ผู้ตรวจการก่อสร้าง และ ต่อต้านการทุจริตเชิงป้องกัน (ผตป.)
Independent Inspector Alliance for Construction & Anti - Corruption Preventive Approach (IACONPA)
The only thing necessary for the triumph of evil is for good men to do nothing.
 

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

HOME

www.shutterfly.com


รูปแสดงการทำ Lab Survey CE - KMUTNB ตั้งแต่รุ่น 9 เป็นต้นมา

ce007 วิชาวิศวกรรมสำรวจ 182001 / 248 และ 182009 Surveying Camp
ce007001 เกณฑ์มาตรฐานของงานสำรวจเพื่อการก่อสร้างซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานของงานสำรวจชั้น 3
  1. ความคลาดเคลื่อนทางด้านระยะไม่เกิน  1 ต่อ 5000 หมายถึง ทุกๆระยะ 5000 ผิดได้ 1 ตัวอย่าง เช่น  ระยะจริง  250 เมตร แต่วัดได้จริง 249.50 เมตร
    ความคลาดเคลื่อน = [( 250-249.50)/250] = 0.50 / 250 = (0.50/0.50) / (250 / 0.50) = 1 : 500 งานต่ำกว่ามาตรฐาน ต้องทำใหม่

    หรือระยะจริง 250 เมตร แต่วัดได้จริง 250.25 เมตร
    ความคลาดเคลื่อน = [( 250.25-250)/250] = 0.25 / 250 = (0.25/0.25) / (250 / 0.25) = 1 :1000  งานต่ำกว่ามาตรฐาน ต้องทำใหม่
     
  2. ความคลาดเคลื่อนทางด้านระดับไม่เกิน 0.012 (√ระยะทางเป็น กิโลเมตร) เมตร  เช่น  ระดับเข้าบรรจบที่ทำได้ 1.238 ม. แต่ระดับจริงๆของ BM คือ 1.236 ม.
    ผลต่างของระดับที่ทำได้ (1.238 - 1.236 = 0.002 m)  ถ้าระยะ Stadia ที่ทำการสำรวจทั้งหมด คือ 450 ม. ดังนั้น ความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้
    = 0.012 x (0.450) = 0.008 ม. ซึ่งมากกว่าความคลาดเคลื่อนที่ทำการสำรวจจริง = ผลการสำรวจใช้ได้ แต่ต้องปรับแก้ตามวิธีการสำรวจ ก่อนนำผลการสำรวจ
    ไปใช้

การลงฝึกภาคปฏิบัติทางด้านการสำรวจเบื้องต้นสำหรับวิศวกรโยธา
จุดประสงค์ของการทำ Lab เพื่อฝึกให้เข้าใจ Process ในการทำงานสำรวจ ส่วนจุดประสงค์ของการทำ Shop เพื่อฝึกให้เกิดความชำนาญ
การถ่ายระดับ BM ซึ่งจะต้องให้ BS & FS
ต่างกันไม่เกิน 2 เมตร โดยไม่มี IFS
การทำ Cross Section ของถนน หรือ คลอง
ซึ่งจะต้องกำหนดระยะห่างระหว่างหมุดแต่ละหมุดเพื่อคำนวณหาพื้นที่หน้าตัดต่อไป
การหา % GRADE ของทางลาดโดยที่ Plane
ของความลาดเอียงจะต้องตั้งฉากกับแนวตั้ง
การใช้เข็มทิศในการกำหนดแนวเหนือใต้
เพื่อคำนวณหามุม Azimuth ของแนวอ้างอิง
Simple curve lay - out
โดยวิธี Deflection angle
การคำนวณหาพื้นที่บนแผนที่มาตราส่วน 1:50000 ของกรมแผนที่ทหารโดยการใช้ Planimeter การใช้ GPS หาค่าพิกัดของหมุดสำรวจในสนาม แล้วนำมาคำนวณโครงข่ายสามเหลี่ยม,
การปรับแก้ และ หาค่าพิกัดและพื้นที่
การเขียนเส้น Contour , Profile , Cross Section , การหาพื้นที่และปริมาตรดินตัด และ ดินถม
การสำรวจวงรอบโดยวิธี Triangle วัดมุมทุกมุมและความยาวด้านทุกด้าน,ปรับแก้วงรอบโดยวิธี Bowditch, หาค่าพิกัดฉาก และ พื้นที่ การหาความลาดเอียง และ ระดับของท่อน้ำดี น้ำเสียที่อยู่เหนือเพดานโดยการกลับไม้ Staff และ
หาระยะระหว่างจุดโดยการตกดิ่ง
การหาระดับความสูงของกันสาด หรือ ท้องพื้นชั้นบน หรือ ท้องไม้แบบ โดยการกลับไม้ Staff การตรวจสอบการทำแผนที่ที่เขียนตามมาตราส่วน
ที่กำหนดโดยใช้ Vernier เป็นการตรวจสอบ
จากของจริงในสนาม
การใช้ Target ช่วยในการทำแผนที่โดยวิธีวงรอบโครงข่ายสามเหลี่ยม แล้วนำแผนที่ที่มีลักษณะรูปสามเหลี่ยมมาต่อกันเป็นแผนที่ การทำระดับแบบ Reciprocal ระหว่างสะพาน 2 แห่งที่อยู่ห่างกันและไม่สามารถตั้ง IFS ได้ การเดินนับก้าวเพื่อตรวจสอบความยาวก้าว
ของแต่ละคนเพื่อใช้ตรวจสอบกับระยะ
ที่ได้จาก Stadia
การทดสอบการเอียงของแกนกล้อง
โดยวิธี 2 - Peg Test
       

วิธีการคำนวณหาพื้นที่หน้าตัด และ ปริมาตรดินแบบต่างๆ
volume by grid method land leveling original land leveling 20 pts no volume volume by 4 point method
volume by 4 point method 20 pts s curve example linear programing in construction planning process and cpm
area of cross section & volume      


Use examples to explain your points, always backup a comment with a fact.



rangsonw@gmail.com www.facebook.com/rangsonw  ; www.twitter.com/rangsonw
 

ปรับปรุงแก้ไข พฤหัสบดี, 11 กุมภาพันธ์ 2559 15:29:00