างกันแต่ละบริษัท ทำ ให้ราคาประมูลงานแตกต่างกันด้วยโดยเฉพาะในหมวดเครื่องจักรเครื่องมือหรืออุปกรณ์ ส่วนค่าแรงงานจะไม่แตกต่างกันมากนักยกเว้น แต่บางบริษัทที่จ้างค่าแรงงานสูง เพื่อจูงใจไม่ให้คนงานย้ายบริษัท |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ในการเช่าเครื่องจักรเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการก่อสร้างมีข้อที่ควรพิจารณาอะไรบ้าง อายุและสภาพของเครื่องจักรเครื่องมือที่เช่า ค่าเช่ารวมค่าคนขับด้วยหรือไม่ ถ้าต้องการเช่าในระยะยาว ค่าเช่ารวมค่าบำรุงรักษาด้วยหรือไม่ ค่าเช่ารวมค่าน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยหรือไม่ มีค่าธรรมเนียมการเช่าต่ำสุดหรือการเช่าในช่วงระยะเวลาอย่างน้อยสุดหรือไม่ ต้องเสียค่าขนส่งหรือไม่ เครื่องจักรเครื่องมือที่เช่าต้องการอุปกรณ์เพิ่มเติมพิเศษหรือไม่ ราคาเท่าใด ราคาที่เช่ารวมค่าภาษีและค่าสิทธิบัตรด้วยหรือไม่ ราคาที่เช่ารวมค่าประกันภัยด้วยหรือไม่ ถ้าผู้รับเหมาจะใช้อุปกรณ์เหล่านี้ได้จะต้องมีคุณสมบัติพิเศษตามกฎหมายใดๆหรือไม่ หรือจะต้องเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรใดๆก่อนหรือไม่จึงจะถูกกฎหมาย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
FACTOR
ที่มีผลกระทบต่อความสามารถในการทำงานของคนงานและอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างซึ่งทำให้การประมาณราคาผิดไปจากเดิม ระยะทางจากแหล่งวัสดุอุปกรณ์เครื่องจักรเครื่องมือ ยิ่งไกลยิ่งเสียเวลามาก เสียค่าใช้จ่ายมากเมื่อเทียบระหว่างผลงานที่ทำได้ต่อระยะเวลาที่เสียไป
ระดับอัตราค่าแรงและราคาวัสดุบริเวณโดยรอบสถานที่ก่อสร้าง
ถ้าค่าแรงต่ำมาก คนงานจะหนีไปอยู่ที่อื่น หรือ
ถ้ายังไม่มีโอกาส
คุณภาพของผู้ควบคุมงาน ถ้ามีความรู้ดีและตั้งใจทำงาน ผลงานก็จะออกมาดี
ถ้าเครื่องจักรเครื่องมือดี มีประสิทธิภาพดี
ไม่ต้องเสียหรือซ่อมบ่อย ผลงานก็จะออกมาดี |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทำไมกระบวนการในการคิดราคาค่าวัสดุจึง
ง่ายกว่า การคิดราคาค่าแรงและเครื่องจักรเครื่องมือ เพราะราคาวัสดุค่อนข้างแน่นอนจะแตกต่างกันไม่มากในแต่ละร้านซึ่งตรวจสอบได้ง่าย แต่การคิดค่าแรงงานและเครื่องจักรเครื่องมือ จะ คิดตามประสิทธิภาพการทำงานได้ใน 1 วัน ซึ่งในทางปฏิบัติตรวจสอบได้ยากเพราะมีตัวแปรมากมาย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การที่เจ้าของโครงการเป็นผู้จัดหาวัสดุอุปกรณ์เครื่องจักรเครื่องมือเอง
จะสร้างปัญหาให้กับผู้ประมาณราคาได้อย่างไรบ้าง อาจจะได้คุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานตามที่ได้ระบุไว้ใน SPECIFICATION และจะหาผู้รับผิดชอบไม่ได้ |
ตัวอย่างการคำนวณค่าใช้จ่ายต่อชั่วโมง
ตัวเลขที่ปรากฏเป็นตัวเลขสมมุติเพื่อแสดงขั้นตอนและวิธีการคำนวณเท่านั้น
ให้คำนวณค่าใช้จ่ายต่อชั่วโมงของรถ DUMP TRUCK โดยมีข้อมูลพื้นฐาน ดังนี้ |
|
|
ขั้นตอนการคำนวณ | |||||||
1. | เงินลงทุนเฉลี่ยต่อปี | = | [ราคาซื้อ + ค่าขนส่ง + ราคาเมื่อหมดสภาพ ] / 2 | = | ราคาเมื่อหมดสภาพถือเป็นต้นทุนค่าเสียโอกาสของเงิน | ||
= | [75000 + 1000 + 7500 ] / 2 | = | 41,750 | ||||
2. | อัตราการใช้น้ำมัน | = | จำนวนแรงม้า x ประสิทธิภาพการทำงาน x อัตราการใช้น้ำมัน | ||||
= | 120 x ( 40 / 100 ) x 0.2271 ลิตร ต่อ แรงม้า ต่อ ชั่วโมง | = | 10.90 | ลิตร / ชั่วโมง | |||
3. | ค่าใช้จ่ายต่อปี | ||||||
ค่าเสื่อมราคา |
= | [ราคาซื้อ + ค่าขนส่ง - ราคายาง - ราคาเมื่อหมดสภาพ] / อายุการใช้งาน | |||||
= | [75000 + 1000 - 5000 - 7500] / 5 | = | 12700 | ||||
ค่าซ่อมบำรุง |
= | 130 % ของค่าเสื่อมราคาต่อปี | |||||
= | [130 / 100] x 12700 | = | 16510 | ||||
ค่าดอกเบี้ย ภาษี ประกันภัย ค่าเก็บรักษา |
= | 11 % ของเงินทุนเฉลี่ยต่อปี | |||||
= | [11/100] x 41,750 | = | 4593 | ||||
รวมค่าใช้จ่ายต่อปี |
= | 12700 + 16510 + 4593 | = | 33803 | |||
4. | ค่าใช้จ่ายต่อชั่วโมง | ||||||
ค่าเครื่องจักรเครื่องมือ |
= | รวมค่าใช้จ่ายต่อปี / ชั่วโมงการทำงานต่อปี | |||||
= | 33803 / 1800 | = | 18.78 | ||||
ค่าเสื่อมราคาของยาง | = | ราคายาง / อายุการใช้งานของยาง | |||||
= | 5000 / 4000 | = | 1.25 | ||||
ค่าบำรุงรักษายาง | = | 15 % ของค่าเสื่อมราคาของยาง | |||||
= | 0.15 x 1.25 | = | 0.19 | ||||
ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง | = | อัตราการใช้น้ำมัน x ราคาน้ำมัน | |||||
= | 10.90 x 20 | = | 218 | ||||
ค่าน้ำมันหล่อลื่น | = | 10 % ของค่าน้ำมันเชื้อเพลิง | |||||
= | [10 / 100] x 218 | = | 21.80 | ||||
รวมค่าใช้จ่ายของรถต่อชั่วโมง | = | 18.78 + 1.25 + 0.19 + 218 + 21.80 | = | 260.02 | บาท ต่อ ชั่วโมง | ||
5. |
ค่าจ้างคนขับโดยเฉลี่ย |
= | 100 | บาท ต่อ ชั่วโมง | |||
ค่าบริหาร และ จัดการแรงงาน |
= | 50 % ของค่าจ้างแรงงาน | |||||
= | [50 / 100 ] x 100 | = | 50 | บาท ต่อ ชั่วโมง | |||
รวมค่าจ้างคนขับและค่าบริหารจัดการ | = | 100 + 50 | = | 150 | บาท ต่อ ชั่วโมง | ||
กำไรต่อหน่วย ( Profit Margin) ที่ต้องการ | = | 10 % ของค่าจ้างคนขับและค่าบริหารจัดการ | |||||
= | [10/100] x 150 | = | 15 | บาท ต่อ ชั่วโมง | |||
รวมค่าแรงสุทธิ | = | ค่าจ้างคนขับ + ค่าบริหาร และ จัดการแรงงาน + กำไร | |||||
= | 100 + 50 + 15 | = | 165 | บาท ต่อ ชั่วโมง | |||
6. |
ค่าบริหารจัดการการใช้เครื่องจักรเครื่องมือ |
= | 20 % ของค่าใช้จ่ายของรถต่อชั่วโมง | ||||
= | [20 / 100] x 260.02 | = | 52.004 | บาท ต่อ ชั่วโมง | |||
รวมค่าใช้จ่ายของรถและค่าบริหารจัดการ |
= | ค่าใช้จ่ายของรถต่อชั่วโมง + ค่าบริหารจัดการ | |||||
= | 260.02 + 52.004 | = | 312.024 | บาท ต่อ ชั่วโมง | |||
กำไรต่อหน่วย ( Profit Margin) ที่ต้องการ | = | 10 % ของค่าใช้จ่ายของรถและค่าบริหารจัดการ | |||||
= | [10 / 100 ] x 312.024 | = | 31.2024 | บาท ต่อ ชั่วโมง | |||
รวมค่าใช้จ่ายของรถสุทธิ | = | ค่าใช้จ่ายของรถต่อชั่วโมง + ค่าบริหารจัดการ + กำไร | |||||
= | 260.02 + 52.004 + 31.2024 | = | 343.23 | บาท ต่อ ชั่วโมง | |||
7. |
ราคาค่าเช่ารถ |
= | ค่าแรงสุทธิ + ค่าใช้จ่ายของรถสุทธิ | ||||
= | 165 + 343.23 | = | 508.23 | บาท ต่อ ชั่วโมง | |||
8. |
ปริมาณงานที่รถบรรทุกสามารถทำงานได้ ซึ่งจะได้จากการคำนวณ |
= | 200 | LCM / h | |||
ต้นทุนค่าใช้จ่าย | = | ราคาค่าเช่ารถ / ปริมาณงานที่ทำได้ | |||||
= | 508.23 / 200 | = | 2.541 | บาท / LCM |
ปรับปรุงแก้ไข จันทร์, 26 ธันวาคม 2548 15:51:06