ผู้ตรวจการก่อสร้าง และ ต่อต้านการทุจริตเชิงป้องกัน (ผตป.)
Independent Inspector Alliance for Construction & Anti - Corruption Preventive Approach (IACONPA)
ที่ปรึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธา ชลประทาน การก่อสร้าง งานวิจัย และ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี www.shutterfly.com

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การควบคุมงาน และ การบริหารสัญญาจ้าง
ทางด้านวิศวกรรมโยธาและงานก่อสร้าง

  Accumulated payments  :  การชำระเงินสะสม
การชำระเงินรวมทั้งหมดที่ลูกค้าได้ชำระไปจนถึงขณะที่ทำการคิด รายการนี้ถือเป็นรายได้ของผู้รับจ้าง แต่ เป็นรายจ่ายของเจ้าของงาน
  Approvals  :การอนุมัติ
การยอมรับจากผู้ว่าจ้างตามกฎหมายว่าโครงการที่เสนอขึ้นมานั้น เป็นไปตามกฎระเบียบของหน่วยงานเหล่านั้นทุกประการ
  Bill of quantities,approximate :  รายการวัสดุและสิ่งของโดยประมาณ
ซึ่งจะประกอบไปด้วยปริมาณงาน ราคาต่อหน่วย และ ราคารวมทั้งหมดของโครงการ
  Bill of quantities,full  :  รายการวัสดุและสิ่งของที่สมบูรณ์
ซึ่งจะประกอบไปด้วยปริมาณงาน ราคาต่อหน่วย และ ราคารวมทั้งหมดของโครงการที่มีการก่อสร้างไปแล้วจริงๆ
  Briefing stage  :  ขั้นตอนการสรุปงานเบื้องต้นก่อนลงมือออกแบบรายละเอียด
ขั้นตอนแรกในกระบวนการก่อสร้างโดยทั่วไปเพื่อจัดทำข้อเสนอและคำแนะนำต่างๆในโครงการให้กับลูกค้าเพื่อทำการตัดสินใจคนสุดท้ายว่าจะดำเนินโครงการในรูปแบบใด
  Briefing team  :  ทีมสรุปงาน
ทีมซึ่งประกอบด้วย ผู้ใช้,ผู้ออกแบบ และผู้เชี่ยวชาญ,และในบางกรณีอาจรวมผู้รับเหมาและผู้ส่งของ หรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องในระหว่างขั้นตอนการสรุปงานของโครงการ
  Instructions : คำแนะนำ คำชี้แนะต่าง ๆ ที่เจ้าของงานออกให้ผู้รับเหมาในระหว่างขั้นการก่อสร้างของโครงการ
และ เกิดจากการเปลี่ยนแปลง จากหรือการขยายความของข้อมูลที่มีอยู่ในเอกสารสัญญา
  Interim valuation : การประเมินราคาขึ้นลงในระหว่างการก่อสร้างในส่วนที่สร้างเสร็จแล้ว
  Liquidated damages : เงินชดใช้ค่าเสียหาย
จำนวนเงินที่ระบุไว้ในสัญญาซึ่งผู้รับเหมาจะต้องจ่ายให้กับลูกค้า ในกรณีที่ผู้รับเหมาไม่สามารถทำงานให้เสร็จได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
จำนวนเงินนี้มีไว้เพื่อชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับลูกค้า,ไม่ใช่เป็นค่าปรับซึ่งจะแยกออกไปอีกส่วนหนึ่งต่างหาก
  Lump Sum : เงินก้อน หรือ เป็นการชำระเงินตามเวลาที่กำหนดทั้งหมดตามสัญญาซึ่งอาจจะผ่อนชำระเป็นงวดๆก็ได้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา
  Minutes : รายงานการประชุม เป็นการสรุปโดยย่อที่เกี่ยวกับข้อเสนอ การตัดสินใจ และ การกระทำต่างๆที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการประชุม
  Negotiated contract : สัญญาแบบเจรจาตกลงกัน
เป็นสัญญาแบบหนึ่งซึ่งราคาค่าก่อสร้างจะถูกกำหนดโดยการเจรจาตกลงกันระหว่างลูกค้าและผู้รับเหมา
  Nominated subcontractor/supplier : ผู้รับเหมาย่อย/ผู้ส่งของที่ได้รับการเสนอชื่อ
ผู้รับเหมารายย่อยหรือผู้ส่งของที่ได้รับการคัดเลือกก่อนการแต่งตั้ง ผู้รับเหมาหลักที่เป็นเงื่อนไขหนึ่งของผู้ว่าจ้าง
 

Project budget : งบประมาณโครงการ
จำนวนเงินที่ตั้งขึ้นโดยลูกค้า เพื่อใช้สำหรับทำโครงการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างนั้นๆ

  Project management : การจัดการโครงการ
กระบวนการในการวางแผน ดำเนินการ และ ควบคุมโครงการ ก่อสร้าง ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุด ภายในเวลา ค่าใช้จ่าย คุณภาพงาน และ เงื่อนไขต่างๆที่เจ้าของโครงการกำหนดให้
  Project management team : ทีมจัดการโครงการ
ทีมซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ อาทิ นักวางแผน นักบริหาร และผู้ดูแลควบคุม ทำงานภายใต้การกำกับของผู้จัดการโครงการ ผู้ซึ่งรับผิดชอบในการจัดการโครงการ
 

Project manager : ผู้จัดการโครงการ
บุคคลผู้มีอำนาจและความรับผิดชอบในการจัดการโครงการตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดของหน้าที่และความรับผิดชอบตามสัญญา

 

Provisional item : รายการก่อสร้างชิ้นงานที่มีเงื่อนไขบางประการที่ไม่สามารถให้รายละเอียดได้ครบถ้วนก่อนการก่อสร้างจะเริ่มต้นขึ้น
อาจมีการกำหนดราคาไว้โดยประมาณซึ่งรวมอยู่ในเอกสารการประมูลและถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาก่อสร้าง

  Quality control : การควบคุมคุณภาพ
กิจกรรมและวิธีการที่มุ่งในการทำให้วัสดุ วิธีการ ฝีมือและโครงการที่เสร็จเป็นไปตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้ใน Specification
  Quantity surveyor : ผู้สำรวจปริมาณ
บุคคล กลุ่มบุคคล ที่ทำหน้าที่ประมาณ ปริมาณและค่าใช้จ่ายของวัสดุและแรงงานที่จำเป็นสำหรับการก่อสร้าง และ ให้คำปรึกษาแก่ลูกค้า ในเรื่องที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่าย
  Resident architect/engineering : สถาปนิก/วิศวกรประจำ โครงการก่อสร้าง
ซึ่งมักจะถูกว่าจ้างในโครงการขนาดใหญ่ ให้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของสถาปนิก วิศวกรหรือลูกค้า
  Retention money : เงินหักเก็บ  เป็นเงินที่เจ้าของงานหักออกจากราคางานที่เสร็จของผู้รับเหมาหลักและผู้รับเหมาย่อย และ เก็บไว้โดยลูกค้าภายในช่วงเวลาหนึ่งตามที่ระบุไว้ในสัญญา
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสิ่งบกพร่องในด้านวัสดุ และ ฝีมือของงานทีทำเสร็จ ที่อาจมีขึ้นได้ด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม
  Scale of fees : ระดับของค่าจ้าง หรือ อัตราค่าจ้าง สำหรับงานต่างๆที่ได้รับความเห็นชอบโดยสมาคมวิชาชีพแล้ว
เพื่อเป็นพื้นฐานในการที่จะมั่นใจได้ว่าจะได้บริการที่มีคุณภาพสมกับเงินที่เจ้าของงานได้จ่ายไป
  Schedule of payments/rates : ตารางการจ่ายเงิน/อัตราการจ่ายเงิน
วิธีการชำระเงินจากการตีราคางานที่ทำเสร็จแล้ว ส่วนจำนวนครั้งและจำนวนเงินที่จะชำระเป็นไปตามข้อตกลงที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเห็นชอบก่อนที่การก่อสร้างจะเริ่มต้น
  Sketch plans : แบบแปลนร่าง
แบบซึ่งเขียนด้วยมือ เพื่อใช้ในการหาวิธีที่จะทำแผนผังบริเวณ การออกแบบ และการก่อสร้างของอาคาร
 

Specification : ข้อกำหนด หรือ มาตรฐานคุณภาพของงานก่อสร้างนั้นๆ
เป็นคำอธิบายที่ละเอียดเกี่ยวกับโครงการ ส่วนประกอบและวัสดุต่าง ๆ ของโครงการ และมาตรฐานฝีมือที่ต้องการ

 

Steering committee : คณะกรรมการอำนวยการ
คณะกรรมการชั่วคราวซึ่งอาจจะตั้งขึ้นโดยลูกค้า หรือ เจ้าของงาน เพื่อทำหน้าที่กำกับงาน และ กิจกรรมต่าง ๆ ของผู้จัดการโครงการ

  Target cost contract : สัญญาแบบกำหนดเป้าค่าใช้จ่าย
เป็นสัญญาก่อสร้างชนิดหนึ่งที่กำหนดให้ทั้งเจ้าของโครงการ และ ผู้รับเหมา ต้องรับผิดชอบร่วมกัน กรณี การประมาณราคา และ ค่าก่อสร้างจริง แตกต่างกัน
  Tender : ประมูล หรือ การยื่นซองประกวดราคา เป็นข้อเสนอของผู้รับเหมาที่จะทำงานก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามที่ระบุไว้ในสัญญา
  Tender documents : เอกสารการประมูล เป็น ชุดเอกสารซึ่งจะใช้เป็นพื้นฐานการประมูลและเป็นเอกสารที่จัดส่งให้ผู้สนใจที่จะเข้าร่วมประมูล
เอกสารนี้ โดยปกติจะรวมรายละเอียดของโครงการ  ข้อกำหนดต่าง ๆ รายการปริมาณวัสดุและสิ่งของ แบบแปลน แบบด้านข้าง และ แบบสำหรับใช้งาน
  Tenderers : ผู้ยื่นประมูล หรือ ผู้ยื่นซองประกวดราคา เป็นกลุ่มบุคคลซึ่งยื่นตอบคำเชิญให้เข้าร่วมประมูลสิ่งก่อสร้างนั้นๆ
  Time plan/schedule : แผนเวลา/ตารางเวลา
แผนงานที่จะต้องทำซึ่งมีเวลาเป็นตัวกำหนด แผนดังกล่าวจะแสดงลำดับก่อนหลัง และเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการ
 

Two-stage tendering : การประมูลแบบสองขั้นสองตอน คือ คัดเลือกผู้รับเหมาที่เหมาะสมก่อน จากนั้นจึงมาตกลงเรื่องราคาค่าก่อสร้างทั้งหมดอีกครั้ง

  Type designs/drawing : แบบมาตรฐานของสิ่งก่อสร้าง ส่วนมากจะเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคาร หรือ สิ่งก่อสร้างนั้นๆ
  Variations : ข้อแตกต่างของงานต่างๆจากที่ระบุไว้ในแบบและสัญญาหลังจากที่ได้มีการเซ็นสัญญาเริ่มงานกันไปแล้ว
ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะต้องมีการเจรจาตกลงกันว่า ใครจะต้องผิดชอบมากน้อยเพียงใด
  Work plan : แผนงาน เป็นข้อความที่แสดงถึงลำดับของงาน เวลาที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ โดยใคร
 

Working drawings : แบบสำหรับใช้งาน เป็นแบบซึ่งมีไว้สำหรับให้ผู้รับเหมาหรือผู้รับเหมาย่อยใช้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารสัญญา
และจะบรรจุข้อมูลที่ละเอียดและจำเป็นทั้งหมดสำหรับการก่อสร้างในสนามไว้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แบบสำหรับผลิตงาน
(Production drawing) หรือ contract drawing

  Shop Drawing หรือ แบบหน้างาน
เป็นการนำ Working drawing มาเขียนรวมกันไว้ในแบบแผ่นเดียวเพื่อให้ช่างทำการก่อสร้างที่หน้างานจริง
  As-built drawing หรือ แบบตามที่ก่อสร้างจริง
เป็นแบบที่เขียนขึ้นหลังจากทำการก่อสร้างแล้วเสร็จซึ่งอาจแตกต่างจาก Working drawings หรือ Shop Drawing มีจุดประสงค์เพื่อให้ในการซ่อมบำรุงหลังเปิดใช้งาน หรือ
ใช้เพื่อเรียกร้อง(Claim)เงินชดเชยเนื่องจากไม่เป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้แต่เดิมในครั้งแรก

เอกสารอ้างอิง

1. จากหนังสือ International Labor Office Geneva แปลและเรียบเรียงโดย พิชัย ธานีรณานนท์  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานัครินทร์
   

Use examples to explain your points, always backup a comment with a fact.



rangsonw@gmail.com www.facebook.com/rangsonw  ; www.twitter.com/rangsonw
 

ปรับปรุงแก้ไข อังคาร, 16 กุมภาพันธ์ 2559 11:26:39