ภาคีเครือข่ายผู้ตรวจการก่อสร้าง และ
ต่อต้านการทุจริตเชิงป้องกัน (ภตป.) |
|
บ่อน้ำมันทางบกในประเทศไทย และ ปริมาณน้ำมันดิบที่ไทยขายให้สหรัฐ original copy |
||
บริษัท Advanced Resources International, Inc.
(ARI)
ได้ทำการสำรวจปริมาณน้ำมันที่อยู่ใต้ดินของหลายๆประเทศในทวีปเอเชีย |
||
พื้นที่สีเขียว เป็นบริเวณที่มีบ่อน้ำมันที่มีลักษณะเป็นของเหลว ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ฝาง พื้นที่ระหว่างภูเขาในภาคเหนือ พิษณุโลก แม่สอด ที่ราบลุ่มภาคกลาง สุพรรณบุรีและกรุงเทพฯ พื้นที่สีปูนแห้ง เป็นบริเวณที่มีก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่บริเวณที่ราบสูงโคราช และ แอ่ง โคราช |
||
เป็นตารางที่บอกคุณสมบัติของก๊าซ ที่อยู่ใต้ผืนดินของประเทศไทยตามรูปข้างต้น โครงสร้างทางธรณีวิทยา ความหนาของชั้นดิน หรือ ชั้นหินที่ทับถมอยู่เหนือบ่อก๊าซ แรงดันของก๊าซ ปริมาณน้ำ และ ดินเหนียว ที่ผสมอยู่ในก๊าซ ฯลฯ |
||
ตารางแสดงลำดับชั้นอายุทางธรณีวิทยาของชั้นหิน ที่ทับถมกันอยู่บริเวณแอ่งโคราช มีหน่วยเป็นล้านปี ตามโครงสร้างนี้จะเห็นว่าเมื่อหลายล้านปีมาแล้ว ที่ราบสูงโคราชเคยถูกน้ำท่วมมาก่อน ทำให้ตะกอนทับถมกันเป็นเวลานาน รวมทั้งพวกทรากพืชทรากสัตว์อีกเป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นก๊าซและน้ำมันในอีกหลายล้านปีต่อมา |
||
ทั้งสองภาพเป็นการทดสอบความแข็งแรง รอยแตก รอยร้าว
ของชั้นหินที่อยู่เหนือแอ่งโคราชฝั่งตะวันตกและตะวันออก โดยวิธีการที่เรียกว่า Seismic หรือ คลื่นเสียง เช่นเดียวกันกับที่ใช้ในการตรวจสอบความเสียหายของเสาเข็มเจาะในการก่อสร้างขนาดใหญ่โดยทั่วไป คำตอบที่ได้จะทราบว่าชั้นดิน ชั้นหินด้านล่างมีความแข็งแรงมากน้อยเพียงใด ที่ใดมีรอยแตก รอยร้าว ความยาว ความหนา เท่าใด เพื่อที่จะได้วางแผนการขุดเจาะได้ถูกต้อง และ ประหยัดมากที่สุด |
||
แสดงรูปตัดตามขวางของแอ่งโคราชและวิธีการทั่วๆไปในการขุดเจาะเอาก๊าซขึ้นมาใช้
สังเกตว่าเขาจะตั้งจุดขุดเจาะตรงจุดสูงสุดของบ่อหรือกะเปาะ แต่จะต้องพิจารณาโครงสร้างของชั้นหิน รอยแตก รอยแยก และ รอยร้าวของชั้นหิน ด้วย |
||
ตัวอย่างการแปลความหมายหลังจากใช้ Seismic
หรือ
คลื่นเสียงสำรวจความหนาแน่นของชั้นหินและบ่อก๊าซขนาดเล็กบริเวณแอ่งโคราช
ซึ่งจะเห็นรอยแตก รอยแยก รอยเลื่อนของชั้นหินต่างๆทางธรณีวิทยาอย่างชัดเจน |
||
รูปแสดงโครงสร้างทางธรณีวิทยาของบ่อน้ำมันบริเวณทุ่งราบภาคกลาง | ||
ทั้งสองภาพเป็นการทดสอบความแข็งแรง รอยแตก รอยร้าว
ของชั้นหินที่อยู่เหนือบริเวณทุ่งราบภาคกลาง โดยวิธีการที่เรียกว่า Seismic หรือ คลื่นเสียง คำตอบที่ได้จะทราบว่าชั้นดิน ชั้นหินด้านล่างมีความแข็งแรงมากน้อยเพียงใด ที่ใดมีรอยแตก รอยร้าว ความยาว ความหนา เท่าใด เพื่อที่จะได้วางแผนการขุดเจาะได้ถูกต้อง และ ประหยัดมากที่สุด รูปด้านล่าง แสดงจำนวนน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับปิโตรเลียมที่ประเทศไทยส่งออกไปยังสหรัฐ ซึ่งเป็นรายงานของหน่วยงาน EIA ของสหรัฐฯเอง |
||
1
Barrels = 158.97 ลิตร ในปี
2009/2552 ไทยส่งน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมไปยังสหรัฐฯสูงสุด
8,419,000.00 barrels หรือ ประมาณ 1338.37 ล้านลิตร รายละเอียดดูจาก link ด้านล่าง |
||
http://www.eia.gov/dnav/pet/hist/LeafHandler.ashx?n=PET&s=MTTIMUSTH1&f=A | ||
คำแนะนำ |
||
rangsonw@gmail.com ;
www.facebook.com/rangsonw
;
www.twitter.com/rangsonw
All materials on this website is copyright and may not be republished in any form without written permission.
ปรับปรุงแก้ไข เสาร์, 13 กรกฎาคม 2556 08:15:57